Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***


ในที่นี้จะกล่าวด้วยการตัดเวลา สุริยุปราคา ตามตำราของหลวงพรหมโยธี ที่ใช้ต่างกับตำรานี้ต่อไป เพือให้รู้ไว้เป็นเครื่องวินิจฉัย ในตำราเล่มนี้ หาได้ใช้ทินาฒตัดเวลาตามตำรานี้ไม่ เมื่อได้คำนวณมาจนรู้ผลมัธยมประเวสกาลและโมกษการแล้ว ให้ใช้เกณฑ์ ๑๔๔๐๐๐ สตางค์ บวกกับมัธยมประเวสกาล ผลลัพธ์เป็นเวลาแรกจับ ถ้าใช้เกณฑ์นี้บวกกับมัธยมโมกษกาล ผลลัพธ์เป็นเวลาปล่อย และนับเวลาเริ่มต้น ตั้งแต่ย่ำรุ่งเป็นต้นไป เกณฑ์ ๑๔๔๐๐๐ สตางค์นี้ ถ้าเอาเวลา ๑ นาฑี เท่ากับ ๖๐๐๐ สตางค์ไปหารดูแล้ว จะได้ผลลพัธ์ ๒๔ นาฑี ก็เท่ากับ ๑ มหานาฑีนั้นเอง เป็นผลตอนท้ายของตำราที่ต่างกันอยู่เท่านี้

พิเคราะห์ดูจะเห็นว่าตำราเก่าจะเร็วไป จึงเพิ่มเวลาขึ้นอีก ๑ มหานาฑี แต่เกณฑ์อันนี้ผู้เรียบเรียงตำราไม่ได้แสดงเหตุผลไว้ให้ประจักษ์ การที่นำมากล่าวไว้ในที่นี้ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ใช้เป็นเครื่องสอบสวนกับตำราเล่มนี้ เป็นทางที่จะให้เกิดปรีชาต่อไป เพราะการตัดเวลาในคัมภีร์สารัมภ์นี้ ท่านกล่าวเป็นแต่มัธยมกาล ใครตัดเวลาจากมัธยมกาลได้ตรงความจริงก็เป็นผู้มีชื่อเสียงมาก จึงเป็นของหวงแหนปิดบังกันนัก ข้าพเจ้าเข้าใจว่า การที่ผิดกันนี้ เพราะตำรานี้เป็นของเก่า การใช้มาศฉายาและทินาฒนิสาฒก็ดี ก็ใช้ตามของเก่าที่กำหนดไว้ว่า เมื่ออาทิตย์โคจรถึงราศีเมษ กลางวันกลางคืนจะมีเวลาเท่ากันนั้น แต่ความจริงที่รู้กันในบัดนี้ว่า ได้เลื่อนถอยหลังไปอยู่ที่ราศีมีน และยังจะถอยหลังไปอีกปีละ ๕๐ ฟิลิบดา หลายปีเข้าก็คลาดเคลื่อนไปมากกว่านี้อีก เพราะฉะนั้นก็จำเป็นที่จะต้องแก้หลักคำนวณมาศฉายาและพหินาฑีทำเสียใหม่ เพื่อให้ทินาฒและนิสาฒที่นำมาใช้ตัดเวลาในตำราสารัมภ์นี้ ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง

การแก้ตำรานี้ มิใช่เป็นของทำได้ง่าย ผู้ทำต้องเปลืองเวลาและอายุไปมาก เพราะตำราเป็นของกลางใช้กันทั้งประเทศ นักปราชญ์ในทางโหราศาสตร์จะต้องมีความเห็นสอดคล้องต้องกัน จึงจะตราเป็นตำราขึ้นได้ ขอให้ดูแต่การแก้ไข อธิกสุรทินที่ทำกันในทวีปยุโรป ยังต้องใช้เวลานานถึง ๑๘๐๐ ปี จึงได้ตราเป็นระเบียบที่ใช้กันอยู่บัดนี้ได้ เมื่อคริสตศักราช ๑๕๘๒ เป็นต้นมา

เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าหวังว่าเมื่อมีผู้ศึกษาตำราสารัมภ์นี้อยู่ต่อไปแล้ว ความเคลื่อนคลาดที่มีอยู่เล็กน้อย ก็คงจะต้องมีผู้ช่วยกันแก้ไขให้ถูกต้องถ้วนถี่ต่อไปในเบื้องหน้า เหมือนอย่างที่เขาแก้เกณฑ์อธิกสุรทินที่ทำมาแล้วฉะนั้น

อนึ่งในท้ายตำราเล่มนี้ ข้าพเจ้าขอชี้แจงให้ทราบว่า ตำราสารัมภ์ของหลวงพรหมโยธี (อุ่ณห์) นั้น ได้พิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ (ร.ศ. ๑๒๖) แต่ครั้งยังมีบรรดาศักดิ์ เป็นขุนอินทรปราสาท ตำราเล่มนั้นเรียบเรียงเป็นแบบอย่างอักษรย่อ แทนชื่อที่โหรแต่ก่อนได้บัญญัติไว้ พวกโหรเก่า ๆ ว่าดูยากจึงไม่ได้ใช้กัน คงใช้ตามตำราเดิม ตำราเล่มนั้น จึงไม่ได้พิมพ์ขึ้นอีก อาศัยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงได้เขียนตำราสารัมภ์นี้ตามตำราเดิม แต่ตำราเดิมเป็นของย่อ ได้เขียนใหม่ให้ข้อความพิศดาร ใช้มาตราเวลาตามที่เข้าใจกันในปัจจุบันนี้ เพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย และได้ทำคำนวณแบบตัวอย่างไว้ให้ดูด้วย แบบตัวอย่างนั้นได้ ทำสอบกับตำราของหลวงพรหมโยธีไปโดยลำดับ เพราะฉะนั้นวันที่ทำจันทรุปราคาและสุริยุปราคาเป็นตัวอย่าง จึงเป็นวันเดียวกันกับตำราเล่มนั้น เมื่อทำสอบกันดูแล้ว ก็ถูกต้องกันเกือบตลอด ต่างกันแต่ในตอนท้ายดังได้กล่าวมาแล้วในการตัดเวลานั้น ถ้าผู้ใดมีตำราเล่มนั้นอยู่ในเวลานี้ ได้นำเอามาสอบกับตำรานี้แล้ว จะได้ความรู้ความเห็นวิธีการแก้ไขของผู้แต่งตำราเล่มนั้น เพราะตำราเล่มนี้ไม่ได้ตัดทอนของเก่าอย่างใด เมื่อตำราเล่มนั้น ต่างกับตำราเล่มนี้อย่างไรก็จะรู้ได้ว่าเป็นส่วนที่แก้ไข

เปลี่ยนแปลงใหม่ของตำราเล่มนั้น

ตำราเล่มนี้เป็นของพระเทวโลก ข้าพเจ้าได้ตั้งใจเรียบเรียงใหม่ ให้มีถ้อยคำชัดเจนไม่ให้เคลือบคลุมไปได้หลายทาง และทั้งได้วางหัวข้อไว้เป็นลำดับให้ตรงกับหัวข้อในการอุทาหรณ์โดยตลอด เพื่อเป็นการสะดวกแก่ผู้เรียนด้วย และได้ค้นหาเครื่องอุปกรณ์แก่วิชานี้มา

เรียบเรียงเพิ่มเติมไว้ให้เป็นการสะดวกแก่ผู้ศึกษาอีกหลายอย่าง ส่วนใดที่โหรได้แก้ไขใช้ใหม่

ก็ได้หมายเหตุไว้ให้ทราบทุกแห่ง

หวังว่าเมื่อท่านทั้งหลายได้เรียนความรู้จากตำราเล่มนี้แล้ว ก็คงจะได้อนุโมทนาในส่วน

ประโยชน์ที่ท่านได้รับจากตำรานี้ และทั้งจะได้เป็นกำลังสำคัญในการที่จะค้นคว้าหาความรู้ ใน

ทางโหราศาสตร์สืบต่อไปในเบื้องหน้าด้วย ขอผลบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำตำรานี้จงเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายด้วยเถิด

อนึ่ง ศัพท์สังสกฤตที่ใช้ในตำราเล่มนี้ จะมีความหมายอย่างไร ข้าพเจ้าก็ได้เขียนไว้ให้ดูด้วยดังนี้


กล               เส้นสะกัดแห่งดวงจันทร์หรือนาฑีแห่งองศา

กลห             หนทาง

กุล               ทางร่วม

กุลาย            สถานที่

คต               ไปหรือเคลื่อนที่ไป

ติตถ             (ตีรถ) ตั้งอยู่

ปรัสถ            ทางเบื้องหลัง

ปานี              (ปนี) เส้นดำ เส้นศูนย์กลางแห่งวงกลมที่แบ่งออกเป็นสองส่วน เอาแต่ส่วนหนึ่ง

ที่เรียกตามตำราเลขว่า เส้นรัศมี

โปตร            สันหน้า หรือ จมูก ท่ามกลางก็ว่า

พิมพ์             แบบ , รูป

ภาค              ส่วนแห่งเวลา

ภุช               กิน คือเงาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเรียกภุช ถ้าเงาเดินถอยหลังเอาตรงที่องศา ถอย

หลังอยู่นั้นเป็นภุช ไม่เอาจำนวนองศาที่ถอยมาเป็นภุช

ภุกดภุกดิ       การกิน

ภิตต             ภาคหรือส่วน

ภู                 ที่หรือส่วนที่ต้องการ ที่เห็นแจ้ง

มุข               หน้า ทางเบื้องหน้า

มานยกาษฐ    มานย อันเป็นที่กำหนด กาษฐจำกัดเวลา

รวิ , รวะ         เคลื่อนที่ไป

ลัมพ             ล่าช้า ไกล อยู่ข้างหลัง

ลัมพก           ภาค ปริเฉท การตั้งได้ฉาก

วัฒ               การขยายออก หรือแบ่งออก

วิกเขป           การรบกวน การเข้าจับถือ

สม               เสมอกัน เท่ากัน

หันต             รีบ ด่วน

เอษฐเอษ       ไปหรือเข้าหาในทางครึ่งหลัง


-------------------------


เราวิศาลประพันธ์ศาตร์ซึ้ง              สารัมภ์

ให้ง่ายแก่ผู้ทำ                            ทั่วหน้า

ดุจหนึ่งว่าครูนำ                           แนะบอก

แก่ศิษย์มิได้ช้า                           สุดสิ้นกระแสความ

ตามที่เราแต่งแล้ว                       ครบครัน

จงประสพผลอัน                          เลิศไซร้

ความชั่วและโมหันธ์                     ขออย่ามี แฮร์

แลท่านที่เรียนไว้                         จงได้ประโยชน์ เทอญฯ



-----------------------




นายถวัน สมิตสิริ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา พิมพ์ที่ ร.พ. โสภณ ฯ

ถนนราชบพิธ พระนคร พ.ศ. ๒๔๙๑