ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ข้อมูลเรื่องไตรจีวร  การเลือกสีและขนาดจีวร และวิธีการตัดเย็บ

จีวร ถือว่าเป็นธงชัย หรือเครื่องหมายของพระอรหันต์
มีหลักฐานปรากฏในพระคัมภีร์อุบาลีเถราปทาน ว่า

“บุคคลเห็นผ้ากาสาวพัสตร์ที่ (แม้) เปื้อนอุจจาระที่ถูกทิ้งไว้ตามถนนหนทาง
ก็ควรประนมมือไหว้ผ้านั้น อันเป็นธงชัยของพระอริยเจ้า ด้วยเศียรเกล้า”


ไตรจีวร หรือ ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่ม ซึ่งหมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ผ้าสังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงฆ์ หรือผ้าจีวรสำหรับห่ม และอันตรวาสก หรือสบงสำหรับนุ่ง แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร โดยไตรจีวรเป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน ๘ อย่าง เรียกว่า”อัฐบริขาร” นอกจากนี้คำว่า “จีวร” ยังใช้หมายถึงเฉพาะผ้าห่มของพระสงฆ์อย่างเดียวก็ได้ เช่น จีวร ที่ใช้ในความหมายว่าผ้าห่มอย่างเดียว มีชื่อเรียกเฉพาะว่าอุตราสงค์
ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อกันไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้งภิกษุบางรูปได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยบ่อย ครั้ง เนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล

 

 

ลายเส้นบนจีวร
จีวร ของพระสงฆ์ ประกอบด้วยผ้า ที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆมาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือ ผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บหรือนำไปใช้อีก จึงเหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนาของชาวมคธ ซึ่งออกแบบโดยพระอานนท์ ดังปรากฏข้อความในพระวินัยปิฎก ว่า ในสมัยพุทธกาล วันหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จถึงทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยพระภิกษุจำนวนหนึ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็นท้องนา (แปลงนา) ของชาวมคธ
เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคันนาสั้นๆ คั่นในระหว่าง แล้วมีรับสั่งกับ พระอานนท์ ว่า

อานนท์ เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดิน ขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่ง คันนากับคันนา ผ่านตัดกันไปหรือไม่ ...เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลาย ให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม

พระอานนท์ตอบว่า สามารถ พระพุทธเจ้าข้า

ครั้ง นั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จกลับมาพระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป ครั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้ง ถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อ ได้โดยกว้างขวาง ...จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ

หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัด แต่งแล้ว ให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ ผ้า ๓ ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง ต่อมาทรงอนุญาต ไตรจีวร คือ ผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่า ภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้ รูปใดมีมากกว่านี้ เป็นอาบัติ

อติเรกจีวร คือ จีวรที่มีเกินกว่าผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร ตามพระวินัย ภิกษุสามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วันและสามารถทำเป็น วิกัปอติเรกจีวร คือ ทำให้เป็นสองเจ้าของ เพื่อจะได้ไม่ต้องอาบัติ เพราะเก็บไว้เกินกำหนด

ความ เป็นมาของเรื่องอติเรกจีวรนี้ เนื่องจากมีผู้ถวายจีวรแก่พระอานนท์ แล้วท่านประสงค์จะเก็บไว้ ถวายพระสารีบุตร ซึ่งขณะนั้นอยู่ต่างเมือง ประมาณ ๑๐ วัน จึงจะเดินทางมาถึง พระอานนท์ได้เข้าไป ทูลถามพระพุทธองค์ว่า จะปฏิบัติอย่างไร กับอติเรกจีวรดี จึงทรงมีพุทธบัญญัติ ให้เก็บรักษาอติเรกจีวร ไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน

ผ้าที่ใช้ทอจีวร

สมัย ต่อมา มีจีวรหลายประเภทเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลายไม่แน่ใจว่า จีวรชนิดใดที่ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นต่อพระศาสดา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ
จีวรทำด้วยเปลือกไม้
จีวรทำด้วยฝ้าย
จีวรทำด้วยไหม
จีวรทำด้วยขนสัตว์
จีวรทำด้วยป่าน
จีวรทำด้วยของเจือกัน

การเลือกขนาดจีวรที่เหมาะสม

ขนาด ยาว 190 ซ.ม. กว้าง 300 ซ.ม. เหมาะกับพระสงฆ์ที่สูงไม่เกิน 160 ซ.ม.

ขนาด ยาว 200 ซ.ม. กว้าง 300 ซ.ม. เหมาะกับพระสงฆ์ที่สูง 160 – 170 ซ.ม.

ขนาด ยาว 210 ซ.ม. กว้าง 310 ซ.ม. เหมาะกับพระสงฆ์ที่สูง 170 – 180 ซ.ม.

ขนาด ยาว 220 ซ.ม. กว้าง 320 ซ.ม. เหมาะกับพระสงฆ์ที่สูง 180 ซ.ม. ขึ้นไป หรือพระที่มีรูปร่างสูงใหญ่

แต่ถ้าจะนำไปถวายพระโดยไม่เจาะจงผู้รับ แนะนำให้เลือกขนาด 200 ซ.ม.หรือ 210 ซ.ม. เพราะเป็นขนาดกลางๆที่พระส่วนใหญ่ครอง

สำหรับขนาดของชุดไตรนั้นให้ถือเอาขนาดของจีวรเป็นเกณฑ์ เช่นจีวรขนาด 200 ซ.ม.ชุดไตรนั้นก็เป็นขนาด 200 ซ.ม.


 

 

 

พุทธานุญาตต่างๆ เกี่ยวกับการรับผ้าจากคฤหัสถ์


หมอชีวกโกมารภัจจ์ ผู้ทูลขอให้ภิกษุรับจีวรจากคฤหัสถ์ หมอชีวกโกมารภัจจ์ คือ ผู้ที่ได้กราบทูลขอร้องต่อพระผู้มีพระภาค เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายรับคฤหบดีจีวรได้ (คือจีวรที่ผู้ศรัทธาถวายให้ใช้ สมัยก่อนอนุญาตแต่จีวรที่เก็บเศษผ้ามาปะติดปะต่อใช้). ทรงปรารภคำขอของหมอชีวก จึงทรงอนุญาตให้รับคฤหบดีจีวรได้
แต่ถ้าใครจะยังถือจะใช้จีวรที่เก็บมาปะติดปะต่อ ที่เรียก “บังสุกุลจีวร” ก็ให้ถือต่อไปตามอัธยาศัย

ทรงตรัสว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุล รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุล รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร แต่เราสรรเสริญการยินดี ด้วยปัจจัยตามมีตามได้.”


บังสุกุลจีวร-คฤหบดีจีวร

ในครั้งนั้น เมื่อมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุรับผ้าจีวรจากคฤหัสถ์ได้ประชาชนก็ต่างปลาบปลื้มกันถ้วนหน้า พากันนำจีวรมาถวายในพระพุทธศาสนาจำนวนมาก

ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕มหาวรรค ภาค ๒ มีกล่าวไว้ว่า
“ก็โดยสมัยนั้นแล จีวรทั้งเนื้อดีและเลวเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า จีวรชนิดไรหนอแล พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ชนิดไรไม่ทรงอนุญาตแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ จีวรทำด้วยเปลือกไม้ ๑ ทำด้วยฝ้าย ๑ ทำด้วยไหม ๑ ทำด้วยขนสัตว์ ๑ ทำด้วยป่าน ๑ ทำด้วยของเจือกัน ๑”

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายที่ยินดีคหบดีจีวรนั้นพากันรังเกียจ ไม่ยินดีผ้าบังสุกุลด้วยคิดว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตจีวรอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ ๒ อย่าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ยินดีคหบดีจีวรยินดีผ้าบังสุกุลได้ แต่เราสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรทั้งสองนั้น”

วิธีการรับและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการรับผ้าจีวร

องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับจีวร

ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนถือจีวรมาสู่อาราม พวกเขาหาภิกษุเจ้าหน้าที่รับไม่ได้จึงนำกลับไป จีวรเกิดขึ้นน้อย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร คือ

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่รับไว้ และยังมิได้รับ”


องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้เก็บจีวร

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร รับจีวรแล้วทิ้งไว้ในที่นั้นแหละ แล้วหลีกไป จีวรเสียหาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร คือ

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่เก็บไว้ และยังมิได้เก็บ”


องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ได้เก็บจีวรไว้ในมณฑปบ้าง ที่โคนไม้บ้าง ที่ชายคาบ้าง ที่กลางแจ้งบ้าง จีวรถูกหนูกัดบ้าง ถูกปลวกกินบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ วิหาร เพิง เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้ำ ที่สงฆ์จำหมายให้เป็นเรือนคลัง.”

และจีวรในเรือนคลังของสงฆ์ ไม่มีคนเฝ้า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง คือ

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่รักษา และยังมิได้รักษา”


องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้แจกจีวร

ก็โดยสมัยนั้นแล จีวรในเรือนคลังของสงฆ์มีมาก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้าแจก.”

สมัยต่อมา สงฆ์ทั้งปวงกำลังแจกจีวรได้ส่งเสียงอื้ออึง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร คือ

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักจีวรจำนวนที่แจกแล้ว และยังมิได้แจก”


การแจกผ้าจีวรสามเณร

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ได้มีความปริวิตกว่า พึงให้ส่วนจีวรแก่สามเณรอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนกึ่งหนึ่งให้แก่พวกสามเณร.”


 

 

พุทธานุญาตอื่นๆ เรื่อง น้ำย้อม เป็นต้น

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายย้อมจีวรด้วยโคมัยบ้าง ด้วยดินแดงบ้าง จีวรมีสีคล้ำ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม ๖ อย่าง คือ
น้ำย้อมเกิดแต่รากหรือเหง้า ๑
น้ำย้อมเกิดแต่ต้นไม้ ๑
น้ำย้อมเกิดแต่เปลือกไม้ ๑
น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ ๑
น้ำย้อมเกิดแต่ดอกไม้ ๑
น้ำย้อมเกิดแต่ผลไม้ ๑.”


และในสมัยต่อมาพระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตเรื่องปลีกย่อยอื่นๆ ได้แก่

๐ ทรงอนุญาตหม้อย้อมขนาดเล็กเพื่อต้มน้ำย้อม.
๐ น้ำย้อมล้นหม้อ ทรงอนุญาตให้ผูกตะกร้อกันล้น.
๐ ทรงอนุญาตให้หยดหยาดน้ำลงในน้ำ หรือหลังเล็บ
เพื่อทดสอบว่าน้ำในหม้อย้อมร้อนพอแล้วหรือไม่ร้อน
๐ ทรงอนุญาตกระบวยตักน้ำย้อมอันเป็นภาชนะมีด้าม เพื่อสะดวกในการใช้งาน
๐ ทรงอนุญาตอ่างสำหรับย้อม, หม้อสำหรับย้อม เพราะบางแห่งภิกษุก็ขาดแคลนภาชนะ
๐ ทรงอนุญาตรางสำหรับย้อม เพื่อภิกษุไม่ต้องขยำจีวรในถาดบ้าง ในบาตรบ้าง
๐ ทรงอนุญาตเครื่องรองทำด้วยหญ้า เพื่อตากจีวรที่พื้นได้จักได้ไม่เปื้อน
๐ ในเวลาต่อมา ทรงอนุญาตราวจีวร สายระเดียง
คือ ตากจีวรบนที่แขวน เพราะที่รองกับพื้นนั้นถูกแมลงกัดบ้าง
๐ ทรงอนุญาตให้ผูกมุมจีวรไว้ เพื่อภิกษุทั้งหลายตากจีวรตอนกลาง
น้ำย้อมจะได้ไม่หยดออกทั้งสองชาย
๐ ทรงอนุญาตด้ายผูกมุมจีวร เพื่อไม่ให้มุมจีวรชำรุด
๐ ทรงอนุญาตให้ย้อมจีวรพลิกกลับไปกลับมาเมื่อจีวรยังชุ่มด้วยน้ำย้อม
๐ ทรงอนุญาตให้จุ่มจีวรลงในน้ำ เนื่องจากจีวรเป็นผ้าเนื้อแข็ง
๐ ทรงอนุญาตเราอนุญาตให้ทุบด้วยฝ่ามือ เนื่องจากจีวรเป็นผ้ากระด้าง

การเปลือยกายและการใช้ผ้า

ทรงห้ามเปลือยกายแบบเดียรถีย์ และปรับอาบัติถุลลัจจัยแก่ผู้ล่วงละเมิด. อนึ่ง ทรงห้ามใช้ผ้าคากรอง, เปลือกต้นไม้กรอง, ผลไม้กรอง, ผ้ากัมพล ทำด้วยผมคน, ผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์ ปีกนกเค้า หรือหนังเสือ, ซึ่งเป็นของพวกเดียรถีย์ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ผ้าทำด้วยปอ นุ่งห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ
(ความหมายในที่นี้ คือไม่ให้นุ่งห่มเลียนแบบเดียรถีย์).

ทรงห้ามใช้จีวรที่มีสีไม่ควร และห้ามใช้เสื้อ หมวก ผ้าโพก

ทรงห้ามใช้จีวรมีสีไม่สมควรต่างๆ คือ เขียวล้วน, เหลืองล้วน, แดงล้วน, เลื่อมล้วน, ดำล้วน, แดงเข้ม, แดงกลายๆ (ชมพู). อนึ่ง ทรงห้ามจีวรที่ไม่ตัดชาย, จีวรมีชายยาว, จีวรมีชายเป็นดอกไม้, จีวรมีชายเป็นแผ่น และทรงห้ามใช้เสื้อ หมวก, ผ้าโพก ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ใช้.

กติกา (ข้อกำหนดหรือแม่บท) ๘ ประการที่จีวรจะเกิดขึ้น

คือ ๑.) เขาถวายกำหนดเขตภิกษุที่อยู่ในสีมา
๒.) เขาถวายกำหนดกติกา
๓.) เขาถวายกำหนดเฉพาะเจตหรือวัดที่เขาทำบุญประจำ
๔.) เขาถวายแก่สงฆ์
๕.) เขาถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือภิกษุ ภิกษุณี)
๖.) เขาถวายแก่สงฆ์ที่จำพรรษาแล้ว
๗.) เขาถวายโดยเจาะจง
(ให้เกี่ยวเนื่องกับการถวายข้าวยาคู หรืออาหารอื่นๆ เป็นต้น)

๘.) เขาถวายจำเพาะบุคคล (คือแก่ภิกษุรูปนั้นรูปนี้).


 

 

 

ต้นแบบของการตัดเย็บจีวร

ในสมัยพุทธกาล วันหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จถึงทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยพระภิกษุจำนวนหนึ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็นท้องนา (แปลงนา) ของชาวมคธ
เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคันนาสั้นๆ คั่นในระหว่าง แล้วมีรับสั่งกับ พระอานนท์ ว่า

“อานนท์ เธอสามารถออกแบบตัดเย็บจีวรให้มีรูปร่างอย่างนี้ได้หรือไม่” พระอานนท์กราบทูลว่า “สามารถทำได้พระเจ้าข้า”

หลังจากนั้นพระอานนท์ได้ออกแบบทำจีวรให้มีรูปร่างตามพุทธประสงค์ถวาย คือ มีลักษณะคล้ายผืนนาที่มีคันนาคั่นเป็นระยะๆ เมื่อนำถวายให้พระพุทธองค์ทรงทอดพระเนตร
ทรงตรัสสรรเสรญพระอานนท์ท่ามกลางหมู่สงฆ์ว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด เป็นเจ้าปัญญา ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวโดยย่อให้พิสดารได้ ทำผ้ากุสิก็ได้ ทำผ้าอัฑฒกุสิ ผ้ามณฑล ผ้าอัฑฒมณฑล ผ้าวิวัฏฏะ ผ้าอนุวิวัฏฏะ ผ้าคีเวยยกะ ผ้าชังเฆยยกะ และผ้าพาหันตะก็ได้”

พระพุทธประสงค์ ๓ ประการ

ที่พระพุทธองค์มีรับสั่งให้ออกแบบจีวรเช่นนั้น เพราะมีพระประสงค์ ๓ ประการ คือ

๑.) ผ้าที่มีราคาแพงๆ หากตัดเป็นชิ้นๆ จะทำให้ผ้าราคาตก แทบไม่มีใครต้องการ

๒.) เมื่อนำเศษผ้าที่ตัดแล้วมาเย็บติดกัน จะทำให้เกิดรอยตะเข็บ มีตำหนิขาดความสวยงาม

๓.) ยิ่งนำไปย้อมเปลี่ยนสีพร้อมทั้งทำเครื่องหมาย (ทำพินทุ ใช้ปากกาหรือดินสอทำเป็นจุดที่ผ้าจีวร) ทำให้สีของผ้าเศร้าหมอง ไม่มีค่าไม่มีราคา ไม่เป็นที่ต้องการของใคร
ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าสนใจ ไม่มีประโยชน์สำหรับใครๆ โจรผู้ร้ายไม่แย่งชิง แบบจีวรที่ถูกกำหนดตัดเย็บมาแต่โบราณ จึงถือเป็นแบบอย่างใช้มาจนถึงปัจจุบัน

 

สีของจีวร

สีจีวรที่ต้องห้าม

คือ ๑.) สีเขียวคราม สีเหมือนดอกผักตบชวา
๒.) สีเหลือง สีเหมือนดอกกรรณิการ์
๓.) สีแดง สีเหมือนชบา
๔.) สีหงสบาท (สีเหมือนเท้าหงส์) สีแดงกับเหลืองปนกัน
๕.) สีดำ สีเหมือนลูกประคำดีควาย
๖.) สีแดงเข้ม สีเหมือนหลังตะขาบ
๗.) สีแดงกลายๆ แดงผสมคล้ายใบไม้แก่ๆ ใกล้ร่วง (เหมือนสีดอกบัว)

มีบางแห่งระบุว่าสีต้องห้าม คือ สีดำ สีคราม สีเหลือง สีแดง  สีบานเย็น สีแสด และ สีชมพู ถ้าจีวรมีสีตรงตามนี้ให้ภิกษุย้อมใหม่ ถ้าทำลายสีเดิมไม่ออกก็ให้นำไปใช้เป็นผ้าปูลาดสำหรับรองนั่ง หรือใช้งานอื่นๆ หรือใช้ซับในระหว่างจีวรสองชั้นก็ได้

สีจีวรที่พระพุทธเจ้าและพระอัครสาวกใช้

การที่จะยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้จีวรสีใดย่อมเป็นการยากที่จะระบุให้ชัดเจนได้ เนื่องจากไม่เคยมีใครได้พบเห็นพระพุทธองค์ด้วยตัวเอง แต่สามารถประเมินได้จากหลักฐานพระคัมภีร์ในหลายแห่งที่พอเปรียบเทียบได้ คือ

๑.) พระผู้มีพระภาคเจ้า (พระพุทธเจ้า) ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาซึ่งมีสีดุจทองออกจากระหว่างบังสุกุลจีวรอันมีสีแดง

๒.) พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งผ้าสองชั้นที่ย้อมดีแล้ว ทรงห่มจีวรมหาบังสุกุล ได้ขนาดสุตตประมาณปานผ้ารัตตกัมพล (ผ้าสีแดง)

๓.)พระผู้มีพระภาค ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประเสริฐสีแดง มีสีคล้ายสียอดอ่อนของต้นไทร

สีจีวรของพระอัครสาวก มีหลักฐานปรากฏว่า

๑.) แม้พระมหาเถระทั้งหลาย มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น ห่มบังสุกุลจีวรมีสีแดงเหมือนเมฆ

๒.) พระมหาเถระทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะ เป็นต้น ห่มบังสุกุลจีวรมีสีแดงเหมือนเมฆ


สีจีวรของพระเถระผู้ใหญ่ในสมัยพุทธกาล ก็เหมือนกับสีจีวรของพระพุทธเจ้า คือ สีแดง ตรงตามพระบรมพุทธานุญาต คือ สีเหลืองเจือแดงเข้ม ที่ใช้ย้อมด้วยแก่นขนุน คือ สีกรักนั่นเอง

สีจีวรของพระสงฆ์ไทยปัจจุบัน

ในสมัยพุทธกาลแม้พระภิกษุสงฆ์จะย้อมจีวรด้วยสีธรรมชาติแท้ๆแต่ก็เชื่อว่าสีคงจะไม่ออกมาเป็นมาตรฐานเดียวกันหมดแน่นอน คงจะมีผิดเพี้ยนแตกต่างกันไปบ้าง แม้ในยุคปัจจุบันก็มีการใช้สีจีวรต่างๆแต่พอแยกออกได้ ๒ สี คือ
สีเหลืองเจือแดงเข้ม และ สีกรักสีเหลืองหม่น

วัดใดจะใช้จีวรสีไหนก็ได้ ไม่มีข้อห้าม เพราะถือว่าถูกต้องตรงตามพระบรมพุทธานุญาตทั้ง ๒ สี แต่ถ้าเป็นพระภิกษุสามเณรที่ยู่ในวัดเดียวกัน ก็น่าจะใช้จีวรสีเดียวกัน
ส่วนสีที่นิยมในพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวัง (วัดพระแก้ว) นิยมใช้สีกรัก หรือสีเหลืองหม่น เป็นมาตรฐานเดียวกันตลอดจนผ้าไตรที่ทางฝ่ายพระราชพิธีจัดเตรียมไว้ถวายพระด้วยทั้งนี้ เพื่อความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย และปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน

สาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านครองจีวรเศร้าหมอง

พระโมฆราช นั้น เมื่ออุปสมบทแล้วปรากฏว่าท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษยินดีเฉพาะการใช้สอยจีวรที่เศร้าหมอง ๓ ประการ
คือ ๑.) ผ้าเศร้าหมอง
๒.) ด้ายเย็บผ้าเศร้าหมอง
๓.) น้ำย้อมผ้าเศร้าหมอง

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง


 

 

องค์ประกอบของจีวร



จีวรผืนหนึ่งมีขัณฑ์ไม่น้อยกว่า ๕ ขัณฑ์ เกินกว่านั้นใช้ได้แต่ต้องเป็น “ขัณฑ์ขอน (คี่)”ตามพระวินัย จีวรจะเป็นขัณฑ์ขอน
อาทิเช่น ๕, ๗, ๙ ส่วนใหญ่จะนิยม ๙ ขัณฑ์
ในกรณีที่ผ้าหน้าแคบอาจจะทำขัณฑ์ให้เล็กลงเพื่อประหยัดผ้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ในการตัดเย็บจีวรนี้เราจะใช้เฉพาะ มณฑลและอัฑฒมณฑลเท่านั้น ส่วนชื่อจำเพาะอื่นๆจะข้ามไปเพราะจะมีขนาดเหมือนกันแต่ต่างตรงตำแหน่งที่อยู่ของมณฑลต่างๆเหล่านั้นเท่านั้น

โดยมีผ้าที่เป็นส่วนชื่อเรียกดังนี้

๑.) อัฑฒมณฑล คีเวยยะ (พันรอบคอ)
๒.) มณฑล วิวัฏฏะ
๓.) อัฑฒมณฑล วิวัฏฏะ
๔.) มณฑล อนุวัฏฏะ
๕.) อัฑฒมณฑล อนุวัฏฏะ
๖.) อัฑฒมณฑล ชังเคยยะ (ปกแข้ง)
๗.) อัฑฒมณฑล พาหันตะ (ส่วนที่พันแขน)
๘.) กุสิ
๙.) อัฑฒกุสิ
๑๐.) อนุวาต
๑๑.) รังดุม, ลูกดุม

จีวรนั้นโปรดให้ตัดอย่างคันนาชาวมคธ คือ เป็นกระทงมีเส้นคั่น

- กระทงใหญ่ เรียกว่า มณฑล
- กระทงเล็ก เรียกว่า อัฑฒมณฑล
- เส้นคั่นในระหว่างดุจคันนาขวาง เรียกว่า อัฑฒกุสิ
- รวมมณฑล อัฑฒมณฑล อัฑฒกุสิ เรียกว่า ขัณฑ์
- ในระหว่างขัณฑ์ มีเส้นคั่นดุจคันนายาว เรียกว่า กุสิ


.....................................................

วิธีตัดเย็บจีวร

ในพระธรรมวินัยกล่าวถึงขนาดของจีวร มีห้ามแต่ไม่ให้ทำเกินกว่าสุคตประมาณที่กำหนดไว้ในสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งรตนวรรค คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ โดย คืบพระสุคต *

ส่วนขนาดย่อมกว่า ก็แล้วแต่พอดีกับบุคคลผู้ครองไม่มีข้อห้าม ประมาณที่ใช้ในประเทศไทย ยาว ไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๔ ศอกของผู้ครอง พอได้ปริมณฑลดีเมื่อห่ม

สำหรับสบง ประมาณที่ใช้ในประเทศไทย  ยาวไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๒ ศอก ของผู้ครองการตัดจีวรที่จะอธิบายต่อไปนี้ จะใช้นิ้วฟุตเป็นมาตราวัด เพราะเห็นว่า ไม้บรรทัดใช้กันอยู่โดยทั่วไปหาได้ง่าย ขนาดและตัวอย่างนี้มิใช่เป็นแบบที่ตายตัวทีเดียว ให้ขยายตามขนาดของบุคคล เพียงแต่วางหลักกว้างๆ ไว้เท่านั้น

(* คืบพระสุคต = เดิม คงกำหนดด้วยนิ้วพระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในปัจจุบันให้ถือตามมาตราวัดเป็นเมตร คือ ๑ คืบพระสุคต เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร)

เวลาจะตัดกะดังนี้

๑.) จีวรพึงกะให้ได้ขนาด คือ กว้าง ๔ ศอก ยาว ๖ ศอก ของผู้ครอง และอนุวาตกว้าง ๕ นิ้ว กุสิกว้าง ๒ นิ้วครึ่ง ตัดเป็นจีวร ๕ ขัณฑ์

๒.) เบื้องต้นให้วัดศอกของผู้ที่ครองก่อน ว่ายาวกี่นิ้ว เมื่อวัดได้เท่าไหร่แล้ว ให้เอา ๖ ศอก คือความยาวของจีวรคูณ เมื่อคูณได้เท่าไรแล้ว ให้คิดเป็นเนื้อที่ของกุสิเสีย ๔ กุสิ

กุสิหนึ่ง กว้าง ๒ นิ้วครึ่ง ๔ กุสิ ก็เท่ากับ ๑๐ นิ้ว อนุวาต ๒ ข้างๆละ ๕ นิ้ว ๒ ข้างเป็น ๑๐ นิ้ว เมื่อรวมกับกุสิ ๔ กุสิ จึงเป็นเนื้อที่ ๒๐ นิ้วพอดี

๓.) ให้เอา ๒๐ นิ้วไปลบความยาวทั้งหมดของจีวร เมื่อลบแล้วคงเหลือเท่าไรให้เอา ๕ ขัณฑ์หารเมื่อได้ผลลัพธ์เท่าไรแล้วให้เอาอนุวาต ๕ นิ้วมาบวกบวกได้เท่าไร ก็เป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวริมทั้ง ๒ ข้าง ขัณฑ์ตัวกลางมีกุสิอยู่ทั้ง ๒ ข้าง รวม ๕ นิ้ว ก็เอา ๕ บวกจำนวน ๕ ขัณฑ์ที่หารได้ จัดเป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวกลาง
ขัณฑ์ตัวรอง ๒ ตัว คือตัวที่ติดกับตัวกลางทั้ง ๒ ข้าง มีกุสิตัวละ ๒ นิ้วครึ่ง ๒ ขัณฑ์ จึงเป็น ๕ นิ้ว ให้เอา ๒ นิ้วครึ่งไปบวกกับที่ ๕ ขัณฑ์ หารได้ตอนต้นจึงจัดเป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวรอง ๒ ตัว เมื่อได้ตัดเป็นขัณฑ์ๆ ได้ ๕ ขัณฑ์ ดังกล่าวแล้ว
ต่อแต่นั้นก็ให้พับขัณฑ์ (คือผ้าที่ตัดไว้ทั้ง ๕ ชิ้น) ทั้ง ๕ ขัณฑ์นั้น เป็น ๓ ส่วนให้ตัดอัฑฒกุสิในส่วนกลาง แล้วจึงตัดกุสิทีหลัง ตอนตัดกุสิอย่าตัดทางกุสิก่อน ให้ตัดทางอัฑฒกุสิเสียก่อนเพราะถ้าตัดทางกุสิก่อนก็จะเสียใช้ไม่ได้ เวลาจะเอาขัณฑ์ทั้ง ๕ มาเย็บติดกันระวังอย่าให้ผิดเราควรจำให้ได้ว่า ทั้งหมดมีอยู่ ๕ ขัณฑ์ด้วยกันคือ

๑. ขัณฑ์กลาง มีกุสิติดอยู่ ๒ ข้าง และอัฑฒกุสิ
๒. ขัณฑ์รอง คือขัณฑ์ที่ติดกับขัณฑ์กลางมีอยู่ ๒ ขัณฑ์
มีกุสิ และอัฑฒกุสิติดอยู่ข้างเดียว
๓. ขัณฑ์ริม ๒ ข้าง ไม่กุสิ มีแต่อัฑฒกุสิ

(คำว่า กุสิ แปลว่ากระทงใหญ่ อัฑฒกุสิ แปลว่า กระทงเล็ก หรือกระทงกึ่ง)


เมื่อเย็บติดกันทุกชิ้นแล้ว จึงให้ตัดอนุวาตกว้าง ๕ นิ้วมาเย็บติดกันที่ริมโดยรอบเวลาเย็บอนุวาตอย่าให้ติดทางด้านตะเข็บ ให้ติดทางด้านนอกของตะเข็บ

เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ได้ใจความว่า เบื้องต้นให้ตัดผ้าออกเป็น ๕ ชิ้น คือตัวกลาง ๑ กับตัวริมสุด ๒ ข้าง รวม ๓ ชิ้น ให้ตัดเท่ากัน ตัวรองคือตัวติดกับตัวกลาง ๒ ตัวให้ตัดเท่ากัน แล้วจึงให้ตัดกุสิและอัฑฒกุสิในภายหลัง




ตัวอย่างการตัดเย็บจีวร

ดังที่อธิบายมานี้ จะสมมติวิธีตัดให้ดู ดังนี้

สมมติว่าผู้ที่จะครอง มีศอกยาววัดได้ ๑๗ นิ้วครึ่ง (ให้ใช้นิ้วฟุต) ให้ตั้ง ๑๗ นิ้วครึ่งลง แล้วให้เอา ๖ ศอกคูณได้ผลลัพธ์ ๑๐๕ นิ้วแล้วให้คิดเผื่อตะเข็บอีก ๒ นิ้วครึ่ง เอาไปบวกกับ ๑๐๕ นิ้ว เป็น ๑๐๗ นิ้วครึ่ง คิดเป็นเนื้อที่กุสิและอนุวาตเสีย ๒๐ นิ้ว แล้วเอา ๒๐ ลบ ๑๐๗ นิ้วครึ่ง คงเหลือ ๘๗ นิ้วครึ่ง แล้วให้เอา ๕ ขัณฑ์หาร ๘๗ นิ้วครึ่ง

ได้ผลลัพธ์ ๑๗ นิ้วครึ่ง ตัวกลางมีกุสิ ๒ ข้าง รวมกันได้ ๕ นิ้วให้เอา ๕ ไปบวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่ง จึงได้ ๒๒ นิ้วครึ่ง เป็นความกว้างของขัณฑ์กลาง
ขัณฑ์รอง ๒ ขัณฑ์ ขัณฑ์หนึ่งๆ มีกุสิเดียว ๒ นิ้วครึ่ง ให้เอาไปบวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่ง ได้ผลลัพธ์ ๒๐ นิ้ว เป็นความกว้างของขัณฑ์รอง ขัณฑ์ริมสุด ๒ ขัณฑ์ มีอนุวาตด้วยขัณฑ์ละ ๕ นิ้ว จึงให้เอา ๕ บวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่งจึงจะได้ ๒๒ นิ้วครึ่ง เป็นความกว้างของ ขัณฑ์ริมตัวหนึ่งๆ

เมื่อรวมแล้วได้ใจความดังนี้

๑. ขัณฑ์กลาง ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๒ นิ้วครึ่ง ยาว ๗๐ นิ้ว ๑ ผืน

๒. ขัณฑ์รอง ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๐ นิ้ว ยาว ๗๐ นิ้ว ๒ ผืน

๓. ขัณฑ์ริมสุด ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๒ นิ้วครึ่ง ยาว ๗๐ นิ้ว ๒ ผืน

๔. ต่อจากนั้นก็ให้ตัดกุสิ และอัฑฒกุสิจากขัณฑ์นั้นๆ ทั้ง ๕ ขัณฑ์ เวลาจะตัดกุสิและอัฑฒกุสิ (กระทง) ให้ตัดในขัณฑ์นั้นๆ กว้างขนาด ๒ นิ้วครึ่ง หรือจะใช้กลักไม้ขีดเป็นขนาดก็ได้ ก่อนแต่จะตัดอัฑฒกุสิให้พับเป็น ๓ ส่วนแล้วให้ตัดในส่วนกลางดังกล่าวแล้ว

๕. เย็บให้ติดกันเรียบร้อย แล้วจึงติดอนุวาตภายหลัง อนุวาตที่เย็บติดกันนั้น ให้ใช้ผ้ากว้าง ๕ นิ้ว ส่วนยาวเอาจนรอบขอบของจีวร

๖. เสร็จแล้วจึงให้ติดรังดุมไว้ขวา ลูกติดไว้ซ้าย จงดูในแบบ

๗. เมื่อเย็บเสร็จแล้ว ถ้าคิดจะหักตอนที่ตะเข็บย่นออกเสียแล้ว ก็คงเป็นจีวรประมาณกว้าง ๖๘ นิ้ว ยาว ๑๐๕ นิ้ว

 

.....................................................

 


 

การถวายผ้าไตรจีวรและอานิสงส์

๑.) ต้องการถวายผ้าไตรจีวร ต้องถวายกี่องค์ ?

ตอบ ถวายกี่รูปก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้ว พระสงฆ์จะดำเนินการเองแต่อย่างไรก็ตาม หากมีกำลังทรัพย์ และกำลังจาคะเพียงพอ ถวายครบทุกรูป ก็จะเป็นอันถวายครบถ้วนดี

๒.) การถวายผ้าไตรจีวรนั้น ต้องใช้อะไรบ้าง ?

ตอบ ต้องใช้ผ้าไตรจีวร โดยควรศึกษาก่อนว่า

๒.๑) ขนาดจีวร จีวรมีหลายความยาว หากซื้อขนาดเล็กเกินไปอาจใช้การไม่ได้เต็มที่นักและหากซื้อใหญ่ไปก็จะเทอะทะ ไม่งาม
๒.๒) คุณภาพของผ้า ควรเลือกที่เนื้อดีพอควรเพื่อประโยชน์ใช้สอยของภิกษุสงฆ์
๒.๓) สีของจีวร อาจสังเกตหรือสอบถามจากวัดแล้วปรึกษาที่ร้านตัดเย็บหรือร้านสังฆภัณฑ์

๓.) ควรนำไปถวายในช่วงเวลาไหน

ตอบ สามารถถวายได้ตลอดปี ยกเว้นกฐิน ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าจำนำพรรษา และอัจเจกจีวร (เท่าที่ทราบ)

ผู้ที่จะถวายสังฆทานแด่สงฆ์ พึงทำความซาบซึ้งในคุณแห่งพระสงฆ์เพื่อให้ใจอ่อนน้อม และพึงรักษาศีล ๕ เป็นเบื้องต้น เพื่ออานิสงส์แห่งทานอันไพศาลจักสำเร็จแก่ผู้ถวายนั้น

คำถวายจีวร

อิมานิ มะยัง ภันเต จีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ จีวะรานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

หรือจะกล่าวเฉพาะคำแปลก็ได้ คือ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายจีวร พร้อมทั้งของบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับจีวรพร้อมทั้งของบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ




พระวินัยที่เกี่ยวกับจีวร

 

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

การให้ทำจีวรที่มีขนาดเกินประมาณ

ปาจิตตีย์ รัตนวรรค สิกขาบทที่  10

โย ปะนะ ภิกขุ สุคะตะจีวะรัปปะมาณัง จีวะรัง..

“อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวร หรือยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคตในคำนั้น โดยยาว 9 คืบ โดยกว้าง 6 คืบ ด้วยคืบสุคต นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคต.”

อนาบัติ

1.ทำจีวรหย่อนกว่าประมาณ    2.ได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วเกินประมาณมาตัดเสียแล้วใช้สอย    3.ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นผ้าม่านก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี     4.ภิกษุวิกลจริต    5.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัตแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระนันทะพระพุทธอนุชาใช้จีวรมีขนาดเท่าจีวรพระสุคต ภิกษุทั้งหลายเห็นท่านเดินมาแต่ไกลก็ลุกขึ้นต้อนรับ ด้วยนึกว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมา เมื่อเข้าใกล้เห็นว่ามิใช่ จึงติเตียนว่าใช้จีวรขนาดเท่าของพระสุคต พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทำจีวรให้มีขนาดเท่าจีวรสุคตหรือยิ่งกว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ให้ตัดเสีย ประมาณแห่งจีวรสุคต คือ ยาว 9 คืบ กว้าง 6 คืบ.

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

ห้ามภิกขุเก็บไตรจีวรเกินความจำเป็นมากกว่าสิบวัน

สิกขาบท: ผ้ากฐิน

กฐินเดาะแล้วเก็บอติเรกจีวรไว้เกิน 10 วัน

นิฏฐิตะจีวะรัส๎มิง ภิกขุนา อุพภะตัส๎มิงกะฐิเน, ทะสาหะปะระมัง…

“จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว พึงทรงอติเรกจีวรได้ 10 วัน เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”

วิภังค์

ที่ชื่อว่า อติเรกจีวร ได้แก่ จีวรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป.

คำว่า ให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ ความว่า เมื่ออรุณที่ 11 ขึ้นมาจีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือ บุคคล.

อนาบัติ

1.ในภายใน 10 วัน ภิกษุอธิษฐาน 2.ภิกษุวิกัปไว้ 3.ภิกษุสละให้ไป 4.จีวรฉิบหาย 5.จีวรถูกไฟไหม้ 6.โจรชิงเอาไป 7.ภิกษุถือวิสาสะ 8.ภิกษุวิกลจริต 9.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นทรงอนุญาตให้ภิกษุมีจีวรได้เพียง 3 ผืน ( ผ้านุ่ง, ผ้าห่ม, ผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าสังฆาฏิ) ภิกษุฉัพพัคคีย์ (ภิกษุผู้รวมกันเป็นคณะ 6 รูป) เข้าบ้าน อยู่ในวัดลงสู่ที่อาบน้ำ ด้วยไตรจีวรต่างสำรับกัน ภิกษุทั้งหลายติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามเก็บอติเรกจีวร (จีวรที่เกินจำเป็นคือเกินจำนวนที่กำหนด) ถ้าล่วงละเมิดต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์.

ต่อมามีเหตุเกิดขึ้น พระอานนท์ใคร่จะเก็บผ้าไว้ถวายพระสารีบุตร พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมให้เก็บไว้ได้ไม่เกิน 10 วัน

องค์แห่งอาบัติ 1.ผ้าประกอบด้วยชาติและประมาณเป็นของๆตน 2.ผ้านั้นถึงซึ่งกาล นับวันได้ คือว่าถึงมือของตนแล้ว เป็นต้น 3.ปลิโพธทั้ง 2 ขาดแล้ว 4.ผ้านั้นเป็นอดิเรกจีวร 5.ล่วง 10 วันไป พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้ จึงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 155)

กฐินเดาะ ในที่นี้ตามศัพท์แปลว่า รื้อไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงผ้า หมายถึงยกเลิกอานิสงส์กฐินที่ภิกษุพึงรับ (พระไตรปิฎกแปลไทย มจร. 2/3/462)(ดูหน้า 258 ประกอบ)

อธิษฐาน คือ การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ ได้แก่ตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะเป็นของประจำตัวชนิดนั้น ๆ เช่น ไตรจีวร บาตร : วิธีอธิษฐาน กระทำโดยใช้กายคือมือสัมผัส หรือเปล่งวาจาตามคำอธิษฐานก็ได้ ( วิ.ป. 8/322/261. วิ.อ. 2/469/147)(ดูหน้า 408 ประกอบ)

วิกัป คือ ทำให้เป็นของสองเจ้าของ คือ ขอให้ภิกษุหรือสามเณรรูปอื่นร่วมเป็นเจ้าของสิ่งที่จะวิกัปนั้น ทำให้ไม่ต้องอาบัติ แม้เก็บไว้เกินกำหนด (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ หน้า 227)

 

ห้ามภิกขุอยู่โดยปราศจากไตรจีวรแม้แต่คืนเดียว


สิกขาบท: โรงเก็บของ (ผ้ากฐิน 2)

กฐินเดาะแล้วอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง

นิฏฐิตะจีวะรส๎ ภิกขุนา อุพภะตัส๎ัมิงกะฐิเน, เอกะรัตตัมปิ เจ…

“จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”

วิภังค์

ค ำว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้นสิ้นราตรีหนึ่ง ความว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากผ้าสังฆาฏิก็ดี จากผ้าอุตราสงค์ก็ดี จากผ้าอันตรวาสกก็ดี แม้คืนเดียว.

อนาบัติ

1. ภายในอรุณ ภิกษุถอนเสีย 2.ภิกษุสละให้ไป 3.จีวรหาย 4.จีวรฉิบหาย 5.จีวรถูกไฟไหม้ 6.โจรชิงเอาไป 7.ภิกษุถือวิสาสะ 8.ภิกษุได้รับสมมติ 9.ภิกษุวิกลจริต 10.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พ ระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเอาผ้าสังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนข้างนอก) ฝากภิกษุรูปอื่นไว้ จาริกไปสู่ชนบทด้วยสบง(ผ้านุ่ง) กับจีวร (ผ้าห่ม) รวม 2 ผืนเท่านั้น. ผ้าที่ฝากไว้นานขึ้นราเปรอะเปื้อนภิกษุผู้รับฝากจึงนำออกตาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้คืนหนึ่ง. ในบทวิภังค์ของสิกขาบทนี้ว่า ช่วงก่อนอรุณขึ้น รักษาผ้าไตรไว้ในที่มีรั้ว หรือกำแพงล้อม,เงาโคนไม้ในที่นั้นในขณะอยู่ผู้เดียวได้ แต่หากอยู่หลายคนหรืออยู่ที่ปราศจากรั้วกำแพงล้อม อย่าให้จีวรละหัตถบาส ถ้าล่วงละเมิดต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

ภายหลังม ีเรื่องเกิดขึ้น ภิกษุเป็นไข้ ไม่สามารถนำจีวรไปได้ทั้ง 3 ผืน จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์สวดสมมติแก่ภิกษุเช่นนั้นเป็นกรณีพิเศษ และไม่ปรับอาบัติ.

องค์แห่งอาบัติ 1.ผ้าภิกษุอธิษฐานเป็นจีวรแล้ว 2.ไม่มีอานิสงส์กฐิน 3.ไม่ได้อวิปปวาสสมมติ 4.อยู่ปราศจากผ้านั้นราตรีหนึ่งจนอรุณใหม่ขึ้นมา พร้อมด้วยองค์ 5 ดังนี้จึงเป็นนิสสัคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 156).

ในบุพพสิกขาวรรณาหน้า 508 กล่าวว่า โบราณคติสืบมา…ให้รู้จักอรุณแดงขึ้นมา..ให้ทันอรุณขาวก่อนอรุณแดง

หัตถบาส แปลว่า บ่วงแห่งมือ (ระยะบ่วงมือ ในบุพพสิกขาวรรณา หน้า 469 กล่าวว่า ประมาณ 2 ศอก 1 คืน)

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

ห้ามภิกขุเก็บผ้าที่จะทำไตรจีวรไว้เกินกำหนดหนึ่งเดือน

สิกขาบท: ผ้ากฐิน 3

กฐินเดาะแล้วเก็บอกาลจีวรไว้เกิน 1 เดือน

นิฏฐิตะจีวะรัส๎มิง ภิกขุนา อุพภะตัส๎มิงกะฐิเน, ภิกขุโน ปะเนวะ…

“จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้ว พึงรีบให้ทำ ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ เมือความหวังว่าจะได้มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้น แม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”

วิภังค์

ทื่ชื่อว่า อกาลจีวร ได้แก่ ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด 11 เดือนในเมื่อไม่ได้กรานกฐิน ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด 7 เดือนในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว แม้ผ้าที่เขาถวายเจาะจงในกาล นี้ชื่อว่า อกาลจีวร.

อนาบัติ

1.ในภายในหนึ่งเดือนภิกษุอธิษฐาน 2.ภิกษุวิกัปไว้ 3.ภิกษุสละให้ไป 4.จีวรหาย 5.จีวรฉิบหาย 6.จีวรถูกไฟไหม้ 7.โจรชิงเอาไป 8.ภิกษุถือวิสาสะ 9.ภิกษุวิกลจริต 10.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม สมัยนั้นอกาลจีวร (ผ้าที่เกิดขึ้นนอกกาลที่อนุญา่ตเป็นกาลทำจีวร. ดูเิชิงอรรถ) เกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แต่ไม่พอทำจีวร เธอจึงพยายามดึงผ้านั้นให้ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นตรัสถามทราบความแล้ว จึงทรงอนุญาตให้เก็บผ้านอกกาลไว้ได้ ถ้ามีหวังว่าจะได้ทำจีวร ปรากฏว่าภิกษุบางรูปเก็บไว้เกิน 1 เดือน ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

อกาลจีวร คือ (1)ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 12 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของปีถัดไปสำหรับผู้ไม่ได้กรานกฐิน รวมเป็น 11 เดือน (2)ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ในปีเดียวกัน สำหรับผู้ที่ได้กรานกฐิน รวมเป็น 7 เดือน (พระไตรปิฎกแปลไทย มจร. 2/21/50

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

ห้ามภิกขุใช้ภิกขุณีซักไตรจีวร

สิกขาบท: จีวรเก่า

การใช้นางภิกษุณีให้ซัก, ย้อม, ทุบจีวรเก่า

โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา ปุราณะจีวะรัง…

“อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”

อนาบัติ

1.ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง 2.ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเป็นผู้ช่วยเหลือ 3.ภิกษุไม่ได้บอกใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักให้เอง 4.ภิกษุใช้ให้ซักจีวรที่ยังไม่ได้บริโภค 5.ภิกษุใช้ให้ซักบริขารอย่างอื่น เว้นจีวร 6.ใช้สิกขมานาให้ซัก 7.ใช้สามเณรีให้ซัก 8.ภิกษุวิกลจริต 9.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. อดีตภริยาของพระอุทายี เข้ามาบวชเป็นภิกษุณี รับอาสาซักผ้าของพระอุทายี ซึ่งมีน้ำอสุจิเปอะใหม่ ๆ นางได้นำน้ำอสุจินั้นส่วนหนึ่งเข้าปาก ส่วนหนึ่งใส่ไปในองค์กำเนิดเกิดตั้งครรภ์ขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามใช้นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ซัก, ย้อม หรือทุบจีวรเก่า (คือที่นุ่งห่มแล้วแม้คราวเดียว) ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

มิใช่ญาติ คือ ไม่เกี่ยวเนื่องทางสายโลหิตตลอดเจ็ดชั่วคน คือวงศ์สกุลที่สืบสายโลหิตกันมา นับตั้งแต่ตัวภิกษุขึ้นไป 3 ชั้น คือ ชั้นพ่อ ชั้นปู่ ชั้นทวด กับนับจากตัวภิกษุลงมาอีก 3 ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน ชั้นเหลน รวมเป็น เจ็ดชั่วคน (วิ.อ. 2/503-5/165-166)

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

ห้ามภิกขุขอไตรจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ

สิกขาบท: การขอจากผู้ไม่ใช่ญาติ

การขอจีวรกว่าต่อคฤหัสถ์ ที่มิใช่ญาติ

โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาตะกัง คะหะปะติง วา คะหะปะตานิง วา…

“อนึ่ง ภิกษุใด ขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชายก็ดี ต่อคฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาตินอกจากสมัย เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สมัยในคำนั้นดังนี้ : ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหายก็ดี นี้สมัยในคำนั้น.

วิภังค์

มีชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด 7 ชั่วอายุของบุรพชน

อนาบัติ

1.ภิกษุขอในสมัย 2.ภิกษุขอต่อญาติ 3.ภิกษุขอต่อคนปวารณา 4.ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น 5.ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน 6.ภิกษุวิกลจริต 7.ภิกษุอาิทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ.

เรื่องต้นบัญญัติ

บุตรเศรษฐีเลื่อมใสพระอุปนันทศากยบุตร จึงปวารณาให้ขออะไรก็ได้แต่เธอขอผ้า ( ห่ม )จากตัวเขา แม้เขาจะขอไปเอาที่บ้านมาให้ก็ไม่ยอม พระศาสดาทรงทราบ ทรงติเตียนว่า “ดู ก่อนโมฆบุรุษการกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สมควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ไม่ควรทำ คนทีี่่มีญาติย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร หรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนที่ไม่ใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอยังขอจีวรต่อบุตรเศรษฐีผู้มิใช่ญาติได้.” จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชายหญิงที่มิใช่ญาิติ ถ้าขอได้มาต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

ภายหลัีงมีโจรขโมยจีวรไป ภิกษุเห็นว่าทรงบัญญัติห้ามไว้จึงไม่ขอจีวรเปลือยกายเดินมา จึงตรัสว่า “เรา อนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกโจรแย่งชิงจีวรไปหรือมีจีวรฉิบหาย ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือน หรือแม่เจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติได้ เธอเดินไปถึงวัดใดก่อน ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี ผ้าลาดพื้นก็ดี ผ้าปู่ที่นอนก็ดี ของสงฆ์ในวัดนั้นมีอยู่ จะถือเอาผ้าของสงฆ์นั้นไปห่มด้วยคิดว่า ได้จีวรนั้นมาแล้วจักคืนไว้ดังกล่าวดังนี้ก็ควร. ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี ผ้าลาดพื้นก็ดี ผ้าปูที่นอนก็ดี ของสงฆ์ไม่มี ต้องปกปิดด้วยหญ้า หรือใบไม้เดินมา ไม่พึงเปลือยกายเดินมา ภิกษุใดเปลือยกายเดินมา ต้องอาบัติทุกกฏ.”

ทรงบัญญัติให้ขอได้ ในเวลาจีวรถูกโจรชิงเอาไป หรือจีวรฉิบหาย.

องค์แห่งอาบัติ 1.ผ้ากว้างยาวควรวิกัปได้ 2.ไม่มีสมัย 3.ขอกับคนไม่ใช่ญาติ 4.ได้มาเป็นของตน พร้อมด้วยองค์ 4 ดังนี้จึงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 159).

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

ห้ามภิกขุรับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง


สิกขาบท: เรื่องกว่านั้น

ตัญเจ อัญญาตะโก คะหะปะติ วา คะหะปะตานี วา พะหูหิ…

“ถ้าคฤหัสถ์ชายก็ดี คฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ปวารณาต่อภิกษุนั้น ด้วยจีวรเป็นอันมาก เพื่อนำไปได้ตามใจ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวร มีอุตราสงค์ อันตรวาสกเป็นอย่างมากจากจีวรเหล่านั้น ถ้ายินดียิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”

อนาบัติ

1.ภิกษุนำเอาไปด้วยคิดว่า จักนำจีวรที่เหลือมาคืน 2.เจ้าเรือนถวายบอกว่า จีวรที่เหลือจงเป็นของท่านรูปเดียว 3.เจ้าเรือนไม่ได้ถวายเพราะเหตุจีวรถูกชิงไป 4.เจ้าเรือนไม่ได้ถวายเพราะเหตุจีวรหาย 5.ภิกษุขอต่อญาติ 6.ภิกษุขอต่อคนปวารณา 7.ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน 8.ภิกษุวิกลจริต 9.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก 6 รูป) เที่ยวขอจีวรในกลุ่มภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงไป หรือจีวรหาย ทั้ง ๆ ที่ภิกษุเหล่านั้น มีผู้ถวายจีวรแล้ว เป็นการขอหรือเรี่ยไรแบบไม่รู้จักประมาณ ได้ผ้ามากจนถูกหาว่าจะขายผ้าหรืออย่างไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ถ้าคฤหัสถ์ปวารณาให้รับจีวรมากผืนเพื่อนำไปได้ตามใจ ก็รับได้เพียงผ้านุ่งกับผ้าห่มเท่านั้น รับเกินกว่านั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

องค์แห่งอาบัติ 1.ยินดีเกินกว่ากำหนด 2.ไม่มีเหตุเป็นต้นว่าผ้าเขาชิงเอาไปเสียหมด 3.ขอกับคนผู้ไม่ใช่ญาติ 4.ได้มาเป็นของตน พร้อมด้วยองค์ 4 ดังนี้จึงเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์(บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 160)

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

ห้ามภิกขุพูดทำนองขอไตรจีวรดีกว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม


สิกขาบท: การขอ

ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ อัญญาตะกัสสะ คะหะปะติสสะ วา…

“อนึ่ง มีคฤหัสถ์ชายก็ดี คฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาติตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า เราจักจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้น หรือเช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ แล้วยังรูปให้ครองเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะอาศัยความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.”

วิภังค์

บทว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้ก่อนว่าท่านเจ้าข้า ท่านต้องการจีวรเช่นไร ผมจักจ่ายจีวรเช่นไรถวายท่าน.

อนาบัติ

1.ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ 2.ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้ปวารณาไว้ 3.ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น 4.ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน 5.เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง ภิกษุให้เขาจ่ายจีวรมีราคาถูก 6.ภิกษุวิกลจริต 7.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

ชายผู้หนึ่งพูดกับภริยาว่า จะถวายผ้าแก่พระอุปนันทะ เธอทราบจึงไปพูดให้เขาถวายจีวร อย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าถวายจีวรอย่างที่เธอไม่ใช้ เธอก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เขาจึงติเตียนว่ามักมาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามกำหนดให้คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ให้ซื้อจีวรอย่างนั้นอย่างนี้ถวายตนด้วยหมายจะได้ของดีๆ ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

เข้าไปหาผู้ถวายจีวร 2 ราย ให้รวมกันหาจีวรที่ดี


สิกขาบท: การขอ ที่ 2

ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ อุภินนัง อัญญาตะกานัง คะหะปะตีนัง วา…

“อนึ่ง มีคฤหัสถ์ชายก็ดี คฤหัสถ์หญิงก็ดี ผู้มิใช่ญาติสองคนตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ ไว้เฉพาะภิกษุว่าเราทั้งหลายจักจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ เหล่านี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน,ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ ก่อน เข้าไปหาแล้วถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ขอท่านทั้งหลายจงจ่ายจีวรเช่นนั้นหรือเช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืน ๆ เหล่านี้ แล้วทั้งสองคนรวมกัน ยังรูปให้ครองจีวรผืนเดียวเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะอาศัยความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.”

อนาบัติ

1. ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ 2.ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้ปวารณาไว้ 3.ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น 4.ภิกษุจ่ายด้วยทรัพย์ของตน 5.เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง ภิกษุให้เขาจ่ายจีวรมีราคาถูก 6.ภิกษุวิกลจริต 7.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

ชายสองคนพูดกันว่า ต่างคนต่างจะซื้อผ้าคนละผืนถวายพระอุปนันทะ เธอรู้จึงไปแนะนำให้เขารวมทุนกันซื้อผ้าชนิดนั้นชนิดนี้ เขาพากันติเตียนว่ามักมาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเข้าไป ขอให้คฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติ มิได้ปวารณาไว้ก่อน ที่เขาตั้งใจจะต่างคนต่างซื้อจีวรถวายเธอ แต่เธอกลับไปขอให้เขารวมกันซื้อจีวรอย่างนั้นอย่างนี้ โดยมุ่งให้ได้ผ้าดี ๆ ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

ห้ามภิกขุทวงไตรจีวรจากคนที่รับอาสาซื้อจีวรมาถวายเกินสามครั้ง


สิกขาบท: ราชา

ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ ราชา วา ราชะโภคโค วา…

“อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร, ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษูนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะท่าน, ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร, ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่, พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล; ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใคร ๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมี หรือ? ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอารามหรือ อุบาสกให้เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย, ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่าคนที่ท่่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น, ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว; ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล,ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการจีวร ; ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ สองสามครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้,พึงยืนนิ่งต่อหน้า 4 ครั้ง 5 ครั้ง 6 ครั้ง เป็นอย่างมาก; เธอยืนนิ่งต่อหน้า 4 ครั้ง 5 ครั้ง 6 ครั้ง เป็นอย่างมาก; ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้,การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้, ถ้าเธอพยายามให้ิยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์; ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้, ส่งทูตไปก็ได้ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ, บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด, ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่, ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย; นี้เป็นสามีจิกรรรมในเรื่องนั้น.”
อนาบัติ
1.ภิกษุทวง3 ครั้งยืน 6 ครั้ง ภิกษุทวงไม่ถึง 3 ครั้งยืนไม่ถึง 6 ครั้ง 2.ภิกษุไม่ได้ทวงไวยาวัจกรถวายเอง 3.เจ้าของทวงเอามาถวาย 4.ภิกษุวิกลจริต 5.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.
เรื่องต้นบัญญัติ
มหาอำมาตย์ผู้อุปัฏฐากพระอุปนันทศากยบุตร ใช้ทูตให้นำเงินค่าซื้อจีวรไปถวายพระอุปนันทะ ท่านตอบว่าท่านรับเงินไม่ได้ รับได้แต่จีวรที่ควรโดยกาล เขาจึงถามหาไวยาวัจกร (ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์) ท่านจึงแสดงอุบาสกคนหนึ่ง ว่าเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย เขาจึงมอบเงินแก่ไวยาวัจกรแล้วแจ้งให้ท่านทราบ
ท่านก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจกร แม้จะได้รับคำเตือนจากมหาอำมาตย์ซึ่งส่งทูตมา ขอให้ใช้ผ้านั้นเป็นครั้งที่ 2 ก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจกร จนกระทั่งได้รับคำเตือนเป็นครั้งที่ 3 ขอให้ใช้ผ้านั้น จึงไปเร่งเร้าเอากับไวยาวัจกรผู้กำลังมีธุระ จึงต้องเข้าประชุมสภานิคม ซึ่งมีกติกาว่า ใครไปช้าจะต้องถูกปรับ 50 กหาปณะ แม้เขาจะแจ้งให้ทราบกติกาก็ไม่ฟัง คงเร่งเร้าเอาจนเขาต้องไปซื้อผ้ามาให้และไปถูกปรับเพราะเข้าประชุมช้า คนทั้งหลายจึงติเตียนว่าทำให้เข้าประชุมช้าต้องเสียค่าปรับ
พระผู้มีพระภาคทรงทราบและทรงติเตียน จึงบัญญัติสิกขาบทความว่า ถ้าเขาส่งทูตมาถวายค่าซื้อจีวร และเธอแสดงไวยาวัจกรแล้ว เธอจะไปทวงจีวรเอากับไวยาวัจกรได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ไปยืนนิ่ง ๆ ให้เขาเห็นไม่เกิน 6 ครั้ง ถ้าทวงเกิน 3 ครั้ง หรือไปยืนเกิน 6 ครั้ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์.
องค์แห่งอาบัติ 1.กัปปิยการกภิกษุแสดงเอง 2.ทูตบอกกัปปิยการกให้รู้แล้ว บอกภิกษุให้รู้ด้วย 3.พยายามคือทวงและยืนให้เกินกำหนด 4.ได้มาด้วยความพยายามนั้น พร้อมด้วยองค์ 4 ดังนี้ จึงเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (บุพพสิกขาวรรณนา หน้า 163)
วิภังค์สิกขาบทว่า : ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วพึงทวง พึงเตือนสองสาม ครั้งว่า รูปต้องการจีวร ; อย่าพูดว่า จงให้จีวรแก่รูป จงนำจีวรมาให้รูป จงแลกจีวรให้รูป จงจ่ายจีวรให้รูป

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

การให้ช่างทอจีวรดีกว่าผู้ที่จะถวายสั่ง

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 7

ภิกขุง ปะเนวะ อุททิสสะ อัญญาตะโก คะหะปะติ วา…

“อนึ่ง เจ้าพ่อเรือนก็ดี เจ้าแม่เรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ทอจีวรเฉพาะภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว่ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้วถึงความกำหนดในจีวรในสำนักของเขานั้นว่า จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป ขอท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น ให้เป็นของที่ขึงดีให้เป็นของที่ทอดีให้เป็นของที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดี แม้ไฉนรูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กของน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต เป็นนิสสัึคคิยปาจิตตีย์.”

อนาบัติ

1.ภิกษุขอต่อญาติ 2.ภิกษุขอต่อคนปวารณา 3.ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น 4.ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตนเอง 5.เจ้าเรือนใครจะให้ทอจีวรมีราคามาก ภิกษุให้ทอจีวรมีราคาน้อย 6.ภิกษุวิกลจริต 7.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ
พระอุปนัันทศากยบุตร ทราบว่า ชายผู้หนึ่งสั่งภริยาให้จ้างช่างหูกทอจีวรถวาย จึงไปหาช่างหูก สั่งให้เขาทอให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่นเป็นต้น ด้ายที่ให้ไว้เดิมไม่พอ ช่างต้องมาขอด้ายจากหญิงนั้นไปเติมอีกเท่าตัว ชายผู้สามีทราบภายหลังจึงติเตียน พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทใจความว่า ภิกษุที่เขามิได้ปวารณาไว้ก่อน ไปหาช่างหูกให้ทออย่างนั้นอย่างนี้ ตนจะให้รางวัลบ้าง ครั้นพูดกับเขาแล้ว ให้แม้ของเพียงเล็กน้อยสักว่าบิณฑบาต ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

การเก็บผ้าอัจเจกจีวรไว้เกินสมัยทำจีวร

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 8

ทะสาหานาคะตัง กัตติกะเตมาสิปุณณะมัง, ภิกขุโน ปะเนวะ…

“วันปุรณมีที่ครบ 3 เดือน แห่งเดือนกัตติกา ยังไม่มาอีก 10 วัน อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวรพึงรับไว้ได้ ครั้นรับไว้แล้ว พึงเก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาิจิตตีย์.”

วิภังค์

บทว่า ยังไม่มาอีก 10 วัน คือ ก่อนวันปวารณา 10 วัน.

ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า บุคคลประสงค์จะไปกองทัพก็ดี,บุคคลประสงค์จะไปแรมคืนต่างถิ่นก็ดี บุคคลเจ็บไข้ก็ดี สตรีมีครรภ์ก็ดี บุคคลยังไม่มีศรัทธา มามีศรัทธาเกิดขึ้นก็ดี บุคคลที่ยังไม่เลื่อมใส มามีความเลื่อมใสเกิดขึ้นก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่านิมนต์ท่านผู้เจริญมา ข้าพเจ้าจักถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้าเช่นนี้ชื่อว่าอัจเจกจีวร.

ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ได้ท้ายฤดูฝน 1 เดือน เมื่อกรานกฐินแล้ว ได้ขยายออกไปเป็น 5 เดือน.

อนาบัติ

1.ภิกษุอธิษฐาน 2.ภิกษุวิกัป 3.ภิกษุสละให้ได้ 4.จีวรหาย 5.จีวรฉิบหาย 6.จีวรถูกไฟไหม้ 7.จีวรถูกชิงเอาไป 8.ภิกษุถือวิสาสะ 9.ในภายในสมัย 10.ภิกษุวิกลจริต 11.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระผู้มีพระภาค ทรงอนุญาตให้รับผ้าจำนำพรรษา ( ที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา ก่อนออกพรรษา) แล้วเก็บไว้ได้ แต่ภิกษุบางรูปเก็บไว้เกินเขตจีวรกาบ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้รับผ้าจำนำพรรษาได้ก่อนออกพรรษา 10 วัน แต่ให้เก็บไว้เพียงตลอดกาลจีวร (ถ้าจำพรรษาครบ 3 เดือน เก็บได้หลังจากออกพรรษา 1 เดือน ถ้าได้กรานกฐิน เก็บต่อได้อีก 4 เดือน จึงเป็น 5 เดือน ) เก็บเกินกำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

การอยู่ป่ามีภัยเก็บจีวรในบ้านเกิน 6 คืน

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 9
อุปะวัสสัง โข ปะนะ กัตติกะปุณณะมัง, ยานิ โข ปะนะ…

“อนึ่ง ภิกษุจำพรรษาแล้ว จะอยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ตลอดถึงวันเพ็ญเดือน 12 ปรารถนาอยู่ พึงเก็บจีวร 3 ผืน ๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้ และปัจจัยอะไร ๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ 6 คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้นเว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติเป็นนิสสัคคิย ปาจิตตีย์.”

วิภังค์

คำว่า เสนาสนะป่า เป็นต้น ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่า ป่านั้นมีระยะไกล 500 ชั่วธนู เป็นอย่างน้อย. (ห่างหมู่บ้านประมาณ 25 เส้น = 1 กิโลเมตร : พระไตรปิฎก มจร.2/644/573)

ที่ชื่อว่า เป็นที่รังเกียจ คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มีสถานที่อยู่ ที่กิน ที่ยืน ที่นั่ง ที่นอน ของพวกโจรปรากฏอยู่.

อนาบัติ

1.ภิกษุอยู่ปราศ 6 ราตรี 2.ภิกษุอยู่ปราศไม่ถึง 6 ราตรี 3.ภิกษุอยู่ปราศ 6 ราตรีแล้วกลับมายังคามสีมา อยู่ แล้วหลีกไป 4.ภิกษุถอนเสียภายใน 6 ราตรี 5.ภิกษุสละให้ไป 6.จีวรหาย 7.จีวรฉิบหาย 8.จีวรถูกไฟไหม้ 9.จีวรถูกชิงเอาไป 10.ภิกษุถือวิสาสะ 11.ภิกษุได้รับสมมติ 12.ภิกษุวิกลจริต 13.ภิกษุอาทิกัมมิกะ

เรื่องต้นบัญญัติ

ภิกษุออกพรรษาปวารณาแล้ว ยังอยู่ในเสนาสนะป่า พวกโจรเข้าใจว่า “พวกภิกษุมีลาภ” ก็เข้าปล้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้าน ได้ ภิกษุจึงเก็บไว้ในบ้านเกิน 6 คืน จีวรหายบ้าง หนูกัดบ้าง จึงทรงบัญญัติสิกขาบทให้ภิกษุอยู่ป่า เก็บจีวรผืนหนึ่งไว้ในบ้านได้ แต่จะอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ไม่เกิน 6 คืน ถ้าเกินไปต้อง นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้รับสมมติ (คือ สงฆ์สวดประกาศเป็นกรณีพิเศษ เช่น เจ็บป่วย)

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

การให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ

ปาจิตตีย์ โอวาทวรรค สิกขาบทที่ 5

โย ปะนะ ภิกขุ อัญญาติกายะ ภิกขุนิยา จีวะรัง ทะเทยยะ…

“อนึ่ง ภิกษุใด ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน เป็นปาจิตตีย์.”

อนาบัติ

1.ภิกษุณีผู้เป็นญาติ    2.ภิกษุแลกเปลี่ยน คือ เอาจีวรมีค่าน้อยแลกเปลี่ยนจีวรมีค่ามาก หรือเอาจีวรมีค่ามากแลกเปลี่ยนจีวรมีค่าน้อย    3.ภิกษุณีถือวิสาสะ    4.ภิกษุณีถือเอาเป็นของขอยืม    5.ภิกษุให้บริขารอื่นเว้นจีวร    6.ภิกษุให้แก่สิกขมานา    7.ภิกษุให้สามเณรี    8.ภิกษุวิกลจริต    9.ภิกษุอาทิกัมมิกะ  ไม่่ต้องอาบัติ

เรื่องต้นบัญญัติ

ภิกษุรูปหนึ่งให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า  ภิกษุให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ  เว้นแต่ของแลกเปลี่ยน ต้องปาจิตตีย์.

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา

การเย็บจีวรให้แก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ

ปาจิตตีย์ โอวาทวรรค  สิกขาบทที่  6

โย ปะนะ ภิกขุ อัีญญาติกายะ ภิกขุนิยา จีวะรัง สิพเพยยะ วา…

“อนึ่ง ภิกษุใด เย็บก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร เพื่อภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็นปาจิตตีย์.”

อนาบัติ

1.ภิกษุเย็บเพื่อภิกษุณีผู้เป็นญาติ    2.ภิกษุเย็บเองก็ดี ให้เย็บก็ดีซึ่งบริขารอื่นเว้นจีวร    3.ภิกษุเย็บเพื่อสิกขมานา    4.ภิกษุเย็บเพื่อสามเณรี    5.ภิกษุวิกลจริต    6.ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องต้นบัญญัติ

พระอุทายีเย็บจีวรให้นางภิกษุณี มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเย็บเอง หรือใช้ผู้อื่นให้เย็บจีวรเพื่อนางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ต้องปาจิตตีย์.

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา


 

 

จีวรขันธกะ ว่าด้วยจีวร การตัดจีวร และการใช้ผ้าต่าง ๆ

หมวดว่าด้วยจีวร

คหบดีชาวกรุงราชคฤห์ไปเที่ยวเมืองเวสาลี เห็นบ้านเมืองเจริญและมีหญิงนครโสเภณี นามว่า อัมพปาลี เมื่อกลับไปกรุงราชคฤห์ จึงไปแนะนำให้พระเจ้าพิมพิสารทรงอนุญาตให้มีหญิงนครโสเภณีบ้าง เมื่อทรงอนุญาตจึงหาหญิงสาวร่างงาม ชื่อนางสาลวดีมาเป็นหญิงนครโสเภณีประจำกรุงราชคฤห์นางตั้งครรภ์ คลอดบุตรเป็นชาย จึงให้นำไปทิ้งยังกองขยะ อภัยราชกุมารไปพบจึงให้รับไปเลี้ยงไว้ในวัง เด็กนั้นจึงชื่อว่า ชีวก (รอดตาย) โกมารภัจจ์(พระราชกุมารเลี้ยงไว้) เมื่อชีวกโกมารภัจจ์เติบโต จึงเดินทางไปศึกษาวิชาแพทย์ ณ เมืองตักกสิลา อยู่ 7 ปี เมื่อสำเร็ํจแล้ว ในระหว่างเดินทางกลับก็ได้รักษาภริยาเศรษฐีผู้หนึ่ง ในเมืองสาเกต ซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะมา 7 ปี ด้วยใช้ยาน้ำมันให้นัตถุ์ทางจมูก ได้ลาภสักการะมาก ก็มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในบริเวณที่อยู่ของอภัยราชกุมาร.

ต่อมาได้รักษาโรคริดสีดวงทวารของพระเจ้าพิมพิสารหาย ด้วยให้ทายาเพียงครั้งเดียว จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ประจำราชสำนัก และประจำพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระภิกษุสงฆ์.

ต่อมาได้รักษาโรคปวดศีรษะของเศรษฐีผู้หนึ่ง แห่งกรุงราชคฤห์ด้วยการผ่าตัดศีรษะ, รักษาโรคเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ของบุตรเศรษฐีผู้หนึ่งแห่งกรุงพาราณส ีด้วยการผ่าตัดหน้าท้อง, รักษาโรคผอมเหลืองของพระเจ้าจันทปัชโชติแห่งกรุงอุชเชนี ด้วยการถวายยา ให้ทรงดื่มได้ผลดีทุกราย.

ครั้งหลังถวายยาถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคโดยไม่ต้องให้เสวย เพียงแต่อบยาใส่ดอกอุบล 3 ก้าน แล้วถวายให้พระองค์ทรงสูดดมทีละก้าน ก็ได้ผลดีในที่สุด ได้กราบทูลขอร้องต่อพระผู้มีพระภาค เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายรับคหบดีจีวร( คือจีวรที่มีผู้ศรัทธาถวายให้ใช้ สมัยก่อนอนุญาตแต่จีวรที่เก็บเศษผ้ามาปะติดกัน) ทรงปรารภคำขอของหมอชีวก จึงทรงอนุญาตให้รับคหบดีจีวร หรือภิกษุรูปใดปรารถนาจะใช้จีวรที่เก็บเศษผ้าเก็บมาปะติดปะต่อ ที่เรียก บังสุกุลจีวร ก็ได้แต่ทรงสรรเสริญการยินดีปัจจัยตามมีตามได้.

ทรงอนุญาตคหบดีจีวร 6 ชนิด

สมัยนั้น จีวรทั้งชนิดที่มีเนื้่อละเอียดและเนื้อหยาบ ได้เกิดขึ้นแก่สงฆ์ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่าทรงอนุญาตจีวรอะไรบ้าง จึงทรงอนุญาตจีวร 6 ชนิด คือ

  1. โขมะ (ผ้าเปลือกไม้)
  2. กัปปาสิกะ (ผ้าฝ้าย)
  3. โกเสยยะ (ผ้าไหม)
  4. กัมพล (ผ้าขนสัตว์)
  5. สาณะ (ผ้าป่าน)
  6. ภังคะ (ผ้าที่ทำด้วยของผสมกัน)

ในการแสวงหาผ้าบังสุกุลในป่าช้านั้น ทรงอนุญาตให้ ภิกษุผู้ไม่ปรารถนาก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่รอคอย, ภิกษุที่เข้าไปแสวงหาพร้อมกัน หรือ นัดกันไป นอกจากกรณีที่กล่าวเหล่านี้แล้ว ภิกษุไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ส่วนแบ่ง.

ทรงอนุญาตเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับจีวร

เมื่อมนุษย์ทั้งหลายทราบว่า ทรงอนุญาตให้ถวายจีวรได้ก็พากันนำมาถวายมาก เมื่อจีวรมีมากจึงทรงอนุญาตให้สวดประกาศแต่งตั้งภิกษุผู้รับจีวร,ภิกษุผู้ เก็บจีวร,สมมติเรือนคลัง, ภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง,ภิกษุผู้แจกจีวร (มีรายละเอียดอยู่ในภาึคผนวก หน้า 420) และทรงกำหนดคุณสมบัติของภิกษุผู้ทำหน้าที่เหล่านั้น คือ

  1. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
  2. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
  3. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
  4. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
  5. รู้จักจีวรที่รับแล้วหรือยังไม่ได้รับ, เก็บแล้วหรือยังไม่ได้เก็บ,รักษาแล้วหรือยังไม่รักษา,แจกแล้วหรือยังไม่แจก ตามแต่ลักษณะหน้าที่นั้น ๆ

นอกจากนี้ยังทรงบัญญัติว่า ห้ามย้ายที่อยู่เจ้าหน้าที่เรือนคลัง ผู้ใดย้ายต้องอาบัติทุกกฏ ทรงแนะวิธีแจกจีวรว่า ให้คัดผ้าแล้วเฉลี่ยตามจำนวนภิกษุและสามเณร โดยมอบแก่สามเณรครึ่งส่วน แล้วผูกเป็นมัดไว้แจก ให้ผู้ที่จะรีบไป รับส่วนของตนได้ก่อน ให้มอบส่วนพิเศษในเมื่อจะให้สิ่งทดแทน ถ้าจีวรไม่พอแจกให้สมยอมส่วนที่พร่องแล้วจับฉลาก

ทรงอนุญาตสีย้อมและวิธีการเกี่ยวกับจีวร

ทรงอนุญาตสีย้อมจีวร 6 ชนิด คือ ที่ทำจาก รากไม้, ลำต้นไม้, เปลือกไม้, ใบไม้, ดอกไม้ และ ผลไม้ และทรงอนุญาตวิธีการและอุปกรณ์ต่างๆ ในการซักย้อมจีวร คืออนุญาตหม้อต้มน้ำย้อม ผูกตะกร้อกันน้ำล้น กระบวยตักน้ำย้อม อ่างหม้อและรางสำหรับย้อม ราวจีวรสายระเดียง ผูกมุมจีวรตาก ด้วยผูกมุมจีวร ทุบซักจีวรด้วยฝ่ามือ.

ทรงอนุญาตวิธีตัดจีวร

ทรงห้ามภิกษุใช้จีวรที่ยังไมไ่ด้ตัด เพื่อให้จีวรที่ตัดแล้วเศร้าหมองเหมาะแก่สมณะและพวกโจรไม่ต้องการ เมื่อเสด็จไปยังทักขิณาคิรี (ภูิเขาภาคใต้) ทอดพระเนตรเห็นนาชาวมคธ มีขอบคั่นและกระทงนา จึงตรัสให้พระอานนท์ลองตัดจีวรเป็นรูปอย่างนั้นดู เมื่อพระอานนท์ทำเสร็จ ทรงสรรเสริญว่าเป็นผู้ฉลาด.

ต่อมาทอดพระเนตรเห็นภิกษุหอบจีวรพะรุงพะรัุง ทรงทดลองห่อจีวรประืัทับอยู่กลางแจ้งในกลางคืนฤดูหนาวดำริว่า กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ที่เป็นคนมีปกติหนาวกลัวความหนาว อาจครองชีพอยูได้ด้วยผ้า 3 ผืน จึงทรงบัญญัติให้ใช้จีวร 3 ผืน (ไตรจีวร) คือ ผ้าสังฆาฏิ (ผ้าซ้อนนอก) 2 ชั้น ผ้าห่ม (จีวร) 1 ชั้น ผ้านุ่ง(สบง) 1 ชั้น แล้วทรงอนุญาตให้เก็บจีวรที่เกินจำนวน 3 ผืนไว้ได้ไม่เกิน 10 วัน ถ้าจะเก็บเกินกว่านั้นให้วิกัป ( คือทำให้เป็นของ 2 เจ้าของ) ต่อมา ทรงอนุญาตว่าถ้าเป็นผ้าเก่าค้างฤดูให้ใช้สังฆาฎิ 4 ชั้น ผ้าจีวร 2 ชั้น สบง 2 ชั้น (เำพื่อไม่ให้เห็นช่องขาดปุปะ) อนุญาตผ้าปะชุน, รังดุม และลูกดุม.

ทรงอนุญาตค่ำขอ 8 ประการของนางวิสาขา

นางวิสาขาปรารถนาจะถวายความสะดวกแก่พระภิกษุสงฆ์ จึงกราบทูลขอพร 8 ประการ เพื่อถวายสิ่งต่างๆ แก่ภิกษุจนตลอดชีวิต อ้างเหตุผลที่เคยประสบมาต่าง ๆ อันควรจะทรงอนุญาต ก็ทรงอนุญาตตามที่ขอร้อง คือ :-

  1. ผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน)
  2. อาคันตุกภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้เพิ่งมา)
  3. คมิกภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางไป)
  4. คิลานภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้ป่วยไข้)
  5. คิลานุปัฏฐากภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลไข้)
  6. คิลานเภสัช (ยาสำหรับภิกษุผู้ป่วยไข้)
  7. ข้่าวยาคูที่ถวายเป็นประจำ
  8. ผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำสำหรับนางภิกษุณี)

ทรงอนุญาตผ้าอื่น ๆ

ต่อมาทรงจาริกไปตามเสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะเปื้อนอสุจิ ทรงยืนยันตามคำของพระอานนท์ที่ว่า เป็นเพราะเมื่อภิกษุเหล่านั้นจำวัดหลับขาดสติสัมปชัญญะ น้ำอสุจิย่อมออกมาเพราะความฝัน ตรัสว่า ” ภิกษุผู้จำวัดโดยมีสติตั้งมั่นน้ำอสุจิย่อมไม่เคลื่อน แม้ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม น้ำอสุจิย่อมไม่ออกมา ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ ไม่ใช่โอกาสที่น้ำอสุจิของพระอรหันต์จะออกมา ตรัสโทษแล้วแสดงอานิสงส์ของการนอนหลับ อย่างมีสติ 5 อย่าง คือ

  1. หลับเป็นสุข
  2. ตื่นเป็นสุข
  3. ไม่ฝันเห็นความเลวทราม
  4. เทวดารักษา
  5. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน

อนุญาตให้มีผ้าปูนั่ง หรือผ้าปูนอน (เพื่อป้องกันเสนาสนะเปรอะเปื้อน) ทรงอนุญาตผ้าปิดฝี เมื่อเป็นฝีเป็นต่อม, ทรงอนุญาตผ้าเช็ดหน้า และผ้าอื่นๆ ที่ใช้เป็นบริขาร เช่น ผ้ากรองน้ำ, ถุงใส่ของ แล้วตรัสสรุปว่าผ้าไตรจีวรให้อธิษฐานไม่ให้วิกัป, ผ้าอาบน้ำฝนให้อธิษฐานใช้ตลอด 4 เดือน ฤดูฝนต่อจากนั้นให้วิกัป,ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ให้อธิษฐานไม่ให้วิกัป, ผ้าปิดฝีให้อธิษฐานไว้ใช้ตลอดเวลาที่อาพาธหายแล้วให้วิกัป, ผ้าเช็ดหน้า และผ้าที่้ใช้เป็นบริขารอื่น ๆ ให้อธิษฐานไม่ให้วิกัป ผ้าที่มีขนาดยาว 8 นิ้ว กว้าง 4 นิ้ว เป็นอย่างต่ำพึงวิกัป.

ทรงอนุญาตและห้ามเกี่ยวกับจีวรอีก

เพราะผ้าบังสุกุลหนักจึงทรงอนุญาตให้เย็บดามด้วยด้าย, มุมไม่เสมอ ทรงอนุญาตเจียนมุม,ด้ายลุ่ยออก ทรงอนุญาตติดอนุวาต,แผ่นผ้าสังฆาฎิลุ่ย  ทรงอนุญาตเย็บตะเข็บดังตาหมากรุก,เมื่อสงฆ์ทำจีวรให้ภิกษุรูปหนึ่งผ้า 2 ผืนไม่ตัด ผืนหนึ่งต้องตัด ผ้าก็ยังไม่พอ จึงทรงตรัสว่า เราอนุญาตให้เพิ่มผ้าเพลาะ แต่ผ้าทุกผืนที่ไม่ได้ตัด ภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ,ผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่ง หลายผืนท่านปรารถนาจะให้ผ้านั้นแก่โยมมารดาบิดา ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุให้ด้วยรู้ว่ามารดาบิดาเราจะพึงว่าอะไร เราอนุญาตให้สละแก่มารดาบิดา แต่ภิกษุไม่พึงทำศรัทธาไทยให้ตกไป รูปใดให้ตกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

มีปัญหาเรื่องการนำจีวรไปไม่ครบสำรับ จีวรที่เก็บไว้ถูกโจรลักไป จึงทรงบัญญัติว่า ภิกษุมีแต่อุตราสงค์ (จีวร) กับอันตรวาสก (สบง) ไม่พึงเข้าหมู่บ้านรูปใดเข้าไปต้องอาบัติทุกกฏ ภายหลังทรงกำหนด เงื่อนไขว่าเมื่อมีเหตุจำเป็น 5 อย่างจะเข้าบ้านโดยเก็บจีวรไว้ไม่นำไปครบสำรับได้ คือ

  1. เป็นไข้
  2. สังเกตเห็นว่าฝนจะตก
  3. ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ
  4. ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล(กลอน)
  5. ได้กรานกฐินแล้ว

และมีปัญหาเรื่องมีผู้ถวายจีวรแก่สงฆ์ แต่อยู่ไม่ครบสงฆ์คือ 4 รูป ตรัสว่าถ้าเป็นช่วงพรรษาจนถึงเดาะกฐินจีวรเป็นของภิกษุเหล่านั้น ถ้าอยู่ผู้เดียวตลอดกาลอื่น ให้อธิษฐานว่าจีวรนั้นเป็นของเรา ก่อนอธิษฐานถ้ามีภิกษุอื่นมาให้แบ่งเท่าๆ กัน ทรงห้ามภิกษุผู้จำพรรษาในวัดหนึ่ง แต่จะละโมบไปยินดีรับจีวรในวัดอื่นเป็นส่วนแบ่งอีกต้องอาบัติทุกกฏ,มีภิกษุ ทำเป็นว่าอยู่จำพรรษา 2 แห่ง  ทรงติเตียน แล้วทรงให้แบ่งส่วนจีวรวัดละกึ่งส่วน หรือให้ส่วนของจีวรของวัดที่เธอจำพรรษามาก.

พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลภิกษุอาพาธ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค มีท่านอานนท์ตามเสด็จ เที่ยวตรวจเสนาสนะไปยังที่อยู่ของภิกษุนั้น ทอดพระเนตรเห็นเธอนอนจมปัสสาวะ อุจจาระของตนอยู่ จึงเสด็จเข้าไปพยาบาล และรับสั่งให้พระอานนท์ไปนำน้ำมาสรงน้ำให้เธอ  พระองค์ทรงรดน้ำ พระอานนท์ทำความสะอาด พระผู้มีพระภาคทรงจับทางศีรษะ พระอานนท์ยกทางเท้าให้ภิกษุนั้นนอนบนเตียง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงเรียนประชุมภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุการณ์นั้่น ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “รู้หรือไม่ว่าภิกษุอาพาธอยู่ในวิหารโน้น ด้วยโรคอะไร มีใครพยาบาลภิกษุนั้นหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายก็ทูลว่า “ทราบว่ามีภิกษุอาพาธอยู่ในวิหารโน้น ด้วยโรคท้องเสีย โดยไม่มีใครพยาบาล” จึงตรัสถามว่า ” ทำไมเล่า? ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ” ภิกษุทั้งหลายก็ทูลตอบว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่พยาบาลเธอ เพราะเธอไม่ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายพระเจ้าข้า.” พระผู้มีพระภาคจึงทรงตรัสว่า

“ดูก่อนภิำกษุทั้งหลาย! มารดาบิดา ผู้จะพึงพยาบาลพวกเธอก็ไม่มี.ถ้าเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล .ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดจะพยาบาลเรา ถ้าพึงพยาบาลภิกษุไข้เถิด.

ถ้ามีอุปัชฌาย์ ๆ พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีอาจารย์ ๆพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีสัทธิวิหาริก ๆ พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีอันเตวาสิก ๆ พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ๆพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ๆพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผุ้ร่วมอาจารย์ ๆ พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย ถ้าไม่มีอุปฌาชย์ อาจารย์ สัทธิวิหาริกอันเตวาสิก ผู้ร่วมอุปัชฌาย์ หรือผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์พึงพยาบาลเธอ ถ้าไม่พยาบาลต้องอาบัติทุกกฏ”

ทรงแสดงคุณสมบัติของคนไข้ที่พยาบาลได้ง่าย 5 คือ

  1. ทำความสบาย
  2. รู้ประมาณในความสบาย
  3. ฉันยา
  4. บอกอาการไข้ตามเป็นจริง
  5. อดทนต่อความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้น

ทรงตรัสคุณสมบัติของคนไข้ที่พยาบาลได้ยาก มีนัยตรงข้ามกับคนไข้ที่พยาบาลได้ง่าย และตรัสองค์ของผู้ควรพยาบาลภิกษุไข้ 5 คือ

  1. สามารถจัดยา
  2. รู้จักของแสลงและไม่แสลง
  3. ไม่พยาบาลเพราะเห็นแก่อามิส มีจิตเมตตา
  4. ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลายของที่อาเจียนไปเททิ้ง
  5. สามารถพูดให้เห็นชัด รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้กล้า ปลอบให้สดชื่น

สมัยนั้นมีภิกษุสามเณรอาพาธได้มรณภาพลง ตรัสว่า “เมื่อภิกษุสามเณรมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรและจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาล เป็นผู้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรแก่ภิกษุสามเณรผู้พยาบาล”

นอกจากนั้นได้ทรงแสดงวิธีสวดประกาศของสงฆ์ เพื่อมอบของผู้เป็นไข้ที่สิ้นชีวิตแก่ภิกษุผู้พยาบาล ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมใจกันแบ่งลหุภัณฑ์ลหุบริขาร (ของเล็ก ๆ น้อย ๆ) แต่ถ้าเป็นครุภัณฑ์ ครุบริขาร (คือของใช้ขนาดใหญ่) ห้ามแบ่งและแจกให้เก็บไว้ใช้เป็นของสงฆ์.

การเปลือยกายและการใช้ผ้า

ทรงห้ามสมาทานการเปลือยกายแบบเดียรถีย์ และปรัีบอาบัติถุลลัจจัยแก่ผู้ล่วงละเมิด อนึ่งทรงห้ามใช้ผ้าคากรอง ,เปลือกต้นไม้กรอง,ผลไม้กรอง,ผ้ากัมพล ทำด้วยผมคน,ผ้ากัมพล ทำด้วยขนหางสัตว์ ปีกนกเค้าหรือหนังเสือ, ซึ่งเป็นผ้านุ่งห่มของพวกเดียรถีย์ใช้นุ่งห่ม ฝ่าฝืนต้องอาบัติถุลลัจจัยและห้ามนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก, ด้วยเปลือกปอ ปรับอาบัติทุกกฏ.

ทรงห้ามใช้จีวรที่มีสีไม่สมควร และห้ามใส่เสื้อ หมวก ผ้าโพก

ทรงห้ามใช้จีวรมีสีไม่สมควรต่าง ๆ คือ เขียวล้วน,เหลืองล้วน,แดงล้วน,สีบานเย็นล้วน,ดำล้วน,สีแสดล้่วน,ชมพูล้วน, อนึ่ง ทรงห้ามใช้จีวรที่ไม่ตัดชาย, จีวรมีชายยาว,จีวรมีชายเป็นดอกไม้, จีวรมีชายเป็นแผ่น และทรงห้ามใช้เสื้อ, หมวก, ผ้าโพก ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

ทรงวางหลักเกี่ยวกับจีวรอีก

เมื่อภิกษุจำพรรษาแล้ว จีวรยังไม่ทันเกิดขึ้นหลีกไปเสีย ภายหลังมีจีวรเกิดขึ้น ถ้ามีผู้รับแทนเธอที่สมควรจะให้ก็ให้ได้ แต่ถ้าเธอสึกเสีย เป็นต้น สงฆ์ย่อมเป็นใหญ่ ถ้าสงฆ์แตกกันให้แจกผ้าตามความประสงค์ ของผู้ถวายว่าจะถวายแก่ฝ่ายไหน ถ้าเขาไม่เจาะจงให้แบ่งฝ่ายละเท่ากัน.

อนึ่ง ทรงวางหลักการถือเอาจีวรที่ฝากไปถวายผู้อื่น ด้วยถือวิสาสะ คือคุ้นเคยกัน ถ้าผู้ฝากจีวรไปกล่าวว่า “จงถวาย..” ถือว่าของนั้นเป็นของผู้ฝากไปอยู่ แต่ถ้ากล่าวว่า “ขอถวาย..” ของนั้นเป็นของผู้รับแล้ว ฉะนั้น ถ้าจะถือจีวรนั้นเอาด้วยวิสาสะต้องถือวิสาสะให้ถูกเจ้าของ

แล้วทรงแสดงกติกา (ข้อกำหนดหรือแม่บท) 8 ประการที่จีวรจะเกิดขึ้น คือ

  1. เขาถวายกำหนดเขตภิกษุที่อยู่ในสีมา
  2. เขาถวายกำหนดกติกา
  3. เขาถวายกำหนดเฉพาะเขตหรือวันที่เขาทำบุญประจำ
  4. เขาถวายแก่สงฆ์
  5. เขาถวายแก่สงฆ์ 2 ฝ่าย (คือภิกษุ และ ภิกษุณี พึงให้ฝ่ายละครึ่ง)
  6. เขาถวายแก่สงฆ์ที่จำพรรษาแล้วในอาวาสนั้น
  7. เขาถวายโดยเจาะจง (ให้เกี่ยวเนื่องกับการถวายข้าวยาคู หรือ อาหารอื่น ๆ เป็นต้น)
  8. เขาถวายจำเพาะบุคคล (คือ แก่ภิกษุรูปนั้นรูปนี้).

ปุุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม คือ ผู้มีปกติได้ฌาณ (วิ.อ.3/353/218)

ธัมมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา


 

 

วิธีพินทุและอธิษฐานบริขาร

วิธีพินทุ (วิ.อ.2/368-9/410)

ในอรรถกถาว่า การทำให้จีวรที่ได้มาใหม่เสียสีหรือมีตำหนิด้วยสีเขียว สีตม หรือสีดำคล้ำ มักทำจุดเป็นวงกลมอย่างใหญ่เท่าแววตานกยูง อย่างเล็กเท่าหลัง ตัวเรือด ที่มุมจีวรพร้อมกับคำว่า “อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ”.(ดูหน้า143)

คำอธิษฐานบริขาร

คำอธิษฐานบริขารสิ่งเดียว ในหัตถบาส ว่า 3 หน

ชนิดบริขาร คำอธิษฐาน

บาตร อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ.
สังฆาฏิ อิมัง สังฆาฏิง อะธิฏฐามิ.
อุตตราสงค์(จีวร) อิมัง อุตตะราสังคัง อะธิฏฐามิ.
อันตรวาสก(สบง) อิมัง อันตะระวาสะกัง อะธิฏฐามิ.
นิสีทนะ(ผ้าปูนั่ง) อิมัง นิสีทะนัง อะธิฏฐามิ.
ผ้าอาบน้ำฝน อิมัง วัสสิกะสาฏิกัง อะธิฏฐามิ.
ผ้าปิดฝี อิมัง กัณฑุปะฏิจฉาทิง อะธิฏฐามิ.
ผ้าปูนอน อิมัง ปัจจัตถะระณัง อะธิฏฐามิ.
ผ้าเช็ดหน้า เช็ดปาก อิมัง มุขะปุญฉะนะโจลัง อะธิฎฐามิ.
ผ้าบริขาร อิมัง ปะริกขาระโจลัง อะธิฎฐามิ.

คำอธิษฐานบริขารหลายสิ่ง ในหัตถบาส ว่า 3 หน

ชนิดบริขาร คำอธิษฐาน

ผ้าปูที่นอน อิมานิ ปัจจัตถะระณานิ อะธิฎฐามิ.

ผ้าเช็ดหน้า เช็ดปาก อิมานิ มุขะปุญฉะนะโจลานิ อะธิฎฐามิ.

ผ้าบริขาร อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ อะธิฎฐามิ.

คำถอนอธิษฐานบริขาร

คำถอนอธิษฐานนั้น พึงว่าทุกอย่างเหมือนกับการอธิษฐาน แต่จะเปลี่ยนเฉพาะคำว่า อะธิฏฐามิ เป็น ปัจจุทธะรามิ

(ในพระไตรปิฎกมิได้มีที่กล่าวถึง เรื่องการขาดอธิษฐาน แต่ในหนังสือบุพพสิกขาวรรณา หน้า 464 กล่าวไว้ว่า ผ้าไตรจีวร ถ้าขาดเป็นช่องทะลุเท่าหลังเล็บก้อย เป็นเหตุให้ขาดอธิษฐาน ดังนี้

สังฆาฎิ และจีวร ด้านยาวตั้งแต่ริมผ้าเข้าไป 1 คืบ

ด้านกว้างตั้งแต่ริมผ้าเข้าไป 8 นิ้ว

สบง ด้านยาวตั้งแต่ริมผ้าเข้าไป 1 คืบ

ด้านกว้างตั้งแต่ริมผ้าเข้าไป 4 นิ้ว)

คำวิกัปบริขาร

(วิธีการวิกัปและถอนวิกัปนี้ มีอธิบายไว้ในสิกขาบทวิภังค์ สุราปานวรรค สิกขาบทที่ 9 หน้า 144)

คำวิกัป ต่อหน้าผู้รับ ในหัตถบาส ว่าดังนี้ ( 3 หน )

จีวรผืนเดียว อิมัง จีวะรัง ตุยหัง วิกัปเปมิ.

จีวรหลายผืน อิมานิ จีวะรานิ ตุยหัง วิกัปเปมิ.

บาตรใบเดียว อิมัง ปัตตัง ตุยหัง วิกัปเปมิ.

บาตรหลายใบ อิมานิ ปัตตานิ ตุยหัง วิกัปเปมิ.

คำถอนวิกัป

ผู้ถอนแก่พรรษากว่า ในหัตถบาส ว่าดังนี้ (3 หน)

จีวรผืนเดียว อิมรัง จีวะรัง มัยหัง สันตะกัง ปริภุญชะ วา

วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ.

จีึวรหลายผืน อิมานิ จีวะรานิ มัยหัง สันตะกานิ ปริภุญชะ วา

วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ.

บาตรใบเดียว อิมัง ปัตตัง มัยหัง สันตะกัง ปริภุญชะ วา

วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ.

บาตรหลายใบ อิมานิ ปัตตานิ มัยหัง สันตะกานิ ปริภุญชะ วา

วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยัง วา กะโรหิ.

(ผู้ถอนอ่อนพรรษากว่า ในหัตถบาส ให้เปลี่ยน กะโรหิ เป็น กะโรถะ )

คำอธิษฐานบริขาร โดยพุทธพจน์ ทรงให้มีการอธิษฐานบริขารต่างๆ แต่มิได้บอกวิธีในคัมภีร์ปริวารว่า อธิษฐานมี 2 คือ 1.อธิษฐานด้วยกาย 2.อธิษฐานด้วยวาจา คำอธิษฐานและถอนอธิษฐานดังกล่าวนี้ อรรถกถาผูกขึ้นมาเพื่อเป็นการอธิษฐานด้วยวาจา