หน้าแรก
คัมภีร์ปาริชาตชาดก บทที่ ๑ โศลกที่ ๙-๑๕
- รายละเอียด
- หมวด: คัมภีร์ปาริชาตชาดก
- จำนวนผู้อ่าน: 302
โศลกที่ ๙
- สัญลักษณ์ของราศีต่าง ๆ ท่านกำหนดไว้ดังนี้ ราศีมีนเป็นรูปปลาสองตัวโดยหันหัวสลับกันอยู่คนละทาง ราศีกุมภ์เป็นรูปคนถือหม้อน้ำ ราศีตุลย์เป็นรูปคนถือตราชู ราศีธนูเป็นรูปผู้ชายถือศร แต่ท่อนล่างตั้งแต่เอวลงไปเป็นรูปม้า เป็นราศีครึ่งคนครึ่งม้า ราศีมังกรเป็นรูปปลาฉลามแต่ท่อนหัวเป็นกวาง ราศีเมถุนเป็นรูปชายหญิงหนึ่งคู่ ผู้หญิงถือพิณส่วนผู้ชายถือคธา ราศีกันย์เป็นรูปหญิงยืนอยู่ในเรือในมือถือรวงข้าวและอีกมือหนึ่งถือคบไฟ ส่วนราศีอื่น ๆ ที่เหลืออยู่มีสัญลักษณ์ตามชื่อของราศีนั้น ๆ เช่น ราศีเมษเป็นรูปแพะหรือแกะตัวผู้ ราศีพฤศภเป็นรูปโคผู้ ราศีกรกฏเป็นรูปปู ราศีสิงห์เป็นรูปสิงห์โต และราศีพิจิกเป็นรูปแมลงป่อง ฯ
คัมภีร์ปาริชาตชาดก บทที่ ๑ โศลกที่ ๔-๘
- รายละเอียด
- หมวด: คัมภีร์ปาริชาตชาดก
- จำนวนผู้อ่าน: 277
โศลกที่ ๔, ๕, ๖
- ในการเรียนโหราศาสตร์ท่านผู้รู้ในสมัยโบราณได้แบ่งจักรราศีออกเป็น๑๒ส่วนเท่า ๆ กัน แต่ละส่วนของจักรราศีเรียกว่า ราศี ซึ่งมีชื่อตามลำดับดังต่อไปนี้
ราศีที่ ๑ มีชื่อว่า เมษะหรือเมษ แปลว่า แกะตัวผู้ อะชะหรืออัช แปลว่า จ่าฝูงหรือผู้นำฝูง วิศวะ หมายถึง เทวดาองค์หนึ่ง กริยะหรือกริยา แปลว่า การตั้งต้น ตุมพุระ แปลว่า คนธรรพ์ อาทยะ แปลว่า อันแรก
ราศีที่ ๒ มีชื่อว่า วฤศะภะหรือวฤษะ เรามักเรียกว่า พฤษภ แปลว่า วัวตัวผู้ อุกัษน์ แปลว่า วัวผู้ โค แปลว่า วัวผู้ ตาวุรุ แปลว่า ราศีพฤษภ โคกุละ แปลว่า ฝูงวัว
ราศีที่ ๓ มีชื่อว่า ทวำทวะหรือทวันทวะ แปลว่า สัตว์คู่หนึ่ง คือตัวผู้และตัวเมียอย่างละตัว นฤยุคคม แปลว่า คู่ที่เป็นเด่นนำหน้าคู่อื่น ๆ ชุตุมมะหรือชิตุมะ แปลว่า ความผาสุขเสมือนอยู่ในสวรรค์ ยะมะหรือยม แปลว่า คู่หนึ่งหรือลูกแฝด มิถุนะหรือเมถุน แปลว่า การสังวาส
221063 พิธีเจาะเสาเข็ม บ้านคุณสัญชัย จ.สมุทรปราการ
- รายละเอียด
- หมวด: พิธียกเสาเอก วางศิลาฤกษ์
- จำนวนผู้อ่าน: 256
อ่านเพิ่มเติม: 221063 พิธีเจาะเสาเข็ม บ้านคุณสัญชัย จ.สมุทรปราการ