ในการคำนวนฤกษ์ยามและการคำนวนดวงชาตาของสรรพสิ่ง ฤกษ์จะเป็นสิ่งกำหนดคุณภาพและคุณลักษณะของสิ่งเหล่านั้น ปกติทางโหราศาสตร์ จะมีการแบ่งประเภทฤกษ์ออกเป็น 2 ส่วนคือ
(1) ฤกษ์บน หรือ นภดล อธิบายปรากฏการณ์บนฟากฟ้าที่มนุษย์มองเห็นได้ไม่ชัดเจน แต่อาศัยการคำนวนทางโหราดาราศาสตร์ เช่น พระจันทร์เสวยฤกษ์ต่างๆ แล้วนำมากำหนดฤกษ์ว่าดีหรือร้าย ฤกษ์บน คือฤกษ์ที่ดาวจันทร์เสวยกลุ่มดาวนักษัตร (Fixed Stars) ทั้ง 27 นักษัตรในรอบ 1 เดือนทางจันทรคติโดยเสวยฤกษ์ละประมาณ 24 ชั่วโมง ใช้สำหรับคำนวนเดือนทางจันทรคติและคำนวณฤกษ์ยามมงคลต่างๆ นักษัตรทั้ง 27 ตามคติอินเดียและจีนโบราณมีถึง 28 นักษัตร (เพิ่มนักษัตรอภิชิต)
นักษัตร | ชื่อฤกษ์ |
อัศวินี | ทลิทโท |
ภรณี | มหัธโณ |
กฤตติกา | โจโร |
โรหิณี | ภูมิปาโล |
มฤคศิระ | เทศาตรี |
อารทรา | เทวี |
ปุนรวสุ | เพชฌฆาต |
ปุษยะ | ราชา |
อาศเลศะ | สมโณ |
มาฆะ | ทลิทโท |
ปุรพผลคุณี | มหัธโณ |
อุตรผลคุณี | โจโร |
หัสตะ | ภูมิปาโล |
จิตรา | เทศาตรี |
สวาติ | เทวี |
วิสาขะ | เพชฌฆาต |
อนุราธะ | ราชา |
เชษฐะ | สมโณ |
มูลละ | ทลิทโท |
ปุรพาษาฒ | มหัธโณ |
อุตราษาฒ | โจโร |
สราวณะ | ภูมิปาโล |
ธนิษฐะ | เทศาตรี |
สตภิษัท | เทวี |
ปูราภัทรปท | เพชฌฆาต |
อุตราภัทรปท | ราชา |
เรวดี | สมโณ |
อัศวินี | ทลิทโท |
ภรณี | มหัธโณ |
กฤตติกา | โจโร |
โรหิณี | ภูมิปาโล |
มฤคศิระ | เทศาตรี |
อารทรา | เทวี |
ปุนรวสุ | เพชฌฆาต |
ปุษยะ | ราชา |
อาศเลศะ | สมโณ |
มาฆะ | ทลิทโท |
ปุรพผลคุณี | มหัธโณ |
อุตรผลคุณี | โจโร |
หัสตะ | ภูมิปาโล |
จิตรา | เทศาตรี |
สวาติ | เทวี |
วิสาขะ | เพชฌฆาต |
อนุราธะ | ราชา |
เชษฐะ | สมโณ |
มูลละ | ทลิทโท |
ปุรพาษาฒ | มหัธโณ |
อุตราษาฒ | โจโร |
ศราวณะ | ภูมิปาโล |
ธนิษฐะ | เทศาตรี |
สตภิษัท | เทวี |
ปูราภัทรปท | เพชฌฆาต |
อุตราภัทรปท | ราชา |
เรวดี | สมโณ |
(2)ฤกษ์ล่าง คือ ภูมิดล อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆบนโลกที่มนุษย์มองเห็นได้ชัดเจน คือ วันขึ้น/แรม เดือนต่างๆ หรือคำนวนจากดิถี โดยทั่วไปฤกษ์ล่างมักจะคำนวนจากปรากฏการณ์จากวันขึ้นแรมเป็นส่วนมาก (ฤกษ์ล่างตรงนี้แตกต่างจากฤกษ์ล่างที่คำนวนจากดาวนักษัตรในดวงชาตา)ฤกษ์ล่าง ตัวอย่างเช่น วันอำมฤคโชค วันสิทธิโชค วันมหาสิทธิโชค วันทรทึก วันยมขันธ์ วันทักทิน ฯลฯ
ซึ่งในการคำนวนฤกษ์จะต้องอาศัยฤกษ์บนและฤกษ์ล่างประกอบกัน แล้วนำมาคำนวนร่วมกับดวงชาตาของผู้ใช้ฤกษ์อีกจึงจะถือว่าเป็นฤกษ์ที่สมบูรณ์