คำนำ ของผู้จัดทำ
คำนำ
ปฏิทินโหราศาสตร์ฉบับนี้เป็นการคำนวณฤกษ์ยามมงคลตามแบบคัมภีร์มุหูรตะของวิชาโหรพราหมณ์ฮินดูหรือวิชาโหราศาสตร์ภารตะซึ่งเป็นโหราศาสตร์ชั้นสูงซึ่งใช้เฉพาะในกลุ่มของคณะพราหมณ์ เจ้าพระยามหากษัตริย์เจ้านายและบุคคลชั้นสูงและใช้ทำนายดวงเมือง เหตุการณ์บ้านเมืองที่สำคัญๆ การทำนายดินฟ้าอากาศ ฤดูกาล ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ สุริยคราสจันทรคราส เกิดภัยพิบัติ ภัยสงคราม ความเจริญรุ่งเรืองและความตกต่ำของสิ่งต่างๆ ซึ่งมีความถูกต้องแม่นยำได้รับการยอมรับและมีการทดสอบความถูกต้องอย่างต่อเนื่องมาตลอดกว่า 5,000 ปีส่วนในอดีตสามัญชนไม่มีโอกาสได้ใช้้ เพราะมีหลักเกณฑ์การคำนวณที่ละเอียดสลับซับซ้อน มีกฏและเคล็ดวิชาที่เป็นที่หวงแหนของครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนซึ่งจะถ่ายทอดกันแบบมุขปาฐะให้แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ ไม่แพร่หลายไปสู่สาธารณชน เพราะวิชานี้เป็นวิชาที่กุมความลับของฟ้าดินและเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการปกครองและการยุทธศาสตร์ในสมัยโบราณ
หลักและกฏเกณฑ์การคำนวณได้มาจาก คัมภีร์สุริยสิทธานตะ ของอินเดียซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณว่าด้วยวิธีการคำนวณทางดาราศาสตร์ การโคจรของดาวเคราะห์ ฯลฯ ซึ่งของไทยได้รับคัมภีร์นี้และใช้กันแพร่หลายมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย อยุธยาจนตกทอดมาถึงในสมัยปัจจุบันนี้ในชื่อของ“พระคัมภีร์สุริยาตร์” ส่วนกฏเกณฑ์การทำนาย ได้มาจากคัมภีร์มาตรฐานทางโหราศาสตร์ต่างๆของโหราศาสตร์พระเวท (โชยติษ) โดยใช้ระบบของมหาฤาษีปราสาระ มหาฤาษีไชยมิณี มหาฤาษีวราหะมิหิรา เป็นหลัก ปฏิทินปัญจางคะฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นการนำวิทยาการจากปกรณ์อันยิ่งใหญ่แห่งคัมภีร์โหราศาสตร์พระเวทมาเผยแพร่ต่อ
สาธารณชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทยหลังจากที่ได้มีการนำมาเผยแพร่ก่อนหน้านี้เกือบร้อยปีโดยการชำระปฏิทินของคณะปฏิรูปปฎิทินแห่งชาติของสาธารณรัฐอินเดีย นอกจากนี้ปฏิทินฉบับนี้ยังได้แสดงปฏิทินของระบบโหราศาสตร์ไทย ฤกษ์บน-ล่าง ดิถีค่ำวาร กาลโยค ยาม แบบไทยเพื่อให้นักโหราศาสตร์สามารถเปรียบเทียบกับปฏิทินฮินดูได้ง่ายเพราะใช้หลักวิชาเดียวกัน และได้แสดงคำ่-วาร ดิถี นักษัตรแบบโหราศาสตร์จีนเพื่อให้นักโหราศาสตร์ทั้งหลายในระบบต่างๆได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันส่วนเพิ่มเติมอื่นๆในปฏิทินที่เป็นสารประโยชน์ก็คือ การแสดงวันบูชาเทพเจ้าทั้งฝ่ายฮินดู จีน และวันสำคัญต่างๆทั้งใน
ศาสนาฮินดู เต๋า และพุทธศาสนามหายาน เพื่อการประกอบศาสนกิจตามหลักลัทธิความเชื่อนั้นๆให้ถูกต้องตามกาลวัตถุประสงค์สำคัญที่สุดของการจัดทำปฏิทินฉบับนี้ คือการยังประโยชน์ให้ท่านทั้งหลายได้ใช้ปฏิทินฤกษ์์ยามชั้นสูงตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง เพื่อความสำเร็จความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคง และขจัดอุปสรรคในการดำเนินชีวิต และการประกอบกิจการทั้งหลาย โดยใช้กำลังอำนาจแห่งฤกษ์ยามอันเป็นมงคลนี้ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านได้ค้นพบและถ่ายทอดสืบต่อลงมาให้ขออุทิศความดีงามทั้งหลายในปฏิทินเล่มนี้แด่ บิดา-มารดา ครูอาจารย์ บูรพาจารย์ทางโหราศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์ ทุกศาสตร์ ทุกแขนง ทุกระบบ ทุกสายอาจารย์ ผู้ซึ่งเป็นกำลังของคณะผู้จัดทำ และขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ครู บูรพาจารย์ ขอจงประสิทธิ์ประสาทและอำนวยพรให้กับท่านทั้งหลายจงสำเร็จประโยชน์มีความสุข
สวัสดีในกาลทุกเมื่อ เทอญฯ โอม ศานติ ศานติ
ณภัทร ศรีจักรนารท
อาศรมโหราศาสตร์ศรีจักรนารท โชยติษ
http://www.astroneemo.net
..................................................................................
ปัจฉิมลิขิต
-:วิธีการใช้ปฏิทินจะมีคำอธิบายอยู่ในส่วนท้ายของปฏิทินฉบับนี้
-:ในส่วนของการคำนวณองศาของดาวพระเคราะห์ เวลาจันทร์เสวยฤกษ์และดิถีเพียรในปฏิทินฉบับนี้ ได้ทำการสอบทานความถูก
ต้องจากโปรแกรมโหราศาสตร์ “โฮ๋ราสาด รุ่น Professional”
-:เกณฑ์การคำนวณดิถีขึ้นแรม(ดิถีตลาด) เดือนจันทรคติไทย เกณฑ์คำนวณต่างๆจากคัมภีร์สุริยาตร์ ได้ทำการสอบทานความถูก
ต้องจากปฏิทินโหราศาสตร์ ของอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว
-:กฏเกณฑ์การคำนวณปฏิทินปัญจางคะของฮินดู และฤกษ์มงคลต่างๆ อ้างอิงจากหนังสือโหราวิทยาของอ.รัตน์-ศิระ นามะสนธิ
และคัมภีร์โหราศาสตร์พระเวทหลายคัมภีร์ เช่น คัมภีร์กาละปกาศิกะ คัมภีร์มุหูรตะจินดามณี คัมภีร์อุตรกาลมฤต คัมภีร์สุริยะ
สิทธิทานตะ และคัมภีร์มุหูรตะ ฉบับของ บ.ว. รามัน