หน้า 11 จาก 13
ข่าวประชาสัมพันธ์
มองเมืองแขก แปลกดี - บ้านของชาวชนบท
- รายละเอียด
- หมวด: เรื่องจาก FW Mail
- จำนวนผู้อ่าน: 44713
สารบัญ
ใกล้ฤดูเก็บเกี่ยวแล้วครับ ดูกองฟาง และวิธีการตีข้าวของแขกครับ
เอาเตียงมาวาง จับฟ่อนข้าวฟาดใส่เตียง ให้เมล็ดร่วงลงข้างล่างเตียง เสร็จแล้วค่อยกวาดรวมกันเป็นกองครับ
เมือง แขก มีกฏหมายห้ามตัดต้นไม้ จึงขาดฟืน และถ้ามีตนตัดมาขายก็ราคาแพง คนระดับพื้นบ้าน ไม่มีเงินพอที่จะซื้อฟืน แก๊ส หรือ ถ่านหิน จึงต้องอาศัยของธรรมชาติ
หญ้า หรือฟางแห้ง ใบไม้แห้ง นำมาขยำเข้ากับโคมัยสด (ขี้วัว-ขี้ควาย) จนเข้ากันและเหนียวได้ที่พอดี ๆ อาศัยฝาบ้าน กำแพงบ้าน เป็นที่ตากแห้ง
เอามือกำขึ้นมาจากชาม กะให้พอดีมือ จากนั้นก็ใช้มือนั้นแปะที่ฝา รูปออกมาก็จะเป็นแผ่น ๆ เท่ามือของคนแปะพอดี ๆ
ประมาณสามสี่วันก็แห้ง เก็บไว้ใช้ทำเชื้อเพลิงแทนฟืน ถ่าน (ขายกันในราคา ๒-๓ แผ่นต่อรูปี)
เวลาปิ้งจาปาตี ต้มชา ทอดอาหาร ก็ใช้โคมัยแห้งนี้แหละ กลิ่นและรสชาติดีมาก ๆ
( ก็เอามือที่ขยำๆโคมัยนี่แหละคั้นแป้งจาปาตีกะดาย แขกบอกว่าแซบหลายเด้อ )
บ้าน ของชาวแขกครับ สังเกตความอุดมสมบูรณ์ มีพืชพันธุ์รอบ ๆ บ้านที่สร้างด้วยดินเหนียว กันร้อน กันหนาว ได้ดีมากครับ เวลาทำอาหารก็เดินเก็บเอารอบ ๆ บ้านครับ
กระด้ง แขกครับ เห็นเขาเอามาตากแห้งพอดี หลังจากสานเสร็จก็เอาโคมัย(ขี้วัวสด)มาฉาบบาง ๆ กันรั่ว ตากให้แห้งสนิทแล้วก็ใช้งาน ฝัดข้าว ฝัดถั่ว ตามประสาแขกครับ ดู ๆ แล้วก็คล้าย ๆ โบราณอีสานบ้านเฮาหลายครับ
แขกขนกล้วยครับ ใช้รถจักรยานให้เป็นประโยชน์ ไม่แปลกใจที่คนแขกมาอยู่ประเทศไทยแล้วเป็นเจ้าของกิจการขายรถจักรยานครับ คุ้มจริง ๆ
นึก ว่ามาชุมนุมสุมหัวกันทำอะไร...ที่แท้ก็ทำอะไรนี่เอง...ทั้งวัว หมู หมา บางครั้งบางคราก็มีคนกับแพะมาแจมครับ...ต่างคนต่างทำมาหากิน แต่พอดีมาพ้อกัน เลยร่วมแรงร่วมใจกันครับ ก็แบ่ง ๆ กันไป ตามมีตามเกิด ..แต่ ไม่กัดกันครับ ไม่มีการแบ่งสี...อิอิ (สำนวนนี้คุ้น ๆ หว่า)
ม้า ลา ฬ่อ เมืองนี้เขาเลี้ยงไว้ขนของครับ โดยเฉพาะแถบเมืองที่อยู่สูง ๆ ตามภูเขา จะพบมาก เพราะไม่สามารถใช้รถขนของได้ ก็ใช้เจ้าพวกนี้แทนครับ
สี่ คนหาม สามคนแห่ คนหนึ่งนอนบนแคร่ เอากันไปเผา ไม่มีอะไรครับ ตายแล้วกะคือตาย หมดประโยชน์สำหรับโลกนี้ เขาก็เอาไปเผาทิ้ง จบกันตรง ๆ ครับ
ดู ดู๋ ดู แขกซักผ้า แล้วก็ตากผ้า ครับ ตากกับดิน กับหญ้า กับพื้นหินแถว ๆ นั้นแหละ รอให้แห้งก็เก็บ สั่นเอาดินเอาหญ้าออกแล้วพับ ๆ ๆ เมือบ้านครับ
นักบวชเชน นิกายฑิฆัมพร นั่งทำสมาธิ ที่ถ้ำแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของอินเดียครับ ไปพบโดยบังเอิญ เลยเก็บมาฝาก
การ บำเพ็ญตะบะ มีหลากหลายรูปแบบครับ นาคบาบาท่านนี้ คงไม่ใช่ย่อยทีเดียว ขุดดินแล้วเอาหัวมุดลงไป ถมดินกลบ คนผ่านไปมาก็บูชาเขาด้วยเงินบ้าง ดอกไม้บ้าง อาหารบ้าง ไม่ใช่ชั่วคราวนะครับท่าน บางวันก็ตลอดวัดเลยครับ เห็นมาแล้ว จะจะ งึดหลายครับ
การขึ้นตัดน้ำตาลี เป็นอาชีพหนึ่งของคนแขกที่นิยมชมชอบน้ำมึนเมาแบบธรรมชาติ
รสชาติดี นุ่มนวล ชวนดื่ม หวานนิด ๆ
หลังจากกรีดต้นตาลหรือต้นปาล์มได้ที่แล้วก็ห้อยหม้อเอาไว้ รอจนหยดน้ำตาลเต็ม หรือ ตามเวลาที่กำหนด
โดยมากจะห้อยตอนเย็นแล้วมาเก็บตอนเช้า ๆ รสชาติดีมาก
ภาชนะใส่น้ำตาลีเอาไว้ขาย แก้วละ ๔-๕ รูปี จากเช้า ๆ ที่ดื่มนิ่มนวลชวนหวาน พอนาน ๆเข้าถึงเย็น พี่น้องเอ๊ยยยยยยยยยยย...
เหล้าสาโทดี ๆ นี่เอง รสชาติ บ่อยากพากย์ ( เพิ่นว่าแซบอีหลี )