วันอาทิตย์ที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
มองเมืองแขก แปลกดี
เสี้ยวชีวิตหนึ่ง ที่ได้มีโอกาสตระเวณรอบภารตะประเทศ
ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมของโลกที่เก่าแก่
ณ ลุ่มแม่น้ำสินธุ คงคา ยมุนา สรัสวดี และมหิ
มีอะไรอีกหลายอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่
โดยที่ผู้คนข้างนอกไม่มีโอกาสได้เห็น
ดั่งเช่น...ภาพเหล่านี้
t
คนเราเลือกเกิดไม่ได้ ใครใช้ให้มาเกิดเป็นขอทาน
ด้วยระบบชนชั้นวรรณะในเมืองแขก คนชั้นต่ำที่สุดคือจัณฑาล หรือ หริชน(คนชั้นเลว)
มีอาชีพอย่างเดียวคือขอทานตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่สามารถทำอาชีพอย่างอื่นได้
บางคนลูกเกิดมาต้องทำให้ตาบอด แขนขาหัก เพื่อโตขึ้นจะได้ขอทานง่ายสมฐานะอาชีพ
ช่างน่าเวทนาจริง ๆ
ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมของโลกที่เก่าแก่
ณ ลุ่มแม่น้ำสินธุ คงคา ยมุนา สรัสวดี และมหิ
มีอะไรอีกหลายอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่
โดยที่ผู้คนข้างนอกไม่มีโอกาสได้เห็น
ดั่งเช่น...ภาพเหล่านี้
t
คนเราเลือกเกิดไม่ได้ ใครใช้ให้มาเกิดเป็นขอทาน
ด้วยระบบชนชั้นวรรณะในเมืองแขก คนชั้นต่ำที่สุดคือจัณฑาล หรือ หริชน(คนชั้นเลว)
มีอาชีพอย่างเดียวคือขอทานตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่สามารถทำอาชีพอย่างอื่นได้
บางคนลูกเกิดมาต้องทำให้ตาบอด แขนขาหัก เพื่อโตขึ้นจะได้ขอทานง่ายสมฐานะอาชีพ
ช่างน่าเวทนาจริง ๆ
ห้างสรรพสินค้า ตั้งอยู่ทั่วไปตามรายทาง
มีให้เลือกทุกอย่างตามที่ต้องการ ในร้านเล็ก ๆ แห่งนี้
โดยที่ผู้ขายจะนั่งอยู่ตรงกลาง ใครสั่งอะไรก็หยิบให้ตามที่ต้องการ
ที่เห็นแขวนอยู่หน้าร้านน่ะไม่ใช่ยาสระผมนะครับ เป็นหมากซอง
ซึ่งแขกชอบทานหมากปากแดงกันทั่วหน้า
เป็นร้านค้าที่น่ารักจริง ๆ ครับ
คนเป็นเดินได้ คนตายนอนอยู่กับที่
ภาพนี้ผ่านไปเห็นโดยบังเอิญ
ปกติการตายของคนอินเดียเขาถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร
คือตายแล้วก็เอาผ้าห่อ มัดใส่ตะแคร่ไม้ไผ่แล้วหามกันไปเผาทิ้ง
ไม่มีพิธีรีตองอะไร เพราะถือว่าคนที่ตายแล้วไม่มีประโยชน์
คือตายแล้วก็แล้วกันไป
ต่างจากการเกิดและการแต่งงานที่ฉลองกันสามวันสามคืนอย่างเอิกเหริก
เป็นเรื่องที่น่าสลดสังเวชจริง ๆ
เตาสมานฉันท์ครับ
บรรดาแม่บ้านแขก เวลาจะคั่วจะต้มจะแกงอะไรก็ตาม
นิยมทำพร้อม ๆ กันครับ เพื่อประหยัดพลังงาน
ก่อไปครั้งเดียวก็ใช้ได้หลายครัวเรือน
กฏหมายอินเดียห้ามตัดต้นไม้ จึงขาดฟืนมาทำเชื้อเพลิง
โดยมากจะใช้ขี้วัว-ขี้ควาย ขยำกับหญ้าหรือฟาง
ตากให้แห้งแล้วนำมาเป็นเชื้อเพลิงครับ
สุดยอดจริง ๆ
หนึ่งเดียวที่ยังมีในโลกครับ
นักบวชเปลือยที่เรียกกันว่า นาคบาบา
ซึ่งจะแตกต่างจากชีเปลือยที่เป็นนักบวชของเชน
นิยมลงมาอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่แม่น้ำคงคา ๑๒ ปีครั้งครับ
อาบเสร็จก็ขึ้นมา เอาขี้เถ้าทาตามเนื้อตามตัวแล้วบำเพ็ญตะบะ
รายนี้ยืนขาเดียวครับท่าน
น่าอัศจรรย์ซะจริง ๆ
เอื้ออาทรครับ การโดยสารภายในประเทศอินเดีย
ที่ผู้คนพันสามร้อยกว่าล้าน ต้องเดินทางสัญจรไปมา
ทั้งทางบก(รถยนต์ รถไฟ) ทางน้ำ ทางอากาศ
ล้วนแออัดยัดเยียดครับ
ภาพที่เห็นเป็นรถจิ๊ป เขาเรียกว่าตาต้าซูโม่ครับ
ข้างในนั่งยัดได้ประมาณสามสิบ บนหลังคาอีกกว่าสิบ
ที่เหลือก็บนกะบะหน้าคนขับครับ เหลือช่องไว้พอให้คนขับมองเห็นทาง
ก็ไปกันได้
ที่ผู้คนพันสามร้อยกว่าล้าน ต้องเดินทางสัญจรไปมา
ทั้งทางบก(รถยนต์ รถไฟ) ทางน้ำ ทางอากาศ
ล้วนแออัดยัดเยียดครับ
ภาพที่เห็นเป็นรถจิ๊ป เขาเรียกว่าตาต้าซูโม่ครับ
ข้างในนั่งยัดได้ประมาณสามสิบ บนหลังคาอีกกว่าสิบ
ที่เหลือก็บนกะบะหน้าคนขับครับ เหลือช่องไว้พอให้คนขับมองเห็นทาง
ก็ไปกันได้
ชีวิตแบบพอเพียงตามชนบททั่ว ๆ ของอินเดีย
มีบ้านดินมุงหญ้าหรือฟางข้าว
มีเล้าทรงกระบอกไว้เก็บผลิตผลทางการเกษตร
จำพวกข้าว ถั่ว มันฝรั่ง หอม กระเทียม ที่หน้าบ้าน
ด้านล่างไว้ให้หมู ไก่ แพะ ได้อาศัยหลับนอน
เป็นชีวิตที่เรียบง่าย มีความสุขดีตามอัตภาพ
น่าทึ่งจริง ๆ
อีกภูมิปัญญาหนึ่ง ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามความสำคัญได้
ตู้เย็นประจำร้านอาหารทั่ว ๆ ไปตามรายทางครับ
เอาตุ่มน้ำที่ทำด้วยดินเผาตั้งไว้ โอบด้วยดินเหนียว
รดน้ำเป็นระยะ ๆ น้ำในตุ่มจะเย็นตลอด
ตักบริการลูกค้าดื่มอย่างชื่นใจ
แต่แนะนำว่าอย่าเสี่ยงครับ
ภูมิคุ้มกันเรา ๆ ท่าน ๆ ไม่สู้แขก
หลายท่านตาเหลืองกลับบ้านมาแล้วครับ
ชอบใจจริง ๆ
ความรักของผู้ให้กำเนิด ไม่ว่าชนชาติไหน ๆ ก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน
ภาพที่แม่กำลังบรรจงล้างก้นให้ลูก
หลังจากที่ไปเที่ยวปล่อยของเสียไว้ตามข้างถนน (ก็หน้าบ้านตนเองนั่นแหละ)
เป็นภาพที่น่าประทับใจครับ
งานอดิเรกในยามว่างเว้น
ปกติแขกชนชั้นต่ำ ๆ(ศูทร-จัณฑาล) มักจะไม่ค่อยสะอาด
ไม่ค่อยนิยมอาบน้ำ ถึงอาบก็ไม่มีสบู่จะถู
ไม่ต้องถามถึงเรื่องแซมพูสระผมเลยครับท่าน
แทบจะไม่ได้ยินชื่อด้วยซ้ำไป
ปัญหาที่ตามมาคือ
กลิ่นตัวแรง ผมเผ้ารกรุงรัง
ดังนั้นบรรดาเหาๆ ทั้งหลายก็เลยได้ที่อยู่ที่พักพิงกันอย่างร่าเริง
ยามว่าง ๆ ก็นั่งหาเหาให้กัน
เกา ๆ คัน ๆ ดีกว่าอยู่เปล่า ๆ ครับ
ชีวิตชนบท เลี้ยงควาย เลี้ยงลูก
ถือ(แบก)กาละมังไปตบ(ซัก)ผ้า หาดูได้ไม่ยากในประเทศอินเดีย
ทำให้พ่อแม่ลูกมีความเป็นครอบครัวที่อบอุ่น
ลูก ๆ ของคนอินเดีย จะเชื่อฟังพ่อแม่เป็นอันดับหนึ่ง
และเคารพเชื่อฟังพี่ ๆ ที่อายุมากกว่า
แม้นจะจนยาก แต่ก็อยู่กันอย่างมีความสุขตามอัตภาพครับ
วัวขี้ข้า..เด้อ
วัวคุณหนูจ้า
วัวพระเจ้าขอรับกระผม
เป็น เรื่องที่ยากจะเข้าใจ อินเดียมีวัวอยู่ 3 ประเภท คือ วัวขี้ข้า วัวคุณหนู และ วัวพระเจ้า ทำหน้าที่ต่างกัน วัวขี้ข้าถูกใช้งานหนัก แบกลากเกวียนและไถนา สารพัดงาน วัวคุณหนูอยู่หน้าบ้าน มีคนคอยหาหญ้าและน้ำมาให้กิน หน้าหนาวมีผ้าห่ม ส่วนวัวพระเจ้าเป็นนักเลงใหญ่ ใครก็แตะไม่ได้ ทุกคนให้ความเคารพเยี่ยงพระเจ้า มันก็แปลก ๆ ดี ครับท่าน
ปรากฏการณ์สุริยคราสเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒
เป็นที่ตื่นตาตื่นใจคนทั่วโลก
อีกมุมหนึ่ง ณ ฮินดูสถาน ดินแดนแห่งเทพเจ้า
นักบวชที่เฝ้ารอคอยปรากฏการณ์ที่สำคัญเช่นนี้
ต่างก็ออกมาจากที่พำนัก เพื่อรับพลังอันศักดิ์สิทธิ์ที่เทพเจ้าประทานมา
เพิ่มพลังแห่งญาณและตบะให้แกร่งกล้ายิ่งขึ้น หริโอม......ฯ
ชมภาพชนบท ๆ มามากแล้ว พาเข้าเมืองหลวงแดนศิวิไลย์บ้างครับ
อาศาร์ดัม (Akshardham)
เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของชาวฮินดู
ตั้งอยู่ที่เมืองหลวงนิวเดลี ทั้งสวยงามและสะอาด โอ่อ่า
ผู้คนที่เดินทางผ่านมา ถ้าไม่อคติเรื่องศาสนาแล้วล่ะก็
ควรแวะเยี่ยมชมมากครับ สวยสะใจแขกจริง ๆ ครับท่าน
อาชีพสุจริตมีหลากหลาย
อยู่ที่ว่าใครถนัดแบบไหนอย่างไร
คือถ้าไม่ขี้เกียจก็ไม่มีวันอดตาย
อย่างกระทาชายนายบังนี่ มีผ้าผืนหนึ่งห่ออุปกรณ์การซ่อมรองเท้า
เดินไปตามที่ต่าง ๆ พอมีพื้นที่ว่างก็วางอุปกรณ์ลง
บจ้างซ่อมรองเท้าได้วันละหลายรูปี สามารถเลี้ยงครอบครัวได้
ค่ำมาก็ห่อผ้ากลับบ้าน สบาย ๆ ครับ
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
หญิงชาวอินเดียได้ชื่อว่าเป็นชาติที่รักสวยรักงามเป็นที่หนึ่ง
แม่คุณจะประดับตั้งแต่ปลายผม ยันปลายนิ้ว (ยืนยันว่าจริง ๆ)
อย่างเช่นกำไลที่หลากหลายสีสันเหล่านี้ ราคาถูก ๆ เป็นที่ชอบใจ
และชอบใส่กันข้างละเป็นสิบ ๆ คู่ครับ
ดู ๆ ก็สวย และ น่ารักดี ( แบบเกรงใจของฮักษาครับ )
สมุนไพร นานา อินเดียได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของหมอสมุนไพร ท่านชีวกโกมารภัจจ์เป็นบิดาของหมอแผนโบราณ ด้วยความที่เป็นประเทศที่อุดมด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด และรู้วิธีการนำมาใช้ ทำให้อินเดียเป็นศูนย์รวมสมุนไพรของโลกเลยทีเดียว ตอนนี้มีสมุนไพรบางตัวที่พัฒนาเป็นแคปซูล และเป็นน้ำมันสกัด ตลอดถึงผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและเพื่อสุขภาพหลากหลายชนิด
มะพร้าว แห้งครับ อินเดียเมื่อก่อน โดยเฉพาะตอนบนไม่มีมะพร้าวอ่อน(หนุ่ม)ขาย มีแต่มะพร้าวสุก(แห้ง) เขาจะปอกแล้วตัดเป็นชิ้น ๆ ขาย ชิ้นละ ๒ รูปี คนแขกชอบซื้อทานครับ แบบเคี้ยวเล่น ๆ เป็นของว่าง ช่วงหลังมีการนำมะพร้าวอ่อนจากทางภาคใต้มาขายให้ทานน้ำบ้างแล้ว แต่ที่ชอบมากคือ ฝีมือการปอกและตัดเป็นชิ้น ๆ นี่ล่ะครับ สุดยอดจริง ๆ
ศิลปะข้างฝาบ้าน
ครับนี่เป็นขี้วัวขยำผสมกับหญ้าหรือฟางแห้ง แล้วนำมาแปะไว้ตามข้างฝาบ้าน
จนแห้งได้ที่ก็เก็บไว้ทำเชื้อเพลิงสำหรับหุงหาอาหาร
เพราะแขกห้ามตัดต้นไม้ครับ จะเก็บได้เฉพาะใบแห้งและกิ่งที่หล่นแล้วเท่านั้น
สำมะคัญจริง ๆ นะครับ
หมากแตงโม อร่อย หวาน น่ารับประทานอีหลีครับ (ปุ๋ยเขาดี อ่ะ) ชิ้นละ 3-5 รูปี แล้วแต่หน้าตาคนซื้อ (ย้ำครับย้ำ) คือถ้ามีแววเศรษฐีหน่อยเขาก็จะบอกราคาสูงอาจถึง 5 รูปีต่อชิ้น แต่ถ้าเขาบอกว่าราคา 3 รูปีหรือต่ำกว่านี้ โปรดทราบทันทีว่าหน้าตาเราไม่อำนวยหรือไม่มีแววเลยครับท่าน ให้กลิ้งสิ......? ไม่ เชื่อก็ต้องเชื่อ รถจิ๊ปคันเดียวนี่นะ....ไปได้ทีละครึ่งร้อย แบบว่าถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไป เฮ็ดจั่งใด๋ได้ คนมันหลายกว่ารถ ...เน๊าะ งึดหลาย ฯ วิถีชาวนา ไม่ว่าประเทศไหน ๆ ล้วนอาศัยแรงเป็นหลัก บางประเทศมีอุปกรณ์เครื่องทุ่นแรง อย่างประเทศไทย มีรถไถเดินตาม แต่ต้องแลกด้วยน้ำมัน และการสูญเสียความเป็นธรรมชาติไปอีกมากโข อินเดียส่วนมากยังไถนาด้วยวัว และควาย ผาลไถก็ยังเป็นผาลไม้ ไถลงไปไม่ลึกนัก เพียงแค่พรวนหน้าดิน แต่ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ดีครับ เมื่อแสงสุรีย์เริ่มอัศดงลง ณ ริมฝั่งคงคามหานที มหกรรมแห่งการบูชาที่เรียกว่า คงคาอารตี ก็เริ่มขึ้น เหล่าชนน้อยใหญ่ล้อมรุมกันที่ริมฝั่ง คอยฟังเสียงสัญญาณกระดิ่งดัง ท่ามกลางการสวดบทขับแห่งพระเวทย์ โดยมีพราหมณ์หนุ่ม ทำพิธีถวายการบูชา หมู่ประชาร่วมสรรเสริญคุณแห่งเทพเจ้า โอ้...พระแม่เจ้า คงคามาตาฯ สำเนียงแขกออกเสียงว่า บะหุ๊ตปุราณ (มาจากภาษาบาลีว่า พะหุ แปลว่า มาก กับ ปุราณะ แปลว่า เก่าแก่) รถโบราณ หรือที่แขกเรียก ปุราณะกาลี (กาลี-รถ) ที่ยังคงมีวิ่งให้เห็นตามเมืองและชนบทของอินเดีย เป็นรถโดยสารที่คนแขกนิยมใช้บริการ เพราะราคาค่าโดยสารถูกแขกดีครับ แต่เสียงเครื่องและเสียงแตรนี้ บอกได้เลยว่า เขี้ยม..คีง ๆ ครับท่าน ( โค-ตะ-ระ-ดัง-เลยครับ) จามรี เป็นสัตว์ตระกูลโค หรือ ควาย ที่มีขนหนาและสวย ที่อาศัยอยู่ในเมืองหนาว ที่มีหิมะปกคลุม แถบเทือกเขาหิมาลัย นิยมนำมาใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง ฝ่าดงน้ำแข็ง และเลี้ยงไว้เพื่อรับใช้นักท่องเที่ยว ขึ้นขี่พาเดินชมหิมะ น่ารักดีครับ ทั้งน่าสงสาร แต่ละเผ่าชน ย่อมต้องมีวิวัฒนาการทางด้านเครื่องไม้เครื่องมือในการดำรงชีพ เกวียน ตามแบบของอินเดีย นิยมทำไปตามแบบของแต่ละเมืองไม่เหมือนกัน ภาพนี้ถ่ายจากเมืองสังกัสสนคร ทางตอนเหนือของอินเดีย ชาวบ้านใช้ในการสัญจรไปมาและบรรทุกผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ ครับ เห็นว่าน่ารักดี รถบรรทุก (จริง ๆ ) รถบรรทุกของแขกส่วนมากโครงสร้างจะเป็นเหล็กแข็งแรงมาก เพราะเป็นประเทศที่มีแร่เหล็กมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ( ลักษมี มิตัล ชาวอินเดีย เป็นเศรษฐีอันดับสี่ของโลก เพราะธุรกิจถลุงเหล็กครับ) ดังนั้นเวลาบรรทุกจึงอัดได้เต็มที่ครับ ที่ข่าน้อยงึดหลายก็คือ คนที่บรรจุของใส่รถน่ะครับ มันเฮ็ดแนวใด๋คือใส่ได้หลายคักแท้ อินเดีย เป็นบ่อเกิดของหลากหลายลัทธิ และศาสนา ก่อนพระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ไม่นาน มีศาสนาหนึ่งเกิดขึ้นก่อนแล้ว นั่นคือ ศาสนาเชน ของท่านศาสดามหาวีระ หรือ นิครนถ์นาฏบุตร พวกเรารู้กันในนาม ชีเปลือย ณ ปัจจุบัน ยังเห็นนักบวชชีเปลือยเดินธุดงค์ตามถนนหนทาง มีศาสนิกผู้นับถือประมาณสองล้านกว่าคนทั่วอินเดีย โดยมากเป็นพ่อค้าวานิชย์ฐานะค่อนข้างดีมีอันจะกิน ศาสนานี้เก็บตัวเงียบ ๆ อยู่แต่ในอินเดียเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าเผยแผ่ไปสู่ต่างประเทศเลย หน้าเทศกาลไหว้พระของลามะธิเบต ราวกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีชาวธิเบตนำเครื่องประดับที่ทำจากหินสีต่าง ๆ มาวางจำหน่าย ที่พุทธคยา หลายหลากอลังการมาก ใครที่ชอบเครื่องประดับประเภทหินสวย ๆ แทบก้าวขาไม่ออกเลยครับท่าน สวยงามจริง ๆ ครับ กระทาชายนายบังนี่เขาขายไอตีมครับ รสชาติหวานอร่อยดี แต่ความสะอาดนี่ อ.ย. ไม่กล้ารับรอง แม่ช้อยยิ่งไม่มองเลยครับ แต่ที่น่าสนใจคือวิธีเรียกลูกค้าครับท่าน แทนที่จะใช้แตรบีบ เป๊ก ๆ ๆ ๆ เหมือนบ้านเรา บังเล่นเอามือทุบฝากล่องดัง ป๊าบ ๆ ไปเรื่อย ๆ เป็นอันรู้กันครับ แปลกดี เอาใจคนชอบความงามกันอีกครั้งครับ ที่เมืองท่องเที่ยวอย่างเช่น แมคลอร์ดแกนด์ ดารัมซาร่า หรือ มนาลี่ จะมีเครื่องประดับสวย ๆ ที่ทำจากหินสีต่าง ๆ รวมทั้งหินสวย ๆ ให้เลือกซื้อด้วย โดยธรรมชาติของหินมักจะมีความงามในตัวอยู่แล้ว ด้วยอายุความเก่าแก่ จึงมีบางชนิดที่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องรางได้ด้วยครับ อลังการงานสร้างจริง ๆ ครับ รถบรรทุกอินเดีย ผูกขาดโดยบริษัท ตาต้า นิยมทำรถออกมาหลากหลายสีสัน จากนั้นผู้เป็นเจ้าของก็นิยมอัญเชิญเทพเจ้าต่าง ๆ ตั้งแต่ใต้พื้นปฐพีจนสุดปลายฟ้า มาสถิตรายรอบตัวถังรถ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ ขับไล่อัปมงคลต่าง ๆ ป้องกันระวังภัยให้ด้วย น่าทึ่งครับ... ว่าแต่ เวลาคับขันมา ใครจะอาสาช่วยก่อนดี...........อันนี้คึดยากนำครับ บาดลางเทื่อเพิ่นหนิ่งกันนั่นน๊า........บาดสิว่า ไปแหมะท่าน......ไปแหมะ บ่ทันการแท๊ ร้านขายน้ำปั่นผลไม้ มีหลากหลายให้เลือกซื้อครับ ผลไม้แทบทุกชนิด ภาพนี้ถ่ายทางภาคใต้ของอินเดีย ซึ่งมีสภาพบ้านเมืองที่เจริญรุ่งเรืองกว่าแถว ๆ พิหาร และ ยู พี มากครับ แทบจะไม่มีขอทานมากวนใจให้เห็น รถลาการเดินทางก็สะดวกสบายครับ น้ำปั่นรสชาติดี ความสะอาดใช้ได้ ครับ อันเพื่อนดี มีหนึ่ง ถึงจะน้อย ดีกว่าร้อย เพื่อนคิด ริษยา เหมือนมีเกลือ นิดหน่อย น้อยราคา ยังดีกว่า น้ำเค็ม เต็มทะเล สองสหายกำลังถ้อยทีถ้อยอาศัยกันออกไปทำงานประจำ (คือขอทาน)ครับ เป็นอาชีพที่สืบทอดจากลูกสู่หลาน สู่เหลน ไม่มีการข้ามสายพันธุ์ครับ เบิ่งบ่จืดอีหลี เมืองไทยดีที่สุดครับ ชมตลาดผักสดอีกครั้งครับ เห็นแนวอยู่แนวกินแล้วกะคึดฮอดบ้าน
ถ่าบ่ขี้คร้านกะบ่อึดแนวกินครับ อยากให้พี่น้อง ลูกหลานบ้านเฮาได้เห็นวิถีชีวิต ความลำบาก การต่อสู้ชีวิตของคนประเทศนี้ รวยก็รวยล้นฟ้า จนก็จนติดพสุธา บ้านเราว่าจนยังหารับจ้าง หาเงิน หาทอง หาของกินได้ พอมีบ้านอยู่ แต่พวกเขาจนแบบไม่อะไรเลย จริง ๆ ครับ เห็นถ้วยดินเรียงงาม ก็นึกตามว่าแขกเขาคงมีระเบียบ หาใช่เป็นเช่นนั้นซะทีเดียวท่าน อันถ้วยดินนั้น จะพบทั่วไปในร้านขายชาร้อน(กะรัมจ๋าย)และล๊าสซี่(นมเปรี้ยว) แขกจะบริการลูกค้าทุกคนด้วยถ้วยดิน หลังกินแล้วก็ขว้างทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้อีก หลายคนมองตามด้วยความเสียดาย แต่แขกเขาจะถือเรื่องนี้มากครับ เพราะคนละวรรณะจะกินภาชนะ(ถ้วยหรือแก้ว)เดียวกัน แขกบอก ม่ายด๊าย..ม่ายด๊าย ฉะนั้นกินถ้วยใครถ้วยมัน เสร็จแล้วก็โยนทิ้งครับ เด็ก ๆ แม้จะอยู่กันอย่างแออัด แต่ไม่อึดอัดครับ ดูทุกคนยังร่าเริงและแจ่มใส การยอมรับสภาวะตามความเป็นจริงทำให้สังคมเขาอยู่กันได้ คนรวย ก็ให้เขาอยู่กันแบบรวย ๆ ส่วนพวกหนูคนจน ๆ ก็จะอยู่กันอย่างจน ๆ แบบนี้ค่ะ แผ่นดินอินเดีย เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมทางศาสนาที่หลายหลาก เหล่านักบวชผู้แสวงหาคุณค่าแห่งชีวิต ยังคงดำเนินไปตามปกติไม่มีเปลี่ยนแปลง ทั้งปริพพาชก อาชีวก นักพรต ฤาษี มุนี บาบา คุรุจี และอีกหลาย ๆ วลีที่ผู้คนนำมาเรียกขานนาม นักบวชเหล่านี้ล้วนบำเพ็ญตะบะที่แก่กล้า มีญาณขั้นสูงที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยฌาณ อายุอานามว่ากันว่าบางตนเฉียด ๆ พันปีก็ยังมีให้ยลกันครับ รถรับ-ส่งนักเรียน ในยามเช้าตรู่ เห็นได้ประจำตามท้องถนน แออัดแต่ไม่อึดอัดครับ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไปครับ บ๊าย...บาย เด็ก ๆ ทักทายผู้ผ่านทางด้วยความตื่นเต้น แนะ ๆ....พ่อใหญ่หัวล้าน เจ้ากะถีบไปเปี๋ยง คือหันมาเบิ่งนำเด็กน้อย อุ๊ย ๆ ๆ ย้านรถสามล้อพาม้วนอ๊วกยวกลงหั่นน๊าาา อีก รูปแบบหนึ่งของรถรับ-ส่งนักเรียน อย่างนี้จะเห็นตามในเมืองใหญ่ ๆ ครับ พัฒนาการขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์เดิมไว้ คือ แออัด แต่ ไม่อึดอัด ครับ ดู ๆ แล้ว ก็เหมือนจะลำบากครับ แต่สำหรับพวกเขาแล้ว สบาย ๆ แบบเบิร์ด ๆ ครับ อินเดียเป็นประเทศที่ทำเกษตรกรรมหลายอย่าง ทั้งอ้อย ข้าว ฝ้าย และพืชผัก ผลไม้ อีกมากมาย จนสามารถเลี้ยงดูพลเมืองที่มากกว่าพันสองร้อยล้านคนได้ โดยไม่พึ่งพาปัจจัยนำเข้าจากต่างประเทศมากนัก ตามชนบทในหน้าฝนปัจจุบัน จะเห็นชาวนาไถนาด้วยวัวหรือควาย หรืออย่างที่เห็นคือเอาควายไถคู่กับวัว เป็นภาพที่ชินตาสำหรับผู้ผ่านไปมาครับ ลักษณะของควายพ่อพันธุ์ที่สง่าและสวยงามมาก ควายอินเดียจะเป็นคนละสายพันธุ์กับควายไทย ดูลักษณะเขาจะงอเข้าหากัน ตัวเมียจะมีปริมาณน้ำนมมาก ดังนั้นโดยมากแขกจะเลี้ยงควายไว้เพื่อรีดนมขายครับ อัน รถรับส่งธรรมดา ๆ กะมีอยู่คะรับ...แต่มันบ่แปลก กะเลยบ่ได้เอามาเบิ่ง บาดเดี๋ยวพ้อสิเอามาเปรียบให้เบิ่งเด้อครับ...อันว่าควายอินเดีย เพิ่นเลี้ยงดีครับ ดีกว่าคนอีก อันนี้ขอยืนยัน นั่งยัน นอนยันครับ เลี้ยงดีกว่าคน(บางพวก)อีหลี เลยนูท๊างอ้วนนูท๊างพี
โตนี้อยู่ทางที่จะขึ้นไปป่าหิมพานต์ครับ อ้วน พี ดีงาม คักแท้ ๆ ครับ
เมื่อ ๒๒ สิงหา ๕๒ ที่ผ่านมา เดินทางเข้าไปธุระในตัวเมืองพาราณสี ยังมีนักบวชฑิฆัมพรของศานสนาเชน พร้อมด้วยลูกศิษย์ เดินทางผ่านตัวเมือง ท่ามกลางผู้คนที่ขวักไขว่ โดยไม่สนใจใยดีกับเรือนร่างที่เปลือยเปล่า หลายคนก้มกราบสักการะด้วยความเคารพ แต่อีกหลายคนก็มองด้วยสายตาที่ตะลึง งงงัน ( มาได้ไงนี่ ) เอามาให้ดูว่า ของอย่างนี้ยังมีอยู่จริง ๆ ครับ สังเกต คนที่บวชใหม่ อาจไม่พร้อมที่จะเปิดเผยทั้งหมด เพราะเดินผ่านชุมชน อาจมีอาการขึ้นมาระหว่างทาง จึงต้องป้องกันเอาไว้ก่อน เดี๋ยวขายขี้หน้าครูบา อิอิ ดู เพื่อศึกษาเปรียบเทียบนะครับ สาระสำคัญมิได้อยู่ที่การนำภาพมาให้ดู แต่อยู่ที่ว่า ดูแล้วลองเปรียบเทียบว่า สิ่งที่เราเคารพนับถือนั้น ประเสริฐดีแล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งของอีกซีกโลกหนึ่ง ยังอยู่ในระดับที่จะต้องบำเพ็ญอีกมาก....หรือท่านผู้รู้ว่าใด๋ 22 สิงหา 2552 ขณะกำลังเดินทางลงจากเขาหิมพานต์เมืองดารัมซาร่า เห็นฝูงนกใหญ่บินว่อนอยู่เหนือเวหาส ตัวใหญ่และดำทะมืน นับจำนวนไม่ได้ เลยบอกให้รถหยุดแล้วลัดเลาะไปตามริมลำธาร สายตาจ้องมองไปที่ฝูงนกประหลาดที่กำลังบินว่อนอยู่เหนือศีรษะ ท่ามกลางแสงแดดจัดจ้าเหลือคณานับ ตามไปที่จุด ๆ หนึ่ง ซึ่งหมู่นกยักษ์บินร่อนลงตัวแล้วตัวเล่า สายตากระทบเข้ากับภาพที่เห็น ฝูงอีแร้งหิมพานต์กำลังรุมจิกกินซากสัตว์ตัวหนึ่ง ดูท่าน่าจะเป็นควายหรือวัว เพราะซากใหญ่พอสมควร ตัวที่ร่อนลงใหม่ ก็เริ่มเดินขยับเข้าใกล้ ตัวที่อิ่มแล้วก็เริ่มขยับออกไป ผลัดเปลี่ยนเวียนกัน บางขณะมีสุนัขหวงซากวิ่งกระโจนเข้ามา ไล่หมู่แร้งให้แตกวง บินว่อนก่อนจะโฉบลงมาใหม่ อีก ฝูงที่เฝ้าสังเกตการณ์อยู่บนต้นไม้ รอเวลาที่จะโฉบลงมาร่วมวง เกือบโดนโจมตีด้านหลัง เลยต้องรีบลัดเลาะกลับมาขึ้นรถ พร้อมภาพที่บันทึกไว้กว่าครึ่งร้อย ข่าวว่าอีสานบางส่วนแล้งหลาย เลยคึดฮอดบ้าน เห็นลอมฟางของแขกแล้ว งึดคะเจ้าหลาย เพิ่นบ่เผาฟาง บ่เผาตอข้าว เพราะบ่มีตอให้เผา เวลาเกี่ยวเขามักจะเกี่ยวจำตอ คือเกี่ยวเอามาทั้งหมด เสร็จแล้วก็ทำลอมไว้ ขายฟางสำหรับให้วัว-ควาย สัตว์อื่น ๆ กิน และขายให้คนเอาไปทำหลังคามุงบ้าน แขก(ซุมเงินน้อย)นิยมเอาฟางมุงบ้านครับ ประเทศเราเดี๋ยวนี้ อีกา หายากแล้ว แต่ที่อินเดียมีเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร และที่สำคัญ คนไม่ทำร้ายสัตว์ อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อันนกนี้เขาเรียก อีแก เพราะต่างไปจากอีกา ธรรมดาอีกาจะตัวดำสนิท แต่ที่นี่มีอีกาอีกชนิดมีสีหม่น เพื่อไม่ให้ผู้คนสับสนเลยเรียกชื่อเสียใหม่ว่า อีแก ส่งท้ายชุดนี้ด้วยรถบัสรับ-ส่งนักเรียน ที่ติดค้างหลายท่านไว้ หลังจากที่เอาสามล้อปั่น สามล้อถีบ และสามล้อจูง มาให้ชมแล้ว ตามเมืองใหญ่ก็มีรถบัสเหมือนกัน แต่เป็นบัสโบราณเสียส่วนมาก และที่สำคัญ ปลากระป๋องยังเรียกครูบาเลยครับ อัดแน่นกันจริง ๆ นักบวชฑิฆัมพร (ชีเปลือย)
ศาสนา เชน ถือกำเนิดก่อนพระพุทธศาสนา มีท่านศาสดามหาวีระ หรือ นิครนถ์นาฏบุตร เป็นศาสดา (เดิมเป็นเจ้าชายในราชตระกูลของเจ้าลิจฉวี เมืองไวสาลี) ใน ช่วงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และเผยแผ่ธรรม ท่านศาสดามหาวีระก็เผยแผ่ลัทธินิครนถ์ของท่านไปด้วย โดยมีเหตุการณ์ที่ขัดแย้งและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันหลาย ๆ อย่าง พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียกลัทธินี้ว่า เดียรถีย์ ศาสดามหาวีระเข้าสู่นิรวาณก่อนพระพุทธเจ้า ณ ปาวาบุรี ไม่ห่างจากนครราชคฤห์มากนัก นักบวชหญิงเศวตัมพร (ชุดขาว) เมื่อ มีผู้เลื่อมใสมากขึ้น ทั้งชายหญิงก็มีผู้ออกบวชติดตาม นักบวชชายจะปฏิบัติตามท่านศาสดามหาวีระทุกประการ ส่วนนักบวชที่เป็นสตรีที่เข้าสู่ลัทธิก็ให้นุ่งชุดขาว มีผ้าปิดปาก ว่ากันว่าเพื่อมิให้ทำลายเชื้อโรค หรือไม่ทำให้เชื้อโรคตาย ข้อสังเกตุ.- ระหว่างพุทธศาสนากับศาสนาเชนมีความแตกต่างและเหมือนกันหลาย ๆ อย่าง ส่วนที่เหมือนกันมาก ๆ คือ ๑. เป็นอเทวนิยม ไม่ถืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้าว่าสามารถบันดาลทุกข์สุขให้ได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับกรรม คือ การกระทำ ๒. ไม่เบียดเบียนตนและสัตว์อื่นให้ลำบาก ส่วนที่แตกต่างกันมีมากมาย และต้องสังเกตุให้ดี ถ้าเห็นหินแกะสลักหรือรูปเหมือน โดยเฉพาะปางที่ประทับนั่งจะเหมือนกันมาก ถ้า เป็นพระพุทธรูปจะมีพุทธลักษณะที่สวยงาม ส่วนถ้าเป็นสาสดามหาวีระที่กลางหน้าอกจะมีรูปดอกจันทน์ ชาวพุทธเคยไหว้ผิดไหว้ถูกมานักต่อนักแล้ว ส่วนปางประทับยืนนี้แตกต่างชัดเจน เพราะพระพุทธเจ้าทรงจีวร ส่วนศาสดามหาวีระยืนเปลือยกายเห็นทุกอย่างได้ชัดเจน รองเท้าพิเศษสำหรับนักบวชครับ ถ้าไม่ชำนาญจริง ๆ รองเท้าก็จะวิ่งออกหน้าคนใส่ เวลาที่นักบวชเดินทางมักจะใส่รองเท้าแบบนี้ เวลาที่ไม่ได้เดินทางก็จะเอารองเท้ามาวางไว้ตรงทางเข้ามันดีร(ศาสนสถานหรือเทวาลัย) ให้คนรู้ว่าอยู่ ผู้คนมักเอาดอกไม้มาบูชาด้วยครับ ก็แปลกดี นี่ก็รองเท้าไม้อีกแบบครับ แปลกดีครับ ม้าเมืองราชคฤห์ ได้รับการเรียกขานว่า ม้าขื่นขม คือถูกใช้แรงงานหนัก ไม่มีโอกาสได้เดินหากินเหมือนม้าทั่วไป เวลาพักก็ยังต้องแบกสัมภาระไว้ กินอาหารในถุงด้วยการเอาถุงแขวนคอให้ น่าสงสารเต็มใจครับ วัว คุณหนูตัวน้อย ๆ ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี อาหารใส่ถ้วยใหญ่ ๆ ไม่ต้องออกเดินหาอาหารครับ โตมาก็เพียงแค่ให้นมกับเจ้าของเท่านั้น ต่างกันราวฟ้าดิน ดูดี ๆ นี่คือ คน ครับ ทานอาหารด้วยใบตอง ไม่มีถาด ไม่มีช้อน เอามือหยุมเข้าปากอย่างเดียวครับ แต่นี่ยังถือว่าดีนะครับที่มีคนมาให้ทานพอได้กินบ้าง คนไม่มีอะไรจะกิน ยิ่งลำบากกว่านี้ครับท่าน ขอทานคนหนึ่ง นอนร้องโอดโอยอยู่ข้างทาง น่าเวทนามาก ขนมหวานเมืองแขกมีหลายอย่าง และรับรองคุณภาพว่าหวานได้ใจจริง ๆ เคยได้ยินคำว่า แขกขี้คุย ไหม ? เมื่อก่อนไม่คิดอะไรมาก เข้าใจแต่ว่า แขกขี้คุย คือแขกที่พูดมาก แต่ก็ถึงบางอ้อ..บางอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย เมื่อเห็นกับตา 2 จะ ( ก็...จะจะ...นั่นแหละ ) ว่าแขกขี้คุย ก็คือ แขกนั่งขี้แล้วก็คุยกันไปด้วย มันเป็นเช่นนั้นได้จริง ๆ ครับ เอาภาพมาฝากสำหรับคนที่ไม่เคยเห็นรถรางครับผม เตา ปิ้งจาปาตีครับ จาปาตี คือ แป้งที่ทำมาจากข้าวสาลี คั้นกับน้ำให้พอเหนียว ๆ ปั้นเป็นก้อน ๆ แล้วใช้ไม้บดใส่เขียงไม้ให้เป็นแผ่น ๆ แล้วก็ปิ้ง เป็นอาหารที่ใช้ทานแทนข้าวของแขกครับ มักทานกับผัดผัก ใส่มันฝรั่ง หรือ กับอาหารแขกทุกชนิด ครับ ใกล้ฤดูเก็บเกี่ยวแล้วครับ ดูกองฟาง และวิธีการตีข้าวของแขกครับ เอาเตียงมาวาง จับฟ่อนข้าวฟาดใส่เตียง ให้เมล็ดร่วงลงข้างล่างเตียง เสร็จแล้วค่อยกวาดรวมกันเป็นกองครับ เมือง แขก มีกฏหมายห้ามตัดต้นไม้ จึงขาดฟืน และถ้ามีตนตัดมาขายก็ราคาแพง คนระดับพื้นบ้าน ไม่มีเงินพอที่จะซื้อฟืน แก๊ส หรือ ถ่านหิน จึงต้องอาศัยของธรรมชาติ หญ้า หรือฟางแห้ง ใบไม้แห้ง นำมาขยำเข้ากับโคมัยสด (ขี้วัว-ขี้ควาย) จนเข้ากันและเหนียวได้ที่พอดี ๆ อาศัยฝาบ้าน กำแพงบ้าน เป็นที่ตากแห้ง เอามือกำขึ้นมาจากชาม กะให้พอดีมือ จากนั้นก็ใช้มือนั้นแปะที่ฝา รูปออกมาก็จะเป็นแผ่น ๆ เท่ามือของคนแปะพอดี ๆ ประมาณสามสี่วันก็แห้ง เก็บไว้ใช้ทำเชื้อเพลิงแทนฟืน ถ่าน (ขายกันในราคา ๒-๓ แผ่นต่อรูปี) เวลาปิ้งจาปาตี ต้มชา ทอดอาหาร ก็ใช้โคมัยแห้งนี้แหละ กลิ่นและรสชาติดีมาก ๆ ( ก็เอามือที่ขยำๆโคมัยนี่แหละคั้นแป้งจาปาตีกะดาย แขกบอกว่าแซบหลายเด้อ ) บ้าน ของชาวแขกครับ สังเกตความอุดมสมบูรณ์ มีพืชพันธุ์รอบ ๆ บ้านที่สร้างด้วยดินเหนียว กันร้อน กันหนาว ได้ดีมากครับ เวลาทำอาหารก็เดินเก็บเอารอบ ๆ บ้านครับ กระด้ง แขกครับ เห็นเขาเอามาตากแห้งพอดี หลังจากสานเสร็จก็เอาโคมัย(ขี้วัวสด)มาฉาบบาง ๆ กันรั่ว ตากให้แห้งสนิทแล้วก็ใช้งาน ฝัดข้าว ฝัดถั่ว ตามประสาแขกครับ ดู ๆ แล้วก็คล้าย ๆ โบราณอีสานบ้านเฮาหลายครับ แขกขนกล้วยครับ ใช้รถจักรยานให้เป็นประโยชน์ ไม่แปลกใจที่คนแขกมาอยู่ประเทศไทยแล้วเป็นเจ้าของกิจการขายรถจักรยานครับ คุ้มจริง ๆ นึก ว่ามาชุมนุมสุมหัวกันทำอะไร...ที่แท้ก็ทำอะไรนี่เอง...ทั้งวัว หมู หมา บางครั้งบางคราก็มีคนกับแพะมาแจมครับ...ต่างคนต่างทำมาหากิน แต่พอดีมาพ้อกัน เลยร่วมแรงร่วมใจกันครับ ก็แบ่ง ๆ กันไป ตามมีตามเกิด ..แต่ ไม่กัดกันครับ ไม่มีการแบ่งสี...อิอิ (สำนวนนี้คุ้น ๆ หว่า) ม้า ลา ฬ่อ เมืองนี้เขาเลี้ยงไว้ขนของครับ โดยเฉพาะแถบเมืองที่อยู่สูง ๆ ตามภูเขา จะพบมาก เพราะไม่สามารถใช้รถขนของได้ ก็ใช้เจ้าพวกนี้แทนครับ สี่ คนหาม สามคนแห่ คนหนึ่งนอนบนแคร่ เอากันไปเผา ไม่มีอะไรครับ ตายแล้วกะคือตาย หมดประโยชน์สำหรับโลกนี้ เขาก็เอาไปเผาทิ้ง จบกันตรง ๆ ครับ ดู ดู๋ ดู แขกซักผ้า แล้วก็ตากผ้า ครับ ตากกับดิน กับหญ้า กับพื้นหินแถว ๆ นั้นแหละ รอให้แห้งก็เก็บ สั่นเอาดินเอาหญ้าออกแล้วพับ ๆ ๆ เมือบ้านครับ นักบวชเชน นิกายฑิฆัมพร นั่งทำสมาธิ ที่ถ้ำแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของอินเดียครับ ไปพบโดยบังเอิญ เลยเก็บมาฝาก การ บำเพ็ญตะบะ มีหลากหลายรูปแบบครับ นาคบาบาท่านนี้ คงไม่ใช่ย่อยทีเดียว ขุดดินแล้วเอาหัวมุดลงไป ถมดินกลบ คนผ่านไปมาก็บูชาเขาด้วยเงินบ้าง ดอกไม้บ้าง อาหารบ้าง ไม่ใช่ชั่วคราวนะครับท่าน บางวันก็ตลอดวัดเลยครับ เห็นมาแล้ว จะจะ งึดหลายครับ การขึ้นตัดน้ำตาลี เป็นอาชีพหนึ่งของคนแขกที่นิยมชมชอบน้ำมึนเมาแบบธรรมชาติ รสชาติดี นุ่มนวล ชวนดื่ม หวานนิด ๆ หลังจากกรีดต้นตาลหรือต้นปาล์มได้ที่แล้วก็ห้อยหม้อเอาไว้ รอจนหยดน้ำตาลเต็ม หรือ ตามเวลาที่กำหนด โดยมากจะห้อยตอนเย็นแล้วมาเก็บตอนเช้า ๆ รสชาติดีมาก ภาชนะใส่น้ำตาลีเอาไว้ขาย แก้วละ ๔-๕ รูปี จากเช้า ๆ ที่ดื่มนิ่มนวลชวนหวาน พอนาน ๆเข้าถึงเย็น พี่น้องเอ๊ยยยยยยยยยยย... เหล้าสาโทดี ๆ นี่เอง รสชาติ บ่อยากพากย์ ( เพิ่นว่าแซบอีหลี ) ใกล้ถึงฤดูชุมนุมนักบวชนาคบาบาแล้วครับ
เข้าหน้าหนาวเหล่านักบวชก็จะพากันทยอยลงมาจากอาศรมในป่าหิมพานต์ เพื่อมาบูชาและสรงสนาน ณ แม่น้ำคงคา ที่เมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๕ คือ โคมุข (ต้นน้ำคงคา), ฤาษีเกส , หริท์วาร ,สังคม(ประยาค หรือ อัลลาหบาด)จุฬาตรีคูณ และสุดท้ายเมืองพาราณสีครับ ดูภาพเหล่านี้ไปพลาง ๆ ก่อนนะครับ เดี๋ยวแอบไปถ่ายตอนฤาษีแสดงโยคะ พิศดาร ๆ มาให้ชมครับผม องค์ นี้ที่คงคาปีที่แล้วครับผม กำลังเขียนหนังสืออะไรสักอย่าง ต้องแอบ ๆ ถ่ายครับผม ถ่ายตรง ๆ ไม่ได้ เดี๋ยวเสียตังค์ ถ้าไม่จ่ายตังค์มีหวังถูกสาปครับ องค์ นี้บรมครูของเขาครับ ข้าน้อยนั่งสนทนาอยู่ราว ๆ สามชั่วโมง พวกนักบวชแวะมาทำความเคารพกันมาก แสดงว่าไม่ธรรมดาครับ ใครถ่ายภาพก็จะขอเงินครับ องค์นี้น้องใหม่ครับ ยังอาย ๆ อยู่เลยครับ ชุมนุมนาคบาบากว่าห้าแสนที่จุฬาตรีคูณครับ ๑๒ ปี มีครั้งหนึ่ง เตรียมพบกับพวกเขาได้ในปี ๒๐๑๑ ข้างหน้านี้ครับ ชุมนุมประชาชนกว่าวันละ ห้าสิบล้านคน ไปบูชาและอาบน้ำที่คงคาครับ สุดยอดแห่งความศรัทธาในศาสนาของเขาจริง ๆ ครับ โอม...นมัสศิวะ หริ...โอมมมม ศพเด็ก ที่ลอยมาติดเรือชาวบ้าน มีให้พบเห็นบ่อย ๆ ครับ ศพนี้เป็นนักบวชครับ มีข้อสังเกตให้ดูได้ เวลาพบศพลอยมาตามน้ำ ที่แม่น้ำคงคา ศพทั่วไปจะเผาที่ริมฝั่งคงคา เสร็จแล้วเอากระดูกและฝุ่นโปรยลงที่แม่น้ำคงคา แต่สำหรับศพที่ไม่เผามี ๕ ชนิด คือ นักบวช เด็ก คนท้องแก่ คนถูกฟ้าผ่า และคนถูกงูกัดตาย สังเกตคนอาบน้ำล้างบาปก็อาบไป คน(ศพ)ที่ลอยมาก็ลอยไป ต่างคนต่างอยู่ ต่างทำหน้าที่ ไม่เกี่ยวข้องกัน วิธีการจัดการก็คือ เอาผ้าห่อ เอาเชือกผูกก้อนหินติดกับคอ เพื่อถ่วงน้ำหนักให้จมน้ำ จากนั้นก็นำลงไปถ่วงกลางแม่น้ำ วันดี คืนดี เชือกที่ผูกถ่วงนั้นขาด ก็จะลอยตัวขึ้นมาให้เห็น ดังเช่นนี้ครับ บาง ทีก็ลอยมาเกยตื้นอีกฝั่ง เรียกว่า ตะวันออกนรก ตะวันตกสวรรค์ ครับ ศพพวกนี้เกยตื้นที่ฝั่งตะวันออก นอกจากสุนัข กา แร้ง แล้ว ไม่มีใครอาศัยอยู่ครับ นี่คือมนต์เสน่ห์ของแม่น้ำคงคาที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีวันจืดจางครับ คงคา คงชื่อ คงเชื่อ คงช่วย และ คงทน |