ในคัมภีร์”มุหูรตะ”ได้จัดแบ่งพลังและอิทธิพลของนักษัตรต่างๆตามพลังรังสีที่แสดงออกมาเป็น 7 กลุ่มดังนี้
1.นักษัตรมั่นคงถาวร(สถิระ)-ให้พลังงานที่คงที่สม่ำเสมอเหมาะสำหรับเริ่มกิจการมงคลต่างๆ เช่น พิธีราชาภิเษก พิธีตั้งหลักเมือง พิธีแรกนาขวัญ
ปลูกต้นไม้ยืนต้น สร้างบ้านเรือน สร้างวัด อาราม อุโบสถ วิหารและสร้างถาวรวัตถุต่างๆ พิธีเข้าอยู่บ้านใหม่ การเริ่มต้นความสัมพันธ์ฉันมิตร
การสร้างมิตรภาพ ความรัก พิธีประดับเกียรติยศ พิธีวินายกะ ศานติ เริ่มต้นการศึกษาดนตรี สร้างมิตรภาพระหว่างเพศ สวมใส่เครื่องประดับ
ใช้เสื้อผ้าใหม่ ฯลฯ ให้ผลดีคงที่ถาวร
2.นักษัตรเคลื่อนไหว-(จาระ)ให้พลังงานที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว การก้าวไปข้างหน้า เหมาะสำหรับเริ่มกิจการมงคลต่างๆ เช่นเริ่มต้นหัดขับขึ่
ช้าง ม้า ยานพาหนะ ออกรถใหม่ เปิดร้านค้า เปิดกิจการใหม่ ทำเครื่องประดับเพชรพลอยเพื่อสวมใส่ให้ผลดีเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า
3.นักษัตรร้ายกาจ(วัชระ)-ให้พลังงานที่ร้ายกาจ เหมาะสำหรับเริ่มกิจการที่เกี่ยวข้องกับการทำลาย การซื้อและสร้างอาวุธ การวางแผนชั่วร้าย
การตัด วางยาพิษ การหลอกลวง การจับกุมคุมขัง การเผาผลาญ การจัดการกับคนชั่ว การควบคุมสัตว์ร้าย การใช้ไฟ ให้ผลเป็นความสำเร็จ
4.นักษัตรรวม-ผสมผสาน (มิษระ)-ให้พลังงานที่เป็นผลรวมจากพลังงานของนักษัตรอื่นๆ เหมาะสำหรับเริ่มกิจการที่ดีทั่วไป
5.นักษัตรแจ่มใส-รุ่งโรจน์ (ลฆุ)-ให้พลังงานที่เป็นผลดีเจริญรุ่งเรือง เหมาะสำหรับเริ่มกิจการ เริ่มใช้เครื่องประดับ พิธีรื่นเริง งานมงคล การกีฬา
แข่งขันการปรุงยา การักษาโรค เปิดโรงงานอุตสาหกรรม การเดินทางไกล การเริ่มต้นศึกษาศิลปต่างๆ ประติมากรรม ดนตรี จิตรกรรม ฯลฯ
6.นักษัตรเฉียบขาด(อุคระ)-ให้พลังงานที่เป็นผลรุนแรง เฉียบขาด เหมาะสำหรับเริ่มกิจการ เช่น การใช้เวทมนต์ คาถาอาคม สะกดภูติผีปิศาจ
การจับกุมคุมขัง การฆาตกรรม การตีตนออกห่างจากมิตร การใช้เสื้อผ้าใหม่ การโยกย้าย การย้ายถิ่นที่อยู่ การเริ่มต้นการฝึกหัดขับร้อง การ
ฝึกสัตว์ให้เชื่อง การเข้าทำงานใหม่ให้ความรุ่งเรืองก้าวหน้า
7.นักษัตรอ่อนโยน (มฤธุ)-ให้พลังงานที่เป็นผลอ่อนโยน ละมุนลมัย เหมาะสำหรับการพิธีทรงเครื่องต้น เริ่มใช้เครื่องแต่งกายใหม่ เริ่มหัดระบำ
รำฟ้อน ดนตรี วิจิตรศิลป์ การติดต่อทางชู้สาวและความรัก พิธีมงคลต่างๆ ให้ผลดี
*เวลาต้องห้ามของแต่ละนักษัตร (นักษัตรตะยะชะยะกาล)*
เวลาต่างๆของแต่ละนักษัตรที่จันทร์เสวย มีช่วงเวลาบางช่วงที่ไม่เป็นมงคลเรียกว่า “ตะยะชะยะกาล”ซึ่งต้องงดเว้น มีช่วงเวลานานถึง 96 นาที
ซึ่งโบราณได้กำหนดเวลาที่ต้องงดเว้นเอาไว้้ ตัวอย่างเช่น ปฎิทินวันที่ 18 ม.ค. 56 ฤกษ์บนบอกว่า “จันทร์ สถิตราศีมีน เสวยฤกษ์ที่ ๒๗
เรวตีนักษัตร สมโณฤกษ์ สิ้นสุดเวลา 20.53 นาฬิกา-ต่อด้วยฤกษ์ที่ ๑ อัศวินีนักษัตร ทลิทโทฤกษ์ ” หมายความว่าดาวจันทร์เริ่มเสวยนักษัตร
ที่ 1 อัศวินี ในเวลา 20.54 น. ตะยะชะยะกาลของอัศวินีนักษัตร คือ ให้งดเว้นเวลา 96 นาทีในชั่วโมงที่ 20.00 ช.ม.และ 96 นาทีสุดท้ายของ
นักษัตรนี้ ดังนั้นชั่วโมงที่ 20 คือ เวลา 20.54 น. + 20 ชั่วโมง = เวลา 15.54 น.ของวันที่ 19 ม.ค. 56 เป็นจุดเริ่มต้นของ ตะยะชะยะกาล
ซึ่งมีระยะเวลานาน 96 นาที (เวลา 15.54 น. + 96 นาที = เวลา 17.30 น. )หมายความว่า ตั้งแต่เวลา 15.54 น. ถึงเวลา 17.30 น.ของวันที่
19 ม.ค. 56 เป็นเวลาตะยะชะยะกาล ให้งดเว้นประกอบการมงคลและเริ่มกิจการใหม่ทั้งปวง
นักษัตรโยคมีการคำนวณองศาสัมพันธ์ระหว่างอาทิตย์และจันทร์ เพื่อหาพลังรังษีที่เป็นศุภผล หรือเป็นมงคลเอื้อประโยชน์ต่อชีวิตและจิตวิญญาณ
ของมนุษย์ และพลังงานที่ไม่เป็นศุภผลที่ให้โทษ ซึ่งเรียกว่า นักษัตรโยค โดย 1 ในรอบเดือนทางจันทรคติจะมีโยคทั้งดีและร้ายหมุนเวียนสลับ
สับเปลี่ยน แต่ละโยคมีระยะ 13 องศา 20 ลิปดา มีจำนวนทั้งหมด 27 โยค ดังนี้