หน้าแรก
คัมภีร์ปาริชาตชาดก บทที่ ๒ ธรรมชาติและความหมายของพระเคราะห์ โศลกที่ ๖๑-๗๑
- รายละเอียด
- หมวด: คัมภีร์ปาริชาตชาดก
- จำนวนผู้อ่าน: 326
โศลกที่ ๖๑
พระอาทิตย์เข้มแข็งในตำแหน่งต่อไปนี้ ในตำแหน่งที่เป็นอุจจ์ ในตำแหน่งที่เป็นเกษตร์ ในตรียางค์ซึ่งครองด้วยอาทิตย์ ในโหราซึ่งครองด้วยอาทิตย์ เข้มแข็งในวันอาทิตย์ ใน นวางค์ที่ครองด้วยอาทิตย์ ในเวลาที่อาทิตย์โคจรไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตร ในเวลาเที่ยงวันคือพระอาทิตย์อยู่บนศรีษะของเราพอดี ตำแหน่งนี้เรียกว่าศิโรพินทุ อาทิตย์เข้มแข็งในเวลายกย้ายราศีหรือผลัดราศี เข้มแข็งในนวางค์ที่ครองด้วยดาวมิตรและเข้มแข็งสุดเมื่ออยู่ในภพที่ ๑๐ จากลัคนา ฯ
อ่านเพิ่มเติม: คัมภีร์ปาริชาตชาดก บทที่ ๒ ธรรมชาติและความหมายของพระเคราะห์ โศลกที่ ๖๑-๗๑
คัมภีร์ปาริชาตชาดก บทที่ ๒ ธรรมชาติและความหมายของพระเคราะห์ โศลกที่ ๔๗-๖๐
- รายละเอียด
- หมวด: คัมภีร์ปาริชาตชาดก
- จำนวนผู้อ่าน: 234
โศลกที่ ๔๗
อาทิตย์แสดงถึงการมีเสถียรภาพที่มั่นคงและแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง จันทร์แสดงถึงความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อังคารแสดงถึงความฉุนเฉียวเจ้าโทสะ ความฉับพลันทันที ไม่รู้ตัวมาก่อนและไม่ได้คิดเอาไว้ว่าจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น พุธแสดงว่าเป็นไปได้ทุกประการ แล้วแต่ว่าจะได้รับแสงจากพระเคราะห์ใด ไม่มีจิตใจที่เป็นตัวของตัวเอง พฤหัสฯแสดงว่าเป็นผู้ที่สุขุมเยือกเย็น สุภาพอ่อนโยนและเจ้าระเบียบ ศุกร์แสดงถึงความรื่นรมย์ต่างๆ การหาความสุขใส่ตน เจ้าสำราญ เสาร์แสดงถึงความหยาบคาย การเห็นผิดเป็นชอบ ฯ
อ่านเพิ่มเติม: คัมภีร์ปาริชาตชาดก บทที่ ๒ ธรรมชาติและความหมายของพระเคราะห์ โศลกที่ ๔๗-๖๐
คัมภีร์ปาริชาตชาดก บทที่ ๒ ธรรมชาติและความหมายของพระเคราะห์ โศลกที่ ๓๓-๔๖
- รายละเอียด
- หมวด: คัมภีร์ปาริชาตชาดก
- จำนวนผู้อ่าน: 302
โศลกที่ ๓๓-๓๔
ในบทที่ ๑ โศลกที่ ๔๔ ได้กล่าวถึงการแบ่งราศีออกเป็นส่วนๆลงไปอีกหลายระบบ และจัดดาวพระเคราะห์เข้าครองในระบบเหล่านั้น การแบ่งราศีออกเป็นย่อยๆลงไปเช่นนี้ แต่ละระบบเรียกว่าวรรค ท่านกล่าวว่าดาวพระเคราะห์ต่างๆที่สถิตอยู่ในราศีใดๆต้องตรวจดูว่าอยู่ในวรรคของดาวอะไรด้วย ทางโหราศาสตร์ถือว่าตำแหน่งพระเคราะห์ที่เข้มแข็งเรียกว่ามีสถานะพละเข้มแข็งคือได้ตำแหน่งของวรรคต่างๆซึ่งครองด้วยพระเคราะห์ดวงเดียวกันหมดพระเคราะห์ใดได้ตำแหน่งนี้ถือว่าให้คุณแก่เจ้าชะตาในกระบวนวรรคต่างๆทั้งหมดมีที่สำคัญและใช้ในการวินิจฉัยแก่ดวงชะตามากที่สุดได้แก่วรรคต่อไปนี้ สโวจจะ สวะอุจจะ คือตำแหน่งอุจจ์ของพระเคราะห์ สวะตรีโกณะคือตำแหน่งมูละตรีโกณของพระเคราะห์ สวะสุหฤทคือตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ในวรรคของคู่มิตร สวะทเรกกาณะคือตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ใดๆที่อยู่ในตรียางค์ที่ครองด้วยพระเคราะห์นั้นเอง สวะราศี สวะเกษตร์คือตำแหน่งของดาวพระเคราะห์อยู่ในเรือนเกษตร์ สวะอำศะคือตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ที่เป็นเกษตร์ในนวางค์ ถ้าพระเคราะห์ใดๆได้ตำแหน่งตามที่กล่าวมานี้และดาวพระเคราะห์นั้นกุมลัคนาด้วย พระเคราะห์นั้นจะให้คุณแก่เจ้าชะตามากขึ้นอีก
อ่านเพิ่มเติม: คัมภีร์ปาริชาตชาดก บทที่ ๒ ธรรมชาติและความหมายของพระเคราะห์ โศลกที่ ๓๓-๔๖
คัมภีร์ปาริชาตชาดก บทที่ ๒ ธรรมชาติและความหมายของพระเคราะห์ โศลกที่ ๒๒-๓๒
- รายละเอียด
- หมวด: คัมภีร์ปาริชาตชาดก
- จำนวนผู้อ่าน: 287
โศลกที่ ๒๒
ผู้รู้โหราศาสตร์ทั้งหลายให้ความเห็นว่า อาทิตย์หมายถึงเสื้อผ้าหนาๆ พระจันทร์หมายถึงเส้นด้าย อังคารหมายถึงพวกขับร้องเกี่ยวกับไฟ พุธหมายถึงเสื้อผ้าที่เปียกน้ำหรือกำลังซักฟอกอยู่ พฤหัสบดีหมายถึงเครื่องนุ่งห่มธรรมดา ศุกร์หมายถึงผ้าห่มหรือเสื้อคุม เสาร์หมายถึงผ้าขี้ริ้วหรือผ้าเช็ดพื้น ฯ
อ่านเพิ่มเติม: คัมภีร์ปาริชาตชาดก บทที่ ๒ ธรรมชาติและความหมายของพระเคราะห์ โศลกที่ ๒๒-๓๒
270164 พิธีตั้งศาลพระภูมิ-ตายาย นสพ. สากล จ.สระบุรี
- รายละเอียด
- หมวด: พิธีตั้งศาลพระภูมิ ศาลตายาย ศาลพระพรหม
- จำนวนผู้อ่าน: 188