Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

whatisluoPan600x315Cap8

สำหรับบทต่อไปนี้เป็นการอธิบายความหมายของหล่อแกแต่ละชั้น ซึ่งแต่ละชั้นอาจจะแตกต่างบ้างกับหล่อแกประเภทอื่นมากบ้างน้อยบ้าง หรือสลับวงกัน แต่อย่างไรก็ตามหากได้ทำความเข้าใจกับชั้นต่างๆได้แล้ว การอ่านหล่อแก ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป 

ชั้นที่ 1天池 บ่อสวรรค์ (เทียนฉือ-เทียงตี๊)  หรือชั้นในสุดคือจุดศูนย์กลางของหล่อแกสำหรับดูฮวงจุ้ย บางทีก็เรียกว่า “ท้องทะเล” หรือ ไหตี่ 海底 ซึ่งก็คือตำแหน่งวางเข็มทิศซึ่งอยู่จุดศูนย์กลางของ”หล่อแก” ซึ่งประกอบด้วย หมุดเดือย เข็มแม่เหล็ก และเส้นท้องทะเล海底線 อยู่ในกระจกครอบ มีลักษณะเป็นทรงกลม ส่วนเข็มแม่เหล็กปลายลูกศรของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศใต้ และปลายอีกด้านชี้ไปทางทิศเหนือ

ส่วนพื้นด้านล่างของเข็มทิศหรือ ไหตี่ 海底 จะมีเส้นสีแดงเล็กๆพาดผ่าน เรียกว่า เส้นท้องทะเล 海底線 ด้านทิศเหนือมีจุดสีแดง 2 จุด เมื่อเวลาจะใช้งานดูฮวงจุ้ย ฝั่งด้านเหนือของเข็มแม่เหล็กจะต้องตรงกับแนวเส้นท้องทะเล  ส่วนเข็มทิศสมัยใหม่พื้นด้านล่างของเข็มทิศมักจะถูกทำเป็นเส้นกากบาท พร้อมระบุทิศทั้ง 4 เอาไว้

ตำแหน่งจุดศูนย์กลางของ"หล่อแก"สำหรับดูฮวงจุ้ยจะต้องเป็นเข็มทิศเสมอ ซึ่งก็คือตำแหน่ง บ่อสวรรค์ “天池”นั่นเอง ที่เรียกว่าบ่อหรือสระน้ำนั้นมีที่มาจาก หล่อแกในสมัยก่อน เข็มทิศจะลอยอยู่เหนือน้ำ ดังนั้นจึงเรียกว่าบ่อน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นตำแหน่งสำคัญที่เรียกว่า “ไท่จี๋” 太極 ซึ่งหมายถึง จุดสูงสุด หรือ ความสัมบูรณ์สูงสุด เป็นบรมภาวะ มีลักษณะเป็นอนันต์ คือ ทรงพลัง กว้างใหญ่ไพศาลซึ่งหาขอบเขตมิได้

 

YinYang

 

คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า《易·系辭》「易有太極,是生兩儀。兩儀生四象,四象生八卦。」”เต๋ามีไท่จี๋ ก่อให้เกิด ทวิลักษณ์ (หยินหยาง-อิมเอี๊ยง) ทวิภาวะ ก่อให้เกิด จตุลักษณ์(จตุรเทพ) จตุลักษณ์ก่อให้เกิดอัฐฏลักษณ์ (โป๊ยข่วย)”   (***คำว่า易 ในที่นี้หมายถึง道)

คำว่า 易有太極 (เอ็กอยู่ไท่เก๊ก) คือแนวคิดและมุมมองจักรวาล ของคนสมัยโบราณ ไท่จี๋ ก็คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและการก่อกำเนิดของฟ้าดิน(โลกและจักรวาล)ซึ่งแต่แรกเดิมทียังไม่ได้ถูกแบ่งเป็นหยิน-หยาง ทุกสรรพสิ่งล้วนว่างเปล่า ไร้ซึ่งรูปลักษณ์ใดใด (無極)

คำว่า是生兩儀 (สีแซเหลี่ยงอี๊) คือแนวคิด”ทวิภาวะ” ที่แบ่งเป็น หยิน-หยาง กล่าวคือ ไท่จี๋ หรือ บรมภาวะได้ก่อให้เกิด หยิน-หยาง  เข็มทิศในหล่อแกอยู่ในตำแหน่งจุดศูนย์กลางคือ ไท่จี๋ และชี้ไปยังทิศใต้และทิศเหนือซึ่งก็คือการแบ่งสภาวะหยิน-และหยางนั่นเอง

ในตำรา《說文通訓定聲》 กล่าวว่า “月者見雲不見日也,易者雲開而見日也” จันทราเมื่อถูกเมฆบดบังก็ย่อมไม่พบแสงสุริยาฉันใด ปราชญ์ผู้มีความรู้ก็เปรียบดังเมฆกระจายคลายออกไปจนจันทร์พบแสงสุริยาฉันนั้น”  ซึ่งนี้ก็คือสภาวะแห่ง”หยาง” ซึ่งก็คือการเปิดออกไม่ถูกบดบัง

คนโบราณมักใช้วิธีวัดเงาพระอาทิตย์เพื่อกำหนดฤดูกาล อากาศร้อนหนาวเย็น ซึ่งมีหยินหยางเป็นตัวขับเคลื่อน แม้แต่การเลือกที่อยู่อาศัยก็มีการเลือกทิศทาง ขุนเขาทางทิศใต้เรียกว่า”ทิศหยาง” ขุนเขาทางทิศเหนือเรียกว่า”ทิศหยิน” ซึ่งนี่ก็คือความหมายที่แท้จริงบนเข็มทิศในหล่อแก

ไท่จี๋ก่อให้เกิดหยินหยางซึ่งไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดทิศเหนือและใต้ แต่ยังหมายถึงคุณสมบัติที่ตรงกันข้ามสองประการของสรรพสิ่งทั้งหลายอีกด้วย

 

ในทางศาสตร์การดูฮวงจุ้ย ก็ได้มีการพัฒนาเป็นคู่คุณลักษณะ คือ มีวัฏจักรการก่อเกิดและการทำลายซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการรวมหลักการการหาทิศทางของเข็มทิศและหลักการการหาทิศทางองศาของหล่อแกอย่างชาญฉลาดให้กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน

กฏของหยินและหยางของหล่อแกก็ได้ถูกกำหนดจากชั้นที่ 1 นี้ และได้สร้างทรรศนสัมพันธ์ออกเป็นปา-กว้า(โป๊ยข่วย) หยินหยาง และทิศทางให้ผสานกันอย่างเป็นระบบ ปลายด้านหนึ่งของเข็มทิศถูกย้อมด้วยสีแดงจากจูซา (朱雀 ผงชาด)เพราะตามธาตุทั้งห้าของหยินและหยาง ทิศใต้คือธาตุไฟ ตัวแทนคือ"จูซา" ซึ่งเป็นสีแดง

มีเส้นสีดำ(แดง)ที่ด้านล่างของเทียนฉือ เรียกว่าเส้นใต้ทะเล เมื่อใช้เข็มแม่เหล็ก ทิศทางเหนือ-ใต้ควรตรงกับเส้นด้านล่าง เพื่อให้เข็มทิศกำหนดทิศเหนือและทิศใต้ ได้ถูกต้อง ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งเส้นของจื้อ 子 กับโง่ว 午  และระดับเข็มทิศก็จะเริ่มแบ่งแยกหยินและหยางออกจากกัน

 

4SiXiang

 

象 จตุลักษณ์(4 จตุรเทพ)

สำหรับการดูฮวงจุ้ยและจากการเฝ้าสังเกตและศึกษาเทหะวัตถุบนฟากฟ้าของคนโบราณ ก็พบว่าในบรรดาดาวนักษัตรฤกษ์ต่างๆทั้ง 28 ดาวฤกษ์ นั้นถูกจัดแบ่งออกเป็น 4กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีดาวอยู่ 7 นักษัตร  และ 4กลุ่มดาวนี้ประจำอยู่ในทิศทั้ง 4 และมีประจำอยู่ 4 สี ซึ่งเรียกว่า 4 จตุรเทพ ซึ่งใช้สัตว์ในตำนานโบราณมาแสดงความหมายแทนกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 4 มีดังนี้

(1)มังกรเขียว青龍 (ชิงหลง-แชเล้ง) 蒼龍เทพแห่งทิศตะวันออก สีประจำคือสีเขียว

(2)หงส์แดง 朱雀 (จูเชวี่ย-จูเฉียก) เทพแห่งทิศใต้ สีประจำคือสีแดง

(3)เสือขาว 白虎 (ไป๋หู่ -แปะโฮ่ว) เทพแห่งทิศตะวันตก สีประจำคือสีขาว

(4)เต่าดำ 玄武 (เสวียนอู่-เฮี่ยงบู๊) เทพแห่งทิศเหนือ สีประจำคือสีดำ