ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

สารบัญ

 

คัมภีร์ :   รับความรักดุจความหวาดกลัว

อธิบาย :  ขณะที่ได้รับความรักความชอบให้เลื่อนยศเป็นรางวัลนั้นไม่อาจแบกรับไม่ได้  หากแต่ให้คิดหวาดหวั่นเอาไว้  กลัวว่าตนเองบุญบารมีน้อย  บุญตอบสนองไม่พอ  ไม่สามารถรักษาความรักความชอบนี้ได้ยาวนาน

ใครคนหนึ่งเมื่อได้รับเกียรติความรักใคร่  ถึงแม้เขามีส่วนควรได้ก็ตาม แต่ก็ควรรักษาส่วนนั้นให้ดีรู้จักพอ ให้รู้สึกหวาดกลัวที่ได้รับความรักใคร่นั้น  เพราะว่า “บุญเอยวาสนาเอย ด้วยเคราะห์นั้นถูกสยบไว้”  เป็นโอวาทโบราณ คนส่วนใหญ่ตอนมีบุญวาสนาก็ได้ใจจนลืมตน  เพราะว่าสาเหตุตอนนี้ภัยเคราะห์ถูกกลบไว้ให้อยู่ห่างๆ  ด้วยขณะนี้ดวงกำลังขึ้นเหมือนพระจันทร์เต็มดวง  จากนั้นดวงจันทร์ก็จะค่อยๆ แหว่งลง เป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าไม่รู้จักหวาดกลัว  วันใดที่ความรักใคร่หมดไป  ภัยเคราะห์ที่กลบห่างก็จะผุดขึ้น  เพราะฉะนั้น เมื่อได้รับเกียรติยศแล้ว  ก็ควรที่จะสั่งสมบุญกุศลให้มากยิ่งๆ ขึ้น  ขยันตอบแทนพระคุณ อย่าได้ขี้เกียจแม้แต่น้อย


นิทาน ๑ :  กษัตริย์โจวเฉินอ๋อง  ยกเมืองหลูให้ลูกชายของโจวกงชื่อ ป๋อฉิน โจวกงก็บอกกับป๋อฉินว่า “ลูกเอ๋ย !  เบื้องบนยกเมืองหลูให้เจ้า  เจ้าอย่าได้หยิ่งทะนงเพราะเหตุนี้นะ  ข้าได้ฟังมาว่า “ผู้มีคุณธรรมกว้างใหญ่  สามารถเป็นที่เคารพของคน  ก็จะสามารถรักษาเกียรติยศได้ยาวนาน  แผ่นดินกว้างทรพัยากรอุดม  ด้วยสามารถรักษาความประหยัด  เขาก็สามารถมีความสงบสุขแน่นอน  ผู้มีตำแหน่งสูงมีอำนาจมาก  ถ้าสามารถรักษาความนอบน้อมถ่อมตนเขาก็สามารถเป็นผู้สูงศักดิ์  ประเทศหนึ่งมีประชากรอาวุธเข้มแข็ง  หากสามารถรักษาให้เป็นที่เคารพเกรงกลัวและไม่ไปรุกรานประเทศอื่น ประเทศนี้ก็สามารถมีชัยชนะอยู่ได้  ถ้าหากมีคนที่มีปัญญา มีระดับความฉลาดสูง  หากสามารถรักษาความเป็นมหาปัญญาดุจผู้โง่เขลาได้  เขาก็จะได้ผลประโยชน์มาก  คนที่มีวิชาความรู้มาก  ถ้าสามารถรักษาความรู้ของตน  ทำตัวเหมือนผู้มีความรู้น้อย  ดังนั้น  ความรู้ของเขาก็จะเป็นผู้มีความรู้มากอย่างแท้จริง  ทั้งหมดนี้เรียกว่า 6 รักษา  เป็นกุศลนอบน้อมถ่อมตน  ต้องรู้จักหลักธรรมฟ้า  ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หากยังมีความหยิ่งยโสเต็มที่แล้ว  ฟ้าก็จะให้เขาขาดทุนสูญเสีย  ถ้าผู้ที่นอบน้อมถ่อมตน  ฟ้าก็จะให้เขาได้รับประโยชน์  หลักธรรมของแผ่นดิน  ไม่ว่าอย่างไร  หากหยิ่งยโสเต็มปิ่มแล้ว ก็จะทำให้เขาแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ให้เขาได้เต็มปิ่มได้ตลอดกาล  แต่ที่ถ่อมตนก็จะให้เขาชุ่มฉ่ำไม่แห้งเฉาอย่างเช่นในที่ต่ำเมื่อน้ำไหลผ่าน  ก็สามารถแก้ไขความขาดแคลนได้ ส่วนหลักธรรมมนุษย์  ก็จะเกลียดพวกที่หยิ่งยโสวางกล้าม  และชอบผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน  เจ้าต้องจดจำให้ดีๆ  อย่าเห็นว่าได้รับพระมหากรุณาโปรดให้ครองเมืองหลูแล้ว  ก็ให้รู้สึกหยิ่งยโส  ผู้เรียนหากสามารถเข้าใจเรื่องที่ท่านโจวกงให้โอวาทแก่ป๋อฉินแล้ว  ถ้าใจไม่มีอารมณ์ของความหยิ่งยโสแล้ว  หากได้รับความรักใคร่  ก็จะเกิดความรู้สึกคิดหวาดหวั่นขึ้นได้


นิทาน ๒ :   นายเฉินเหวินเปิ่น  ในสมัยถัง  ขณะที่เขาได้รับแต่งตั้งตำแหน่งตงซู  ไม่เพียงเขาไม่ดีใจ  เขารู้สึกเป็นกังวล  มารดาเขาเห็นสีหน้าลูกชายแล้วถามว่า  “ราชสำนักงานหนักหรือ ทำไมจึงไม่พอใจละ”  เหวินเปิ่นตอบว่า   “ลูกไม่ใช่ลูกหม้อของราชสำนัก  และก็ไม่ได้เป็นพระญาติ แต่ตอนนี้ได้รับพระกรุณาจากราชสำนัก โดยเฉพาะตำแหน่งตงซูเป็นตำแหน่งสูงมาก  ภาระหน้าที่ก็หนัก  เพราะฉะนั้นฉันจึงรู้สึกเป็นกังวลและหวาดกลัว”  เหวินเปิ่นพูดกับแขกที่มาแสดงความยินดีว่า  “ฉันขอรับแต่คำไว้อาลัยพวกท่าน  แต่ไม่รับคำแสดงความยินดีของพวกท่าน”


นิทาน ๓ :  ท่านซือหม่ากวง  เขียนจดหมายถึงหลานของเขาว่า  “ระยะนี้ฉันได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากเบื้องบนเป็นผู้สนองพระโอษฐ์ ขุนนางในราชสำนักต่างพากันอิจฉาหลายคน  แต่ข้าก็ใช้ความโง่เซ่อตรงๆ  ปฏิบัติต่อพวกเขา  ตอนนี้ข้าเหมือนใบไม้เหลืองที่ลอยอยู่กลางลมที่รุนแรง  จะไม่ให้มันร่วงลงมาคงยากมาก  เพราะฉะนั้น ตั้งแต่ข้ารับราชโองการ  ก็มีแต่หวดกลัว  ไม่ปีติยินดีพวกเจ้าต้องรู้ความมุ่งหมายของข้า”


นิทาน ๔ :  นายหลูตัวซุน  ในสมัยซ่ง  หลังจากได้รับราชการไม่นาน  เขาก็แต่งตัวและใช้จ่ายนับวันฟุ่มเฟือยมากขึ้น บิดาเขาเห็นแล้วเกิดความกังวล  จึงพูดกับเขาว่า  “เราเป็นครอบครัวมีการศึกษา ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราใช้ชีวิตเรียบง่ายและประหยัด     “เจ้าตอนนี้ก็ร่ำรวยขึ้นมา    ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงจนฟุ่มเฟือยถึงขนาดนี้คงลืมชีวิตของเราเมื่อก่อนเป็นเช่นไร “  หลูตัวซุนก็ไม่ได้สนใจคำพูดของบิดา  เขาก็ยังคงสุรุ่ยสุร่ายต่อไป  ต่อมาก็เกิดเรื่องจนล้มเหลว

 


คัมภีร์ :   ทำคุณไม่หวังผลตอบ  ให้เขาไม่นึกเสียใจ


อธิบาย :   การบริจาคหรือให้ทาน  เป็นการทำคุณกับผู้อื่น อย่างไรเสียเราจะไม่หวังผลตอบแทน  การมอบของให้กับผู้อื่นก็จะไม่นึกเสียใจในภายหลัง

การทำบุญคุณให้แก่ผู้อื่น  หากยังหวังให้เขาตอบแทน  แสดงว่าในใจของเรายังมีความโลภอยู่  คือยังไม่ลืมคุณที่เราทำ  การให้สิ่งของแก่ผู้อื่นไปก็เช่นกัน  ต่อมากลับรู้สึกนึกเสียใจ  นี่ก็แสดงถึงใจที่เป็นตระหนี่  คือยังไม่แปรเปลี่ยน  ควรรู้ว่าความโลภกับตระหนี่เป็นสิ่งที่บัณฑิตจะไม่กระทำ  ในวัชรสูตรว่า  “โพธิสัตว์ที่มีต่อคน เรื่องและสิ่งของ คือไม่มีอุปาทานติดยึดแล้วให้ทานไป”  พูดอีกว่า  “หากโพธิสัตว์สามารถไม่ยึดติดในรูปให้ทานแล้ว  บุญกุศลของเขาก็ไม่อาจนับประมาณได้”  ทำให้รู้ว่า  หากคนสามารถเอาทรัพย์สิ่งของช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว  สามารถทำจนภายในไม่เห็นฉันผู้ให้ทาน  ภายนอกไม่เห็นผู้รับทาน  เบื้องกลางไม่เห็นสิ่งของที่เป็นทาน นี่เรียกว่ารูปทั้งสามว่างก็เรียกได้ว่าใจสะอาด  ถ้าหากสามารถให้บริจาคทานได้แบบนี้  ถึงแม้จะบริจาคท่านแค่หนึ่งถัง  ก็สามารถสร้างบุญได้อเนกอนันต์  แม้การให้ทานแค่บาทเดียวก็สามารถจะขจัดมลายบาปกรรมเป็นพันกัปได้ถ้าหากในใจยังมีความหวังตอบแทนแม้เพียงเล็กๆ อยู่  ถึงแม้จะใช้เงินถึงสองแสนตำลึง ไปช่วยเหลือคน  ก้ยังไม่ได้รับบุญกุศลที่สมบูรณ์ตลอดจนการนึกเสียใจ  โดยเฉพาะความสำคัญของชีวิตที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อรหะหว่างปุถุกับอริยะ  ความชั่วที่ทำถ้านึกเสียใจได้แล้ว  อนาคตความคิดชั่วก็จะค่อยๆ หยุดลง  ส่วนความดีที่ทำถ้านึกเสียใจแล้วอนาคตความคิดดีในใจที่มีอยู่ก็จะค่อยๆ  หายไปไม่เกิดขึ้น  ถ้าหากภายหลังการให้ทานแล้วก็เกิดเสียใจในภายหลัง  ถ้าอย่างนั้นก็สู้ไม่ไปให้บริจาคทานก็จะปลอดภัยกว่า !

ชาวโลกคิดอยากให้ยุ้งฉางมีข้าวเต็ม  และไม่ขาดพร่องเลยสักปี  ถ้าต้องการเช่นนั้น  ก็ต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้และขยันไปไถหว่าน  เอาเมล็ดพันธุ์หว่านลงในแปลงนา  ถ้าเมล็ดไม่ไปปลูก  ข่าวในยุ้งฉางก็จะใช้หมดไปโดยเร็ว  หลักธรรมก็เช่นเดียวกัน  เอาใจที่กตัญญู  เมตตา  เคารพเป็นเมล็ดพันธุ์  เอาเสื้อผ้าอาหารเงินทองกับชีวิตมาเป็นวัวและคันไถ  เอาพ่อแม่คนจนที่ป่วย  กับพระรัตนตรัยมาเป็นไร่นา  หากเป็นพุทธบุตรคิดจะได้บุญสะอาด  ทุกๆ  ชาติก็จะมีบุญตอบสนองไม่สิ้นสุด  จำเป็นต้องเอาใจที่เมตตา  เคารพกตัญญูเอาเสื้อผ้าอาหารเงินทองตลอดจนชีวิตไปเคารพบูชา  เลี้ยงพ่อแม่และคนที่เจ็บป่วยกับรัตนตรัย อย่างนี้เรียกว่าปลูกบุญ  หากไม่ปลูกบุญก็จะยากจน  ไม่มีทั้งบุญและปัญญา  ตกสู่หนทางเลวร้ายของการเกิดการตาย  ที่พูดมาทั้งหมดนี้ก็คือ  การปลูกเนื้อนาบุญ ก็เหมือนปลูกข้าวในนา  จึงเรียกว่า นาบุญ

การให้ทานก็มี 3 อย่าง  ให้ธรรมเป็นทาน  ทรัพย์เป็นทานและใจเป็นทาน  ด้วยความสะดวกต่างๆ  มากล่อมเกลาตักเตือนคนการให้ทานเป็นธรรม  ได้กุศลมาก  ทรัพย์เป็นทานก็ใช้สงเคราะห์เขาใจเป็นทานคือเอาใจเราไปเห็นอกเห็นใจผู้ตกทุกข์ได้ยาก  คือคิดจะช่วยเหลือเขาแต่ไม่มีกำลัง  อย่างนี้ก็เป็นการให้ทานแล้ว


นิทาน ๑ :  หลี่สือเซียน  ในสมัยซุย  พ่อเสียไปตั้งแต่เขายังเด็กอยู่หลี่สือเซียนปรนนิบัติมารดาเขาอย่างดี อายุ 12 ขวบ  ก็ถูกเจ้าเหว่ยกว่างผิง ใช้งานหนัก  ต่อมาโตขึ้นก็รับผิดชอบเปิดจวนตรวจทหารครอบครัวเริ่มร่ำรวยขึ้น  ก็เอาเงินไปซื้อข้าวหลายพันสือ  ไปให้คนในหมู่บ้านยืม  ถ้าปีไหนเก็บเกี่ยวไม่ได้ผล  เขาก็เรียกคนในหมู่บ้านมาชุมนุมกัน  แล้วนำเอาใบยืมเผาทิ้ง  และพูดกับพวกเขาว่า  “พวกเธอไม่เป็นหนี้ฉันแล้ว”  พอถึงฤดูปลูกใหม้เข้าก็เอาพันธุ์ข้าวไปแจกให้ชาวนาใช้  ด้วยเหตุนี้  เขาก็ช่วยเหลือชีวิตคนได้จำนวนมาก  ถ้ามีคนตายก็เอาเงินไปช่วยเขาฝังศพ  มีผู้สรรเสริญหลี่สือเซียนว่า  เป็นผู้สร้างบุญลับ  หลี่สือเซียนว่า  “บุญลับเหมือนหูทีได้ยิน  เพียงตนเป็นผู้ได้ยินเป็นผู้รู้  คนอื่นไม่มีทางได้ยินหรือรู้ได้  ตอนนี้พวกเธอก็รู้หมดแล้ว จะเรียกว่าเป็นบุญลับได้อย่างไร”  มีอยู่วันหนึ่ง  เขาก็ฝันเห็นเทพใส่เสื้อสีม่วงบอกเขาว่า  “พระเจ้าพอใจที่เจ้าสั่ง่สมบุญลับไว้มาก  จะให้ลูกหลานเจ้าเจริญรุ่งเรืองจนเปรียบไม่ได้”


นิทาน ๒ :   มหาอำมาตย์ฝั้นต่งเอียน  ครั้งหนึ่งเขาให้ลูกชายเหยาฟูกลับไปที่บ้านเดิมเมืองซูโจว  เพื่อเอาข้าวสาลีกลับมา 500 ถัง  ระหว่างนำข้าวสาลีกลับมาเขาได้พบเพื่อนเก่า  สือหมั่นเจี๊ย  สือหมั่นเจี๊ยพูดกับเหยาฟูว่า  “ข้าไม่มีเงินจัดงานศพ”  เหยาฟูได้ยินก็เอาข้าว่สาลีทั้ง 500 ถัง  กับเรือที่บรรทุกข้าวยกให้แก่สือหมั่นเจี๊ย  พอกลับมาถึงบ้านยังไม่ทันพูดอะไร  ฝั้นต่งเอียนก็ถามเหยาฟูว่า “เจ้ากลับไปคราวนี้ไม่พบเพื่อนเก่าหรือ”  เหยาฟูตอบว่า  “ฉันได้พบสื่อหมั่นเจี๊ย  เขาจนมากไม่มีเงินทำศพ”  ฝั้นต่งเอียนพูดว่า  “เจ้าทำไมไม่เอาข้าวสาลีกับเรือให้เขาเล่า”  เหยาฟูตอบว่า  “คุณพ่อ  ฉันยกทั้งข้าวสาลีและเรือให้เขาไปแล้วละ”

จะเห็นได้ว่า  ฝั้นต่งเอียนกับลูก  มีจิตใจเหมือนกัน  มีใจดีที่ให้ทานเช่นนี้  มีหรือจะเหมือนคนในสมัยนี้  รู้แต่ให้ความเคารพแก่คนที่ร่ำรวย  และทำเอาหน้าโดยเอาดอกไม้ไปประดับบนแพรไหม  (หมายความว่า คนเขามั่งมีอยู่แล้ว  ก็ยังมีคนประจบให้ของขวัญมีค่าแก่เขาอีก)  แต่กับคนจนกลับไม่ยอมทำทาน  ดุจก่อฟืนกลางหิมะ  (หมายความว่า  คนจนมากแม้แต่หนาวก็ไม่มีฟืนจะใช้เพื่ออบอุ่น)  ถ้าหากมีคนยอมบริจาคสิ่งของโดยที่ไม่หวังผลตอบแทนมีไหม  หลังการให้ทานแล้วก็ไม่นึกเสียดาย


นิทาน ๓ :   คุณอูเถี่ยเจียว พูดว่า  “ถ้าสัตว์เดรัจฉานเกิดรู้จักตอบแทนพระคุณแล้ว  แล้วที่เกิดมาเป็นคนกลับไม่รู้จักบุญคุณ  แต่หวังผลตอบแทนละ  ก็จะทำให้คนรับได้ยาก  นั่นก็คือ  “รูปบุญ”   เมื่อไปช่วยเหลือคนอื่น ใบหน้าแสดงออกเหมือนต้องการให้เขาต้องตอบแทนหน้าตาที่แสดงออกอย่างนั้นก็คือ  “รูปบุญ”  ที่เผยออกมาให้เห็นเช่นนี้แล้วคนที่รับบุญคุณจากเรา  ในใจจะรู้สึกละอายไม่เป็นสุขหลังจากความละอายหมดไปแล้ว  ก็จะเกิดเป็นความเจ็บแค้นตามมา

สมัยก่อนมีข้าราชการคนหนึ่ง  เคยช่วยชีวิตคนๆ หนึ่งไว้ต่อมาคนที่ถูกช่วยเหลือก็ค่อยๆ  ร่ำรวยขึ่นมา ส่วนข้าราชการก็กลับจนลง  ก็ให้บังเอิญเขาเดินผ่านบ้านที่เขาเคยช่วยเหลือ  คนทั้งบ้านก็ออกมาไหว้ขอบคุณ ทั้งยังรั้งเขาให้อยู่รับประทานอาหาร ค่อยปรนนิบัติด้วยความเคารพ  หลังจากข้าราชการผู้นี้กินจนเมาแล้ว ก็พูดจาทวงคุณ เขาพูดว่า “ถ้าหากข้าไม่ช่วยเจ้าไว้เมื่อก่อน เจ้าก็ตายไปแล้ว วันนี้เจ้าจะมีลูกเมียคนใช้ทรัพย์สินบ้านช่องอย่างนี้หรือ  ตอนเจ้ามีเงินแล้วแต่ข้าซิกลับจนลง  นี้มันเหตุผลอะไรกัน”   พูดจบคืนนั่นเขาก็นอนค้างที่บ้านนั้น  เจ้าของบ้านก็แอบวางแผนพูดว่า  “คนๆ นี้จะให้ข้าตอบแทนเขา  ใจเขาหวังเกินไปแล้ว  ถึงฉันตอบแทนเขา ๆ ก็จะไม่มีวันพอใจ  ถ้าไม่ตอบแทนเขา  ฉันคงต้องมีภัยเคราะห์มาแน่ !  สู้ฆ่าเขาเสียตอนที่เขาหลับอยู่ !”  ว่าแล้วก็ใช้เชือกรัดคอเขาจนตาย

โธ่เอ๋ย  !  ช่วยเหลือคนแล้วสุดท้ายกลับถูกคนที่ตนเองช่วยไว้ฆ่าตาย  เบื้องลึกต้องมีอะไรที่เป็นกรรมแอบแฝงอยู่  อาจเป็นเพราะคนที่ถูกช่วยเหลือ  อนาคตต้องได้ผลตอบสนองที่อำมหิตแน่  กับข้าราชการผู้นี้ชะตาชีวิตต้องตายอย่างโหดเหี้ยม  เหตุปัจจัยอะไรเราจะยังไม่วิเคราะห์  ที่ต้องการยกตัวอย่างนี้ก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตือนคนที่ให้ทาน  แล้วหวังผลตอบแทน