Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ษัฑพละ : กำลังของดาว

ในโหราศาตร์แบบอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคคอมพิวเตอร์นี้ มีวิธีหาตำแหน่งดาวและเรือนได้อย่างรวดเร็วทันใจ มากมาย หนึ่งในนั้นที่จะกล่าวถึงคือ ษัฑพละ คือการหากำลังของดาวเคราะห์ 6 ประการ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ค่ากำลังของดาวแต่ละดวง ยิ่งดาวไหนได้กำลังมาก ดาวนั้นก็จะยิ่งมีพลังมาก

สิ่งที่สำคัญในการหาค่ากำลังดาวแบบษัฑพละ คือคุณต้องรู้ระบบวิธีการคำนวณดังต่อไปนี้ ซึ่งคุณเองก็อาจเพิ่มเติมความคิดเห็นของคุณเองในการวัดค่านี้ได้

สิ่งที่สำคัญในการหาค่ากำลังดาวแบบษัฑพละ คือคุณต้องรู้ระบบวิธีการคำนวณดังต่อไปนี้ ซึ่งคุณเองก็อาจเพิ่มเติมความคิดเห็นของคุณเองในการวัดค่านี้ได้

ปกติการคำนวนกำลังของดาวเคราะห์แบบนี้ โหรไทยมักจะไม่ค่อยได้ใช้กัน จะใช้กันมากในหมู่โหรภารตะ เพื่อในการคำนวนดวงชาตาและตัดสินใจได้ว่าดาวดวงไหนให้กำลังแบบไหน เป็นคุณหรือเป็นแก่ดวงชาตาดวงนั้นๆ เป็นเฉพาะชาตาๆไป

1. สถานะพละ (STHANA BALA)

อันนี้ก็คือสถานที่ๆดาวเคราะห์นั้นสถิตย์นั่นเอง เราจะเริ่มจากการคำนวณหาษัฑพละของดาวดวงหนึ่ง ซึ่งก็คือตำแน่งความเข้มแข็งของดาวดวงนั้นๆ ษัฑพละจะประกอบด้วยส่วนประกอบ ห้าส่วนดังนี้ :

  1. ส่วนที่หนึ่งเรียกว่า อุจะพละ (อุจน์) การให้หน่วยกำลังจะพิจารณาจากองศาของดาว
  • เมื่อเริ่มเรียน โหราศาสตร์แห่งพระเวท (Vedic Astrology) คุณจะรู้ว่าดาวแต่ละดวงจะจุดปรมอุจน์ ที่องศาที่ 3 ราศีพฤษภ เมื่อดาวดวงนั้นได้ตำแหน่งที่องศาพอดี ดาวดวงนั้นจะได้กำลัง 60 ษัทฎิอัมศะ
  • แต่ถ้าดาวดวงนั้นครองตำแหน่งตรงกันข้ามกับที่กำหนดไว้ ดาวดวงนั้นจะไม่มีหน่วยกำลังเลย
  • และแน่นอนว่าส่วนใหญ่แล้วดวงดาวอาจจะครองตำแหน่งคาบเกี่ยวในระหว่างจุดต่างๆเหล่านี้ ในกรณีที่คาบเกี่ยวนี้เราจะคำนวณกำลังตามตำแหน่งที่กำหนดและตำแหน่งที่ดวงดาวครองอยู่ เรียกว่าจุดปรมอุจน์ตัวอย่างเช่น ดวงจันทร์ที่ 3 องศาในราศีพิจิก จะได้รับ 0 ษัทฎิอัมศะ   ดวงจันทร์ที่ 3 องศาในราศีสิงห์จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ นี่คือตำแหน่งกึ่งกลางระหว่าง 3 องศาราศีพิจิกและ3 องศาราศีพฤกษภพอดิบพอดี).
    • ราศี  จักรวาลแบ่งเป็น 12 ส่วน ส่วนละ 30 องศา
    • โหรา  โดยการแบ่งราศีเป็น 2 ส่วนๆละ 15 องศา
    • ทเรกกณะ  [ตรียางค์]  โดยการแบ่งราศีเป็น 3 ส่วนๆละ 10 องศา
    • สัปตางศะ โดยการแบ่งราศีเป็น 7 ส่วน
    • นวางค์ โดยการแบ่งราศีเป็น 9 ส่วน
    • ทวาทศางศะ โดยการแบ่งราศีเป็น 12 ส่วน
    • ตริมฺศางศะ โดยการแบ่งราศีเป็น 30 ส่วน
  • ถ้าดาวนั้นในอยู่ในราศีที่เป็นมูลตรีโกณของตัวเองจะได้ 45 ษัทฎิอัมศะ (นี่เป็นกฎพิเศษสำหรับการเทียบราศีเท่านั้น)
  • ถ้าดาวนั้นๆอยู่ในเรือนของตัวเอง (ไม่ว่าวรรคไหน) ก็ได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
  • ถ้าดาวนั้นอยู่ในราศีคู่มิตรใหญ่จะได้รับ 22.5 ษัทฎิอัมศะ
  • หากอยู่ในราศีคู่มิตรจะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
  • หากอยู่ในราศีที่เป็นกลางจะได้รับ 7.5 ษัทฎิอัมศะ
  • หากอยู่ในราศีคู่ศัตรูจะได้รับ 3.75 ษัทฎิอัมศะ
  • หากอยู่ในราศีอภิศัตรู/คู่ศัตรูใหญ่จะได้รับ 1.875 ษัทฎิอัมศะ (เรื่องคู่มิตร-ศัตรูได้อธิบายไว้แล้วในบทความก่อนนี้)
  1. ส่วนที่สองเรียกว่า สัปตวรรคพละ  การคำนวณหากำลังส่วนนี้เราต้องพิจารณาจากความสมดุลของความสัมพันธ์เจ็ดอย่างในวรรคทั้ง 7 คือ

ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ ษัฑพละ เพราะ สัปตวรรคพละเป็นส่วนที่จะให้ค่าหน่วยกำลังได้มากที่สุด

  1. อุชะยุคมะพละ การให้หน่วยกำลังในส่วนนี้คำนึงถึงตำแหน่งว่าอยู่ในนวางค์และ ราศี ว่าเป็นคู่หรือคี่
  • พระจันทร์และดาวศุกร์จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ เมื่อเสวยนวางค์คู่ หรือ อยู่ในราศีคู่
  • นอกจากนี้หากดาวทั้งสองอยู่ทั้งราศีคู่และนวางค์คู่ จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ

เหตุผลในการให้คะแนนพิเศษนี้เพราะดาวทั้งสองเป็นเพศหญิง ย่อมแข็งแกร่งเมือได้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นหญิง (คู่) ไม่ว่าจะในราศีหรือนวางค์

  • พระอาทิตย์ , ดาวอังคาร, ดาวพุธ ,ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ เมื่อเสวยนวางค์คี่ หรือ อยู่ในราศีคี่
  • นอกจากนี้หากดาวทั้งสองอยู่ทั้งราศีคี่และเสวยนวางค์คี่ จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ

ดาวเหล่านี้เป็นมีทั้งที่เป็นเพศชายและเป็นกลาง ซึ่งจะเข้มแข็งในราศีคี่

  1. เกณฑ์ พละการให้หน่วยกำลังในส่วนนี้พิจารณาจาก เรือนเกณฑ์ (1, 4, 7, 10 )หรือนับจากเรือนจากลัคนาเกิด
  • ดาวใดๆก็ตามที่อยู่ในเกณฑ์ 1,4,7 และ 10 จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
  • ดาวใดๆก็ตามที่อยู่ในเกณฑ์ 2,5,8 หรือ 11 จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
  • ดาวใดๆก็ตามที่อยู่ในเกณฑ์ 3,6,9 หรือ 12 จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ

เหตุผลในการให้คะแนนคือดาวเหล่านี้อยู่ในเรือนเกณฑ์ ซึ่งสามารถแสดงกำลังได้สะดวก

  1. ทเรกกณะ การให้หน่วยกำลังในส่วนนี้พิจารณาจากเพศของดาว
    • ดาวเพศชายคือ  พระอาทิตย์ , ดาวอังคาร และดาวพฤหัส
    • ดาวเพศกลางคือ ดาวพุธ และดาวเสาร์
    • ดาวเพศหญิงคือ พระจันทร์และดาวศุกร์
  • ถ้าดาวเพศชายอยู่ใน ปฐมตรียางค์ (0-10 องศาของราศีใดๆก็ตาม) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
  • ถ้าดาวเพศกลางอยู่ใน ทุติยะตรียางค์ (10-20องศา ของราศีใดๆก็ตาม) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
  • ถ้าดาวเพศหญิงอยู่ใน ตติยะตรียางค์ (20-30องศา ของราศีใดๆก็ตาม) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ

เหตุผลในการให้คะแนนคือ ปฐมตรียางค์ ของแต่ละราศีเป็นองศาที่ให้คุณกับดาวเพศชาย ทุติยะตรียางค์ ให้คุณกับดาวเพศกลาง ส่วน ตติยะตรียางค์ ให้คุณกับดาวเพศหญิง

2. ทีคะพละ – ทิศ (DIG BALA)

หลักสำคัญในการนับคะแนนนี้ใกล้เคียงกับ โอชะพละ เพียงแต่หลักการพิจารณาไม่ได้ใช้ตำแหน่งของดาวในราศีต่างๆแต่ใช้เรือนเป็นเกณฑ์พิจารณาแทน

ดาวแต่ละดวงจะมีกำลังเมื่ออยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง ทีคะพละ หมายถึงการได้กำลังโดยตรงจากทิศที่สถิตย์

  • พระอาทิตย์และดาวอังคารจะมีพลังมากในทิศใต้  อังคารเป็นอุจน์อยู่ราศีมังกรหรือทิศใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรือนที่สิบ (เรือนที่สิบเป็นส่วนใต้สุดของท้องฟ้า)
  • ดาวเสาร์จะให้คุณจะได้รับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในทิศตะวันตกหรือเรือนที่เจ็ด เป็นอุจน์อยู่ตุลย์ตะวันตก
  • พระจันทร์และดาวศุกร์จะได้รับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในทิศเหนือ (เรือนที่สี่)
  • ดาวพุธและดาวพฤหัสได้รับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในทิศตะวันออกหรือเรือนที่หนึ่งนั่นเอง

เหตุผลในการให้คะแนนคือ

    • เวลาเช้าเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการเรียนรู้ ดังนั้นดาวพุธและดาวพฤหัสซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้จึงให้คุณแข็งแรงดีในช่วงเวลานี้ (ในเวลาที่พระอาทิตย์ใกล้กับลัคนา.
    • พระอาทิตย์และดาวอังคาร เป็นดาวที่กระตือรือร้น ซึ่งต้องการกำลังเมื่อยามเที่ยงๆบ่ายๆ (ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เดินทางมาถึงประมาณเรือนที่สิบ)
    • ดาวเสาร์เป็นดาวแห่งความมืดมิด เงามืด จึงมีแรงในช่วงเย็นย่ำค่ำ (ในเวลาที่พระอาทิตย์อยู่ตรงข้ามกับลัคนา)
    • พระจันทร์และดาวศุกร์ เป็นดาวอ่อนหวานซึ่งมีกำลังดีในช่วงนอนหลับ (ในเวลาเที่ยงคืนพระอาทิตย์จะอยู่ในเรือนที่สี่)

ดาวใดๆจะรับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในกึ่งกลางของภวะ-เรือน ซึ่งจะให้คุณมากเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น พระจันทร์สถิตอยู่ในตำแหน่งกลางเรือนของเรือนที่สี่ จะได้รับ ทีคะ พละ สูงสุดและได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ  ถ้าพระจันทร์สถิตอยู่ในตำแหน่งกลางเรือนของเรือนที่สิบ ได้รับ 0 ษัทฎิอัมศะ

ความซับซ้อนเล็กน้อยคือการพิจารณา ในเรื่องภวะ (ภวะคือเรือน) ที่ไม่ใช่ราศีจักร จุดกึ่งกลางของแต่ละเรือนใน ภวะจักร อาจแตกต่างจากจุดกึ่งกลางของเรือนในราศีจักร(ซึ่งนับที่ 15 องศาเสมอ)

  • ใน ภวะจักร แต่ละเรือนจะมีช่วงองศาไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถเทียบได้กับเรือนชาตาในแบบโหราศาสตร์ตะวันตก
  • ทีคะพละ จะชี้กำลังความเข้มแข็งของดาวแต่ละดวงได้ดีเมื่อดาวนั้นๆอยู่ในเรือนของตัวเอง

3. กาละพละ (KALA BALA)

วิธีนี้จะวัดความเข้มแข็งของดาวแต่ละดวงจากช่วงระหว่างวัน กำลังในแต่ละเวลา

การพิจารณากำลังนั้นจะมีข้อแม้แตกต่างกันไปดังนี้

  1. ทิวาราตรีพละ การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากเวลากลางวันกลางคืน
    • พระจันทร์ ดาวเสาร์และ ดาวอังคาร ซึ่งมีกำลังมากในเวลาเที่ยงคืน แต่จะอ่อนพลังจนหมดในเวลาเที่ยงวัน ดาวเหล่านี้เป็นดาวบาปเคราะห์ (หมายความว่าพระจันทร์ เสาร์ อังคารมีกำลังตอนกลางคืน เพราะกลางคืนมองเห็นพระจันทร์ กลางวันจะมองไม่เห็น อาทิตย์ก็เช่นกัน ดังนั้นคนที่เกิดกลางคืน ถึงพระอาทิตย์จะเด่นเป็นมหาอุจน์ก็ไม่ได้กำลังตามความหมายนี้)
    • พระอาทิตย์ ดาวพฤหัส และดาวศุกร์ จะมีพลังระหว่างกลางวัน เที่ยง และหมดพลังในช่วงเที่ยงคืน ดาวเหล่านี้เป็นศุภเคราะห์
    • ดาวพุธนักปรับตัวได้รับการพิจารณาว่ามีพลังตลอดวันตลอดคืน (ตามหลักดาราศาสตร์ดาวพุธจะอยู่ใกล้อาทิตย์มากที่สุดโดยระยะห่างและจะห่างกันไม่เกิน 3 ราศี แสดงว่าพุธได้รับการถ่ายทอดกำลังจากอาทิตย์ตลอดเวลา และทำให้มีกำลังทั้งกลางวันกลางคืน ดังนั้นจึงไม่มีเพศ) นั่นหมายความว่า เมื่อพิจารณาโดยเกณฑ์นี้
  • ดาวพุธจะได้คะแนนสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ
  • พระจันทร์ ดาวเสาร์และดาวอังคารจะได้หน่วยกำลังสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ  เพียงแค่เจ้าชะตาเกิดในเวลาเที่ยงคืนและจะไม่ได้หน่วยกำลัง  หากเกิดเวลาเที่ยงวัน
  • พระอาทิตย์ ดาวพฤหัส และดาวศุกร์จะได้หน่วยกำลังสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ เพียงแค่เจ้าชะตาเกิดในเวลาเที่ยงวันและไม่ได้รับหน่วยกำลังใดๆหากเกิดในเวลาเที่ยงคืน
  1. หากเจ้าชะตาเกิดในเวลาที่อยู่ระหว่างนั้น ค่าหน่วยกำลังก็จะเฉลี่ยๆไป ปักษพละ ช่วงหนึ่งปักษ์ เท่ากับ 15 วันตามจันทรคติ
    เมื่อพระจันทร์เริ่มเข้าข้างขึ้น จะเป็น ศุกรปักษ์เมื่อพระจันทร์เริ่มเข้าข้างแรม จะเป็น กฤษณปักษ์
  • ดาวศุภเคราะห์ที่จะได้รับคุณคือ พฤหัส,ดาวศุกร์และดาวจันทร์ (นับจากวันขึ้นแปดค่ำ ถึงแรมแปดค่ำ รวมถึงดาวพุธด้วย ดาวเหล่านี้จะมีพลังเข้มแข็งในช่วง ศุกรปักษ์
  • ดาวกลุ่มบาปเคราะห์คือ พระอาทิตย์ , ดาวอังคาร ดาวเสาร์ รวมถึง ดาวพุธที่เสียและ ดาวจันทร์ จะเข้มแข็ง ในช่วง กฤษณปักษ์ แรมแปดค่ำ ถึงขึ้นแปดค่ำ
  • หากเจ้าชะตาเกิดในช่วง ศุกรปักษ์  ดาวศุภเคราะห์จะได้รับหน่วยกำลังมาก และดาวบาปเคราะห์จะได้หน่วยกำลังน้อย
  • หากเจ้าชะตาเกิดในช่วง กฤษณปักษ์ ดาวบาปเคราะห์จะได้รับหน่วยกำลังมาก และดาวศุภเคราะห์จะได้หน่วยกำลังน้อย
  • หน่วยกำลังสูงสุดที่จะได้รับจากเกณฑ์นี้คือ 60 ษัทฎิอัมศะ
  • พระจันทร์จะได้รับกำลังเป็นสองเท่าเสมอ
  1. ไตรภาคพละ การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากการแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งวัน โดยช่วงเวลากลางวัน (หมายถึงช่วงที่อาทิตย์อุทัยถึงอาทิตย์ลับฟ้า) สามารถแบ่งได้เป็นสามช่วงเท่าๆกัน และช่วงเวลากลางคืน ก็สามารถแบ่งได้เป็นสามช่วงเช่นกัน (เวลากลางคืนนี้นับเฉพาะ ช่วงพระอาทิตย์ลับฟ้าถึงพระอาทิตย์อุทัยเท่านั้นเช่นกัน)
  • การให้หน่วยคะแนนในระบบนี้ ดาวพฤหัสจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ เสมอ
  • หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงแรกของเวลากลางวัน ดาวพุธจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
  • หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงที่สองของเวลากลางวัน พระอาทิตย์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
  • หากเจ้าชะตาเกิดในสุดท้ายของเวลากลางวัน ดาวเสาร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
  • หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงแรกของเวลากลางคืน พระจันทร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
  • หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงที่สองของเวลากลางคืน ดาวศุกร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
  • หากเจ้าชะตาเกิดในสุดท้ายของเวลากลางคืน ดาวอังคารจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ

เราอาจสังเกตเห็นบางอย่างที่น่าสนใจในการให้หน่วยกำลัง ของษัฑพละ และนี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ข้อสังเกตในสิ่งเชื่อมโยงระหว่างการให้ค่าหน่วยกำลังในระบบ ไตรภาคพละ นี้และการให้ค่าหน่วยกำลังในระบบ ทีคะพละ

  • ช่วงแรกของวันจะเป็นช่วงที่ให้ประโยชน์แก่ดาวพุธ
  • เที่ยงวันให้คุณกับพระอาทิตย์
  • ดาวเสาร์จะแข็งแรงสุดๆเมื่ออยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับลัคนา (จุดที่พระอาทิตย์ตก )พระจันทร์และดาวศุกร์ก็แข็งแกร่งในเวลากลางคืน

อย่างไรก็ตาม ใน ทีคะพละ ไม่ได้ให้ค่าความแข็งแรงของ ดาวอังคารตามเกณฑ์ให้คุณนี้

  1. สัปดาห์พละ  การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าการของปี จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
  • ดาวเจ้าปี คือดาวที่เป็นเจ้าวันในวันแรกของปี ยกตัวอย่างเช่นวันแรกของปีเป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นๆจะปกครองโดยพระอาทิตย์ (พระอาทิตย์เป็นดาวประจำปี) กฎเกณฑ์นี้อาจข้ามยกเว้นไปได้เนื่องจากคัมภีร์โบราณให้คำนวณตั้งแต่วันสร้างโลกว่าเป็นวันอะไร จนถึงยุคสมมุติ ว่าเริ่มต้นจากวันอะไรโดยปัจจุบันนี้อยู่ในยุค กาลียุค โดยยุดนี้เริ่มต้นประมาณ 4000 ปีมาแล้ว วันเริ่มยุคถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นวันพุธ แล้วมาเฉลี่ยต่อปี ก็จะรู้ได้ว่าปีนี้เริ่มจากวันอะไรแล้วถือว่าวันนั้นมีกำลังสูงสุดในปีนั้น
  1. มาศพละ  การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิด  ดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิดจะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
  2. วารพละ  การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันที่เจ้าชะตากำเนิด ดาวเจ้าวันจะได้รับ 45 ษัทฎิอัมศะ
  3. โหราพละ  การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามหน่วย โหรา ดาวที่เป็นเจ้าโหราของเจ้าชะตาจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
  • ในหนึ่งวันจะแบ่งได้เป็น 24 ชั่วโมงหรือโหรา แต่ละ โหราจะปกครองโดยดาวแต่ละดวง โหราแรกจะปกครองโดยดาวที่ปกครองวันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น วันจันทร์ โหราแรกจะปกครองโดยพระจันทร์ และตามด้วยดาวอื่นๆตามลำดับของสัปดาห์ (ตามตัวอย่างนี้จะตามด้วยดาวอังคาร ดาวพุธ ฯลฯ) หากเจ้าชะตาเกิดในที่ห่างไกลจากศูนย์สูตร ช่วงของโหราจะไม่เท่ากัน เพราะหน่วยเวลาโหราจะแบ่งเป็น  12 โหราในช่วงเวลากลางวัน และ 12 โหราในช่วงเวลากลางคืน
  1. อะยะนะพละ  การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งหากจะอธิบายอย่างละเอียดจะยืดยาวไป การนับหน่วยกำลังในระบบนี้จะนับตาม อะยะนะพละ ซึ่งเบี่ยง (declination) ไปจากเส้นศูนย์สูตร
  • ถ้าดาวเคราะห์ใดมีค่าเบี่ยง มุมเอียง เป็น 0 อะยะนะพละ ที่ได้รับเป็น 30 ษัทฎิอัมศะ
  • สำหรับดาวศุกร์ พระอาทิตย์ อังคาร และ ดาวพฤหัส ในทิศเหนือ  จะได้รับค่าเพิ่ม แต่หากอยู่ในทางใต้จะถูกลบออกไป ( ดาวเคราะห์ในกลุ่มนี้จะได้ อะยะนะพละ น้อยหากอยู่ในทางใต้และได้ค่า อะยะนะพละ สูงหากอยู่ทางเหนือ)
  • ดาวเสาร์และพระจันทร์ จะตรงข้ามกับกลุ่มดาวที่กล่าวมา คือจะได้รับ อะยะนะพละ สูงหากอยู่ในทางใต้และได้ค่า อะยะนะพละ น้อยหากอยู่ทางเหนือ
  • สำหรับดาวพุธมักจะได้รับหน่วยกำลังจากการโคจรเบี่ยงนี้เสมอ (ไม่มีการหักออก ไม่ว่าจะเบี่ยงเหนือ-ใต้)
  • หน่วยคะแนนที่สูงสุดในการนับหน่วยคะแนนในระบบนี้คือ 60 ษัทฎิอัมศะ
  • กฏพิเศษคือ อะยะนะพละ ที่ได้ของพระอาทิตย์จะได้รับการคูณสองเสมอ
  1. ยุทธพละ  การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามภาวะที่ดาวสัปประยุทธกัน [ดาวเคราะห์ยุทธ หมายถึงดาว 2ดวงเสวยองศาลิปดาเท่ากัน(หรือกุมกัน ) ดาวใดอยู่ค่ากรันติมากกว่าดาวนั้น ชนะเคราะห์ยุทธและจะได้กำลังจากดาวอื่นซึ่งเป็นฝ่ายแพ้] ดังนั้น เราจะพบหาค่าของ ยุทธพละ ได้ต่อเมื่อดาวเหล่านั้นสัปประยุทธกันในราศีจักร
  • สิ่งแรกที่เราต้องพิจารณาคือ คำนวนหาค่า สถานะพละ ทั้งหมดร่วมกับ ทีคะพละ,กาละพละ รวมถึง โหราพละ ของดาวทั้งสองดวงนั้น
  • จากนั้นเราก็หาค่าหน่วยกำลังที่ต่างกันของดาวที่สัปประยุทธกันทั้งสองดวงได้
  • ค่าหน่วยกำลังที่ต่างของดาวที่สัปประยุทธกันทั้งสองดวงนี้จะถูกแบ่งเป็นโดยค่าต่างของหน่วยวัดของดาวทั้งสองตามที่เห็นบนท้องฟ้า หมายถึงขนาดของดาวหรือ
  • ผลการคำนวณที่ได้คือ ยุทธพละ
  • ค่าที่ได้นี้จะต้องนำไปรวมกับ ผลรวมของ กาละพละ ของดาวที่มีคะแนนมากกว่า (ผู้ชนะ) และนำค่าเท่ากันนี้ไปลบออกจากดาวผู้แพ้
  • เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราอาจเปรียบการให้หน่วยกำลังในระบบนี้เหมือนการให้คะแนนในการเล่นเกมก็ได้ ผู้ชนะจะได้รับคะแนนพิเศษเพิ่ม ในขณะที่ผู้แพ้ก็โดนหักคะแนน เมื่อคำนวณค่าทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว เราจะนำค่าสรุปที่ได้นี้ไปบวกเพิ่มกับค่ารวมของกาละพละ

4. เจษฏะพละ (CHESTA BALA)

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่ยากที่จะอธิบายความเป็นมาของการพิจารณาการให้ค่าหน่วยกำลังอย่างย่อๆ ดังนั้นเพื่อความสะดวก เราจะพูดแค่ว่า

  • ดาวที่เคลื่อนตัวช้า (มนฑ์) จะได้รับหน่วยคะแนน เจษฏะพละสูง
  • ดาวที่เคลื่อนตัวเร็ว (เสริด)จะได้รับหน่วยคะแนน เจษฏะพละ น้อย
  • เหตุผลของการให้ค่าหน่วยกำลังนี้คือดาวที่เคลื่อนตัวช้าย่อมสามารถสะสมรวบรวมพลังงานได้มาก เพราะดาวจะไม่ค่อยเคลื่อนตัว
  • หน่วยคะแนนสูงสุดที่จะได้รับคือ 60 ษัทฎิอัมศะ
  • เมื่อพิจารณาถึงอัตราการเคลื่อนตัวของดาวแต่ละดวงในที่นี้ จะหมายถึงค่าเฉลี่ยของดาวนั้นๆ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ดาวเสาร์ซึ่งกำลังเคลื่อนตัวเร็ว(เสริด)จะได้ เจษฏะพละ ต่ำในขณะที่ ดาวพุธซึ่งกำลังเคลื่อนตัวช้า(พักร์) จะได้ เจษฏะพละ สูงกว่า
  • พระอาทิตย์และพระจันทร์จะไม่ได้รับ เจษฏะพละ เลย เพราะดาวทั้งสองเคลื่อนตัวค่อนข้างเป็นแบบแผน และไม่มีการพักร์ เสริด มนท์

5. นิสรรคพละ (NAISARGIKA BALA)

การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตาม ค่าความสว่างเจิดจ้าที่แตกต่างกัน ซึ่งดาวแต่ละดวงจะมีค่าหน่วยกำลังที่แน่นอนตามดังนี้ พระอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างจะได้หน่วยกำลังเต็มที่ที่ 60 ษัทฎิอัมศะ ดาวเสาร์ซึ่งมืดหม่นที่สุดจะได้รับ  8.57 ษัทฎิอัมศะ

  • หากพิจารณาด้วยหลัก นิสรรคพละ นี้ หน่วยกำลังของดาวแต่ละดวงได้รับ จะเท่าเดิมเสมอ

6. ทริกะ(ทฤคกะ) พละ (DRIK BALA)

ทริกะ พละ หมายถึงมุม/ทิศทาง  ที่แข็งแกร่ง หากดาวดวงมีดาวศุภเคราะห์ใด มีเกณฑ์ที่ดีให้คุณส่งถึง ดาวนั้นๆก็จะได้รับหน่วยกำลังที่ดี แต่หากดาวใดมีสัมพันธ์เชิงมุม โยค เกณฑ์ที่ไม่ดีกับดาวบาปเคราะห์ ดาวนั้นๆก็จะได้รับ ทริกะพละ ที่ไม่ดี (ดูหัวข้อ 3.2 ซึ่งอธิบายว่าดาวกลุ่มใดเป็นดาวศุภเคราะห์ ดาวกลุ่มใดเป็นดาวบาปเคราะห์)

การคำนวนหาค่า ทริกะพละ ค่อนข้างยุ่งยาก

ยกตัวอย่างเช่น เรารู้กันว่าพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวศุกร์ และ ดาวพุธ

  • มุมเล็งเรือนที่เจ็ดจากดาวนั้นๆ หรือเรียกได้ว่าทำมุม 180 องศา ดาวนั้นๆจะได้รับพลัง 100%
  • ตรีโกณ (มุม 120 องศา) จะให้พลัง  50%
  • จตุโกณ (มุม 90 องศา) จะให้พลัง  75% %
  • โยค (มุม 60 องศา) จะให้พลัง  25% %
  • มุม 30องศา หรือ 150องศา จะไม่ส่งผลใดๆ

สิ่งสำคัญที่สุดคือดาวบางดวงที่โดนเบียนโดยได้รับ ทริกะพละ ที่ไม่ดีส่วนมากจะได้รับอิทธิพลจากดาวบาปเคราะห์ ส่วนดาวที่ได้รับ ทริกะพละ ที่ดีส่วนมากจะได้รับอิทธิพลจากดาวศุภเคราะห์