Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

บทที่ 2

กำหนดผลของดาวเคราะห์ต่อเรือนชะตา

˜

1.2  กำลังจากที่สถิต ดาวเคราะห์อยู่ในเรือนต่าง ๆ ของดาวชตานั้น  บางดาวเคราะห์ก้อยู่ใกล้ศูนย์กลลางของเรือน  บางดาวเคราะห์ก็อยู่ในภาคต้นหรือภาคปลายของเรือนอจุดเริ่มต้น, จุดศูนย์กลาง, จุดสุดท้ายของเรือน  เมื่อดาวเคราะห์อยู่ในภาคต่าง ๆ ของร้อนชะตาย่อมให้ผลไม่เหมือนกัน  ผลที่ได้จากดาวเคราะห์นั้นสุดแท้แต่ที่สถิตของดาวเคราะห์สถิตในภาคไหนของเรือน  หมายความว่าดาวเคราะห์จะให้ผลมากหรือน้อยแรงหรืออ่อนอย่างไรนั้น  สุดแท้แต่ภาคของเรือนที่ดาวเคราะห์สถิติที่เรียกว่าพละ  (กำลังจากทีสถิตของดาวเคราะห์)

1.3  ดาวเคราะห์ในภวะสนธิ ภวะสนธิเป็นที่หมายการเริ่มต้นของเรือนหนึ่งและในที่สิ้นสุดของอีกเรือนหนึ่ง  คือจุดที่เรือนชะตาต่อกัน  ถ้าดาวเคราะห์อยู่ในภวะสนธิดาวเคราะห์นั้นปราศจากกำลังทั้งมวลและผลที่ให้นั้นก็ไม่มีอะไรเลย.

1.4  ดาวเคราะห์ในภวะมัธย อิทธิพลของภวะเริ่มต้นที่อารัมภะสนธิ (จุดเริ่มต้นดูข้อ 85 ในโหราวิทยาเล่ม 3 ดาราโหรศาสตร์สังเขป)  แล้วเพิ่มขึ้นทีละเล็กละน้อยจนถึงจุดสูงสุดในภวะมัธย  (จุดศูนย์กลาง)  แล้วอิทธิพลของภาวะก็เริ่มลดลงทีละเล็กน้อยจนหมดสิ้นทีวิรามสนธิ (จุดสุดท้าย)  ถ้าดาวเคราะห์สถิตอยู่นะระหว่างภวะมัธย และวิรามสนธิจะอิทธิพลของเรือนที่เป็นกำลังให้ดาวเคราะห์สามารถอำนวยผลได้จากกฎของบัญญัติไตรยางศ์  ดาวเคราะห์ที่สถิตอยู่ที่จุดสนธิ  (จุดร่วมระหว่างเรือน 2 เรือนคือจุดที่เรือนชะตาต่อกัน)  ไม่อาจให้ผลอะไรได้เลย  แต่ดาวเคราะห์อยู่จะให้ผลได้เต็มที่เมื่อสถิตอยู่ในภวะมัธย.

15.  วิธีหาเขตของอิทธิพล การกำหนดเขตแน่นอนของผลที่ได้จากดาวเคราะห์นภาวะหนึ่งนั้น  ที่แรกให้หาระยะของบูรพาภาค  (ครึ่งแรก)  และอุตตะภาค  (ครึ่งหลัง)  ของเรือน  (ดูข้อ 86  ในโหราวิทยาเล่ม 3)  แล้วหาดูว่าดาวเคราะห์อยู่ในบูรพาภาคหรืออุตตระภาค.

16.  เรขาของกำลังจากทีสถิต ถ้าดาวเคราะห์อยู่ในบูรพาภาค (ครึ่งแรก) หาระยะระหว่างดาวเคราะห์แลอารัมภะสนธิ  (จุดเริ่มต้น)  ของเรือน  โดยเอาทีฆ.  ของอารัมภะสนธิไปลงทีฆ.  ของดาวเคราะห์  ถ้าดาวเคราะห์อยู่ในอุตตระภาค  (ครึ่งหลัง)  หาระยะระหว่างวิรามะสนธิ  (จุดสุดท้าย)  และดาวเคราะห์  โดยเอาทีฆ.  ของดาวเคราะห์ไปลบทีฆ.  ของวิรามะสนธิ  ผลลัพธ์เป็นเรขาของกำลังที่สถิต  หารเรขานี้ด้วยระยะของบูรพาภาคหรืออุตตระภาคของเรือนสุดแท้แต่ดาวเคราะห์อยู่ในภาคไหนได้ผลเป็นกำลัพธ์ลังจากที่สถิตของดาวเคราะห์  ข้อความทั้งนี้รวมความได้ดังนี้ :

ถ้าดาวเคราะห์อยู่ในบูรพาภาคของเรือน.

ก.  ทีฆ.  ดาวเคราะห์ – ทีฆ.  ของอารัมภะสนธิ = เรขาของกำลังทีสถิต.

ข.  เรขา ของ กำลังทีสถิต ÷ บูรพาภาคของเรือน = กำลังจากทีสถิตของดาวเคราะห์.

ถ้าดาวเคราะห์อยู่ในอุตตระภาคของเรือน.

ก.  ทีฆ.ของวิรามะสนธ – ทีฆ.ของกำลังทิ่สถิต.

ข.  เรขาของกำลังที่สถิต ÷ อุตตระภาคเรือน = กำลังจากทีสถิตของดาวเคราะห์.

ตัวอย่าง 1 : หาเรขาของกำลังที่สถิตและกำลังจากทีสถิตของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในชะตาตัวอย่าง.

ดาวเคราะห์                          เรือนที                   บูรพาภาคหรืออุตตระภาค.

อาทิตย์                                   9                                 บูรพาภาค

จันทร์                                     2                                 บูรพาภาค

อังคาร                                    1                                 บูรพาภาค

พุธ                                         9                                 บูรพาภาค

พฤหัสบดี                                6                                  บูรพาภาค

ศุกร์                                       9                                  บูรพาภาค

เสาร์                                      7                                  อุตตระภาค

ราหู                                      11                                  บูรพาภาค

เกตุ                                      5                                   บูรพาภาค

เรขาของกำลังที่สถิตของดาวเคราะห์ในบูรพาภาค

ดาวเคราะห์           ทีฆ.ดาวเคราะห์          ทีฆ.อารัมภะสนธิ           เรขาของกำลังทีสถิต

อาทิตย์                  179°        8'     0"     -   164°     56'       0"     =    14°        12'         0"(ของเรือนที่ 9)

จันทร์                    311°     40'     0"     -    311°     36'      40"    =      0°          3'       20"(ของเรือนที่ 2)

อังคาร                   229°     49'     0"     -    228°     15'      20"    =       1°        33'     40"(ของเรือนที่ 11)

พุธ                         180°     33'     0"     -    164°      56'       0"    =      15°       37'       0"(ของเรือนที่ 6)

พฤหัสบดี              83°       35'     0"     -     164°     56'       0"    =        8°       39'       0"(ของเรือนที่ 6)

ศุกร์                       170°       4'     0"     -     164°     56'       0"    =        5°         8'       0"(ของเรือนที่ 9)

ราหู                       223°     23'     0"     -     228°    15'      20"    =       5°          7'        40"(ของเรือนที่ 11)

เกตุ                        53°      23'      0"     -      48°    15'       20"    =       5°        7'         40"(ของเรือนที่ 5)

เลขาของกำลังทีสถิตของดาวเคราะห์ในอุตตระภาค.

ดาวเคราะห์ ทีฆ.วิรามะสนธิ  ทีฆ. ดาวเคราะห์   เรขาของกำลังทีสถิต.

เสาร์                      131°   36'     45"     -    124°    51'        0"    =       6°        45'         40"(ของเรือนที่ 7)

ตัวอย่าง 2 : หากำลังจากทีสถิตในชะตาตัวอย่าง.


 

บูรพาถ้าดาวเคราะห์อยู่ในบูรพาภาค  อุตตระถ้าดาวเคราะห์อยู่ในอุตตระภาค.

อาทิตย์            14°     12'       00"   ÷  16°      39'       40"    =   0.85                   หน่วย

จันทร์               0°       3'        20"   ÷  16°      39'       40"    =   0.004                    ,,

อังคาร              1°     33'        40"   ÷  13°      20'       20"    =   0.12                     ,,

พุธ                  15°     37'          0"   ÷  16°      39'       40"    =   0.94                    ,,

พฤหัสบดี           8°     39'          0"   ÷  13°      20'       20"    =   0.64                     ,,

ศุกร์                  5°       8'          0"   ÷  16°      39'       40"    =   0.31                    ,,

ราหู                  5°       7'        40"   ÷  13°      20'       20"    =   0.39                     ,,

เกตุ                  5°       7'        40"   ÷  13°      20'       20"    =   0.39                     ,,

เสาร์                6°     45'        40"   ÷  16°      79'       40"    =   0.40                      ,,

การใช้กำลังจากทีสถิตของดาวเคราะห์  กำลังจากทีสถิตของดาวเคราะห์นี้ให้สามารถวินิจฉัยปริมาณที่แน่นอนของผลที่ดาวเคราะห์ในเรือนชะตาอำนวยให้  ซึ่งผลนั้นจะแสดงให้เห็นในทศาของดาวเคราะห์นั้น ๆ   จุดประสงค์และประโยชน์ต่าง ๆ ของเรื่องนี้จะมีอธิบายต่อไปเช่นในชะตาตัวอย่างพฤหัสบดีให้ผล 0.64 หน่วยในจำนวนผลของเรือนที่ 6 และผลนี้จะเป็นผลระหว่างมหาทศาหรือนหุทศาของพฤหัสบดี  นี้เป็นเพียงหลักทั่ว ๆ ไปเพื่อเป็นที่ยึดถือสำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในทางของความสำคัญอย่างอื่น  ๆ  เช่นกำลังแรงหรืออ่อนที่ดาวเคราะห์เป็นเกณฑ์แก่เรือน  กลังของเรือนเอง  และสถิตที่ของดาวเคราะห์ในราศีหนึ่ง ๆ โยค, การก  และส่วนปลีกย่อยอื่น ๆ .