Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ธาตุกัมมัฏฐาน ๔

ธาตุ ๔ คือ  ธาตุดิน เรียกปฐวีธาตุ  ธาตุน้ำ เรียกอาโปธาตุ  ธาตุไฟ  เรียกเตโชธาตุ  ธาตุลม  เรียกวาโยธาตุ

ธาตุอันใดมีลักษณะแข้นแข็ง ธาตุนั้นเป็นปฐวีธาตุ  ปฐวีธาตุนั้นที่เป็นภายใน  คือ  ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า

ธาตุอันมีลักษณะเอิบอาบ  ธาตุนั้นเป็นอาโปธาตุ  อาโปธาตุนั้น ที่เป็นภายใน  คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร

ธาตุอันมีลักษณะร้อน  ธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุ  เตโชธาตุนั้น  ที่เป็นภายใน  คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น  ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม  ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย  ไฟที่เผาอาหารให้ย่อย

ธาตุอันใดมีลักษณะพัดไปมา  ธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุ  วาโยธาตุนั้น  ที่เป็นภายใน  คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ  ลมในท้อง  ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ

ความกำหนดพิจารณากายนี้  ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔  คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา  เรียกว่า  ธาตุกัมมัฏฐาน

อริยสัจ ๔

๑.  ทุกข์

๒.  สมุทัย  คือเหตุให้ทุกข์เกิด

๓.  นิโรธ  คือความดับทุกข์

๔.  มรรค  คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ  ได้ชื่อว่าทุกข์ เพราะเป็นของทนได้ยาก

ตันหาคือความทะยานอยาก  ได้ชื่อว่าสมุทัยเพราะเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด

ตันหานั้น  มีประเภทเป็น ๓  คือตัณหาความอยากในอารมณ์ที่น่ารักใคร่  เรียกว่ากามตัณหาอย่าง ๑  ตัณหาความอยากเป็นโน่นเป็นนี่  เรียกว่าภวตัณหาอย่าง ๑  ตัณหาความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่  เรียกว่าวิภวตัณหาอย่าง ๑

ความดับตัณหาได้สิ้นเชิง  ทุกข์ดับไปหมดได้ชื่อว่านิโรธ  เพราะเป็นความดับทุกข์

ปํญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์  สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด  สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์  ได้ชื่อว่ามรรค  เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

มรรคนั้นมีองค์ ๘ ประการ  คือ  ปัญญาอันเห็นชอบ ๑  ดำริชอบ ๑  เจรจาชอบ ๑  ทำการงานชอบ ๑  เลี้ยงชีพชอบ ๑  ทำความเพียรชอบ ๑  ตั้งสติชอบ ๑  ตั้งใจชอบ ๑