Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

1.วันพระไทย-จีน วันพระไทยเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น
15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ) ส่วนวันพระจีนจะเป็น
วันขึ้น 1 ค่ำและ 15 ค่ำจีน ( ชิวอิก จับโหงว 初一 十五)
2.ดิถีจันทรคติไทย ใช้แบบดิถีตลาด ดิถีมี 2แบบคือ 1 ดิถีตลาด 2 ดิถีเพียร 1.ดิถีตลาดคือการคำนวณดิถีตามปฏิทิน
ทั่วไป โดยอนุโลมนับตามวันทางสุริยคติ บางครั้งจะไม่ตรงกับความเป็นจริงในท้องฟ้า เช่น บอกวันขึ้น 15 ค่ำแต่พระจันทร์ บน
ฟ้ายังไม่เต็มดวงจริงๆ 2.ดิถีเพียร คือดิถีที่ใช้ในโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ คำนวนจากองศาสัมพันธ์ระหว่างอาทิตย์กับจันทร์ที่
ปรากฏจริง ใช้ในการวางฤกษ์ยามและการคำนวณทางดาราศาสตร์
3.ปีนักษัตรไทย การเปลี่ยนปีนักษัตรแบบไทย  ซึ่งก็มีหลายมติและหลายอาจารย์ดังนี้
1.ปฏิทินโหราศาสตร์ของอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว จะเปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้นปีใหม่สากลหรือทุกๆวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี
2.ปฏิทินโหราศาสตร์ของ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร จะเปลี่ยนปีนักษัตรทุกๆวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี
3.ปฏิทินโหราศาสตร์ของ อาจารย์พันเอกสุชาติ ศุภประเสริฐ จะเปลี่ยนปีนักษัตรทุกวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี
4.ปฏิทินโหรหลวงของหมวดโหรพรามณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวังจะเปลี่ยนปีนักษัตรทุกวันขึ้น 1 ค่ำเดือนอ้ายของทุกปี
ส่วนการคำนวณปฏิทินฉบับนี้จะใช้หลักตามข้อ 3 เพราะมาจากพระราชวินิจฉัยของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 5 และยึดตามการบันทึก
ของพงศาวดารของไทยมาแต่โบราณ
4.ปีนักษัตรจีน การเปลี่ยนปีนักษัตรแบบจีน จะเปลี่ยนตามปฎิทินจีน โดยคำนวณจากวันสารท”ลิบชุน” 立春  โดยจะ
ซึ่งอยู่ราวๆวันที่ 3 4 5 ของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งหลายๆคนสับสนกับปีนักษัตรไทย แต่บางคติิจะเปลี่ยนในวันตรุษจีน
5.ดิถีเดือนปีจันทรคติจีน แสดงดิถี เดือน ปีแบบจันทรคติจีน สำหรับใช้ผูกดวงจีน
6.ฤดูสารท 24 ฤดูของจีนแสดง 24 ฤดูสารท  คือ (1) 小寒   สารทเสี่ยวหาน จะเปลี่ยนประมาณวันที่ 4 5 6 ม.ค.   
(2) 大寒  สารทต้าหาน (19 20 21 ม.ค.) (3) 立春  สารทลี่ชุน ( 3 4 5 ก.พ.) (4) 雨水 สารทอวี๋สุ่ย  (18 19 20 ก.พ.)
(5) 驚蟄  สารทจิงเจ๋อ ( 5 6 7 มี.ค.) (6) 春分  สารทชุนเฟิ่น ( 20 21 22 มี.ค.) (7) 清明  สารทชิงหมิง ( 4 5 6 เม.ษ.)  
(8) 穀雨  สารทกู่อวี้ (19 20 21 เม.ษ.) (9) 立夏  สารทลี่เซี่ย ( 5 6 7 พ.ค.)  (10) 小滿  สารทเสี๋ยวหมั่น  ( 20 21 22 พ.ค.)  
(11) 芒種 สารทหมังจ่ง ( 5 6 7 มิ.ย.) (12)夏至  สารทเซี่ยจื้อ ( 20 21 22 มิ.ย.) (13) 小暑  สารทเสี๋ยวสู่ ( 6 7 8 ก.ค.)
(14) 大暑  สารทต้าสู่ (22 23 24 ก.ค.) (15) 立秋  สารทลี่ชิว (7 8 9 ก.ย.) (16) 處暑  สารทชู่สู่ (22 23 24 ส.ค.)  
(17) 白露  สารทไป๋ลู่ (7 8 9 ก.ย.) (18) 秋分สารทชุ่นเฟิ่น (22 23 24 ก.ย.) (19) 寒露 สารทหานลู่ (7 8 9 ต.ค.)
(20 ) 霜降 สารทซวงเจี้ยง (23 24 ต.ค.)  (21) 立冬 สารทลี่ตง (7 8 พ.ย.)  (22) 小雪 สารทเสี๋ยวเสวี่ย(21 22 23 พ.ย.)
(23) 大雪สารทต้าเสวี่ย (6 7 8 ธ.ค.)  (24) 冬至สารทตงจื้อ(21 22 23 ธ.ค.)
7.เดือนจันทรคติจีน เดือนเล็กจะมี 29 วัน 月小 และเดือนใหญ่จะมี 30 วัน 月大
8.วันชง แสดงวันชงตามนักษัตรแบบจีน เช่น วันมะโรงไม่ถูกกับจอ หมายความว่า วันนี้เป็นวันของมะโรงซึ่งพิฆาตกับ
คนเกิดปีจอตามหลักธาตุพิฆาต ดังนั้น คนปีจอไม่ควรทำงานมงคลหรือริเริ่มกิจการใหม่ในวันนี้

9.กาลพิเศษ แสดงกาลพิเศษหรือวันสำคัญของไทยและสากล

 


10.ฤกษ์ล่าง คือการคำนวณจากดิถีขึ้นแรมผสมกับวัน(วาร) และเดือนทางจันทรคติเพ่ือหาผลดีร้ายสำหรับการวางฤกษ์
11.ฤกษ์บน คือฤกษ์ที่ดาวจันทร์เสวยกลุ่มดาวนักษัตร (Fixed Stars) ทั้ง 27 นักษัตรในรอบ 1 เดือนทางจันทรคติโดย
เสวยฤกษ์ละประมาณ 24 ชั่วโมง ใช้สำหรับคำนวนเดือนทางจันทรคติและคำนวณฤกษ์ยามมงคลต่างๆ นักษัตรทั้ง 27 ตามคติ
อินเดียและจีนโบราณมีถึง 28 นักษัตร (เพิ่มนักษัตรอภิชิต) ซึ่งมีรายละเอียดตาม ภาคผนวก ค
12.หลักการคำนวนปฏิทินโหราศาสตร์ฉบับนี้ ใช้สมผุสนิรายนะ ปฏิทินดาราศาสตร์ อายนางศะลาหิรี ณ. กรุงเทพมหา
นคร เวลา ๐๗.๐๐ น. Latitude 13.45 North, Longitude 100.32 East ซึ่งต่างจากโหราศาสตร์ไทยในระบบสุริยาตร์
13.ดวงจักราศี วงกลมด้านในแสดงดาวเคราะห์ในราศีจักร (ตัวเลขไทย) ตัวเลขไทยสีแดงหมายถึงดาวกำลังจะย้ายราศี
และวงกลมรอบนอกดาวเคราะห์ในดวงนวางศ์จักร (ตัวเลขอารบิก)
14.องศาดาว แสดงองศาดาวเคราะห์ทุกดวง และอาการวิกลคติต่างๆของดาวเคราะห์ เช่น
(1) ดับ  คือ แสดงองศาของดาวเคราะห์ที่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากเกินไปจนเกิดเป็นอัสตะ(ดับ) Combustion เพราะรัศมีอาทิตย์
(2) พักร คือ อาการเดินถอยหลังของดาวเคราะห์ ทางดาราศาสตร์เรียกว่า Retrograde Motion ใช้อักษรย่อ (พ)
(3) มนฑ์ คือ อาการหยุดนิ่งของดาวเคราะห์ ก่อนการพักรหรือเสริด ทางดาราศาสตร์เรียกว่า Stationary ใช้อักษรย่อ (ม)
(4) เสริด คือ อาการโคจรพุ่งไปข้างหน้าของดาวเคราะห์ด้วยความเร็วมากว่าปกติ เรียกว่า Direct Motion ใช้อักษรย่อ (ส)    
15.ดาวย้ายราศี แสดงการย้ายราศีและการเสวยนักษัตรต่างๆของดาวเคราะห์ทุกดวง
16.รัตนโกสินทร์ศก แสดงร.ศ.ตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาโดยจะเปลี่ยนศักราชทุกวันที่ 1เม.ย.ของทุกปี
17.มหาศักราช แสดงมหาศักราชที่ใช้กันในประเทศไทยมาแต่โบราณ ในที่นี้จะใช้ตามแบบปฏิทินแห่งชาติของสาธารณ
รัฐอินเดีย (Shalivahana era, Saka era) ซึ่งจะเปลี่ยนศักราชใหม่ในเดือนจิตราของฮินดู หรือวันที่ 22 มีนาคมของทุกปีสุริยคติ
หากปีใดเป็นปีอธิกสุรทินวันเปลี่ยนศักราชจะเปลี่ยนมาเป็นวันที่ 21 มีนาคม
18.กาลโยค เป็นการคำนวณวันที่เป็นฤกษ์ดี-ร้าย เช่นวันอุบาทว์์ วันอธิบดี วันโลกาวินาส วันธงชัย ตามหลักวิชาการ
คำนวณของคัมภีร์สุริยาตร์ การเปลี่ยนกาลโยคจะเปลี่ยนในวันเถลิงศกในแต่ละปี ซึ่งจะตกประมาณวันที่ 15-16 เมษายน
19.จุลศักราช เป็นศักราชที่ใช้ในมาแต่โบราณ และใช้ในการคำนวณทางโหราศาสตร์
20.ปีสุริยจันทรคติ การนับปีในระบบสุริยคติและจันทรคติแตกต่างกันและแต่ละระบบจำนวนปีก็ยังคลาดเลื่อนไปทุกปี
เพื่อให้ปฏิทินไม่เกิดการคลาดเคลื่อน ในหนึ่งปีมี 365.2564 วันไม่ใช่ 365 วัน ดังนั้นจึงต้องทดวันมาเพิ่มในวันที่ขาดไป คือ
(1)ปีในระบบสุริยคติ โดยมี 2 แบบดังนี้
(1.1) ปกติสุรทินคือ 1 ปี มี 365 วัน
(1.2) และปีอธิกสุรทิน 1 ปีมี 366 วัน (เพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์) โดย 4 ปีมีครั้งหนึ่ง
(2) ปีทางจันทรคติ โดยมี 3 แบบดังนี้
(2.1) ปกติมาส-ปกติวาร มีเดือนคู่ ข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 15 วันและมีเดือนคี่ ข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 14 วัน
(2.2) ปกติมาส-อธิกวาร เหมือนข้างต้นแต่ในเดือน 7 จะมีข้างแรม 15 วัน (เพิ่มแรม15 ค่ำเดือน 7)
(2.3) อธิกมาส-ปกติวาร  คือ ปีที่มีเดือนแปดเพิ่มอีก 1 เดือน (เดือนแปดสองหน)

 


 

21.ศก เป็นการคำนวณรอบปีจำนวน 60 ปีโดยอ้างอิงจากเลขท้ายของปีจุลศักราชและปี 12 นักษัตรผสมกันคล้ายกับ
ระบบหลักจับกะจื้อของจีน โดยมีชื่อเรียกดังนี้
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก" หรือ “ฉอศก”
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก"
ตัวอย่างเช่น ปีมะโรงในปี จ.ศ. 1374 ก็จะเรียกว่า ปีมะโรงจัตวาศก
22.ปัญจางค ดิถีเพียร เป็นการคำนวณปฏิทินตามแบบฮินดูซึ่งละเอียดแม่นยำมาก ใช้กันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
รายละเอียดอยู่ใน ภาคผนวก
23.แสดงวันบูชาเทพเจ้าและเทศกาลสำคัญต่างๆของฮินดู โดยพิธีบูชาต่างๆของฮินดูมีการกำหนดเวลาจากฤกษ์ยามใน
ระบบโหราศาสตร์ซึ่งจะต้องคำนวณจากปฏิทินโหราศาสตร์อย่างละเอียดเท่านั้นและจะต้องคำนวณจากดิถีเพียรและโซนเวลาของ
แต่ละประเทศแต่ละท้องถิ่นด้วย ในปฏิทินฉบับนี้ได้คำนวณเวลาฤกษ์สำหรับพิธีบูชาต่างๆตามเวลาท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร
24.แสดงวันไหว้เจ้าต่างๆของจีน ซึ่งวันไหว้พระหรือวันเกิดพระต่างๆของจีนมักจะมีซ้ำกันได้หลายวันใน 1 ปี เนื่องจาก
ตามคติความเชื่อและประเพณีในแต่ละท้องถิ่นของจีน และเทพเจ้าบางค์ก็มีหลายปาง มีหลายคติทั้งพุทธและเต๋า
25.แสดงชั่วโมงยามอัฐกาล และชั่วโมงยามต่างๆตามแบบโหราศาสตร์ไทยซึ่งจะมีการแบ่งยามกลางวันกลางคืนอย่างละ
8 ชั่วโมงและเปลี่ยนยามในแต่ละวันตามวารทั้ง 7
26.ยามอัฐกาลและกาลโยคประจำปี ซึ่งจะเปลี่ยนทุกปีในวันเถลิงศกประจำปี
27.ทิศมงคลตามหลักมหาทักษา ซึ่งจะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปทุกวันตามวันทั้ง 7
28.สีและอัญมณีมงคลตามหลักมหาทักษา ตามหลักโหราศาสตร์ไทยที่ใช้กันมาแต่โบราณ

 


 

29.ฤกษ์วันนี้ เป็นการคำนวณฤกษ์ยามมงคลตามแบบคัมภีร์มุหูรตะ ที่ได้คำนวณเวลาที่เป็นมงคลจากระบบปัญจางคคือนักษัตร วาร ดิถี โยคและกรณะ อีกทั้งได้คำนวณร่วมกับฤกษ์บนและโยคดิถี(ฤกษ์ล่าง) พร้อมทั้งคำนวณโยคเกณฑ์พิเศษที่เป็นดิถีของภารตะหรือโยคมุหูรตะและแสดงกิจการที่สมพงษ์กับฤกษ์นั้นๆ  ซึ่งท่านจะต้องเลือกช่วงเวลาที่ต้องการทำการมงคล
จาก“ปัญจางคะ ” โดย (1)ยกเว้นเวลาของโยคไม่ดี คือ  วิษฏัมภะ อติคัณฑะ ศูละ คัณฑะ วยาฆาตะ วัชร วยาฑิปัฏฏ ปริฆะ
วยธรูติ(2)ยกเว้นเวลาของกรณะที่ไม่ดี คือ วิษฏิกรณะ (3) ยกเว้นเวลาของราหูกาล คุลิกากาล ยมกาล วารจยะ และทุรมหูรตะ
(4) วางลัคนาของช่วงเวลาให้เหมาะสมกับกิจการที่ทำ (5) หากเป็นกิจการที่สำคัญมาก เช่น งานมงคลสมรส  เข้าอยู่บ้านใหม่
ยกเสาเอก สร้างอาคาร ควรตัดฤกษ์และวางลัคนาให้สมพงศ์กับดวงชาตาเจ้าการจึงจะเป็นมงคลสูงสุด และได้รับผลดีจากฤกษ์
ได้เต็มสมบูรณ์   
30.มุมดาววันนี้ เป็นการคำนวนมุมดาวเคราะห์ต่างๆที่สำคัญประจำวัน โดยสัญลักษณ์ต่างๆมีดังนี้

31.ลัคนาเวลานักษัตร เป็นการคำนวณระยะเวลาของลัคนาในราศีต่างๆ สำหรับการวางฤกษ์ยาม การคำนวณดวงกาล
ชาตา การจับยามหรือปรัศนศาสตร์ ซึ่งคำนวณจากเวลาท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร
32.แสดงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ซึ่งแสดงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ตามที่ปรากฏจริงบนท้องฟ้า
33.วันนี้ในอดีต ข้อมูลเนื้อหาวันนี้ในอดีตในปฏิทินฉบับนี้เรียบเรียงจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ตามสัญญาอนุญาต
เอทีฟคอมมอนส์  WP:CC-BY-SA



 

เพื่อความแม่นยำและถูกต้องในการคำนวณฤกษ์ ในการใช้เวลาต่างๆตามปฏิทินฉบับนี้ จะต้องคำนวณตามละติจูดลองติจูดของจังหวัดต่างๆเพื่อ
หาเวลาท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด แล้วนำมาบวกหรือลบจากเวลาทุกรายการเวลาในปฏิทินฉบับนี้ซึ่งคำนวณจากเวลาท้องถิ่นกรุงเทพมหานครจึงจะ
ได้เป็นเวลาท้องถิ่น ณ จังหวัดนั้นๆ ตัวอย่างเช่น หากท่านนำไปใช้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านจะต้องลบ 6 นาที 14 วินาทีออกจากเวลาที่ปรากฏ
ในปฏิทิน จึงจะเป็นเวลาท้องถิ่น ณ จังหวัดเชียงใหม่

ส่วนจังหวัดอื่นๆ ก็ทำเช่นเดียวกัน และในการแปลงเวลา ท่านจะต้องแปลงเวลาในทุกๆรายการที่ปรากฏในปฏิทิน เช่น การสิ้นสุดของฤกษ์บนที่
จันทร์เสวยนักษัตร ปัญจางค ดิถีเพียร ลัคนาเวลานักษัตร ฤกษ์มูหูรตะ คราส และเวลาบูชาเทพเจ้าฮินดูในเทศกาลต่างๆ

 


 

 


 

โหราศาสตร์ฮินดูเป็นวิชาดาราศาสตร์-โหราศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดวิชาหนึ่งของโลก มีประวัติย้อนหลังไปถึง 8,300 ปี 3,000 ปีก่อนคริสตกาล หรือ
ประมาณ 10,000 ปี มาแล้ว  (8300 B.C.- 3000 B.C.) โดยในระยะเวลาดังกล่าว วิชานี้ได้รับการค้นคว้าและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาพร้อมๆ
กับคัมภีร์พระเวท ของพราหมณ์ โดยมหาฤาษีหรือมหามุนีที่เป็นบูรพาจารย์ของพราหมณ์ในยุคบรรพกาล ที่รจนาคัมภีร์พระเวท (สัปตยุคฤาษี)
จำนวน 18 องค์คือ มหาฤาษีสูรยา มหาฤาษีปิตมาส มหาฤาษีวยาสะ  มหาฤาษีวสิษฐะ  มหาฤาษีอตรี  มหาฤาษีปราสาระ มหาฤาษีกาษยาปะ
มหาฤาษีลิษะ มหาฤาษีชาวาล มหาฤาษียาวนะ มหาฤาษีภฤคุ มหาฤาษีสูรยา และมหาฤาษีศอุนาคา เป็นต้น

วิชาโหรฯแห่งดินแดนภารตะ(อินเดีย) ตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบันมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อเช่นโหราศาสตร์ฮินดู (Hindu Astrology) โหราศาสตร์พระเวท
(Vedic Astrology) โชฺยติษ ศาสตร์ (Jyotish shastra)เป็นวิชาที่ว่าด้วย กาลเวลา การโคจรของดาวเคราะห์ และปรากฏกาณ์ทางดาราศาสตร์
ที่ส่งพลังรังสีที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านชาตาชีวิต สุขภาพ ความสามารถ ความนึกคิด อารมณ์ต่างๆ ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลจากพลัง
รังสีดี-ร้ายของจักรวาลและเป็นวิชาหนึ่งในวิชาหลักสมัยโบราณที่นักบริหาร นักการทหาร และนักปกครอง จะต้องเรียนรู้และเป็นแม่แบบของวิชา
โหราศาสตร์ระบบนิรายนะในวัฒนธรรมอื่นๆทั่วโลก และเป็นบรมครูของโหราศาสตร์ไทย และโหราศาสตร์ลังกา พม่า ลาว เขมร มอญ อินโด
ธิเบต ฯลฯและแม้แต่โหราศาสตร์จีนก็ได้รับอิทธิพลจากโหราศาสตร์ภารตะเป็นอย่างมากผ่านทางพุทธศาสนามหายานที่แพร่เข้าไปในประเทศจีน
เมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ซึ่งศาสตร์เหล่านี้ เป็นศาสตร์ชั้นสูงที่มีการคำนวณ ยุ่งยากสลับซับซ้อนและละเอียดเป็นอย่างมากเพื่อใช้สำหรับทำนาย
เหตุการณ์บ้านเมือง ทำนายฝนฟ้า ฤดูกาลทำนายชาตาชีวิตของกษัตริย์และบุคคลชั้นสูงส่วนสามัญชน จะไม่มีโอกาสได้ใช้เลย
ปัจจุบันในประเทศอินเดีย ในรอบศตวรรษที่ผ่านมา มีการเปิดเผยความลี้ลับของวิชาโหราสาตร์และคัมภีร์เก่าแก่ที่ปิดบังซ่อนเร้นมานานนับพันปี
นำมาเผยแพร่ให้ความรู้ต่อสาธารณชนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นประโยชน์เท่าเทียมกันแก่บุคคลทุกชั้นวรรณะ ที่จะได้มีโอกาสใช้และได้รับผลดีจาก
ภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ของบรรพชนโบราณ

วิชาฤกษ์ยาม  เป็นวิชาเดียวเท่านั้นที่สามารถขจัดปัดเป่าอุปสรรคและแก้ไขผลร้ายจากดวงชาตาเดิมได้จริง   ซึ่งหลักการนี้ได้รับการยอมรับจาก
โหราจารย์ทุกระบบทุกแขนงทั่วโลกมาตั้งแต่โบราณ แต่เนื่องจากฤกษ์ยามเป็นนามธรรมเป็นกาละแห่งเวลาที่จับต้องไม่ได้  โบราณท่านจึงคิดค้น
วิธีการแสดงรูปลักษณ์ของ“ฤกษ์ยาม”ออกมาด้วยรูปแบบของ”พิธีกรรม” ซึ่งพิธีกรรมทั้งหลายก็ต้องอาศัยฤกษ์ยามที่ถูกต้องเท่านั้น  จึงจะมีพลัง
และสามารถส่งผลดีตามที่ต้องการได้  และหากมีการใช้ฤกษ์ยามที่ผิด   การประกอบพิธีกรรมต่างๆแม้ว่าจะทำให้ดูเข้มขลังอลังการหรือยิ่งใหญ่
สักเพียงใดก็ตามก็เท่ากับสูญเปล่า ไม่เพียงแต่ไม่ประสบผลดีเท่านั้นแต่ก็ยังอาจจะกลับประสบผลร้ายได้อีกด้วย ซึ่งโหราจารย์ทั้งหลายย่อมรู้ดีแต่
สามัญชนทั่วไปไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนเลยว่าฤกษ์ยามมีอิทธิพลเหนือพิธีกรรมต่างๆในทุกรูปแบบ

ปฏิทินฮินดู หรือ ปํญจางคนัม หรือปฏิทินโหราศาสตร์ เป็นปฏิทินที่คำนวนพลังรังสีดี-ร้ายของดาวเคราะห์  ดาวนักษัตร ดิถี ดี-ร้ายในแต่ละวัน
เพื่อจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองในกิจการที่จะกระทำและหลีกเลี่ยงผลร้ายที่เกิดตามมา  ซึ่งในการคำนวณหา
พลังรังสีดี-ร้ายในแต่ละวันนั้นจะต้องมีองค์ประกอบผสมผสานสัมพันธ์กันอยู่ 5 ประการคือ (1.) ดิถี หรือดิถีขึ้นแรมของจันทร์ ตามหลักดิถีเพียร
(2.) วาร หรือวันในสัปดาห์ เช่น จันทร์ อังคาร พุธ ฯลฯ  (3.)นักษัตร หรือกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่มในจักราศีนับตั้งอัศวินีนักษัตรเป็นต้นจนถึง
เราวดีนักษัตรหมุนเวียนกันไปจนครบ 1 รอบเดือนทางจันทรคติ (4.)โยค หรือ นักษัตรโยค ทั้ง 27 โยคหมุนเวียนกันไปจนครบใน 1 รอบเดือน
ทางจันทรคติ (5.) กรณะ หรือนักษัตรกาล คือเวลาครึ่งหนึ่งของวันทางจันทรคติ มีระยะ 6 องศาทวีคูณระหว่างพระอาทิตย์กับจันทร์ซึ่งมีทั้ง
หมด 11  กรณะ ซึ่งทั้งหมดทั้ง 5 ประการนี้จะต้อง เป็นศุภผล(ผลดี) เท่านั้นจึงจะเป็นฤกษ์ยามที่เป็นมงคล เหมาะสำหรับเริ่มกิจการต่างๆและ
จะให้ผลดีประสบความสำเร็จและความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งการคำนวณพลังทั้ง 5 ประการนี้เรียกว่า ปัญจกะ หรือ ปัญจกสุทธิ โดยมีรายละเอียด
และวิธีการคำนวณ ดังนี้

ดิถีหรือระยะขึ้นแรมของดวงจันทร์ในวันต่างๆ ตามหลักวิชาโหรภารตะจะมีการคำนวณอย่างละเอียด โดยอาศัยองศาสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์
และดวงจันทร์ ซึ่งเรียกว่า ดิถีเพียร และอาจจะแตกต่างกับดิถีที่ปรากฏในปฏิทินทั่วๆไป ดิถีจะมีอยู่ 2 ปักษ์คือ (1.) กฤษณปักษ์  หรือข้างแรม
นับตั้งแต่แรม 1ค่ำจนถึงวันอวมาวาสี (พระจันทร์ดับ) (2.) ศุกรปักษ์ หรือข้างขึ้น นับตั้งแต่ขึ้น 1ค่ำไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ หรือ ปูรณมี
ในการคำนวณพละหรือกำลังของดิถี ในวิชาโหราศาสตร์ หากเป็นข้างขึ้นระหว่าง ขึ้น 7 ค่ำ-แรม 7 ค่ำถือว่ามีพลังที่เป็นศุภมงคล ส่วนดิถีที่เหลือ
นอกจากนี้พลังจะลดลงตามส่วนของความสว่างของดวงจันทร์ คือแรม 8 ค่ำจนถึงขึ้น 6 ค่ำ  ในการแบ่งพละของดิถีดวงจันทร์เพื่อหาพลังรังสีที่
เป็นมงคลของดวงจันทร์ ทางโหราศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้

ดังนั้นในการเลือกวันที่จะทำการมงคลควรจะพิจารณาดิถีก่อนเป็นอันดับแรกว่าเป็นดิถีประเภทใด หากเป็นพวกนันดิถี ภัทรดิถี ชยะดิถี หรือ
ปูรณะดิถี ก็จะเกิดผลดีเป็นมงคลอย่างสูงและควรหลีกเลี่ยง ริกตะดิถี เพราะเป็นดิถีไม่ดี เว้นแต่จะมีพลังศุภมงคลจากทางอื่นมาช่วยแก้ไข

 


 

วาระ หรือ วันในสัปดาห์ทั้ง 7 เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการคำนวณหาพละ หรือกำลังของดาวเคราะห์ที่มีกำลังแรงในวันนั้นๆ โดยวันในสัปดาห์
ตั้งแต่วันอาทิตย์จนถึงวันเสาร์ล้วนแล้วแต่มีความเชื่อมโยงไปถึงดวงดาวเจ้าวันที่กำลังโคจรบนท้องฟ้า ซึ่งจะสามารถส่งผลดีร้ายได้จากกำลังดาว
และลักษณะที่เป็นดาวศุภเคราะห์ศุภเคราะห์หรือปาปเคราะห์ โดยมีรายละเอียดดังนี้


**การเปลี่ยนวันในสัปดาห์ทางโหราศาสตร์จะต่างกับทางราชการซึ่งจะเปลี่ยนวันในเวลา 24.00 น. แต่ในทางโหราศาสตร์จะเปลี่ยนวันก็ต่อเมื่อ
พระอาทิตย์ขึ้นในวันรุ่งขึ้น


 

ชื่อนักษัตร สันสฤต-ไทย              นักษัตรจีน  ดาวเจ้าฤกษ์      เทวะประจำนักษัตร     ลักษณะพลังอิทธิพล         ตะยะชะยะกาล

 


 

ในคัมภีร์”มุหูรตะ”ได้จัดแบ่งพลังและอิทธิพลของนักษัตรต่างๆตามพลังรังสีที่แสดงออกมาเป็น 7 กลุ่มดังนี้  
1.นักษัตรมั่นคงถาวร(สถิระ)-ให้พลังงานที่คงที่สม่ำเสมอเหมาะสำหรับเริ่มกิจการมงคลต่างๆ เช่น พิธีราชาภิเษก พิธีตั้งหลักเมือง พิธีแรกนาขวัญ
ปลูกต้นไม้ยืนต้น สร้างบ้านเรือน สร้างวัด อาราม อุโบสถ วิหารและสร้างถาวรวัตถุต่างๆ  พิธีเข้าอยู่บ้านใหม่ การเริ่มต้นความสัมพันธ์ฉันมิตร
การสร้างมิตรภาพ ความรัก พิธีประดับเกียรติยศ พิธีวินายกะ ศานติ เริ่มต้นการศึกษาดนตรี สร้างมิตรภาพระหว่างเพศ สวมใส่เครื่องประดับ
ใช้เสื้อผ้าใหม่ ฯลฯ ให้ผลดีคงที่ถาวร
2.นักษัตรเคลื่อนไหว-(จาระ)ให้พลังงานที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว การก้าวไปข้างหน้า เหมาะสำหรับเริ่มกิจการมงคลต่างๆ เช่นเริ่มต้นหัดขับขึ่
ช้าง ม้า ยานพาหนะ ออกรถใหม่ เปิดร้านค้า เปิดกิจการใหม่ ทำเครื่องประดับเพชรพลอยเพื่อสวมใส่ให้ผลดีเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า
3.นักษัตรร้ายกาจ(วัชระ)-ให้พลังงานที่ร้ายกาจ เหมาะสำหรับเริ่มกิจการที่เกี่ยวข้องกับการทำลาย การซื้อและสร้างอาวุธ การวางแผนชั่วร้าย
การตัด วางยาพิษ การหลอกลวง การจับกุมคุมขัง การเผาผลาญ การจัดการกับคนชั่ว การควบคุมสัตว์ร้าย การใช้ไฟ ให้ผลเป็นความสำเร็จ
4.นักษัตรรวม-ผสมผสาน (มิษระ)-ให้พลังงานที่เป็นผลรวมจากพลังงานของนักษัตรอื่นๆ เหมาะสำหรับเริ่มกิจการที่ดีทั่วไป
5.นักษัตรแจ่มใส-รุ่งโรจน์ (ลฆุ)-ให้พลังงานที่เป็นผลดีเจริญรุ่งเรือง เหมาะสำหรับเริ่มกิจการ เริ่มใช้เครื่องประดับ พิธีรื่นเริง งานมงคล การกีฬา
แข่งขันการปรุงยา การักษาโรค เปิดโรงงานอุตสาหกรรม การเดินทางไกล การเริ่มต้นศึกษาศิลปต่างๆ ประติมากรรม ดนตรี จิตรกรรม ฯลฯ
6.นักษัตรเฉียบขาด(อุคระ)-ให้พลังงานที่เป็นผลรุนแรง เฉียบขาด เหมาะสำหรับเริ่มกิจการ เช่น การใช้เวทมนต์ คาถาอาคม สะกดภูติผีปิศาจ
การจับกุมคุมขัง การฆาตกรรม การตีตนออกห่างจากมิตร การใช้เสื้อผ้าใหม่ การโยกย้าย การย้ายถิ่นที่อยู่ การเริ่มต้นการฝึกหัดขับร้อง การ
ฝึกสัตว์ให้เชื่อง การเข้าทำงานใหม่ให้ความรุ่งเรืองก้าวหน้า
7.นักษัตรอ่อนโยน (มฤธุ)-ให้พลังงานที่เป็นผลอ่อนโยน ละมุนลมัย เหมาะสำหรับการพิธีทรงเครื่องต้น เริ่มใช้เครื่องแต่งกายใหม่ เริ่มหัดระบำ
รำฟ้อน ดนตรี วิจิตรศิลป์ การติดต่อทางชู้สาวและความรัก พิธีมงคลต่างๆ ให้ผลดี


*เวลาต้องห้ามของแต่ละนักษัตร (นักษัตรตะยะชะยะกาล)*

เวลาต่างๆของแต่ละนักษัตรที่จันทร์เสวย มีช่วงเวลาบางช่วงที่ไม่เป็นมงคลเรียกว่า “ตะยะชะยะกาล”ซึ่งต้องงดเว้น มีช่วงเวลานานถึง 96 นาที
ซึ่งโบราณได้กำหนดเวลาที่ต้องงดเว้นเอาไว้้  ตัวอย่างเช่น ปฎิทินวันที่ 18 ม.ค. 56 ฤกษ์บนบอกว่า “จันทร์ สถิตราศีมีน เสวยฤกษ์ที่ ๒๗
เรวตีนักษัตร สมโณฤกษ์  สิ้นสุดเวลา 20.53 นาฬิกา-ต่อด้วยฤกษ์ที่ ๑ อัศวินีนักษัตร ทลิทโทฤกษ์ ” หมายความว่าดาวจันทร์เริ่มเสวยนักษัตร
ที่ 1 อัศวินี ในเวลา 20.54 น. ตะยะชะยะกาลของอัศวินีนักษัตร คือ ให้งดเว้นเวลา 96 นาทีในชั่วโมงที่ 20.00 ช.ม.และ 96 นาทีสุดท้ายของ
นักษัตรนี้  ดังนั้นชั่วโมงที่ 20 คือ เวลา 20.54 น. + 20 ชั่วโมง = เวลา 15.54 น.ของวันที่ 19 ม.ค. 56 เป็นจุดเริ่มต้นของ ตะยะชะยะกาล
ซึ่งมีระยะเวลานาน 96 นาที (เวลา 15.54 น. + 96 นาที = เวลา 17.30 น. )หมายความว่า ตั้งแต่เวลา 15.54 น. ถึงเวลา 17.30 น.ของวันที่
19 ม.ค. 56 เป็นเวลาตะยะชะยะกาล ให้งดเว้นประกอบการมงคลและเริ่มกิจการใหม่ทั้งปวง


นักษัตรโยคมีการคำนวณองศาสัมพันธ์ระหว่างอาทิตย์และจันทร์ เพื่อหาพลังรังษีที่เป็นศุภผล หรือเป็นมงคลเอื้อประโยชน์ต่อชีวิตและจิตวิญญาณ
ของมนุษย์ และพลังงานที่ไม่เป็นศุภผลที่ให้โทษ ซึ่งเรียกว่า นักษัตรโยค โดย 1 ในรอบเดือนทางจันทรคติจะมีโยคทั้งดีและร้ายหมุนเวียนสลับ
สับเปลี่ยน แต่ละโยคมีระยะ 13 องศา 20 ลิปดา มีจำนวนทั้งหมด 27 โยค ดังนี้

 

 


 

พลังงานส่วนที่ 5 คือ กรณะ  หรือเรียกว่า นักษัตรกาล เป็นการคำนวณระยะเวลาของครึ่งวันของวันทางจันทรคติโดยคำนวณจากระยะของดาว
อาทิตย์และดาวจันทร์ในช่วงทุกๆ  6 องศาทวีคูณ ผลทีได้เป็นพลังรังสีดี-ร้ายมีจำนวน 11 กรณะและหมุนเวียนกันต่อเนื่องกันตลอดดิถีตามหลัก
วิธีการคำนวณกรณะ คือ ใน 1 เดือนจันทรคติ กรณะลำดับที่ 1-7 หมุนเวียนกันเป็นเจ้าการ 8 ครั้งโดยเริ่มต้นในครึ่งวันหลังของดิถีที่ 1 ของ
เดือน ลำดับที่ 8-11 เป็นเจ้าการคงที่ไม่หมุนเวียน โดยใน 1 วันจะมี 2 กรณะ


1.ปะวะกรณะ ดีสำหรับกิจกรรมที่เป็นชั่วคราวและถาวร เริ่มกิจการใหม่ เสริมสุขภาพ อายุและจะเป็นมงคลมากหากร่วมในวิสาขะ,เชษฐนักษัตร        
2.พลวัตกรณะ เป็นมงคลดีในกิจกรรมต่างๆรวมทั้งกิจกรรมทางด้านศาสนา และจะเป็นมงคลมากหากร่วมกับโรหิณีนักษัตร        
3.เกาลวะ    กรณะ  เป็นมงคลดีในเรื่องความรัก การแต่งงาน ความสวยงาม เครื่องประดับ และจะเป็นมงคลมากหากร่วมกับอนุราธะนักษัตร        
4.ไตติละกรณะ  เป็นมงคลดีในเรื่องชื่อเสียง ความนิยมชมชอบ กิจการเกี่ยวบ้านที่พักอาศัยและจะเป็นมงคลมากหากร่วมกับอุตรผลคุนีนักษัตร    
5.คฤชะกรณะ เป็นมงคลดีในเรื่องการเพาะปลูก สร้างบ้าน กิจการที่พักอาศัยและจะเป็นมงคลมากหากร่วมกับนักษัตรที่ดี(ศุภะ)
6.วานิชะกรณะ เป็นมงคลดีในเรื่องธุรกิจ การค้าขาย กิจการแลกเปลี่ยนต่างๆและจะเป็นมงคลมากหากร่วมกับนักษัตรที่ดี(ศุภะ)
7.วิษฏิกรณะ ไม่เป็นมงคล แต่จะเหมาะสำหรับการจู่โจมทำลายศัตรู วางยาพิษ ผลจะรุนแรงมากขึ้นอีกหากร่วมกับภรณีและอารทรานักษัตร
8.สกุณะกรณะ ไม่เป็นมงคลในกิจการทั่วไป แต่เหมาะสำหรับการปรุงยา เภษัชกรรม การรักษาโรค ใช้เวทย์มนตร์ โหราศาสตร์และการทำนาย     
9.จตุษปาทะกรณะ ไม่เป็นมงคลในกิจการทั่วไป แต่เหมาะสำหรับกิจการเกี่ยวกับวัว พิธีพรามหณ์    บูชาพรรพชน และกิจการเกี่ยวกับการเมือง    
10.นาคะกรณะ ไม่เป็นมงคลในกิจการทั่วไปแต่เหมาะกับกิจการอสังหาฯ การทำการลงโทษ ทำทารุณ โหดร้าย (รุนแรงมาก-อาศเลษะนักษัตร)
11.กิมะสตุฆนะกรณะ  ไม่เป็นมงคลในกิจการทั่วไปแต่เหมาะกับการบูชาสักการะ งานการแสดง เกี่ยวกับอาหารแต่เป็นมงคลสำหรับพิธีแต่งงาน
และเป็นมหามงคลในสวาตินักษัตร


นอกจากหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การกำหนดฤกษ์ยามมงคลยังจะต้องพิจารณาจากกาละ หรือ มุหูรตะกาลเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น
1.ราหูกาล -คือช่วงเวลาที่ไม่ดีในแต่ละวัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาของราหู ควรหลีกเลี่ยงและงดเว้นกิจการที่เป็นมงคลในช่วงระยะเวลานี้
ราหูกาล คือการคำนวนค่าเฉลี่ยของยามต่างๆ ในแต่ละวัน เช่น วันที่พระอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.00 น. และตก เวลา 18.00 น.คำนวณหาราหูกาล
จะไดดังนี้ วันอาทิตย์ ราหูกาลคือช่วงเวลา 4.30 - 6.00 น., วันจันทร์ 7.30 - 9.00 น., วันอังคาร  15.00- 16.30 น., วันพุธ 12.00 - 13.30 น.
วันพฤหัสฯ 13.30 - 15.00 น.,วันศุกร์ 10.30-12.00 น., วันเสาร์ 9.00-10.30 น.ซึ่งการคำนวนจะต้องรู้เวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกในแต่ละวันแล้ว
นำมาหารหาค่าเฉลี่ยในแต่ละยาม มี 8 ยาม และในวันต่างๆก็ได้กำหนดเวลาของราหูกาลเอาไว้ดังนี้ วันอาทิตย์ ยามที่ 8 หรือ 1 เป็นราหูกาล
วันจันทร์ ยามที่ 2 เป็นราหูกาล  วันอังคาร ยามที่ 7 เป็นราหูกาล วันพุธ ยามที่ 5 เป็นราหูกาล  วันพฤหัส ยามที่ 6 เป็นราหูกาล  วันศุกร์
ยามที่ 4 เป็นราหูกาล วันเสาร์ ยามที่ 3 เป็นราหูกาล
2.ยมกาล-คือช่วงเวลาของพระยม เทพเจ้าแห่งความตายซึ่งต้องหลีกเลี่ยง แต่เป็นช่วงเวลาเหมาะแก่การประกอบพิธีงานอวมงคลต่างๆ
3.คุลิกากาล-หรือเรียกว่า ”มันถิกาล” ซึ่งมันถิและคุลิกาเป็นบุตรของดาวพระเสาร์เทพเจ้าแห่งความทุกข์ยาก ขัดสน ซึ่งต้องหลีกเลี่ยง
4.ทุรมุหูรตะ-หมายความว่า เป็นช่วงเวลาที่ไม่เป็นมงคล ในแต่ละวัน
5.วารจยะ-ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาที่ไม่ดีอีกเช่นกัน แต่เบากว่า ใน 4 ข้อแรก และในวันหนึ่งๆ อาจจะมี วารจยาม มากว่า 1 ช่วงเวลา

 


 

 

พลังงานทั้งหมดทั้ง 5 ประการที่กล่าวมา หากช่วงเวลาที่ต้องการได้ผลเป็นมงคลดีครบถ้วนทั้ง 5ประการและไม่มีส่วนร้าย ก็ถือว่าช่วงเวลานั้นๆ
สามารถนำไปกำหนดฤกษ์ยามมงคลจะได้ผลดี มีความเจริญรุ่งเรืองและประสบความสำเร็จตามที่ปรารถนา แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีลักษณะพิเศษ
บางประการของกำลังฤกษ์ยามในปฏิทินปัญจางคะนี้ มีขอบเขตจำกัดในการกระทำกิจการในบางอย่างและต้องงดเว้นสำหรับกิจการบางประเภท
ซึ่งขึ้นอยู่กับบางส่วนของ วาร ดิถี นักษัตร โยค และกรณะ เช่น
1.วารที่เป็นวันสำหรับทำการมงคลโดยทั่วไป คือ วันจันทร์ วันพุธ วันพฤหัส และวันศุกร์เท่านั้น ส่วนวันเสาร์สามารถทำได้โดยมีกฏยกเว้นบาง
อย่าง ตามหลักของคัมภีร์มุหูรตะ ส่วนวันอังคารให้งดเว้นงานมงคลโดยเด็ดขาด
2.ดิถีที่ดีและเป็นมงคลโดยทั่วไป คือ ดิถีที่ 2,5,7,10,11,13 (ข้างขึ้น) และแรม 1ค่ำ ห้ามแรม 13 ,14 ค่ำ และวันอมาวสี ตามการคำนวณของ
ดิถีเพียร ห้ามริกตะดิถีนอกจากจะได้กำลังอื่นๆและจากกฏเกณฑ์ข้อยกเว้นตามหลักของคัมภีร์มุหูรตะ ดิถีที่เหมาะกับการเริ่มงานใหม่ คือ วาร
วันอาทิตย์ วันพุธ วันพฤหัสฯ และวันศุกร์ ได้ทุกดิถีตามข้อ 2 และห้าม ขึ้น 1 ค่ำ ดิถีที่เหมาะกับงานมงคลสมรส ห้ามริกตดิถีและ ขึ้น 1 ค่ำ
ดิถีที่เหมาะกับการเดินทางไกล ได้ทุกวัน ยกเว้น วาร วันอาทิตย์และวันพุธ ห้ามดิถีข้างขึ้น 1,4,9,14 ค่ำและข้างแรม 4,9,13,14 ค่ำ ดิถีที่เหมาะ
กับการออกรถใหม่ ได้ทุกวันตามข้อ 1 และดิถีที่ดีคือ ดิถี 3,4,5,7,10,13,15 ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม นอกนั้นควรงด
3.นักษัตรที่ให้ผลดีที่สามารถใช้ได้โดยทั่วไป คือ อัศวินี,โรหินี,มฤคศิระ,ปุรวสุ,ปุษยะ,อุตรผลคุนี,หัสตะ,จิตรา,สวาติ,อนุราธะ,อุตราษาฒ,สรวณะ,
ธนิษฐะ,ศตภิษก,อุตรภัทรปท,เรวดีสามารถใช้ได้ดีเพียงแต่ห้ามใช้นักษัตรกำเนิด(คือนักษัตรที่จันทร์เสวยในเวลาเกิดของเจ้าชาตา)นักษัตรที่เหมาะ
กับงานมงคลสมรสที่สามารถใช้ได้โดยทั่วไป คือ โรหิณี,มฤคศิระ,มาฆะ(ยกเว้นบาทแรก) อุตรผลคุนี,หัสตะ,สวาติ,อารทรา,มูละ,อุตรษาฒ,อุตร-
ภัทรปท,เรวดี (ยกเว้นบาทสุดท้าย) นักษัตรที่เหมาะกับการเดินทางไกลที่สามารถใช้ได้โดยทั่วไป คือ โรหิณี, มฤคศิระ,ปุษยะ,อุตรผลคุนี,หัสตะ,
จิตรา,สวาติ, อนุราธะ, อุตราษาฒ,สรวณะ,ธนิษฐะ,ศตภิษก,อุตราภัทรปท และ เรวดีนักษัตร นักษัตรที่เหมาะการออกรถใหม่ที่สามารถใช้ได้โดย
ทั่วไป คือ อัศวินี,มฤคศิระ,ปุษยะ,อุตรผลคุนี,หัสตะ,จิตรา,สวาติ,อนุราธะ,อุตราษาฒ,สรวณะ,ธนิษฐะ,ศตภิษก,อุตราภัทรปท และเรวดี นักษัตรที่
เหมาะกับการเริ่มงานใหม่ เปิดร้านค้า เปิดกิจการใหม่ที่สามารถใช้ได้โดยทั่วไป คือ โรหิณี, อุตรผลคุนี, อุตราษาฒ,ธนิษฐะ,ศตภิศกและเรวดี
4.ทาระพละ คือการคำนวณหาจุดไม่ดีนับจากนักษัตรกำเนิดของดวงชาตา ของผู้ที่จะใช้ฤกษ์ยามนั้นๆ โดยห้ามใช้นักษัตรที่1-3-5-7-10-12-14-16-19
-21-23-25 ที่นับจากนักษัตรกำเนิดของเจ้าชาตา(ที่จันทร์เสวยเวลาเกิด) ตัวอย่างเช่น เจ้าชาตา เกิดในสวาตินักษัตรที่ 15 และวันที่ต้องการจะทำ
การมงคลเป็นวันที่ดาวจันทร์เสวยอัศวินีนักษัตรที่ 1 ตามทีปรากฏในปฏิทิน(ฤกษ์บน) และนับจากสวาตินักษัตรได้ 14 ซึ่งจะเป็นผลร้าย ถึงแม้ว่า
ดวงฤกษ์ในจุดอื่นๆจะดีก็ตามก็ต้องงดเว้น  ทั้งหมดนี้เป็นการหาฤกษ์ยามที่ได้ผลดี ตามหลักทั่วไปจากคัมภีร์มุหูรตะ ซึ่งได้ผลดี และการคำนวณ
และหาฤกษ์ยามได้ง่าย  แม้ว่าจะไม่มีความรู้พื้นฐานทางโหราศาสตร์หรือมีเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถเข้าใจได้จากปฏิทินโหราศาสตร์ที่ได้คำนวณ
เวลาของดิถี นักษัตร โยค การณะ ฯลฯ ดีร้ายเอาไว้ให้อย่างละเอียดแล้ว ส่วนข้อ 4 ทาระพละ ผู้ใช้ปฏิทินอาจจะต้องมีความรู้ทางโหราศาสตร์
บ้างจึงจะพอเข้าใจได้ไม่ยากหรือจะปรึกษานักโหราศาสตร์ หรือเว็บไซด์โหราศาสตร์ เพื่อคำนวนหานักษัตรกำเนิดของตัวท่านเอง โดยไปที่.......
http://www.indianhindunames.com/nakshatra-calculator-find-birth-star.htm  กรอกข้อมูลวันเดือนปีเกิด เวลาเกิด ประเทศและเขตเวลาที่เกิดของ
ท่าน ก็จะปรากฏข้อมูลของนักษัตรกำเนิดของท่าน (โดยผลการคำนวณจะระบุว่า Your Nakshatra / Birth star / Naal is ................)
***ส่วนการคำนวณฤกษ์ยามโดยละเอียดซึ่งเป็นฤกษ์ยามชั้นสูง ซึ่งจะมีการคำนวณอีก 6 ส่วนเพิ่มเติมจากปฏิทินปัญจางคฉบับนี้คือ 1.ดาราพละ
หรือกำลังของนักษัตร 2.จันทรพละ หรือกำลังของจันทร์ 3.ปัญจกพละ หรือกำลังทั้ง 5 ประการเพื่อหาราศีลัคน์ของดวงฤกษ์ 4. ปัญจกสุทธิ  
5.มุหูรตะโยค หรือโยคดิถี (ฤกษ์ล่าง) 6.ข้อยกเว้นและกฏเกณฑ์พิเศษ วิธีนี้จะให้ผลสมบูรณ์ที่สุดสำหรับกิจการที่สำคัญมากและจะสมพงษ์กับดวง
ชาตาของเจ้าชาตาอย่างสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการคำนวณฤกษ์แต่งงาน ยกเสาเอกก่อสร้าง วางศิลาฤกษ์ วางรากฐานอาคารขนาดใหญ่ และ
กิจการสาธารณะและกิจการที่สำคัญของบ้านเมืองซึ่งส่วนนี้จะเหมาะกับโหราจารย์และนักโหราศาสตร์โดยเฉพาะเรียกว่า“มุหูรตะการคำนวณฤกษ์
ยามชั้นสูง”ซึ่งจะมีผลงานออกมาเร็วๆนี้