Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

บทที่ ๓

สถานะพละ

˜

สถานะพละ  ได้กล่าวมาแล้วในข้อ 10 เรื่องษัฑพละหรือ  6 ประการของกำลังสถานะพละหรือกำลังที่สถิตเป็นสิ่งแรกสถานะพละได้แก่ราศีที่ดาวเคราะห์สถิตหนึ่ง  ดาวเคราะห์นั้นตกในวรรคมิตร  กลาง  หรือศัตรูหนึ่ง  ดาวเคราะห์นั้นเป็นอุจจ์หรือเป็นนิจจ์หนึ่ง ฐานะทั้งหมดเหล่านี้  ให้บังเกิดผลแก่ที่สถิตหรือที่อยู่ของดาวเคราะห์สุดแท้แต่หน่วยของกำลังเหล่านั้น  กำลังของสถานะพละคือ  ( 1 )  อุจจ์พละ  ( 2 )  สัปฏวรรคพละ  ( 3 )  อุชายุคมราดิยางศพละ   ( 4 )  เกณฑ์พละ   ( 5 )  ทเรกกณะพละ.

19.  หน่วยปริมาณ  พลาของดาวเคราะห์มีปริมาณเป็นรุปะ 1 รุปะ มี 60 ษัษติอางศ์.

20.  อุจจ์พละ  อุจจ์พละคือกำลังของอุจจ์  ดาวเคราะห์ทุกดาวเคราะห์มีอุจจ์ภาค (จุดอุจจ์)  เมื่อดาวเคราะห์อยู่ในเขตอุจจ์ภาคดาวเคราะห์นั้นได้ 1 รุปะหรือ 60 ษัษติอางศของอุจจ์พละ  ถ้าอยู่ในเขตนิจจ์ภาค (ดูตกต่ำ)  ไม่ได้อุจจ์พละ  จากนิจจ์ภาคถึงอุจจ์ภาค  อุจจ์พละจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและพละนั้นจะถึงขีดสุดที่อุจจ์ภาค  จากจุดอุจจ์ถึงจุดนิจจ์พละนั้นจะลดลงจนถึงต่ำที่สุดที่นิจจ์ภาค.

เมื่อที่ ฆ.  ของดาวพระเคราะห์ถูกลดลงโดยจุดตกต่ำ  (นิจ)  ของดาวเคราะห์เป็นจำนวนมากกว่า 180  องศา  จะต้องเอาจำนวนนั้นลบจาก 360  องศา  และผลแตกต่างนั้นจะต้องหารด้วย 3 จะได้ผลลัพธ์เป็นอุจจ์พละของดาวเคราะห์เป็นรุปะหรือษัษติอางศ์ดังนี้ :


ตัวอย่าง  3 อุจจ์พละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง.

ดาวเคราะห์          ที ฆ.  ดาวเคราะห์        นิจภาค         ผลต่าง          อุจจ์พละเป็นษัษติอางศ์

อาทิตย์                       179°      8'     -    190°    =       10°    52'             10°  52'

____________  = 3.6 

3


จันทร์                          311°     40'     -    213°  =       98°    40'               98° 40'

_____________ =32.9

3


อังคาร                         229°     49'     -    118°  =     111°    49'               111° 49'

______________ =37.2

3


พุธ                               180°     33'     -    345°  =     164°    27'               164° 27'

_______________ =54.8

3


พฤหัสบดี                    53°     35'     -    275°     =     168°    35'                168° 35'

________________ = 56.2

3


ศุกร์                           170°       4'    -   177°     =         6°    56'                 6° 56'

________________ = 2.3

3


เสาร์                          124°      51'  -   20°       =      104°    51'                 104° 51'

________________ =34.9

3

(เศษทศนิยมเอาไว้เพียงตำแหน่งเดียว  ถ้าผลต่างกันมากกว่า  180°  ต้องเอาลบจาก  360  ได้เป็นผลแตกต่างสุทธิ)

๒๑.  ข้อสังเกตทั่วไป สำหรับการหามูลตรีโกณพละของดาวเคราะห์จะต้องหาธรรมชาติที่แน่นอนของสัมพันธ์ภาพระหว่างดาวเคราะห์ที่ต้องการและดาวเคราะห์อื่น ๆ และธรรมชาติของสัมพันธภาพที่มีอยู่ในระหว่างดาวเคราะห์และวรรค.

๒๒.  สัมพันธภาพ ดาวเคราะห์มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน  มีความสัมพันธ์กับวรรคแลมีความสัมพันธ์กับภวะ  ความสัมพันธ์ทั้ง 3 อย่างนี้  แต่ละอย่างมีความสำคัญในการเพิ่มกำลังของดาวเคราะห์และภวะหรือลดกำลังของดาวเคราะห์และภวะลง  ก่อนที่จะวิเคราะห์ดวงชะตาจะต้องรู้แลเข้าใจถึงความสัมพันธ์เหล่านี้โดยตลอด  และความสัมพันธ์นี้เป็นสิ่งที่ให้บังเกิดผลโดยตรงแก่การพิจารณาษัฑพละและทั้งอายรทัย  (ความมีอายุยืน)  ด้วย.

23.  ความสัมพันธ์ระหว่างดาวเคราะห์ ระหว่างดาวเคราะห์มีความสัมพันธ์เป็นมิตรเป็นศัตรูและเป็นกลางต่อกัน  ความสัมพันธ์มี 2 อย่าง  คือในสาระคิกะและตาตะกาลิกะ.

24.  ในสาระคิกะ ในสาระคิกะหมายความว่าถาวรหรือโดยธรรมชาติ  คือดาวเคราะห์เป็นมิตรหรือศัตรูแก่กันโดยธรรมชาติ  ในสาระคิกะสัมพันธ์นี้เป็นสัมพันธภาพคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง  รังสีของดาวเคราะห์หนึ่งจะแรงขึ้นโดยร่วมหรือสนับสนุนจากรังสีของอีกดาว  เคราะห์หนึ่งที่เป็นมิตร  แต่จะถูกขัดขวางหรือทำลายหรือทำให้กำลังของรังสีนั้นน้อยลงจากรังสีของดาวเคราะห์ที่เป็นศัตรู  ในสาระคิกะสัมพันธ์เป็นสัมพันธภาพถาวรไม่เปลี่ยนแปลงและเหมือนกันทั่วไปทุกดวงชะตา  เช่นที่ว่าศุกร์เป็นศัตรูของอาทิตย์  เป็นความหมายว่ามีการขัดขวางซึ่งกันและกันระหว่างรังษีของดาวเคราะห์ทั้ง 2  ต่อไปนี้เป็นสูตรสัมพันธ์ธรรมชาติของดาวเคราะห์.

ดาวเคราะห์                            มิตร                              กลาง                               ศัตรู

อาทิตย์                         จันทร์  อังคาร                             พุธ                             เสาร์  ศุกร์

พฤหัสบดี

จันทร์                           อาทิตย์ พุธ                            อังคาร  เสาร์                         ไม่มี

พฤหัสบดี  ศุกร์

อังคาร                           อาทิตย์  จันทร์                     เสาร์  ศุกร์                           พุธ

พฤหัสบดี

พุธ                               อาทิตย์  ศุกร์                       เสาร์  อังคาร                       จันทร์

พฤหัสบดี

พฤหัสบดี                       อาทิตย์  จันทร์                       เสาร์                           พุธ  ศุกร์

อังคาร

ศุกร์                              พุธ  เสาร์                        พฤหัสบดี   อังคาร                อาทิตย์  จันทร์

เสาร์                             ศุกร์  พุธ                          พฤหัสบดี                  อาทิตย์   จันทร์  อังคาร



2.5  ตาตะกาลิกะ ตาตะกาลิกะหมายความว่าชั่วคราว  ตาตะกาลิกาสัมพันธ์เป็นสัมพันธ์ภาพชั่วคราวสุดแท้แต่ที่สถิตของดาวเคราะห์เมื่อเวลาเกิด  ฉะนั้นตาตะกาลิกะสัมพันธ์นี้เปลี่ยนแปลงไปเฉพาะดาวชะตาหนึ่ง ๆ

ดาวเคราะห์ในเรือนที่  2  3  4  10  11   12   ของดาวเคราะห์ใดเป็นตาตะกาลิกะมิตร  (มิตรชั่วคราว)  ของดาวเคราะห์นั้น  นอกจากนี้เป็นตาตะกาลิกะศัตรู  (ศัตรูชั่วคราว)

ตัวอย่าง 4 : ตาตะกาลิกะสัมพันธ์ระหว่างดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในดวงชะตาตัวอย่าง :

ดาวเคราะห์                                             ตาตะกาลิกะมิตร                                              ตาตะกาลิกะศัตรู

อาทิตย์ พุธ     อังคาร   พฤหัสบดี                                    ศุกร์     จันทร์    เสาร์

จันทร์ อังคาร                                          อาทิตย์  พุธ  ศุกร์สาร์  พฤหัสบดี

อังคาร จันทร์        เสาร์      อาทิตย์                                 พฤหัสบดี      ศุกร์        พุธ

พุธ อังคาร       เสาร์     อาทิตย์                                   พฤหัสบดี   จันทร์ศุกร์

พฤหัสบดี เสาร์  อาทิตย์  ศุกร์                                          พุธ  อังคาร  จันทร์

ศุกร์ พุธ          อังคาร    พฤหัสบดี                                 อาทิตย์  จันทร์  เสาร์

เสาร์ อาทิตย์    ศุกร์        พุธ                                      จันทร์  อังคาร     พฤหัสบดี

26.  สัมพันธภาพผสม ดาวพระเคราะห์ที่เป็นมิตรชั่วคราวแก่กันถ้าเผอิญเป็นมิตรถาวรแก่กันอยู่แล้ว  ดาวเคราะห์ทั้ง 2 นี้จะเป็นอธิมิตรแก่กัน  (มิตรร่วมใจหรือมิตรใหญ่)  ดาวเคราะห์ที่เป็นมิตรชั่วคราวแก่กันถ้าเป็นศัตรูถาวรแก่กันมาก่อนจะมาเป็นสมะ  (กลาง)  แก่กันดาวเคราะห์ที่เป็นศัตรูชั่วคราวถ้าเป็นศัตรูถาวร  แล้วจะมาเป็นอธิศัตรู  (ศัตรูร้ายแรงหรือศัตรูใหญ่)  แก่กัน  ถ้าผสม สัมพันธภาพ 2 อย่างนั้นเข้าด้วยกันจะได้ผลเป็นสัมพันธ์ภาพผสมดังนี้ :

1.  ตาตะกาลิกะมิตร      +      ในสาระคิกะมิตร      =    อธิมิตร

(มิตรชั่วคราว)                     (มิตรถาวร)                 (มิตรใหญ่)

2.  ตาตะกาลิกะมิตร      +      ในสาระคิกะศัตรู      =    สมะ

(ศัตรูถาวร)                 (กลาง)

3.  ตาตะกาลิกะศัตรู      +      ในสาระคิกะสมะ     =    มิตร

(กลางถาวร)

4.  ตาตะกาลิกะศัตรู      +      ในสาระคิกะศัตรู      =    อธิศัตรู

(ศัตรูชั่วคราว)                                                        (ศัตรูร้ายแรง)

5.  ตาตะกาลิกะศัตรู      +      ในสาระคิกะมิตร      =    สมะ

6.  ตาตะกาลิกะศัตรู      +      ในสาระคิกะสมะ      =    ศัตรู

ดังนี้จะเห็นได้ว่าเมื่อได้ผสมสัมพันธ์ภาพของดาวเคราะห์แล้วได้  เป็นมิตร,  ศัตรู,  กลาง,  มิตรร่วมใจ,  ศัตรูร้ายแรง,  ต้องระมัดระวังในการสังเกตและพิจารณาเฉพาะดาวเคราะห์หนึ่ง ๆ ในความเปลี่ยนแปลงของเรื่องมิตรแลศัตรู.

ตัวอย่าง 5 : สัมพันธ์ภาพผสมของดาวเคราะห์ในดวงชะตาเช่น  อาทิตย์กับศุกร์  ศุกร์เป็นศัตรูถาวรของอาทิตย์ทั้งเป็นตาตะกาลิกะศัตรูด้วย  ดังนั้นศุกร์มาเป็นศัตรูร้ายแรงของอาทิตย์  เมื่อได้หาสัมพันธภาพผสมของดาวเคราะห์อื่น ๆ แล้ว ได้สัมพันธ์ภาพผสมของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่างดังนี้ :

ดาวเคราะห์               อธิมิตร                  มิตร                   สมะ                    ศัตรู                  อธิศัตรู

อาทิตย์                       พฤหัสบดี                พุธ                    จันทร์                    - -                     ศุกร์

อังคาร                     --                      เสาร์                    --                       --

จันทร์                        - -                         อังคาร              อาทิตย์             ศุกร์  เสาร์                  - -

--                            --                    พุธ                   พฤหัสบดี                  --

อังคาร                      อาทิตย์                   เสาร์                   พฤหัสบดี                 --                       --

จันทร์                     ศุกร์                  พุธ                          --                       --

พุธ                             อาทิตย์                   อังคาร                 - -                 พฤหัสบดี               จันทร์

ศุกร์                        เสาร์                   --                      --                       --

พฤหัสบดี                     อาทิตย์                   เสาร์                   อังคาร                  - -                  พุธ

--                            --                    ศุกร์    จันทร์          --                     --

ศุกร์                         พุธ   เสาร์               อังคาร                    - -                      - -                    จันทร์

--                      พฤหัสบดี                --                        --                     อาทิตย์

เสาร์                       ศุกร์   พุธ                พฤหัสบดี                    อาทิตย์                 - -                  จันทร์

--                           --                        อังคาร                   --                    ---


27.  ดาวเคราะห์และ (วรรค) วิธีพิจารณาหาเจ้าวรรคต่าง ๆ มีในโหราวิทยาเล่ม 3 ความสัมพันธ์ระหว่างดาวเคราะห์กับวรรคได้ดังนี้  เช่นในชะตาตัวอย่างจันทร์อยู่ในราศีกุมภ์  เจ้าราศีกุมภ์คือเสาร์ซึ่งเป็นศัตรูของจันทร์   นั่นคือจันทร์อยู่ในราศีของศัตรู  หรือจันทร์ครองราศีศัตรูเกษตร  หรือศัตรูวาระค์  หรือวาระค์ของศัตรู.

ดาวเคราะห์ที่ครองวรรคอยู่ในฐานะต่าง ๆ กันเช่น  ในศัตรูวรรค,  มิตรวรรค.  ถ้าครองวรรคของตัวเองเรียกว่าสวะวรรค  และโดยนัยนี้จะต้องหาให้ได้ความแน่ชัดว่าวรรคนั้นเป็นอธิศัตรูวรรคที่มิตรวรรค  หรือสมะวรรคด้วยหรือไม่  ทั้งนี้จะช่วยให้สามารถพิจารณาส่วนหนึ่งของสถานะพละคือสัปฏวรรคพละ.

ตัวอย่าง 6 : สัมพันธ์ภาพระหว่างดาวเคราะห์แล  (วรรค)  ในชะตาตัวอย่าง (เฉพาะสัปฏวาระค์)

ดาวเคราะห์          ราศี        โหรา        ตรียางศ        สัปฏางศ        นวางศ       ทวาทสางศ        ตฤมสางศ

อาทิตย์                มิตร         สวะ.         อ.ศัตรู             มิตร             มิตร                สวะ.              อ.มิตร

จันทร์                  ศัตรู          สมะ          สมะ               มิตร             ศัตรู                สมะ               ศัตรู

อังคาร                 สวะ          อ.มิตร       สมะ               สมะ             สมะ               สมะ                สวะ.

พุธ                     อ.มิตร       อ.มิตร       อ.มิตร            อ.มิตร          อ.มิตร            อ.มิตร             มิตร

พฤหัสบดี             อ.ศัตรู     สมะ        มิตร              สมะ               สมะ           สวะ.                  อ.ศัตรู

ศุกร์                   อ.มิตร     อ.ศัตรู     สวะ.             อ.ศัตรู            อ.ศัตรู        สวะ.                   อ.มิตร

เสาร์                   สมะ        สมะ       สมะ              สมะ               อ.มิตร        อ.มิตร                สมะ

(อ.มิตร = อธิมิตร    อ.ศัตรู = อธิศัตรู    สวะ. = สวะเกษตร)

28.  ดาวเคราะห์ครองวรรคของตัวเองมากกว่า 1 วรรค ถ้าดาวเคราะห์ใดได้ครองสวะวรรค (วรรคของตัวเอง)  มากว่า 1 ก็เป็นศุภผลมาก่อน  ผลนี้เป็นผลพิเศษที่ดาวเคราะห์นั้นได้มากขึ้นตามจำนวนสวะวรรคที่ดาวเคราะห์นั้นครอง  เรียกว่าอางศพิเศษดังนี้ :

ดาวเคราะห์ครองวรรคของตัวเอง                                                                 อางศพิเศษ

2    ครั้ง                                                 เป็น                                        ปะริชาตางศ

3    ครั้ง                                                 ,,                                            ประวะฐางศ

4    ครั้ง                                                 ,,                                            สิงหาสนางศ

5    ครั้ง                                                 ,,                                            สวรรคพลางศ

6    ครั้ง                                                 ,,                                            อินทรอางศ

7    ครั้ง                                                 ,,                                            ราชาปัทมางศ

8    ครั้ง                                                 ,,                                            โคปุรางศ

10  ครั้ง                                                 ,,                                           ไวษณวางศ

11  ครั้ง                                                ,,                                           ไศวะอางศ

12  ครั้ง                                                ,,                                           ไวเศษิกางศ

ตัวอย่าง 7 : อางศพิเศษในชะตาตัวอย่าง.

ดาวเคราะห์                                           จำนวนครองราศีของตัวเอง                        อางศ.

อาทิตย์                                                                 สอง                                     ปะริชาตางศ

อังคาร                                                                  สอง                                     ปะริชาตางศ

ศุกร์                                                                      สอง                                     ปะริชาตางศ

ดาวเคราะห์อื่น ๆ ครองสวะวาระค์เดียว  ดังนั้นไม่ได้อางศพิเศษ.

2.9  ดาวเคราะห์และเรือน ถ้าจุดศูนย์กลางของเรือน  (ภวะมัธย)  ได้ตกในราศีไหนดาวเคราะห์เจ้าราศิ่นั้นเป็นเจ้าเรือนนั้นด้วยเรียกว่าภวะธิปติย์  ภวะธิปติย์เป็นส่วนสำคัญมากในการให้กำลังแก่เรือน.

ตัวอย่าง 8 : สัมพันธภาพต่าง ๆ ระหว่างเรือนและดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง :

ภวะ  (เรือน)                         ทีฆ. ของภวะมัธย                             ราศี                             อธิปติย์

1.    ตนุ                                   294°  57'    00"                              มกร                             เสาร์

2.    ธนะ                                 328°  26'    20"                              กุมภ์                            เสาร์

3.    ภราตรุ                                 1°  36'    40"                               เมษ                             อังคาร

4.    มาตรุ                                  34°  55'    00"                              พฤษภ                         ศุกร์

5.    ปุตระ                                 61°  35'    40"                              มิถุน                            พุธ

6.    ตนุ                                     88°  16'    20"                              มิถุน                            พุธ

7.    กัลตระ                             114°  57'    00"                              กรกฏ                          จันทร์

8.    อายุร                                 148°  16'   20"                              สิงห์                            อาทิตย์

9.     ภาคะยะ                           181°  35'    40"                              ดุลย์                            ศุกร์

10.  กรรม                                214°  55'    00"                              พฤศจิก                       อังคาร

11.  ลาภะ                                241°  35'    40"                              ธนู                              พฤหัสบดี

12.  วรัยะ                                268°  16'    20"                              ธนู                              พฤหัสบดี

จะเห็นได้จากข้างบนนี้ว่าบางที่เรือน 2 เรือนรวมอยู่ในราศีเดียวกัน  เป็นผลให้ดาวเคราะห์เดียวกันเป็นเจ้าเรือน 2 เรือนแต่สิ่งนี้ไม่เป็นไปเสมอในสถานที่ ๆ ใกล้เส้นศูนย์สูตร.

30.  สับปฏวรรคพละ ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่ดาวเคราะห์ได้ปริมาณของกำลังจากการที่ดาวเคราะห์ครองวาระค์ต่าง ๆ ความจริงสถานะพละคำนวณจากการพิจารณาสัมพันธภาพระหว่างดาวเคราะห์ที่เข้าอยู่ในราศีกับเจ้าราศี  ดาวเคราะห์อาจครองสวะวรรค,  มิตรวรรค,  ศัตรูวรรค,  สมะวรรค  หรือครองตำแหน่งพิเศษของมูลตรีโกณ.

ดาวเคราะห์ในมูลตรีโกณของตนเองมีค่า 45 ษัษติอางศ  ในสวะวรรค  30  ษัษติอางศ  ในอธิมิตรวรรค  22.5  ษัษติอางศ  ในมิตรวรรค 15 ษัษติอางศ  ในสมะวรรค  7.5  ในศัตรูวรรค  3.75  ษัษติอางศ  และในอธิศัตรูวรรค  1.875  ษัษติอางศ

จะต้องจำไว้ว่าดาวเคราะห์ที่อยู่ในราศีมูลตรีโกณของตัวเองเท่านั้นที่ได้  45  ษัษติอางศ และไม่ได้เมื่อครอง 6 วรรคอื่น ๆ (เว้นแต่ราศี)  สมมุติว่าพุธอยู่ราศีกันย์ทั้งในราศีจักรแลนวางศจักรน  พุธได้ 45 ษัษติอางศ  สำหรับในราศีเท่านั้นในเรื่องอื่น ๆ ไมได้.

เช่นดาวเคราะห์หนึ่ง  เมื่อได้ตรวจดูความสัมพันธ์กับเจ้าวรรค  แล้วปรากฏว่าดาวเคราะห์นั้นครองมูลตรีโกณในราศีจักร  ดาวเคราะห์นั้นมีค่า  45  ษัษติอางศ  ต่อไปตรวจดูดาวเคราะห์อื่น ๆ ทุกดาวเคราะห์  แล้วกำหนดค่าของแต่ละดาวเคราะห์ให้ตรงตามสัมพันธภาพที่ให้ผลแก่ดาวเคราะห์  แล้วบวกค่าทั้งหมดนี้เจ้าด้วยกัน  จะได้มูลตรีโกณทิพละของดาวเคราะห์ที่ต้องการ  เพื่อความสะดวกในการคำนวณต้องทำตาราง  รายละเอียดสัมพันธภาพระหว่างดาวเคราะห์และวรรค

ตัวอย่าง 9 : สัปฏวรรคพละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง  เช่นอาทิตย์จะรู้ได้จากตัวอย่าง 6ว่าอาทิตย์ครองมิตรวรรคในราศีได้ 15 ษัษติอางศ  สวะวรรคในโหราได้  30  ษัษติอางศ  อธิศัตรูใน  ตรียางศได้  1.875  มิตรวรรคในสัปฏางศได้ 15 ษัษติอางศ  มิตรวรรคในนวางศได้  15  ษัษติอางศ.

เมื่อรวมค่าทั้งหมดนี้เข้าด้วยกันได้มูลตรีโกณ  (สัปฏวรรค)  ทิพละของอาทิตย์ 1290375 รุปะ  ดาวเคราะห์อื่นก็หาเหมือนกันได้ดังนี้ :

ดาว ตรี-           สัป-                                ทวา-         ตฤม-     มูลตรีโกณ

เคราะห์         ราศี         โหรา         ยางศ         ฎางศ         นวางศ         ทสางศ         สางศ        ทิพละ

อาทิตย์       15.000     30.000        1.875       15.000        15.000          30.000        22.500    129.375

จันทร์           3.750       7.500        7.500       15.000         3.750             7.500          3.750      47.750

อังคาร        30.000     22.500        7.500       75.000         7.500             7.500        30.000     112.500

พุธ              22.500     22.500      22.500       22.500        22.500         22.500        15.000    150.000

พฤหัสบดี     1.758       7.500      15.000         7.500          7.500         30.000           1.875      71.250

ศุกร์            22.500       1.875      30.000         1.875          1.775         30.000        22.500     110.625

เสาร์             7.500       7.500        7.500         7.500         22.500        22.500          7.500       82.500

31.  อุชะยุคมะราศียางศพละ อุชะยุคมะราศยางศพละเป็นกำลังที่ดาวเคราะห์ได้จากการครองราศีและนวางศคู่  (ยุคมะ)  หรือคี่  (อุชะ)  ดาวเคราะห์บางดาวเคราะห์ได้กำลังจากการครองราศีคี่  (อุชะราศี)  หรือ  นวางศคี่  (อุชะนวางศ)  บางดาวเคราะห์มีกำลังโดยครองราศีคู่  (ยุคมะราศี)  หรือนวางศคู่  (ยุคมะนวางศ)  ดาวเคราะห์ซึ่งได้กำลังโดยอยู่ในราศีคี่หรือนวางศคี่และอยู่ในราศีคู่หรือนวางศคู่กำหนดค่าเป็นหน่วยของกำลัง.

จันทร์และศุกร์เมื่ออยู่ในราศีคู่หรือในนวางศที่เจ้านวางศเป็นเจ้าราศีคู่  ได้กำลัง 15 ษัษติอางศ  อาทิตย์,  อังคาร,  พฤหัสบดี,  พุธ  และเสาร์  เมื่ออยู่ในราศีคี่หรือในนวางศที่เจ้านวางศเป็นเจ้าราศีคี่ได้กำลัง 15 ษัษติอางศเท่ากัน  เช่นจันทร์อยู่ในราศีคู่และครองนวางศ์คู่จันทร์ได้กำลัง 15+15 เท่ากับ 30 ษัษติอางศเช่นนี้  จึงเรียกว่าอุชะยุคมะราศียางศพละหรือยุคมะยุคมาพละ.

ตัวอย่าง 10 : กำลังอุชะยุคมะราศียางศของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง  อาทิตย์อยู่ในราศีกันย์เป็นราศีคู่และในนวางศท 9 ของราศีกันย์ซึ่งเป็นราศีคู่นั้นเอง  ดังนั้นไม่มีอุชะพละและยุคมะพละ  ดังนี้ได้ดาวเคราะห์อื่นต่อไป.

ดาวเคราะห์               ราศี            นวางศ            ราศีพละ            นวางศพละ            ยุคมะยุคมาพละ

อาทิตย์                        คู่                  คู่                    0.0                        0.0                             0.0

จันทร์                          คี่                  คู่                    0.0                      15.0                           15.0

อังคาร                         คู่                  คี่                    0.0                      15.0                           15.0

พุธ                              คี่                  คี่                  15.0                      15.0                            30.0

ดาวเคราะห์               ราศี            นวางศ            ราศีพละ            นวางศพละ            ยุคมะยุคมาพละ

พฤหัสบดี                    คี่                  คู่                   15.0                      0.0                            15.0

ศุกร์                             คู่                  คู่                   15.0                    15.0                            30.0

เสาร์                            คี่                  คู่                    15.0                      0.0                            15.0

3.2  เกณฑ์พละ ดาวเคราะห์ในเรือนเกณฑ์  (ในราศี)  ได้กำลัง 60 ษัษติอางศ  ในเรือนปันะปะระได้ 30 ษัษติอางศ  ในเรือนอโปกลิมาสได้ 15 ษัษติอางศ  ทั้งนี้ได้จากราศีวาระค์เท่านั้น.

3.3  เกณฑ์ เกณฑ์ที่นี้คือจัตุรเกณฑ์ได้แก่ราศีที่ 1  ที่ 4   ที่ 7  และที่ 10  ในเรื่องเกณฑ์นี้มีความเห็นแตกต่างกัน  บางท่านถือเอาทางราศี  บางท่านถือเอาทางภวะ  (เรือน)  อาจาริยะประสาราถือเอาทางราศี  แต่ในคัมภีร์คศีปติและคัมภีร์โหรารัตนถือเอาทางเรือน  แต่จากการสังเกตปรากฏการณ์ที่นี้ให้ถือเอาทางราศีในการหาเกณฑ์.

34.  ปันะปะระ ปันะปะระเป็นราศีที่ต่อจากเกณฑ์คือราศีที่ 2,  ที่ 5,  ที่ 8  และที่ 11.

35.  อโปกลิมาส อโปกลิมาสเป็นราศีต่อจากปันะปะระคือราศีที่ 3,  ที่ 6,  ที่ 9,  ที่ 12.

ตัวอย่าง 11 : เกณฑ์พละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง.

ดาวเคราะห์                        เกณฑ์หรือปันะปะระ                             เกณฑ์ พละ

หรืออโปกะลิมาส

อาทิตย์                                     อโปกะลิมาส                                       15.000

จันทร์                                       ปันะปะระ                                           30.000

อังคาร                                      ปันะปะระ                                           30.000

พุธ                                            เกณฑ์                                             60.000

พฤหัสบดี                                อโปกะลิมาส                                         15.000

ศุกร์                                         อโปกะลิมาส                                       15.000

เสาร์                                        ปันะปะระ                                             30.000

3.6  ทเรกกณะพละ ทเรจกณะพละหรือตรียางศพละแยกดาวเคราะห์ออกเป็นบุรุษเพศหรือสตรีเพศหรือนปุงสกะ  (กะเทย)  ดาวเคราะห์บุรุษเพศในปฐมตรียางศได้ทเรกกณะพละ 15 ษัษติอางศ  ดาวเคราะห์กะเทยในทุติยตรียางศได้เท่ากัน  ดาวเคราะห์สตรีเพศในตติยะตรียางศได้เท่ากัน.

3.7  ดาวเคราะห์บุรุษเพศ อาทิตย์,  พฤหัสบดี,  อังคาร.

3.8  ดาวเคราะห์กะเทย เสาร์,  พุธ.

3.9  ดาวเคราะห์สตรีเพศ จันทร์,  ศุกร์.

ตัวอย่าง  12 : ทเรกกณะพละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง.

ดาวเคราะห์                     เพศ                       ตรียางศ                         ทเรกกณะพละหรือตรียางศพละ

อาทิตย์                            บุรุษ                         ตติยะ                                                0.0

จันทร์                              สตรี                         ทุติยะ                                                0.0

อังคาร                             บุรุษ                         ทุติยะ                                                0.0

พุธ                                 กะเทย                        ปฐม                                                 0.0

พฤหัสบดี                        บุรุษ                        ตติยะ                                                 0.0

ศุกร์                                 สตรี                        ตติยะ                                               15.0

เสาร์                               กะเทย                       ปฐม                                                 0.0

40. ผลรวมของสถานะพละ ค่าของอนุภาคทั้ง 5 ที่ได้มาแล้วรวมเข้าด้วยกันได้เป็นผลรวมของสถานะพละของดาวเคราะห์.

ตัวอย่าง 13 : ผลรวมของสถานะพละของดาวเคราะห์ในชะตาตัวอย่าง.

อาทิตย์                   จันทร์        อังคาร       พุธ       พฤหัสบดี        ศุกร์            เสาร์

อุจจ์พละ             2.600        32.900       32.200     54.700      56.200        2.300     34.900

สัปฎวรรคพละ      129.375       47.750     112.500   150.000    71.250     110.625   72.500

อุชะยุคมะ-

ราศียางศพล             - -           15.000       15.000     30.000    15.000       30.000   15.000

เกณฑ์พละ            15.000       30.000       30.000     60.000    15.000       15.000   30.000

ตรียางศพละ          - -               - -               - -            - -           - -           15.000       - -

ผลรวมสถานะพละ       147.975     126.650     194.700   294.700  157.450     172.925 162.400

หมายเหตุ : คะว่า  ‘วารค์’  กับ  ‘วรรค’  มีความหมายเหมือนกัน  ฉะนั้นในบางแห่งจึงมีทั้ง  วารค์  และ  วรรค.