Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***


ความสำคัญของดาวเคราะห์เจ้าทศา

นอกจากความสำคัญในความหมายของดาวเคราะห์ที่เป็นอุจจ์หรือเป็นนิชค์  ยังมีความสำคัญอย่างอื่นอีก  (1) ขอบเขตทั่วไปของดาวเคราะห์  (2) เรือนของดาวเคราะห์และเรือนที่ถูกโยคของดาวเคราะห์ในราศีจักร  สำหรับดาวเคราะห์เจ้าอนุทศา  จะให้ผลในความหมายของเรือนที่ดาวเคราะห์นั้นสถิต  โดยนับจากเจ้ามหาทศาเป็นเรือนที่ 1 กฎนี้ใช้ได้ดีสำหรับดาวเคราะห์เจ้าวิทศาด้วย

เจ้าอนุทศาจะให้ผลดีหรือร้ายในความหมายของตัวเอง หรือของเจ้ามหาทศา  ต้องสัมพันธ์กับเจ้ามหาทศาจะโดยการร่วม, การ



22

เป็นโยค  หรือการเป็นมิตรแก่กันและกัน  ซึ่งดาวเคราะห์ในราศีจักรจะสัมพันธ์กันในทางเป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตรแก่กันและกันได้เสมอ

เจ้าอนุทศาที่ร่วมกับเจ้ามหาทศา  หรืออยู่ในเรือนของเจ้ามหาทศา  และเจ้าอนุทศาที่มีกำลังดีเท่ากันกับเจ้ามหาทศา  จะให้ผลอย่างเดียวกันกับผลของเจ้ามหาทศา

ถ้าเจ้ามหาทศากับเจ้าอนุทศาเป็นโยคแก่กันและกัน  หรือไม่ขัดแย้งแก่กันและกัน  ผลในอนุทศาจะเป็นผลดีเสมอ

ถ้าความสัมพันธ์ของเจ้าอนุทศาและเจ้ามหาทศา  เป็นเพียงความสัมพันธ์ชั่วคราว  ต้องพยากรณ์จากความสัมพันธ์ถาวรของดาวเคราะห์  ซึ่งอาจเป็นความสัมพันธ์ที่สูงกว่าหรือต่ำกว่า  หรือดีกว่า หรือเลวกว่า  การเป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตรกันชั่วคราวกับเจ้ามหาทศา  ถ้าเจ้าอนุทศาอยู่ในเรือนที่ 6,  ที่ 8  หรือที่ 12 จากเจ้ามหาทศา  จะเป็นผลร้ายเสมอ  เพราะทั้งเจ้าอนุทศาก็ไม่เป็นมิตรชั่วคราวกับเจ้ามหาทศาอีกด้วย


หาทศากำเนิด

ได้กล่าวแล้วว่าทศาแรกที่เสวยอายุเมื่อเกิด  ได้แก่มหาทศาของดาวเคราะห์ที่เป็นเจ้าการนักษัตร์ที่จันทร์เสวยเมื่อเกิดดังนี้

23


ถ้าจันทร์กำเนิดเสวยนักษัตร์

ดาวเคราะห์  -  เป็นเจ้ามหาทศา

เสวยอายุ –  เป็นปี

กฤตติกา, อุดตราผลคุณี, อุตตราษาฒ

โรหิณี, หัสต, ศะระวะณา

มฤคศิร, จิตตรา, ธนิษฐ

อาระทะระ, สวาดิ, ศตภิษา

ปุนะระวะสุ, วิศาขะ, ปูรหพาภัทรบาท

ปุษย, อนุราช, อุตราภัทรบาท

อัษเลษ, เชษฐ, เรวดี

มาฆ, มูล, อัศวิณี

ปูรพาผลคุณี, ปูรพาษาฒ, ภารณี

อาทิตย์         6  ปี

จันทร์        10    ,,

อังคาร        7     ,,

ราหู          18     ,,

พฤหัสบดี 16     ,,

เสาร์         19     ,,

พุธ           17     ,,

เกตุ            7     ,,

ศุกร์         20     ,,


สมมุติว่าสผุดจันทร์กำเนิดราศีกุมภ์ 14 องศา  34 ลิปดา, 6 องศา  51 ลิปดา  ถึง 20 องศา  ในราศีกุมภ์เป็นเขตของนักษัตร์ศตภิษา  คือจันทร์เสวยนักษัตร์ศตภิษาซึ่งราหูเป็นเจ้าการ  ฉะนั้นราหูเป็นเจ้ามหาทศาเสวยอายุเมื่อเกิด  ปีมหาทศาของราหู 18 ปี  แต่ราหูไม่ได้เสวยอายุตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 18 ปี  เพราะเมื่อเกิดจันทร์จรผ่านเจ้าในเขตนักษัตร์ศตภิษาแล้ว (14 องศา  34 ลิปดา – 6 องศา  40 ลิปดา) = 7 องศา  54 ลิปดา  เขต 13 องศา  20 ลิปดา ของนักษัตร์ศตภิเษกเท่ากับ 18 ปีของมหาทศาราหู  เฉลี่ยได้ลิปดาละ

24

(6480 ÷ 700) = 7 วัน  6 มหานาที  (2 ชั่วโมง  24นาที)  จันทร์ผ่านเข้าในนักษัตร์ศตภิเษกแล้ว 7 องศา  54 ลิปดา  (7 X 60 + 54) = 474  ลิปดา.  8 วัน  6 มหานาที X 474 = 10  ปี 7 เดือน  29 วัน  24 มหานาที.  18 ปีของมหาทศาราหู = 11 องศา 20 ลิปดา (1 นักษัตร์).  จันทร์ผ่านเข้าในเขตนักษัตร์ศตภิษาแล้ว 7 องศา 54 ลิปดา เท่ากับเวลา  10  ปี  7 เดือน  29 วัน  24 มหานาที  18 ปีของระหูแปลงเป็น


17  ปี  11 เดือน  29  วัน   60 มหานาที

ผ่านไปแล้ว          10  ,,     7    ,,      29   ,,    24       ,,

คงเหลือ        7   ,,     4    ,,        0   ,,    36       ,,


ฉะนั้นราหูเสวยอายุตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 7 ปี 4 เดือน 1 วัน

จะหาเวลาเสวยอายุของทศาแรกได้จากสูตรสำเร็จนี้ด้วยความสะดวก  เอาองศา, ลิปดา, ของจันทร์กำเนิดเทียบกับองศาลิปดา, ในสูตรที่มีจำนวนน้อยกว่าอย่างใกล้เคียงที่สุด  จะได้ดาวเคราะห์  เจ้ามหาทศาและเวลาของทศาแรกที่เสวยอายุเมื่อเกิด  จากแถวของราศีที่จันทร์กำเนิดสถิต  ถ้าลิปดาจันทร์มากกว่าในสูตรให้เอาลิปดาในสูตรลบ  ได้ส่วนเกินเท่าใดหาเวลาของดาวเคราะห์เจ้ามหาทศาจากสูตร 2 ได้เท่าใดเอาไปลบเวลาที่ได้จากสูตร 1 ผลเป็นเวลาสุทธิของทศาที่เข้าเสวยอายุตั้งแต่เกิด



25

สมมุติจันทร์ในราศีกุมภ์ 14 องศา  34 ลิปดา  จำนวนใกล้เคียงในสูตรได้ 14 องศา 20 ลิปดา  ในแถวราศีกุมภ์ได้ราหู 7 ปี  7 เดือน  24 วัน.  ส่วนเกิด 14 ลิปดาของราหูในสูตร 2 ได้ 3 เดือน  24 วัน  เอาไปลบ 7 เดือน  24 วัน  ได้ 4 เดือน.  ได้เวลาสุทธิของมหาทศาราหูเข้าเสวยอายุตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 7 ปี  4 เดือน  (ไม่มีเศษวันเพราะปัดเศษมหานาทีทิ้งไป)

(อ – อาทิตย์  จ – จันทร์, ภ – อังคาร, ร – ราหู, ช – พฤหัสบดี, ส – เสาร์, ว – พุธ, ก – เกตุ, ศ – ศกร์.  ปี – ปี, ด – เดือน, ว – วัน.)