10.ฤกษ์ล่าง คือการคำนวณจากดิถีขึ้นแรมผสมกับวัน(วาร) และเดือนทางจันทรคติเพ่ือหาผลดีร้ายสำหรับการวางฤกษ์
11.ฤกษ์บน คือฤกษ์ที่ดาวจันทร์เสวยกลุ่มดาวนักษัตร (Fixed Stars) ทั้ง 27 นักษัตรในรอบ 1 เดือนทางจันทรคติโดย
เสวยฤกษ์ละประมาณ 24 ชั่วโมง ใช้สำหรับคำนวนเดือนทางจันทรคติและคำนวณฤกษ์ยามมงคลต่างๆ นักษัตรทั้ง 27 ตามคติ
อินเดียและจีนโบราณมีถึง 28 นักษัตร (เพิ่มนักษัตรอภิชิต) ซึ่งมีรายละเอียดตาม ภาคผนวก ค
12.หลักการคำนวนปฏิทินโหราศาสตร์ฉบับนี้ ใช้สมผุสนิรายนะ ปฏิทินดาราศาสตร์ อายนางศะลาหิรี ณ. กรุงเทพมหา
นคร เวลา ๐๗.๐๐ น. Latitude 13.45 North, Longitude 100.32 East ซึ่งต่างจากโหราศาสตร์ไทยในระบบสุริยาตร์
13.ดวงจักราศี วงกลมด้านในแสดงดาวเคราะห์ในราศีจักร (ตัวเลขไทย) ตัวเลขไทยสีแดงหมายถึงดาวกำลังจะย้ายราศี
และวงกลมรอบนอกดาวเคราะห์ในดวงนวางศ์จักร (ตัวเลขอารบิก)
14.องศาดาว แสดงองศาดาวเคราะห์ทุกดวง และอาการวิกลคติต่างๆของดาวเคราะห์ เช่น
(1) ดับ คือ แสดงองศาของดาวเคราะห์ที่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากเกินไปจนเกิดเป็นอัสตะ(ดับ) Combustion เพราะรัศมีอาทิตย์
(2) พักร คือ อาการเดินถอยหลังของดาวเคราะห์ ทางดาราศาสตร์เรียกว่า Retrograde Motion ใช้อักษรย่อ (พ)
(3) มนฑ์ คือ อาการหยุดนิ่งของดาวเคราะห์ ก่อนการพักรหรือเสริด ทางดาราศาสตร์เรียกว่า Stationary ใช้อักษรย่อ (ม)
(4) เสริด คือ อาการโคจรพุ่งไปข้างหน้าของดาวเคราะห์ด้วยความเร็วมากว่าปกติ เรียกว่า Direct Motion ใช้อักษรย่อ (ส)
15.ดาวย้ายราศี แสดงการย้ายราศีและการเสวยนักษัตรต่างๆของดาวเคราะห์ทุกดวง
16.รัตนโกสินทร์ศก แสดงร.ศ.ตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาโดยจะเปลี่ยนศักราชทุกวันที่ 1เม.ย.ของทุกปี
17.มหาศักราช แสดงมหาศักราชที่ใช้กันในประเทศไทยมาแต่โบราณ ในที่นี้จะใช้ตามแบบปฏิทินแห่งชาติของสาธารณ
รัฐอินเดีย (Shalivahana era, Saka era) ซึ่งจะเปลี่ยนศักราชใหม่ในเดือนจิตราของฮินดู หรือวันที่ 22 มีนาคมของทุกปีสุริยคติ
หากปีใดเป็นปีอธิกสุรทินวันเปลี่ยนศักราชจะเปลี่ยนมาเป็นวันที่ 21 มีนาคม
18.กาลโยค เป็นการคำนวณวันที่เป็นฤกษ์ดี-ร้าย เช่นวันอุบาทว์์ วันอธิบดี วันโลกาวินาส วันธงชัย ตามหลักวิชาการ
คำนวณของคัมภีร์สุริยาตร์ การเปลี่ยนกาลโยคจะเปลี่ยนในวันเถลิงศกในแต่ละปี ซึ่งจะตกประมาณวันที่ 15-16 เมษายน
19.จุลศักราช เป็นศักราชที่ใช้ในมาแต่โบราณ และใช้ในการคำนวณทางโหราศาสตร์
20.ปีสุริยจันทรคติ การนับปีในระบบสุริยคติและจันทรคติแตกต่างกันและแต่ละระบบจำนวนปีก็ยังคลาดเลื่อนไปทุกปี
เพื่อให้ปฏิทินไม่เกิดการคลาดเคลื่อน ในหนึ่งปีมี 365.2564 วันไม่ใช่ 365 วัน ดังนั้นจึงต้องทดวันมาเพิ่มในวันที่ขาดไป คือ
(1)ปีในระบบสุริยคติ โดยมี 2 แบบดังนี้
(1.1) ปกติสุรทินคือ 1 ปี มี 365 วัน
(1.2) และปีอธิกสุรทิน 1 ปีมี 366 วัน (เพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์) โดย 4 ปีมีครั้งหนึ่ง
(2) ปีทางจันทรคติ โดยมี 3 แบบดังนี้
(2.1) ปกติมาส-ปกติวาร มีเดือนคู่ ข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 15 วันและมีเดือนคี่ ข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 14 วัน
(2.2) ปกติมาส-อธิกวาร เหมือนข้างต้นแต่ในเดือน 7 จะมีข้างแรม 15 วัน (เพิ่มแรม15 ค่ำเดือน 7)
(2.3) อธิกมาส-ปกติวาร คือ ปีที่มีเดือนแปดเพิ่มอีก 1 เดือน (เดือนแปดสองหน)