Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

ที่มาของโหราศาสตร์จีน 中国占卜学

วิชาที่ว่าด้วยการคำนวนดวงชาตาของจีน หรือโหราศาสตร์ของจีนนั้น สมัยโบราณเรียกว่าวิชา เซวียนเสวี๋ย (玄学) สมัยใหม่นี้ก็คือวิชาพยากรณ์ศาสตร์นั่นเอง โดยมีศิลปและวัฒนธรรมหลากหลายแขนงของจีนโบราณผสมผสานกันอย่างเป็นระบบ เช่น วิชาความรู้เกี่ยวกับ ไท่จี๋ (ไท้เก็ก) ปากว้า (โป๊ยข่วย) หยินหยาง เทียนกาน ตี้จือ (แผนภูมิฟ้าดิน) โหวงเฮ้ง (ธาตุทั้ง5) การเกิดและการทำลาย เทวะวิทยา เทพเจ้าและวิชาคำนวนปฎิทิน ฯลฯ โดยนำมาใช้ในการคำนวนโชคชาตาและโชคเคราะห์ของมนุษย์และสรรพสิ่ง ว่าด้วยเรื่องตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ว่าดีร่ายอย่างไร

วิชานี้แต่เดิมได้พัฒนามาตั้งยุคก่อนประวัติศาสตร์ของจีน มาจากการค้นคว้าและความรู้อันลึกซึ้งเกี่ยวพันกับความสัมพันธ์ของจักรวาลและธรรมชาติและการดำรงอยู่ของทั้งสองสิ่ง และการศึกษาค้นคว้าหารูปแบบและกฏเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรมของจักรวาลที่สัมพันธ์กับทุกสรรพสิ่ง  โดยฉพาะได้ผ่านการค้นคว้าและบันทึกสถิติจากนักปราชญ์ชาวจีนมาตลอดทุกยุคสมัย จนกระทั่งได้ตกผลึกเป็นภูมิปัญญาทางวิชาการโหราศาสตร์จีนอันยิ่งใหญ่จวบจนถึงปัจจุบัน

สิ่งที่ควรตระหนักก็คือ วิทยาการโบราณของจีนไม่ว่าจะเป็น ไท่จี๋ (ไท้เก็ก) ปากว้า (โป๊ยข่วย) หยินหยาง เทียนกาน ตี้จือ (แผนภูมิฟ้าดิน) โหวงเฮ้ง (ธาตุทั้ง5) การเกิดและการทำลาย เทพเจ้าและวิชาคำนวนปฎิทินและวิชาอื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งวิชาเหล่านี้ไม่ได้มีมูลเหตุมาจากโหราศาสตร์หรือวิชาว่าด้วยการคำนวน

โชคชาตาแต่อย่างใด แต่มีพื้นฐานมาจากความรู้และความเข้าใจกฏเกณฑ์ของโลกและจักรวาลและรวมถึงธรรมชาติที่สัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์ และเมื่อได้พัฒนาองค์ความรู้จนเกิดเป็นความคิดเชิงปรัชญามากขึ้น จนกระทั่งได้พัฒนามาเป็นพื้นฐานของวิทยาการด้านโหราศาสตร์ขึ้นมาในสมัยต่อมา อาจจะเรียกได้ว่าวิชาปรัชญาของจีนกับวิชาโหราศาสตร์นั้น ก็ล้วนมาจากรากฐานเดียวกัน

โหราศาสตร์จีนแขนงต่างๆ

โหราศาสตร์จีนได้มีการแบงแยกแตกแขนงเป็นระบบ ได้สองประเภทคือ หลักจากคัมภีร์“อี้จิง易经”และ “สู้สู่术数”หรือโหราศาสตร์ภาคคำนวน นอกจากนี้ก็ยังมีวิชาการภาคคำนวนอีกเรียกว่า “จั้นโต่วสู้” “占卜术”  แม้ว่าโหราศาสตร์ทั้งสองระบบหลักนี้จะแตกต่างกันแต่ก็ยังมีหลักใหญ่เหมือนกันในเชิงหลักการ ซึ่งทั้งสองระบบนี้ต่างก็เป็นตัวแทนของโหราศาสตร์จีนทั้งคู่ จนแทบจะเรียกว่าเป็นอันเดียวกัน หรือมีการเรียกขานจนเป็นอันหนึ่งเดียวกัน(โดยเฉพาะคนทั่วไปที่ไม่รู้จัก)  แต่ที่ได้แบ่งออกมาให้เห็นเป็นระบบนี้ก็เพื่อที่จะได้เข้าใจวิทยาการของโหราศาสตร์จีนอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

วิชาอี้จิงและปากว้า(โป็ยข่วย)ก็คือระบบหนึ่งของวิทยาการโหราศาสตร์ภาคพยากรณ์ ถือกำเนิดมาจากระบบความเชื่อของจีนโบราณตั้งแต่ยุคต้นโดยใช้กระดองเต่าในการทำนาย ตามบันทึกของคัมภีร์”โจวลี่” 《周礼》 มีการพยากรณ์มากถึงสามแบบเรียกว่า โจวอี้ เหลียนซาน และกุยจ้าง《周易》《连山》《归藏》

แต่ภายหลังคัมภีร์สองแบบหลังได้สาบสูญไร้ร่องรอยไปหมดสิ้น คงเหลือแต่คัมภีร์โจวอี้เพียงอย่างเดียว ปัจจุบันการค้นพบอักษรโบราณทั้งหลายที่สลักไว้บนกระดองเต่า (หรือที่เราเรียกว่า甲骨文) ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตผลของการบันทึกจากการคำนวนโชคชาตาในสมัยโบราณแทบทั้งสิ้น และก็มีคัมภีร์ที่ตกทอดมาในวิชาโหรระบบนี้ได้แก่คัมภีร์ เซี่ยงซู่อี้และคัมภีร์เหมยฮัวอี้  (象数易、梅花易数)

ส่วนอีกระบบหนึ่งเรียกว่า โหราศาสตร์ภาคคำนวนหรือ”สู้ซู่术数” ซึ่งระบบนี้ถือหลักมาจากการคำนวนแผนภูมิฟ้าดินหรือที่เราเรียกว่าเทียนกาน ตี้จือ 天干地支 ซึ่งวิชานี้ได้กำเนิดมาจากความรู้วิทยาการทางดาราศาสตร์ของจีนโบราณ โดยหลักการการพยากรณ์ก็อ้างอิงมาจากการพยากรณ์ของระบบอิ้จิงแต่เดิม ซึ่งโหราศาสตร์ระบบนี้เกิดหลังระบบอี้อิงโหราศาสตร์ระบบนี้มีหลายแขนงเช่น ต้าลิ่วเริ่น ซื้อจู่ปาจื้อ (โป๊ยยี่สี่เถียว) เถี่ยวปั่นเสินสู้ ชีเจิ้งซื่ออวี๋ หยานหลี่ เจ๋อยื่อ 大六壬四柱八字、铁板神数、七政四余、演禽、择日ฯลฯ

ส่วนการผสมผสานหลักการของโหราศาสตร์ทั้งสองระบบนี้ก็ได้เกิดเป็นวิชาการแขนงอื่นๆเพิ่มขึ้นมาอีก เช่น ลิ่วเหยา ไท่อี้ จี๋เหมินตุ้นเจี่ย เฟิงสุย (ฮวงจุ้ย)六爻太乙奇门遁甲风水 ฯลฯ

โหราศาสตร์จีนแม้นปัจจุบันนี้ก็ได้มีพัฒนาการลัแตกแขนงเป็นสำนักต่างๆอย่างมากมายและไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนกับวิชาบู๊ที่มีสำนักสาขามากมาย จนกระทั่งวันนี้มีเพียงคัมภีร์ของระบบภาคคำนวนคือ ซื่อคุ่นเฉวียนซู และจื่อปู้  เท่านั้นที่ดูเหมือนจะมีการรวมรวมหลักการเอาไว้อย่างเป็นระบบมากที่สุด

 

หลักการและทฤษฎี

เหตุใดโหราศาสตร์จีนจึงสามารถนำมาใช้พยากรณ์ในเรื่องราวต่างๆที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์และสิ่งของ และเรื่องราวอื่นๆ จริงๆแล้วโดยหลักการของวิชาดหราศาสตร์จีนนั้นก็มีลักษณะที่เป็นรูปแบบที่มีความแน่นอนอยู่ในระดับหนึ่ง แต่หลักการเหล่านี้ก็ค่อยๆเปิดเผยและได้รับการยอมรับมากขึ้นจากหลักวิทยาการสมัยใหม่ เป็นต้นว่าเราสามารถอธิบายวิชาโบราณเหล่านี้ด้วยระยะเชิงมุมทางวิชาตรีโกณมิติของโลกยุคใหม่

ภายใต้หลักการของวัฒนธรรมจีนว่าด้วยวิชา ไท่จี๋ (ไท้เก็ก) ปากว้า (โป๊ยข่วย) หยินหยาง เทียนกาน ตี้จือ (แผนภูมิฟ้าดิน) โหวงเฮ้ง (ธาตุทั้ง5) การเกิดและการทำลาย เทวะวิทยา เทพเจ้าและวิชาคำนวนปฎิทิน ฯลฯ ต่างๆเหล่านี้ พื้นฐานก็คือหลักทฤษฎีว่าด้วยความสมดุลย์ของมนุษย์กับธรรมชาติ และก็เป็นหลักการบรรพบุรุษของจีนโบราณได้ศึกษาเรียนรู้ค้นคว้าวิจัยมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอันยาวนานนั่นเอง ตามหลักการของคัมภีร์อี้จิงก็ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ถึงแม้จะใหญ่แต่ก็ไม่มีข้างนอก ถึงแม้จะเล็กแต่ก็ไม่มีข้างใน” ซึ่งก็เป็นทฤษฎีตามหลักของวิทยาศาสตร์ตะวันตกที่ได้อธิบายโลกและจักรวาลว่าทุกสิ่งล้วนก่อกำเนิดมาจากจากจุดเดียวกัน (Theory of Cosmo-Holographic Unity) ซึ่งหลักการของทฤษฎีนี้ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของวัตถุและสสารไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กแค่ไหน ต่างก็มีองค์ประกอบเดียวกันหรือโครงสร้างกันกับสสารเดียวกันทั้งหมด

พวกเราไม่สามารถจะอธิบายว่าทำไมต้อง”ฟ้า-ดิน-มนุษย์คือหนึ่งเดียวกัน”และ”สสารทั้งหมดในจักรวาลล้วนเป็นหนึ่งเดียว” แม้ในปัจจุบันเราก็ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางทฤษฎีนี้ได้ทั้งหมด หรือแม้แต่บรรพชนโบราณก็ไม่สามารถอธิบายมันได้ แต่บรรพชนโบราณเพียงแต่เรียกกฏเกณฑ์เหล่านี้ว่า “ฟ้า-ดิน”ลัทธิเต๋าเรียกมันว่า “เต๋า” และชาวตะวันตกเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า”พระเจ้า”

 

วิธีพยากรณ์ของโหราศาสตร์จีน

โหราศาสตร์จีนนั้นมีหลักการพยากรณ์ดวงชาตามาจากหลักสามประการเรียกว่าเซี่ยง-ซู่-หลี่ “象、数、理” หรือ หลักของรูปลักษณ์-หลักการคำนวน-และหลักวิชาทฤษฎี

วิชารูปลักษณ์ ก็คือลักษณะและองค์ประกอบเชิงรูปธรรม

วิชาการคำนวนก็คือหลักวิชาสำหรับการคำนวนดวงดาวที่โคจรบนท้องฟ้า การนับจำนวน วิชาคณิตศาสตร์หรือเราขาคณิต

และวิชาทฤษฎีก็คือหลักทฤษฎีของโลกและจักรวาลที่ว่าไว้ในคัมภีร์ต่างๆ (เช่น อี้จิง)

หลักในการพยากรณ์นั้นก็อิงอาศัยหลักของ”เซี่ยง”หรือรูปลักษณ์ เป็นหลักสำคัญที่สุด ส่วน “ซู่ และหลี่” หรือการคำนวนและทฤษฎีนั้นล้วนต้องอาศัย”เซี่ยง”เป็นตัวกำหนด ส่วนไท่จี๋ (ไท้เก็ก) ปากว้า (โป๊ยข่วย) หยินหยาง เทียนกาน ตี้จือ (แผนภูมิฟ้าดิน) โหวงเฮ้ง (ธาตุทั้ง5) การเกิดและการทำลาย(เซิงเค่อ) และเทวะวิทยา เทพเจ้า ต่างๆ ซึ่งต่างก็มีความหมายและรูปแบบแตกต่างกันในการพยากรณ์ และก็เป็นตัวแทนของความหมายต่างๆที่ซ่อนอยู่(รหัส) ซึ่งความหมายต่างๆเหล่านี้ เราเรียกว่า“象” “เซี่ยง” (ลักษณะ)

ตัวอย่างเช่น ตัวอักษร “乾เฉียน” ในวิชาปากว้าหรือโป๊ยข่วย ซึ่งสามารถอธิบายได้ทุกสรรพสิ่ง ก็จะมีลักษณะบ่งบอกความหมายในเชิงรูปลักษณ์แทนคำว่า แข็งแรง,การเคลื่อนไหว,เงินทอง,โลหะ,ความร่ำรวย,ผู้ดี,หรือผู้นำเป็นต้น

หรือตัวอักษรคำว่า “寅”อิ๊ง ในหลักของแผนภูมิดินที่เรียกว่า地支ตี้จือ ก็คือการอธิบายความถึง ผู้เฒ่า,นายบ้าน,คนที่มีวัฒนธรรม,เครื่องไม้,ต้นไม้ใหญ่,หัวหน้าหมู่บ้าน,เครื่องเรือน,คนที่ไว้หนวเครายาว,ความเมตตาเป็นต้น

โดยหลักการข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นหลักวิชา วิชา ไท่จี๋ (ไท้เก็ก) ปากว้า (โป๊ยข่วย) หยินหยาง เทียนกาน ตี้จือ (แผนภูมิฟ้าดิน) โหวงเฮ้ง (ธาตุทั้ง5) การเกิดและการทำลาย เทวะวิทยา เทพเจ้า ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มี รูปลักษณ์เฉพาะตนในวิชานั้นๆ ถึงแม้นความหายของคำว่ารูปลักษณของแต่ละหลักวิชา จะมีคำจำกัดความกว้างขวางและแตกต่างกันมากมาย แต่ก็ยังมีจุดร่วมและปัจจัยสำคัญที่เหมือนกันอยู่นั่นเอง ในคำภีร์โจวอี้ได้เรียกลักษณะนี้ไว้ว่า “物以类聚,人以群分” “ทุกสรรพสิ่งล้วนมาจากสิ่งเดียวกัน มนุษย์เป็นผู้แบ่งแยกให้แตกต่าง”

กรรมวิธีการพยากรณ์สามารถอธิบายได้ง่ายๆว่า “เพียงเสี่ยงทายคำทำนายก็พลันปรากฏ” วิธีการทำนายนี้อธิบายได้ว่าในการทำการเสี่ยงทาย และปัจจัยร่วมต่างๆในการทำนายก็อธิบายการปรากฏของรูป

ลักษณ์”เซี่ยง”ในแบบใดแบบหนึ่ง’’ ซึ่งก็คือคำตอบโดยซินแสจะใช้คำถามจากผู้ที่มาขอคำทำนายเป็นจุดมุ่งหมายต่อผลที่ปรากฏ (เป็นคำตอบ) ซึ่งลักษณะของรูปลักษณ์ที่ปรากฏได้ผสมผสานกับหลักการต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็จะนำมาพิจารณาตัดสินและออกคำพยากรณ์ออกมาได้อย่างเที่ยงตรงและแม่นยำ ดังวลีที่กล่าวกันว่า“看图说话” “เพ่งรูปประพันธ์กลอน”แต่วิธีการเหล่านี้กว่าจะออกคำพยากรณ์ออกมาได้อย่างถูกต้องก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

เรารู้กันว่าให้คนหลายคนดูรูปรูปเดียวกัน แล้วให้ทุกคนใช้คำบรรยายภาพออกมา แน่นอนย่อมไม่เหมือนกัน จนกระทั่งแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

ในการให้คำพยากรณ์ จริงๆแล้วก็คือการหาความจริงและหัวใจในความสับสนของรูปลักษณ์ที่ซับซ้อนนั่นเอง ซึ่งถ้าหากตัดสินรูปลักษณ์ผิดไป คำตอบก็ย่อมจะผิดพลาดไปด้วย ดังคำว่า吉凶混杂,各从其类 “โชคเคราะห์อยู่สับสนปนเปกัน ต้องแบ่งแยกออกแสดงให้แจ้งชัด”

ในลักษณะเดียวกัน การเสี่ยงทายหลายๆครั้งในปัญหาเดียวกัน หรือการใช้ศาสตร์การพยากรณ์ที่ต่างกันในแต่ละครั้ง ซึ่งการใช้หลักวิชาการทำนายอื่นๆที่แตกต่างกันก็ต้องใช้หลักนั้นๆในการพิจารณาผล และผลในการทำนายก็ย่อมที่จะมีมุมมองและการวิเคราะห์คำพยากรณ์ที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ในการพยากรณ์นั้นๆก็จะต้องออกมาเหมือนกันในหลักการและตามความจริงที่ปรากฏ เพราะความจริงนั้นมีเพียงหนึ่งเดียว

ด้วยเหตุนี้ในการพิจารณาผลของการปรากฏของ”รูปลักษณ์(เซี่ยง)”จึงจำเป็นจะต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตัวของซินแสเอง ไม่ว่าจะเป็นวิชาการด้านการคำนวน ประสบการณ์ และการฝึกฝนตามหลักวิชา

ดังนั้นคำว่า”ปรมาจารย์”หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ก็คือผู้ที่สามารถแสดงความสามารถและภูมิรู้ ภูมิปัญญาและความสำนึกรู้ ให้ปรากฏอย่างโดดเด่นในท่ามกลางนักพยากรณ์ทั้งหลาย จนกลายเป็นปรมาจารย์แห่งยุคในแต่ละยุคสมัย หรือจนกระทั่งคนเรียกขานกันว่า ”บูรพาจารย์”

ดังนั้น ยุคสมัยในปัจจุบันที่เรามักใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวนดวงชาตามักไม่ได้ผล แต่จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อในเมื่อใดก็ตามที่วิทยาการทางด้านคอมพิวเตอร์สามารถพัฒนาขีดความสามารถให้ล่วงพ้นวิสัยของมันสมองของมนุษย์ ซึ่งมิใช่ความรวดเร็วในด้านการคำนวนพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถใช้ความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ต่างๆของมนุษย์ได้ดีกว่าด้วย จึงจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์มาคำนวนโชคชะตาและความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ได้

 

 

อิทธิพลของโหราศาสตร์จีน

ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังเป็นต้นมา จนกลายเป็นมหาอำนาจแห่งเอเชีย วัฒนธรรมจีนที่ส่งผลต่อโลก โดยเฉพาะได้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกซึ่งวัฒนธรรมที่ส่งอิทธิพลนั้นได้รวมถึงวิชาพยากรณ์ของจีนด้วย

วิชาพยากรณ์แบบจีนซึ่งมีหลายแขนงหลายแบบฉบับ เริ่มต้นได้รับการพัฒนาศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมโดยโหรหลวงในราชสำนักจีน และอำมาตย์ขันทีต่างๆ แล้วก็ค่อยๆถ่ายทอดลงไปสู่ข้าราชการชั้นล่างจนกระทั่งสู่สามัญชน แต่ก็ได้ส่งอิทธิพลอย่างแพร่หลายไปทั่ว ดังเช่นธงชาติของเกาหลี และสำนักเต๋าหยินหยางของญี่ปุ่น

ความแตกต่างกับโหราศาสตร์ตะวันตก

วิชาพยากรณ์ของตะวันตกก็คือการคำนวนดวงชาตาโดยใช้หลักโหราศาสตร์ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับดวงดาวและแผนภูมิดวงชาตา หากจะพูดแบบตรงๆแล้วล่ะก็ วิชาโหราศาสตร์แบบตะวันตกนั้นอาจจะเรียกได้เพียงว่าเป็น”วิชา” แต่ไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น”ศาสตร์”  ซึ่งความแตกต่างก็อยู่ที่ถึงว่าทั้งสองวิชาล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานและหลักการคล้ายคลึงกัน แต่ระบบศาสตร์พยากรณ์ของจีนนั้นได้รวบรวมเอาทั้งหลักการและเหตุผลที่ผสมผสานกันอย่างเป็นระบบจนเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม และอ้างอิงหลักเหตุและผลเป็นหลักพื้นฐาน ซึ่งก็เหมาะสมกับหลักการความหมายของคำว่า”ศาสตร์”

ดังนั้นวิชาพยากรณ์แบบจีนกับแบบตะวันตกนั้น ย่อมที่จะมีมุมมองต่อเรื่องราวต่างๆทั้งชะตาชีวิต บุคคล สังคม จนแม้กระทั่งผลของการพยากรณ์ที่ละเอียด ซับซ้อนและแตกต่างกันอย่างมากมาย

ทำไมต้องเป็นโหราศาตร์จีน

ประเทศจีนเป็นต้นกำเนิดวัฒธรรมแบบตะวันออก แนวคิดจิตและวิญญาณแบบตะวันออกนี้เองที่ได้ส่งอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ต่อวัฒนธรรมแบบตะวันออก โดยเฉพาะความลึกซึ้งและสลับซับซ้อนของเนื้อหาของโหราศาสตร์จีนที่แตกต่างโหราศาสตร์ตะวันตกอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็มาจากการสร้างสรรค์ของจิตวิญญาณแบบตะวันออกที่แตกต่างจากตะวันตก

หากจะนำความรู้ทางโหราศาสตร์มาแบ่งของผู้คนบนโลกนี้ให้เห็นชัดเจนมากขึ้น ก็จะพบว่าชาวตะวันออกมีสภาวะเป็น”หยิน” ดังนั้นแนวคิด พฤติกรรม การแสดงออก ก็จะเป็นลักษณะแบบ”หยิน” ซึ่งก็หมายถึง จิตวิญญาณ ,นามธรรม,ภาษาศาสตร์ ,ความอ่อนโยน ,ความละเอียดอ่อน,การปลอบโยนและความสงบ ส่วนชาวตะวันตกนั้นมีสภาวะเป็นหยาง ซึ่งความหมายของหยางก็คือ วัตถุ,การต่อสู้โดยใช้กำลัง,ความเข้มแข็ง,ความคุ้มทุน,การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าตรงกันข้ามกับชาวตะวันออกเกือบทั้งสิ้น

ในกรณีนี้เราอาจจะยกตัวอย่างให้ดูเกี่ยวแก่แนวคิดของชนชาติตะวันออกและตะวันตกได้เช่นสมมุติว่ามีแตงโมลูกหนึ่ง หากเราอยากจะร็ว่าสุกหรือไม่สุก คนชาวตะวันออกตั้งแต่โบราณ ปกติมักจะไม่ทำลายไม้ผลหากยังไม่สุกพอแก่การบริโภค แต่มักจะใช้วิธีตรวจดูจากน้ำหนัก สีของผลไม้ ดมกลิ่น หรือการเคาะเพื่อฟังเสียง เพื่อตรวจดูว่าผลไม้นั้นสุกพอแก่การบริโภคแล้วหรือยัง ส่วนชาวตะวันตก มักจะใช้การตรวจพินิจพิเคราะห์จากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง เพื่อที่จะพิสูจน์ผลที่สามารถมองเห้นและตรวจสอบได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่นการใช้มีด แว่นขยาย ฯลฯ เพื่อที่จะดำเนินการพิสูจน์และตัดสิน ในกรณีนี้ก็คือการผ่าผลแตงโมออกมาเพื่อพิสูจน์ว่าสุกหรือไม่ นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งจากวิธีการและแนวคิดของทางตะวันจนกลายมาเป็นการค้นคว้าและวิจัยจนกลายมาเป็นวิทยาศาตร์แบบในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาจากชาวตะวันตกไม่ใช่ตะวันออก

แนวคิดแบบตะวันออกเน้นไปทางวิจัยแบบองค์รวมเพื่อที่จะได้พิสูจน์ผลจนได้หลักวิธีการ จนกลายมาเป็นทฤษฎี ซึ่งเต็มไปด้วยความคิดที่มีลักษณะกว้างขวางและขัดแย้งในตัวมันเอง โดยการนำเอาจักรวาลทั้งจักรวาลมาเป็นมูลเหตุเพื่ออธิบายปรากฏารณ์ของสิ่งๆหนึ่ง วิธีการแบบนี้ก็ย่อมมีลักษณะเฉพาะตัวอย่างยิ่ง โดยที่สามารถคัดกรองเลือกเฟ้นจนได้กฏเกณฑ์ที่เป็นเหตุเป็นผลออกมาอย่างชัดแจ้ง จนสามารถนำไปอธิบายเรื่องราวและปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทุกเรื่องราวในโลกและจักรวาลนี้....

 

“โหราศาสตร์จีนระบบชีเจิ้ง”กับ”โหราศาสตร์ภารตะ” ความเหมือนในความต่าง

มีหลักฐานพอที่จะเชื่อได้ว่าโหราศาสตร์ระบบชีเจิ้งของจีนนั้นได้รับอิทธิพลมาจากโหราศาสตร์อินเดียโบราณ(ภารตะ) โดยในสมัยราชวงศ์เว่ย ,จิ้น และราชวงศ์หนันเป่ยเฉา มีการอัญเชิญพระสูตรในพระพทธศาสนาจำนวนมากมาจากอินเดีย พร้อมทั้งมีการแปลพระสูตรกันอย่างแพร่หลายในสมัยนั้น และตอนนี้เองที่โหราศาสตร์ภารตะของอินเดียก็ค่อยๆเข้ามาแพร่หลายเข้ามาพร้อมๆกันด้วย จนหลักการและทฤษฎีต่างๆของระบบโหราศาสตร์ภารตะก็ค่อยๆแทรกซึมเข้าไปรวมอยู่ในแนวคิดและปรัชญาของจีนจนกระทั้งผสมผสานกับระบบโหราศาสตร์ดั้งเดิมของจีนเช่น หยิน และหยางและระบบเบญจธาตุ(5ธาตุ) และก็ค่อยๆเด่นชัดจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนกลายเป็นโหราศาสตร์จีนระบบชีเจิ้งก็คือในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง ความคล้ายคลึงของโหราศาสตร์ของชนชาติที่ยิ่งใหญ่นี้มีความเหมือนกันอย่างเห็นได้ชัดว่ามาจากระบบและแนวคิดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น

  1. เส้นรวิมรรคและชื่อราศีทั้ง 12 ราศีได้ปรากฏในคัมภีร์ในสมัยราชวงศ์ถังชื่อ “ยื่อจ้างจิง” 《日藏經》และสมัยราชวงศ์สุยชื่อ “ซู่เย้าจิง” 《宿曜經》ซึ่งสองคัมภีร์นี้ได้มีการค้นพบในภายหลัง ซึ่งก็ได้ปรากฏว่าได้มีการแบ่งเส้นราศีและแสดงอาณาเขตของราศีเหมือนกับโหราศาสตร์ภารตะทุกประการ เพียงแต่มีเพียง 2ราศีที่มีชื่อเรียกที่แตกต่างรวมถึงความหมายที่ต่างกันด้วย แต่อย่างไรก็ตามเราก็ได้ทราบว่าในระบบโหราศาตร์นั้นการแบ่งราศีนั้นเป็นมูลฐานและสาระสำคัญในการคำนวนดวงชาตา
  2. ตามคำภีร์ “ซู่เย้าจิง” 《宿曜經》มีการคำนวนและแบ่งเรือนชาตาออกเป็น 12 เรือนมีชื่อเรือนและก็มีเจ้าเรือนซึ่งคล้ายกับโหราศาสตร์ภารตะที่เรียกว่า เจ้าราศี และเจ้าเรือน แต่ในคัมภีร์ทางจีนได้จัดแบ่งและให้ชื่อเรียงลำดับดังนี้

ราศีกุมภ์-จื้อ-ดาวธาตุดินเป็นเจ้าราศี(ดาวเสาร์)子‧土‧寶瓶宮

ราศีมังกร-ทิ่ว-ดาวธาตุดินเป็นเจ้าราศี(ดาวเสาร์)丑‧土‧磨竭宮

ราศีธนู-อิ๊ง-ดาวธาตุไม้เป็นเจ้าราศี(ดาวพฤหัส)寅‧木‧人馬宮

ราศีพิจิก-เบ้า-ดาวธาตุไฟเป็นเจ้าราศี(ดาวอังคาร)卯‧火‧蝎蟲宮
ราศีตุลย์-ซิ้ง-ดาวธาตุทองเป็นเจ้าราศี(ดาวศุกร์)辰‧金‧秤量宮

ราศีกันย์-จี่-ดาวธาตุน้ำเป็นเจ้าราศี(ดาวพุธ)巳‧水‧雙女宮

ราศีสิงห์-โง้ว-ดาวไท่หยาง(ไท่เอี๊ยง)เป็นเจ้าราศี(ดาวอาทิตย์)午‧日‧師子宮

ราศีกรกฏ-บี่-ดาวไท่หยิน(ไท่อิม)เป็นเจ้าราศี(ดาวจันทร์)未‧月‧螃蟹宮
ราศีมิถุน-ซิม-ดาวธาตุน้ำเป็นเจ้าราศี(ดาวพุธ)申‧水‧夫婦宮

ราศีพฤษภ-อิ๊ว-ดาวธาตุทองเป็นเจ้าราศี(ดาวศุกร์)酉‧金‧金牛宮

ราศีเมษ-สุก-ดาวธาตุไฟเป็นเจ้าราศี(ดาวอังคาร)戍‧火‧白羊宮

ราศีมีน-ไห-ดาวธาตุไม้เป็นเจ้าราศี(ดาวพฤหัส)亥‧木‧雙魚宮

ซึ่งกฎเกณฑ์การคำนวนและการแบ่งราศี การกำหนดชื่อเรียกและเจ้าราศีต่างๆนั้นเป็นหลักสำคัญของโหราศาสตร์จีนระบบชีเจิ้ง ซื่ออวี๋ และหลักการเหล่านี้คล้ายคลึงกับโหราศาตร์ไทย อินเดีย ซึ่งหากใครได้ศึกษาโหราศาสตร์ไทยมาก่อนก็จะเข้าใจได้ไม่ยาก และทั้งนี้ในประเทศจีนเองก็ไม่เคยมีปรากฏว่ามีมาก่อนที่จะรับพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศจีน

 

  1. ในโหราศาสตร์จีนระบบชีเจิ้งนั้นใช้หลักการคำนวนหาลัคนาตามแบบโหราศาสตร์ภารตะ ซึ่งสมัยนั้นมักมิได้คำนวนสถานที่เกิดเพื่อใช้ร่วมกับการคำนวนหาลัคนาเนื่องจากการคำนวนใช้อาทิตย์กำเนิดในการคำนวนเวลาหาลัคน์ โดยนับจากอาทิตย์กำเนิดไปจนถึงเวลาเกิดเวลานั้นก็คือลัคนา โดยเรียงลำดับตามราศีทั้ง 12 ราศี ตามแบบอินเดีย โดยปกติ สมมุติว่าพระอาทิตย์สถิตย์อยู่ในราศีเบ้า (卯พิจิก) ก็นับยามของแต่ละราศีราศีละ 2 ชั่วโมง ไปจนถึงเวลากำเนิดจริงก็ได้ผลเป็นลัคนาสถิตย์ราศีนั้นๆ และในสถานที่ต่างๆเมื่อคำนวนจากผลของดวงอาทิตย์ผลของการคำนวนลัคนาก็จะไม่ต่างกันมากนัก
  2. เมื่อสามารถคำนวนหาลัคนาได้แล้ว ก็นับย้อนเข็มนาฬิกาไปก็คือ 12 เรือนชาตา (ตามแบบไทยหรืออินเดียตะวันออก) ซึ่งการเรียกชื่อเรือนชาตาต่างๆล้วนเป็นอันเดียวกันกับอินเดียทั้ง 11 เรือนชาตา เช่น ตนุ กดุภะ สหัชชะ พันธุ ปุตตะ อริ ปัตนิ มรณะ ศุภะ กรรมะ ลาภะ ยกเว้นเรือนที่ 12 เรือนเดียวที่ทางจีนเรียกว่า เรือนแห่งรูปลักษณ์มีผลเป็นศุภะผล แต่ทางอินเดียหรือภารตะเรียกว่า “เรือนวินาศ” มีลักษณะเป็นปาปผล ซึ่งลักษณะการหาลัคนาและกำหนดความหมายของเรือนชาตาทั้ง 12 เรือนนี้ทางจีนโบราณไม่เคยปรากฏว่ามีมาก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามา
  3. โหราศาสตร์จีนระบบชีเชิ้งก็มีการนำดาวฉายาเคาระห์ทั้งสองดวงคือ”ราหูและเกตุ”เข้ามาใช้ และเรียกทับศัพท์ตามแบบอินเดียในภาษาจีน คือ 羅喉หลอหู 計都และเกตู
  4. คัมภีร์โหราศาสตร์จีนระบบชีเจิ้งนั้น มีคัมภีร์หลักเรียกว่า 《西天聿斯經》”ซีเทียนลวี่ฉีฝ่า” ซึ่ง 95เปอร์เซ็นเป็นหลักของโหราศาสตร์ภารตะแทบทั้งสิ้น นอกจากนั้นก็ผสมผสานกับเรื่องราวของเทพเจ้าดั้งเดิมของจีนโบราณและระบบ 28 นักษัตร
  5. ในระบบโหราศาสตร์ชีเจิ้งไม่ว่าจะสำนักไหนล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับ”ชนมลัคน์”หรือลัคนาเป็นหลักใหญ่(ตามแบบโหราศาสตร์นิรายณะทั่วไป) และยังให้ความสำคัญกับ “ชนมจันทร์” หรือลัคนาที่คำนวนจากดวงจันทร์เสวย เช่นบางสำนักของชีเจิ้งเช่น สำนัก “กว๋อเล่า”  “สำนักเย่ลวี่” ต่างก็ยึดเอาความสำคัญของชนมลัคน์และชนมจันทร์เท่าเทียมกันส่วน”สำนักฉินถัง”และ”สำนักฟ่งซี”ใช้เพียงชนมลัคน์