Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

บทที่ 1

คำอธิบายสิ่งควรรู้

˜

มูลฐานของโหราศาสตร์ โหราศาสตร์เนื่องมาจากหลักการหมุนเวียนของเวลาเป็นมูลฐาน  ผลย่อมเกิดแต่เหตุ  ผลที่เกิดขึ้นนั้นบางกรณีก็ยากที่จะรู้ถึงได้  แต่อิทธิพลของความจริงย่อมครอบคลุมอยู่ทั่วจักรวาล  นักโหราศาสตร์เชื่อว่า  เหตุที่กระทำไว้แต่อดีตมาให้ผลในปัจจุบัน  กรรมที่กระทำกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยจิตใจก็ดีย่อมให้ผลต่อ ๆ ไป โหราศาสตร์เป็นแต่เพียงแสดงให้รู้ถึงผลของกรรมนั้น ๆ เท่านั้นชีวิตต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของความหมุนเวียนนี้  ผลที่เนื่องแต่อดีตกรรมจะเป็นผลดีผลร้ายต่อร่างกายและชีวิตอย่างไรในปัจจุบันนั้นสุดแท้แต่กรรมที่ทำไว้แต่อดีต  ทางโหราศาสตร์  ดาวเคราะห์เป็นวัตถุที่แสดงให้รู้เห็นผลที่เนื่องแต่อดีตกรรม  กล่าวคือ  การพยากรณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าจากวิธีขอโหราศาสตร์  ดาราศาสตร์เป็นมูลฐานอุปกรณ์ของโหราศาสตร์  นักษัภรและดาวเคราะห์สำแดงวัตถุของธรรมชาติและเป็นไปตามกฎของความดึงดูด  หลักที่ใช้ในโหราศาสตร์มี  ราศี,  ดาวเคราะห์,  ดาวนักษัตร  และปรากฏการณ์ในท้องฟ้า.

จักรราศีและระบบสุริยะ จักรราศีในท้องฟ้ามีเขตข้างละ 9 องศาของสุริยวิถี  สุริยวิถีเป็นทางโคจรของดาวอาทิตย์  เส้นทางโคจรของดวงอาทิตย์อยู่กึ่งกลางของจักรราศี  จักรราศีเห็นไม่ได้ด้วยสายตาแต่รู้ได้จากการเฝ้าสังเกตการณ์เคลื่อนไหวของดาวเคราะห์  สุริยวีถีแบ่งออกเป็นส่วนเท่า ๆ กัน 12 ส่วน  เรียกว่าราศีของจักรราศี  ราศีหนึ่งมีเขต 30 องศา.

ระบบสุริยะมีดาวเคราะห์อาทิตย์เป็นดาวเคราะห์นำ  มีดาวเคราะห์  จันทร์,  อังคาร,  พุธ,  พฤหัสบดี,  ศุกร์,  เสาร์  เป็นดาวเคราะห์บริวาร  และมีดาวเคราะห์ฉายาคือราหูและเกตุเป็นดาวเคราะห์ประกอบ.

กลุ่มดาวนักษัตร ระยะเส้นทางโคจรของอาทิตย์แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ด้วยมีกลุ่มดาวนักษัตรเป็นที่หมาย  ส่วนที่ 1 เริ่มต้นจากจุดแรกของราศีเมษเป็นระยะ 13 องศา 20 ลิปดาทีฆันดร  (ระยะแวง)  ดังนั้นจึงเป็นที่เห็นได้ว่า  ถ้าเรารู้ระยะแวงของดาวเคราะห์  เราก็รู้ได้ว่าดาวเคราะห์นันอยู่ในเขตของกลุ่มดาวนักษัตรยังแบ่งส่วนย่อยลงไปอีกเป็น 4 ส่วน  ส่วนหนึ่ง 3 องศา 20 ลิปดา เรียกว่าบาทฤกษ์  หรือบาทของฤกษ์  ราศีและนักษัตรทั้ง 2 อย่างเริ่มต้นจุดเดียวกันที่จุด 0 องศา ของราศีเมษ  คือเป็นจุดเริ่มต้นของราศีและนักษัตรร่วมกัน.

ราศีของจักรราศี จักรราศีแบ่งออกเป็น 12 ส่วนเรียกส่วนนั้น ๆ ว่าราศี.

ราศีหนึ่งมีเขต 30 องศา มีชื่อและเครื่องหมายดังนี้ :

ราศี                         เครื่องหมาย                         ระยะจาก 0 องศา  ราศีเมษ

1                              เมษ                                 0                            0                           องศา  ถึง  30  องศา

2                              พฤษภ                            1                          30                ,,      ,,    60     ,,

3                              มิถุน                               2                          60                ,,      ,,    90     ,,

4                              กรกฎ                             3                          90                ,,      ,,  120     ,,

5                              สิงห์                               4                        120                ,,      ,,  150     ,,

6                              กันย์                                5                        150                ,,      ,,  180     ,,

7                              ดุลย์                                6                        180                ,,      ,,  210     ,,

8                              พฤศจิก                          7                        210                ,,      ,,  240     ,,

9                              ธนู                                  8                        240                ,,      ,,  270     ,,

10                           มกร                                9                        270                ,,      ,,  300     ,,

11                           กุมภ์                             10                        300                ,,      ,,  330     ,,

12                           มีน                                11                        330                ,,      ,,  360     ,,

ธรรมชาติลักษณะของราศี แต่ละราศีมีธรรมชาติลักษณะเฉพาะราศี.

ราศีเมษ เป็นจรราศี  ราศีคี่  ราศีบุรุษเพศ  ราศีดุร้าย  ราศีธาตุไฟ  มีระยะผ่านเส้นของฟ้าสั้น.

ราศีพฤษภ เป็นสถิระราศี  ราศีคู่  ราศีสตรีเพศ  ราศีอ่อนโยน  ราศีธาตุดิน  ราศีสมบูรณ์  มีระยะเคลื่อนผ่านเส้นของฟ้าสั้น.

ราศีมิถุน เป็นทวิภวะราศีหรือราศีสามัญ  ราศีคี่  ราศีบุรุษเพศ  ราศีดุร้าย  ราศีธาตุลม  ราศีไม่ผลิตผล  มีระยะเคลื่อนผ่านของฟ้าสั้น.

ราศีกรกฎ เป็นราศี  ราศีสตรีเพศ  ราศีคู่  ราศีอ่อนโยน  ราศีธาตุน้ำ  ราศีสมบูรณ์  มีระยะเคลื่อนผ่านเส้นขอบฟ้ายาว.

ราศีสิงห์ เป็นสถิระราศี  ราศีคี่  ราศีบุรุษเพศ  ราศีดุร้าย  ราศีธาตุไฟ  ราศีไม่มีผลิตผล  มีระยะเคลื่อนผ่านเส้นขอบฟ้ายาว.

ราศีกันย์ เป็นทวิภวะราศี  ราศีคู่  ราศีสตรีเพศ  ราศีอ่อนโยน  ราศีธาตุดิน  มีระยะเคลื่อนผ่านเส้นขอบฟ้ายาว.

ราศีดุล เป็นจรราศี  ราศีคี่  ราศีบุรุษเพศ  ราศีดุร้าย  ราศีธาตุลม  มีระยะเคลื่อนผ่านเส้นขอบฟ้ายาว.

ราศีพฤศจิก เป็นสถิระราศี  ราศีคู่  ราศีบุราเพศ  ราศีอ่อนโยน  ราศีธาตุน้ำ  มีระยะเคลื่อนผ่านเส้นขอบฟ้ายาว.

ราศีธนู เป็นทวิภวะราศี  ราศีคี่  ราศีบุรุษเพศ  ราศีดุร้าย  ราศีธาตุไฟ  มีระยะผ่านเส้นของฟ้ายาว.

ราศีมกร เป็นจรราศี  ราศีคู่  ราศีสตรีเพศ  ราศีอ่อนโยน  ราศีธาตุดิน  มีระยะผ่านเส้นขอบฟ้าสั้น.

ราศีกุมภ์ เป็นสถิระราศี  ราศีคี่ ราศีบุรุษเพศ  ราศีดุร้าย  ราศีธาตุลม  ราศีสมบูรณ์  มีระยะผ่านเส้นของฟ้าสั้น.

ราศีมีน เป็นทวิภวะราศี  ราศีคู่  ราศีสตรีเพศ  ราศีอ่อนโยน  ราศีธาตุน้ำ  มีระยะผ่านเส้นของฟ้าสั้น.

ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ในโหราศาสตร์ภารตะมี 9 ดาวเคราะห์

ดาวเคราะห์          เครื่องหมาย         ดาวเคราะห์          เครื่องหมาย         ดาวเคราะห์          เครื่องหมาย

อาทิตย์                           1                   พุธ                                   4                  เสาร์                               7

จันทร์                             2                   พฤหัสบดี                       5                  ราหู                                8

อังคาร                            3                   ศุกร์                                 6                  ราหู                                9

ราหูและเกตุเป็นจุตสมมุตที่วิถีโคจรของจันทร์และโลกร่วมกัน  บางตำราเรียกว่าว่าจุดสกัดเหนือจุดสกัดใต้  โคจรเล็งกันอยู่เสมอ.


ความหมายและลักษณะที่ได้จากดาวเคราะห์ ต่อไปนี้เป็นลักษณะแต่ความหมายสำคัญจากดาวเคราะห์.

อาทิตย์  บุรุษเพศ บาปเคราะห์  ธาตุไฟ  สีทองแดงหรือสีแดงแก่  ความรอบรู้  ผู้เป็นใหญ่  ผู้มีเกียรติและอำนาจ  (ข้อนี้ขอให้นักศึกษาพึงสำเหนียกว่า  น้อยคนที่จะมีได้ทั้งเกียรติและอำนาย  จงแยกแยะความหมายนี้ด้วยพิจารณาจากปรากฏการณ์การพยากรณ์จึงจะได้ผล)  ความรู้สึกผิดชอบในตัวเอง  ความไว้ใจเชื่อใจตอนเอง  ใจร้อน  ใจเร็ว  บิดา  มรดก  สมบัติของศาสนสถาน  สถานศักดิ์สิทธิ์หรือเจดีย์สฐานในศาสนา  นายธนาคารหรือผู้ออกเงินให้กู้  สถานที่ประกอบพิธีกรรมสำคัญ  เช่นพิธีราชาภิเษก  ความสามารถทางแพทย์  ช่างทอง  กระดูก.

จันทร์ เป็นศุภเคราะห์แต่ขึ้น 10 ค่ำถึงแรม 9 ค่ำ  เป็นบาปเคราะห์แต่แรม 10 ค่ำถึงขึ้น 9 ค่ำ  สตรีเพศ  สีขาว  ธาตุน้ำ  จิตใจ  ความคิด  ความดื้อดึง  การผจญทางกามารมณ์  ความพอใจขจากบุคคลทั่ว ๆ ไป  ความรับผิดชอบในมนุษยภาพ  มารดา  ผู้หญิง  ไข่มุก  เครื่องประดับมีค่า  น้ำ  ชาวทะเล  ชาวประมงค์  ห้องอาบน้ำโลหิต.

อังคาร บาปเคราะห์  บุรุษเพศ  สีแดงโลหิต  ธาตุไฟ  กลอุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมที่แนบเนียน  การทหาร  การทูต  การค้า  การทอผ้า  การเดินทาง ๆ อากาศ  สาธารณาปาฐก  นักแสดงสุนทรพจน์  ญาติชายและหญิง  โลหะชนิดเลว  พืชพันธ์ผักหญ้า  ของเสีย  ของเน่า  ของเลว.

พุธ ถ้าได้รับผลดีโดยการสัมพันธ์จากดาวเคราะห์  หรือที่สถิตเป็นศุภผลเป็นศุภเคราะห์  กะเทย  สีเขียวใบไม้  ธาตุดิน  การค้า  กิจการอื่น ๆ อิริยาบถ  สาธรณาปฐก  โรคเส้นประสาท  ความเยือกเย็น  ความเฉลี่ยวฉลาด  ปัญญา.

พฤหัสบดี ศุภเคราะห์  บุรุษเพศ  สีเหลืองสด  อากาศธาตุ  ความนับถือ  ความสัตย์จริง  การบำเพ็ญศาสนากิจเคร่งครัด  การทรงภูมิอย่างปรัชญาเมธีปัญญา  ความรู้  ความเฉลียวฉลาด  ร่างอวบ  ลูกหลาน.

ศุกร์ ศุภเคราะห์  สตรีเพศ  สีผสมหลายสี  ธาตุน้ำ  ความรักระหว่างเพศทางการารมณ์  สังคมการมรมณ์  กามราคะ  ความสุขในครอบครัว  พละกำลังของชิวิต  ภรรยาสามี  เคหะสถานที่ประกอบกรรมอันลามก  สถานที่กักกันนางบำเรอ.

เสาร์ บาปเคราะห์  กระเทย  สีแก่  สีตร่ำ  ธาตุลม  ทิษฐิมานะ  ความผลุนผลัน  ความเศร้าสลด  การพนัน  โรคลม.

ราหู บาปเคราะห์  สตรีเพศ  การสละ  การเลิกล้ม  การทุกจริงต่อหน้าที่  โรคระบาด.

เกตุ ศุภเคราะห์  กระเทย  ความเคร่งทางศาสนา  หลักประเพณีนิยม  ความพอใจอิ่มใจ  ความทะนงตัว  ความลึกลับ  ความเห็นแก่ตนเอง  การภิกชาจาร.

ความหมายและลักษณะดาวเคราะห์นี้  เป็นความหมายกลาง ๆ ที่ใช้ได้ทั่ว ๆ ไป  ความหมายพิเศษหรือความหมายเฉพาะมีต่อไปข้างหน้า  บาปเคราะห์ค่อนข้างจะให้ผลร้าย  แต่มีเงื่อนไขบางอย่างที่บรรเทาผลร้ายนั้นได้  ศุภเคราะห์อยู่ในทางให้คุณแต่บางทีก็สามารถให้โทษได้  ความหมายและลักษณะที่ได้จากดาวเคราะห์นี้  จะช่วยให้สามารถพยากรณ์ได้  เช่นถ้าดาวเคราะห์บุรุษเพศครองเรือนปุตตะ  ก็จะได้บุตรชายในระยะทศาของดาวเคราะห์นั้น  หลักวิชาที่ได้กล่าวมาแล้วนี้  นักศึกษาจะต้องพยายามจำให้ขึ้นใจ  และพิจารณาให้เป็นที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง.

เครือสัมพันธ์ระหว่างดาวเคราะห์ เครือสัมพันธ์มี 2 อย่างคือ ถาวร และชั่วคราว  ในคามภีร์กล่าวไว้ว่า   ดาวเคราะห์เป็นมิตรแก่กัดได้   ในเมื่อกระแสนั้น ๆ ไม่ขัดกัน

เครือสัมพันธ์ถาวร ต่อไปนี้เป็นเครือสัมพันธ์ถาวรของดาวเคราะห์ต่อดาวเคราะห์

ดาวเคราะห์                          มิตรถาวร                              กลางถาวร                            ศัตรูถาวร

อาทิตย์                                   จันทร์  อังคาร                      พุธ                                          เสาร์  ศุกร์

พฤหัสบดี

จันทร์                                     อาทิตย์  พุธ                           อังคาร  พฤหัสบดี               ไม่มี

เสาร์  ศุกร์

อังคาร                                    พฤหัสบดี  จันทร์                เสาร์  ศุกร์                             พุธ

อาทิตย์

พุธ                                          อาทิตย์  ศุกร์                         เสาร์  อังคาร                         จันทร์

พฤหัสบดี

พฤหัสบดี                              อาทิตย์  จันทร์                      เสาร์                                       พุธ  ศุกร์

อังคาร

ศุกร์                                        พุธ  เสาร์                               อังคาร  พฤหัสบดี               จันทร์  อาทิตย์

เสาร์                                       พุธ  ศุกร์                                พฤหัสบดี                              อังคาร จันทร์ อาทิตย์

เครือสัมพันธ์ชั่วคราว ดาวเคราะห์ที่อยู่ในราศีที่ 2, 3, 4, 10, 11, 12  จากดาวเคราะห์ใดเป็นมิตรชั่วคราวแก่ดาวเคราะห์นั้น  นอกจากนี้เป็นศัตรูชั่วคราว

ตัวอย่างหามิตรชั่วคราวของอาทิตย์  จากแผ่นราศีนี้  มีพฤหัสบดีอยู่ในราศีที่ 2 ของอาทิตย์  ศุกร์  และพุธในราศีที่ 3 ดังนั้น พฤหัสบดี  ศุกร์  จันทร์  อังคาร  และพุธเป็นมิตรชั่วคราวของอาทิตย์  มีเสาร์ดาวเคราะห์เดียวที่เป็นศัตรูชั่วคราวของอาทิตย์.

เครือสัมพันธ์ผสม การที่จะหากำลังของดาวเคราะห์  จะต้องผสมเครือสัมพันธ์ชั่วคราวกับเครือสัมพันธ์ถาวรเข้าด้วยกัน แล้วคัดเลือกกำลังดาวเคราะห์จากผลของการผสมนั้นตามวิธีดังนี้ :


มิตรถาวร + มิตรชั่วคราว         เป็น       มิตรใหญ่

มิตรถาวร + ศัตรูชั่วคราว           ,,         กลาง

ศัตรูถาวร + ศัตรูชั่วคราว           ,,         ศัตรูใหญ่

ศัตรูถาวร + มิตรชั่วคราว           ,,         กลาง

กลางถาวร + มิตรชั่วคราว       ,,           มิตรน้อย

กลางถาวร + ศัตรูชั่วคราว         ,,         ศัตรูน้อย


เมื่อได้ผสมเครือสัมพันธ์ในแผนราศีตัวอย่าง  จะได้ผลดังนี้ :


ดาวเคราะห์           มิตรใหญ่           มิตรน้อย        กลาง            ศัตรูน้อย            ศัตรูใหญ่

อาทิตย์                        จันทร์  อังคาร       พุธ                    ศุกร์                                      -                       เสาร์

พฤหัสบดี

จันทร์                         อังคาร  พุธ            พฤหัสบดี              -                 อังคาร                           -

ศุกร์  เสาร์

อังคาร                         อาทิตย์  พฤหัส      เสาร์  ศุกร์       จันทร์  พุธ              -                             -


พุธ                               อาทิตย์                  อังคาร             ศุกร์  จันทร์     เสาร์                               -

พฤหัสบดี

พฤหัสบดี                   อาทิตย์  จันทร์       เสาร์               พุธ  ศุกร์                  -                             -

อังคาร

ดาวเคราะห์           มิตรใหญ่           มิตรน้อย        กลาง            ศัตรูน้อย            ศัตรูใหญ่

ศุกร์                                     -                    อังคาร          พุธ  เสาร์                 -                            -

พฤหัสบดี         จันทร์  อาทิตย์

เสาร์                                 -                    พฤหัสบดี         ศุกร์  อังคาร           -                     อาทิตย์

พุธ  จันทร์

สัมพันธภาพระหว่างดาวเคราะห์และราศี สัมธภาพที่แน่ชัดระหว่างดาวเคราะห์และราศีมีอยู่ 4 อย่าง  เป็นสัมพันธ์ภาพสำคัญโดยเฉพาะคือ   1. เกษตร (เจ้าของราศีหรือเจ้าราศี)  2

อุจจ์ (อยู่ในที่สูง)   3. นิจจ์ (ตกต่ำ)   4. มูลตรีโกณ.

เกษตรหรือเจ้าราศี อาทิตย์เป็นเจ้าราศีสิงห์  จันทร์เป็นเจ้าราศีกรกฎ  อังคาร เป็นเจ้าราศีเมษและราศีพฤศจิก  พุธเป็นเจ้าราศีมิถุนและราศีกันย์   พฤหัสบดี เป็นเจ้าราศีธนูและราศีมีน  ศุกร์เป็นเจ้าราศีพฤษ ฯ  และราศีตุลย์  เสาร์เป็นเจ้าราศีมกรและราศีกุมภ์  ดาวเคราะห์ที่เป็นเกษตรหรืออยู่ในราศีของตัวเองมีกำลังแรงในการให้ผลดี.

อุจจ์หรืออยู่ในที่สูง ดาวเคราะห์ที่อยู่ในราศีที่เหมาะสมโดยเฉพาะถือว่าเป็นดาวเคราะห์สูงเลิศหรืออุจจ์  ดาวเคราะห์เมื่อเป็นอุจจ์มีกำลังแรงในการให้ผลดีมากกว่าดาวเคราะห์เป็นเกษตร  อาทิตย์ 10 องศาในราศีเมษ  จันทร์ 3 องศาในราศีพฤษภ  อังคาร  28  องศาในราศีมกร  พุธ 15 องศาในราศีกันย์  พฤหัสบดี 5 องศาในราศีกรกฎ  ศุกร์ 27 องศาในราศีมีน  เสาร์ 20 องศาในราศีตุลย์  ราหู 20 องศาในราศีมิถุน  เกตุ 20 องศาในราศีธนู  ดาวเคราะห์ที่ได้สมผุสจำกัดองศาในราศีต่าง ๆ นี้เป็นมหาอุจจ์  ถ้าเป็นแต่เพียงอยู่ในราศีนั้น ๆ ไม่ได้องศาจำกัดเป็นอุจจ์กำลังอ่อนกว่าเป็นมหาอุจจ์.

ผลของอุจจ์ อาทิตย์เป็นอุจจ์  เจริญด้วยศิลปวิทยา  อยู่ในศีกลธรรมพอใจในความสงบ  น้ำใจมีเมตตากรุณา  กำลังกายแข็งแรง.

จันทร์เป็นอุจจ์ จะชำนาญทางวรรณคดี  มีความขยันขันแข็ง  สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สิน.

อังคารเป็นอุจจ์ จะสนใจในการศึกษาและค้นคว้า  มีชื่อเสียง  เจ้ายศ  จะเป็นไข้อย่างแรง.

พุธเป็นอุจจ์ จะพอใจในการศึกษา  ร่าเริงแจ่มใส  เป็นที่นิยมแก่บุคคลทั่วไป  โชคดี.

พฤหัสบดีเป็นอุจจ์ เป็นที่นิยมนับถือของบุคคลทั่วไป  เป็นผู้บังคับบัญชาที่สามารถ  ให้อภัยไม่พยาบาท  ช่วยเหลือเจือจานบุคคลส่วนมาก  ระงับโทษะได้ง่าย  มีอุดมคติในอริยธรรม  กำลังกายแข็งแรง.

ศุกร์เป็นอุจจ์ มีน้ำใจเมตตากรุณา  อายุยืน  มีลักษณะและคุณภาพแปลก ๆ

เสาร์เป็นอุจจ์ ชำนาญในศิลปกรรม  (ฝีมือดี)  มีเมตตากรุณา  อายุยืน  ร่างอวบ  ถ้าเป็นหญิงจงรักภักดีในสามี.

ราหูหรือเกตุเป็นอุจจ์ เจริญด้วยทรัพย์สมบัติ.

นิจจ์หรือตกต่ำ ดาวเคราะห์อุจจ์ถ้าไปอยู่ในราศีที่ 7 จากราศีอุจจ์ดาวเคราะห์นั้นเป็นนิจจ์  ถ้าดาวเคราะห์ใดเป็นนิจจ์ให้ผลตรงข้ามกับเมื่อเป็นอุจจ์.

มูลตรีโกณ ตำแหน่งมูลตรีโกณของดาวเคราะห์ต้องได้สมผุสจำกัดองศาทำนองเดียวกับอุจจ์ คือ อาทิตย์ 0 ถึง 20 องศาในราศีสิงห์  จันทร์ 4 ถึง 30 องศา  ในราศีพฤษภ  อังคาร 0 ถึง 12 องศาในราศีเมษ  พุธ 16 ถึง 20 องศาในราศีกันย์  พฤหัสบดี 0 ถึง 10 องศาในราศีธนู  ศุกร์ 0 ถึง 15 องศาในราศีตุลย์  เสาร์ 0 ถึง 20 องศาในราศีกุมภ์.


ตารางแสดงสัมพันธ์ระหว่างดาวเคราะห์และราศี

ดาวเคราะห์          เป็นเจ้าราศี           เป็นมหาอุจจ์            เป็นนิจจ์            เป็นมูลตรีโกณ

อาทิตย์                        สิงห์                           10° เมษ                          10°  ตุลย์                0° - 20°  สิงห์

จันทร์                          กรกฎาคม                 3°   เมษ                       13°  พฤศจิก         4° - 30°  พฤษภ

อังคาร                         เมษ. พฤศจิก                  28° มกร                      28°  กรกฎ             0° - 12°  เมษ

อังคาร                         เมษ. พฤศจิก                  28° มกร                      28°  กรกฎ             0° - 12°  เมษ

พุธ                               มิถุน. กันย์                     15° กันย์                      15°  มีน               16° - 20°  กันย์

พฤหัสบดี                   ธนู. มีน                            5° กรกฎ                     5°  มกร               0° - 10°  ธนู

ศุกร์                             พฤษภ. ตุลย์.                  27° มกร                      27°  กันย์.              0° - 15°  ตุลย์

เสาร์                            มกร. กุมภ์.                     20° ตุลย์.                     20°  เมษ                0° - 12°  กุมภ์

ราหู                             สิงห์                                 20°มิถุน.                     20°  ธนู

เกตุ                              กุมภ์                                 20° ธนู                        20°  มิถุน

อวัสถาของดาวเคราะห์ อวัสถาคือฐานะแห่งสภาพของดาวเคราะห์มี 10 ประการ :

1.  ทีปถาหรืออุจจ์ ลูกหลานดี  เกิดลาภผล  ผู้เป็นใหญ่กว่าหรือผู้สูงอายุกว่านิยม  มีทรัพย์สิน.

2.  สวัสถา หรือเกษตรหรือครองเรือนของตัวเอง  มีชื่อเสียง  ฐานะดี  มีที่ดิน  มีความสุขสำราญ.

3.  มุทิตา หรืออยู่ในเรือนมิตร  มีความสุขสำราญ  นิสัยดี  ภรรยาดี.

4.  ษาณถา (ได้ศุกภผลจากฉัตวิระค์)  พละกำลังความกล้าหาญ  ความผาสุกสมบูรณ์และความรื่นเริง.

5.  คักดา หรือพักร์  ความกล้า  ทรัพย์สิน  ชื่อเสียง.

6.  ปีทยะ หรืออยู่ในเสี้ยวสุดท้ายของราศีตั้งแต่ 22 องศา  31 ลิปดา  (อยู่ในส่วนเสีย)  การถูกกักขัง  การประกอบอาชญากรรม  นิสัยชั่วร้าย.

7.  ถีนะ หรืออยู่ในเรือนศัตรู  ร้อนใจกลุ้มใจ  เจ็บป่วย  เสื่อมโทรม  เลวลง.

8.  วิกล (ดาวเคราะห์เข้าใกล้ชิดอาทิตย์เป็นวิกาละ)  โรคภัย  ตกอับ  เสียชื่อ  เสียบุตรหลาน.

9.   ขละหรือนิจจ์ กำเนิดทราม  สูญเสีย  ทะเลาะวิวาท  ปราศจากความนิยมชมชอบ.

10. ปีฑา  หรือเสริด เสียหายจากสาเหตุต่างๆ  การทรมาน  นิสัยเลวทราม.

ทฤษฎีหรือเกณฑ์ เกณฑ์ คือ การนับจากราศีหนึ่งถึงอีกราศีหนึ่ง  ผลของเกณฑ์หนึ่ง ๆ จะดีหรือร้ายสุดแท้แต่การสัมพันธ์ของดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์กับดาวเคราะห์ที่ถูกเป็นเกณฑ์  ดาวเคราะห์เป็นเกณฑ์ 3 และ 10 แก่กันส่งกระแสอิทธิพลถึงกันได้ 1 ใน 4 เกณฑ์ 5 และ 9 ส่งกระแสอิทธิพลถึงกันได้ 1 ใน 2   เกณฑ์ 4 และ 8 ส่งกระแสอิทธิพลถึงกันได้ 3 ใน 4   เกณฑ์ 7 ส่งกระแสอิทธิพลถึงกันได้เต็มที่.

เสาร์  พฤหัสบดีและอังคารมีเกณฑ์พิเศษ  คือเสาร์มีกำลังเต็มที่เมื่อเป็นเกณฑ์ 3 และ 10  พฤหัสบดี มีกำลังเมื่อเป็นเกณฑ์ 5 และ 9 อังคารมีกำลังเต็มที่เมื่อเป็นเกณฑ์ 4 และ 8.

การเป็นเกณฑ์แสดงให้รู้ด้วยจำนวนราศีที่นับจากราศี  ซึ่งดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์สถิตอยู่  เช่นถ้าอาทิตย์อยู่ในราศีกรกฎ  (ดูแผนราศี)  และเสาร์อยู่ในราศีพฤษภก็ว่าอาทิตย์เป็น 3 จากเสาร์  และดังนั้นได้รับเกณฑ์อย่างแรง  (เกณฑ์ 3)  ของเสาร์.

เล็งหรือเกณฑ์ 7 ให้ผลดีที่สุด  ถ้าเป็นเกณฑ์ 7 ของพฤหัสบดีและจันทร์.

ถ้าดาวศุภเคราะห์เป็นเกณฑ์ แก่กันถือว่าดี  ดาวเคราะห์ใดเป็นเกณฑ์แก่ราศีหรือเรือนของตัวเอง  จะเป็นเกณฑ์ 7 หรือเกณฑ์อื่น ๆ ก็ตามเพิ่มความสำคัญให้แก่เรือนนั้นขึ้น

อีก  เช่นถ้าศุกร์เป็นเกณฑ์แก่เรือนที่ 7 (เรือนชะตา)  จะให้ผลดี  และให้ได้ภรรยางาม  และมีความสุขสำราญอยู่ด้วยภรรยา.

ได้กล่าวมาแล้วว่าอังคารเป็นเกณฑ์ 4 และ 8 มีกำลังแรงเสมอด้วยเกณฑ์ 7 เกณฑ์จากเรือนที่ 4 เป็นจตุรเกณฑ์บางทีก็ร้ายบางทีก็ดี  เช่นถ้าอังคารเป็นเจ้าเรือนที่ 4 และ 9 ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะสมเท่ากับอังคารได้คุณวุฒิพิเศษในการให้ผลดี  การได้เกณฑ์จากเรือนที่ 4 โดยดาวเคราะห์มิตร  หรือดาวเคราะห์มิตรเป็นเกณฑ์จากเรือนที่ 4 จะเป็นการเชิดชูความสำคัญของดาวเคราะห์  และเรือนที่ถูกเป็นเกณฑ์ให้เด่นขึ้นหลักเดียวกันนี้ใช้ได้แก่เรือนที่ 8 ด้วย.

พฤหัสบดี เป็นเกณฑ์ 5 และ 9  เป็นตรีเกณฑ์  พฤหัสบดีโดยธรรมชาติเป็นศุภเคราะห์ถ้าเป็นเกณฑ์แก่ดาวเคราะห์ใดเป็นความสำคัญที่มีน้ำหนักยิ่ง  แต่จากความเป็นจริงบางทีก็อาจจัดเช้าในทางร้ายได้ชั่วคราว.

เสาร์ เป็นเกณฑ์ในเรือนที่ 3 และเรือนที่ 10  โดยที่เสาร์เป็นบาปเคราะห์โดยธรรมชาติเกณฑ์ของเสาร์จึงเป็นเกณฑ์ร้าย  แต่จะให้คุณได้ในเมื่อเสาร์ได้ที่สถิตเป็นศุภผลชั่วคราว.

เกณฑ์ 7 หรือเล็งมีกำลัง  ที่จะให้คุณดีหรือร้ายได้เท่ากับร่วมกัน  หรือทับกันสุดแท้แต่ธรรมชาติของดาวเคราะห์.

ผลจากการเป็นเกณฑ์ย่อมเปลี่ยนแปลงไป  สุดแท้แต่ธรรมชาติและฐานะชั่วคราวของดาวเคราะห์ที่เป็นเกณฑ์ที่ถูกเป็นเกณฑ์.


เรือนหรือภวะ เขตของเรือนชะตาไม่เป็นเขาตายตัวเหมือนราศี  ราศีหนึ่งมีระยะเขต 30 องศา  แต่ระยะเขตของเรือนชะตาขึ้นอยู่แก่เวลาเกิดและวิถันดร  (ระยะรุ้ง)  ของที่เกิด  ความหมายสำคัญของเรือนชะตาแต่ละเรือนมีดังนี้ :

เรือนที่ 1  (เรือนที่ลัคน์สถิตอยู่)  ร่างกาย,  ลักษณะที่ปรากฏ  การสร้าง.

เรือนที 2  ครอบครัว,  ทรัพย์สมบัติ,  การเห็นกาลไกล,  เหตุของความตาย.

เรือนที่ 3  ปัญญา,  พี่น้องชายหญิง,  มิตรสหาย.

เรือนที่ 4   ยานพาหนะ,  ความสุขทั่ว ๆ ไป,  การศึกษา,  มารดา,  ที่ดิน,  บ้านเรือน.

เรือนที่ 5   ชื่อเสียง,บุตร.

เรือนที่ 6   หนี้สิน,  โรค,  ความทุกข์โศก  ศัตรู.

เรือนที่ 7   ภรรยาสามี,  ไหวพริบ,  ความตาย.

เรือนที่ 8   อายุขัย,  ความสามารถทางใจ.

เรือนที่ 9   ศาสนา,  ครู,  บิดา,  การเดินทาง,  ศีลธรรม.

เรือนที่ 10 ธุรกิจ,  อาชีพ,  การงาน,  ความรู้ทางปรัชญา.

เรือนที่ 11 ผลได้,  ลาภ.

เรือนที่ 12 สูญเสีย,  หลุดพ้น.


ประเภทของเรือน เรือนที่ 4, 7  และ 10 เป็นเรือนเกณฑ์หรือเรือนมุม  หรือเรือนจตุรเกณฑ์  เรือนที่ 1, 5 และ 9 เป็นเรือนตรีโกณ  เรือนที่ 2, 8 และ 11 เป็นเรือนปันะปะระหรือเรือนให้เกิดผล  นอกจากนี้คือเรือนที่ 3, 6 และ 12 เป็นเรือนอะโปกลิมาส  หรือเรือนตกต่ำไม่อาจให้เกิดผลได้  ดาวเคราะห์ในเรือนมุมโดยทั่วไปมีกำลังอ่อนกว่าในเรือนมุม  เรือนอะโปกลิมาสกำลังอ่อนที่สุด  ในเรือนตรีโกณมีกำลังแรงดีมาก.

การก  ดาวเคราะห์หนึ่ง ๆ เป็นการกหรือให้ความหมาย  คืออาทิตย์เป็นการกของบิดา  จันทร์,  มารดา  อังคาร,  พี่น้องชาย  พุธ,  การอาชีพ  พฤหัสบดี,  บุตร  ศุภร,  ภรรยาหรือสามี,  เสาร์  อายุขัย,  ราหู  ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายมารดา,  เกตุ  ญาติฝ่ายบิดา.


นวางส์จักร แผนชะตาหรือราศีจักรสร้างหรือผูกขึ้นเพื่อความประสงค์ในการพยากรณ์ด้วยมีลัคน์เป็นหลักของความหมาย  เมื่อได้แผนชะตาแล้วต้องหาแผนนวางส์หรือนวางส์จักรต่อไป    แผนนวางส์หรือนวางจักรนี้เป็นส่วนสำคัญยิ่งส่วนหนึ่งในโหราศาสตร์ภารตะ  เป็นวัตถุที่ให้เกิดผลใหญ่ยิ่งในการพยากรณ์ดวงชะตา.

เมื่อแบ่งราศีหนึ่งออกเป็น 9 ส่วน ๆ หนึ่งจะได้ 3 องศา 20 ลิปดา  เรียกส่วนนั้น ๆ ว่านวางส์ทุกนวางมีเจ้านวางส์ครอง  นวางค์ทั้ง 9 นวางส์ในราศีเมษ  ราศีสิงห์  ราศีธนู  ครองหรือเป็นเจ้านวางส์โดยเจ้าราศีทั้ง 9 ราศีจากราศีเมษ  นวางส์ทั้ง 9 นวางส์ในราศีพฤษภ.  ราศีกันย์.  ราศีมกร.  ครองหรือเป็นเจ้านวางส์  โดยเจ้าราศีทั้ง 9 ราศีจากราศีมกร  นวางส์ทั้ง 9 นวางส์ในราศีมิถุน.  ราศีตุลย์,  ราศีกุมภ์,  ครองหรือเป็นเจ้านวางส์โดยเจ้าราศีทั้ง 9 ราศีจากราศีตุลย์  นวางส์ทั้ง 9 นวางส์ในราศีกรกฎ.  ราศีพฤศจิก,  ราศีมีน,  ครองหรือเป็นเจ้านวางส์  โดยเจ้าราศีทั้ง 9 จากราศีกรกฎ  ตัวอย่าง เช่น ถ้าดาวเคราะห์หนึ่งอยู่ในราศีตุลย์ได้ 20 อาศา 10 ลิปดา  (1200 ลิปดา)  นวางส์หนึ่ง 3 องศา 20 ลิปดา  (200 ลิปดา)  1210 ÷200  ได้ 6 เศษ  10  เท่ากับอยู่ในนวางส์ที่ 7 นวางส์ที่ 7 ของราศีตุลย์  ตกราศีเมษอังคารเป็นเจ้าราศี  ดังนั้นดาวเคราะห์นั้นเสวยสัตมนวางส์อังคาร  และสถิตอยู่ในราศีเมษในแผนนวางส์จักรในโหราศาสตร์ภารตะความสำคัญมากกว่าราศีจักรสามัญเสียอีก  ดังนั้นนักศึกษาจำต้องเข้าใจในการหานวางส์จักร.


ตารางนวางส์และเจ้านวางส์

ราศี              1           2           3           4            5            6           7            8             9

เมษ             อังคาร       ศุกร์        พุธ        จันทร์      อาทิตย์       พุธ         ศุกร์       อังคาร     พฤหัส

พฤษภ       เสาร์          เสาร์        พฤหัส  อังคาร     ศุกร์            พุธ         จันทร์    อาทิตย์    พุธ

มิถุน         ศุกร์           อังคาร     พฤหัส  เสาร์        เสาร์            พฤหัส   อังคาร   ศุกร์         พุธ

กรกฎ       จันทร์         อาทิตย์    พุธ       ศุกร์         อังคาร         พฤหัส   เสาร์      เสาร์        พฤหัสบดี

สิงห์         อังคาร        ศุกร์         พุธ       จันทร์      อาทิตย์        พุธ         ศุกร์      อังคาร     พฤหัสบดี

กันย์         เสาร์           เสาร์        พฤหัส  อังคาร     ศุกร์             พุธ         จันทร์   อาทิตย์    พุธ

ตุลย์         ศุกร์            อังคาร     พฤหัส  เสาร์        เสาร์            พฤหัส    อังคาร   ศุกร์        พุธ

ราศี              1           2           3           4            5            6           7            8             9

พฤศจิก       จันทร์     อาทิตย์       พุธ        ศุกร์      อังคาร      พฤหัส      เสาร์        เสาร์        พฤหัส

ธนู              อังคาร    ศุกร์           พุธ        จันทร์   อาทิตย์      พุธ           ศุกร์         อังคาร     พฤหัส

มกร            เสาร์       เสาร์          พฤหัส   อังคาร  ศุกร์           พุธ          จันทร์       อาทิตย์    พุธ

กุมภ์           ศุกร์        อังคาร       พฤหัส   เสาร์     เสาร์           พฤหัส    อังคาร      ศุกร์         พุธ

มีน             จันทร์     อาทิตย์      พุธ         ศุกร์     อังคาร         พฤหัส    เสาร์         เสาร์        พฤหัส


ราศีจักร                                                          นวางส์จักร

ราศีจักรและนวางส์จักรตัวอย่าง  ราศีจักรตัวอย่างอ่านดังนี้  ลัคน์สถิตในราศีตุลย์  อาทิตย์สถิตในเรือนที่ 1  พฤหัสสถิตในเรือนที่ 2 จันทร์  อังคาร  ราหู  สถิตในเรือนที่ 3 เสาร์สถิตในเรือนที่ 5 เกตุสถิตในเรือนที่ 9 พุธและศุกร์สถิตในเรือนที่ 12 อาทิตย์ และศุกร์เป็นนิจ  พุธเป็นอุจจ์  เสาร์อยู่ในเรือนของตัวเอง  (เป็นเกษตร)  อังคารพฤหัสบดีเรือนกัน  จะต้องศึกษาข้อไขของสิ่งกำหนดเหล่านี้ในบทต่อไป.