Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

พลังงานส่วนที่ 5 คือ กรณะ  หรือเรียกว่า นักษัตรกาล เป็นการคำนวณระยะเวลาของครึ่งวันของวันทางจันทรคติโดยคำนวณจากระยะของดาว
อาทิตย์และดาวจันทร์ในช่วงทุกๆ  6 องศาทวีคูณ ผลทีได้เป็นพลังรังสีดี-ร้ายมีจำนวน 11 กรณะและหมุนเวียนกันต่อเนื่องกันตลอดดิถีตามหลัก
วิธีการคำนวณกรณะ คือ ใน 1 เดือนจันทรคติ กรณะลำดับที่ 1-7 หมุนเวียนกันเป็นเจ้าการ 8 ครั้งโดยเริ่มต้นในครึ่งวันหลังของดิถีที่ 1 ของ
เดือน ลำดับที่ 8-11 เป็นเจ้าการคงที่ไม่หมุนเวียน โดยใน 1 วันจะมี 2 กรณะ


1.ปะวะกรณะ ดีสำหรับกิจกรรมที่เป็นชั่วคราวและถาวร เริ่มกิจการใหม่ เสริมสุขภาพ อายุและจะเป็นมงคลมากหากร่วมในวิสาขะ,เชษฐนักษัตร        
2.พลวัตกรณะ เป็นมงคลดีในกิจกรรมต่างๆรวมทั้งกิจกรรมทางด้านศาสนา และจะเป็นมงคลมากหากร่วมกับโรหิณีนักษัตร        
3.เกาลวะ    กรณะ  เป็นมงคลดีในเรื่องความรัก การแต่งงาน ความสวยงาม เครื่องประดับ และจะเป็นมงคลมากหากร่วมกับอนุราธะนักษัตร        
4.ไตติละกรณะ  เป็นมงคลดีในเรื่องชื่อเสียง ความนิยมชมชอบ กิจการเกี่ยวบ้านที่พักอาศัยและจะเป็นมงคลมากหากร่วมกับอุตรผลคุนีนักษัตร    
5.คฤชะกรณะ เป็นมงคลดีในเรื่องการเพาะปลูก สร้างบ้าน กิจการที่พักอาศัยและจะเป็นมงคลมากหากร่วมกับนักษัตรที่ดี(ศุภะ)
6.วานิชะกรณะ เป็นมงคลดีในเรื่องธุรกิจ การค้าขาย กิจการแลกเปลี่ยนต่างๆและจะเป็นมงคลมากหากร่วมกับนักษัตรที่ดี(ศุภะ)
7.วิษฏิกรณะ ไม่เป็นมงคล แต่จะเหมาะสำหรับการจู่โจมทำลายศัตรู วางยาพิษ ผลจะรุนแรงมากขึ้นอีกหากร่วมกับภรณีและอารทรานักษัตร
8.สกุณะกรณะ ไม่เป็นมงคลในกิจการทั่วไป แต่เหมาะสำหรับการปรุงยา เภษัชกรรม การรักษาโรค ใช้เวทย์มนตร์ โหราศาสตร์และการทำนาย     
9.จตุษปาทะกรณะ ไม่เป็นมงคลในกิจการทั่วไป แต่เหมาะสำหรับกิจการเกี่ยวกับวัว พิธีพรามหณ์    บูชาพรรพชน และกิจการเกี่ยวกับการเมือง    
10.นาคะกรณะ ไม่เป็นมงคลในกิจการทั่วไปแต่เหมาะกับกิจการอสังหาฯ การทำการลงโทษ ทำทารุณ โหดร้าย (รุนแรงมาก-อาศเลษะนักษัตร)
11.กิมะสตุฆนะกรณะ  ไม่เป็นมงคลในกิจการทั่วไปแต่เหมาะกับการบูชาสักการะ งานการแสดง เกี่ยวกับอาหารแต่เป็นมงคลสำหรับพิธีแต่งงาน
และเป็นมหามงคลในสวาตินักษัตร


นอกจากหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การกำหนดฤกษ์ยามมงคลยังจะต้องพิจารณาจากกาละ หรือ มุหูรตะกาลเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น
1.ราหูกาล -คือช่วงเวลาที่ไม่ดีในแต่ละวัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาของราหู ควรหลีกเลี่ยงและงดเว้นกิจการที่เป็นมงคลในช่วงระยะเวลานี้
ราหูกาล คือการคำนวนค่าเฉลี่ยของยามต่างๆ ในแต่ละวัน เช่น วันที่พระอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.00 น. และตก เวลา 18.00 น.คำนวณหาราหูกาล
จะไดดังนี้ วันอาทิตย์ ราหูกาลคือช่วงเวลา 4.30 - 6.00 น., วันจันทร์ 7.30 - 9.00 น., วันอังคาร  15.00- 16.30 น., วันพุธ 12.00 - 13.30 น.
วันพฤหัสฯ 13.30 - 15.00 น.,วันศุกร์ 10.30-12.00 น., วันเสาร์ 9.00-10.30 น.ซึ่งการคำนวนจะต้องรู้เวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกในแต่ละวันแล้ว
นำมาหารหาค่าเฉลี่ยในแต่ละยาม มี 8 ยาม และในวันต่างๆก็ได้กำหนดเวลาของราหูกาลเอาไว้ดังนี้ วันอาทิตย์ ยามที่ 8 หรือ 1 เป็นราหูกาล
วันจันทร์ ยามที่ 2 เป็นราหูกาล  วันอังคาร ยามที่ 7 เป็นราหูกาล วันพุธ ยามที่ 5 เป็นราหูกาล  วันพฤหัส ยามที่ 6 เป็นราหูกาล  วันศุกร์
ยามที่ 4 เป็นราหูกาล วันเสาร์ ยามที่ 3 เป็นราหูกาล
2.ยมกาล-คือช่วงเวลาของพระยม เทพเจ้าแห่งความตายซึ่งต้องหลีกเลี่ยง แต่เป็นช่วงเวลาเหมาะแก่การประกอบพิธีงานอวมงคลต่างๆ
3.คุลิกากาล-หรือเรียกว่า ”มันถิกาล” ซึ่งมันถิและคุลิกาเป็นบุตรของดาวพระเสาร์เทพเจ้าแห่งความทุกข์ยาก ขัดสน ซึ่งต้องหลีกเลี่ยง
4.ทุรมุหูรตะ-หมายความว่า เป็นช่วงเวลาที่ไม่เป็นมงคล ในแต่ละวัน
5.วารจยะ-ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาที่ไม่ดีอีกเช่นกัน แต่เบากว่า ใน 4 ข้อแรก และในวันหนึ่งๆ อาจจะมี วารจยาม มากว่า 1 ช่วงเวลา