Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

การหากำลังของดวงฤกษ์


ในการคำนวนหาฤกษ์ยามจะมีส่วนประกอบสำคัญหลักๆอยู่หลายประการ เช่น กำลังของดาวเคราะห์  การวางตำแหน่งดาวเคราะห์ในดวงฤกษ์ให้มีความหมายสัมพันธ์กับดวงชาตาและกิจการที่จะกระทำ การวางลัคนาให้สัมพันธ์กับเรือนชาตา,ราศีตามความมุ่งหมายและกิจการที่ต้องการให้ประสบความสำเร็จและประการที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นหัวใจในการวางฤกษ์คือ “การหากำลังของดวงฤกษ์”
โดยในที่นี้จะอธิบายเฉพาะในเรื่องการหากำลังของดวงฤกษ์เท่านั้น ซึ่งจะประกอบด้วย 6 ส่วนคือ

(1) ปัญจกสุทธิ หรือกำลังทั้ง 5 ประการของ ดิถี นักษัตร วาร โยค และ กรณะ ตามรายละเอียดใน”ปฏิทินปัญจางคะ”
(2) ดาราพละ-หรือกำลังของดาวนักษัตร หรือจันทร์เสวยฤกษ์
(3) จันทร์พละ-กำลังของดาวจันทร์ และตำแหน่งที่จันทร์สถิตย์
(4) ปัญจกวิธี คือ การคำนวนหากำลังราศีเพื่อวางลัคน์ในดวงฤกษ์
(5) มุหูรตะโยค หรือโยคที่ได้เกณฑ์พิเศษโดยอาศัย กำลังจากดิถี วาร มาส(เดือน) และนักษัตร ผสมกัน ซึ่งมีทั้งดีและร้าย
(6.) ข้อยกเว้นและกฏเกณฑ์พิเศษอื่นๆ โดยกฏเกณฑ์ทั้งหมดนี้จะได้อธิบายรายละเอียดต่างๆดังต่อไปนี้


ปฏิทินปัญจางค บอกรายละเอียดของ ปัญจกสุทธิ

 

(1) ปัญจกสุทธิ หรือกำลังทั้ง 5

การคำนวนกำลังของฤกษ์ยามในระบบโหราศาสตร์ฮินดูนั้นมีความละเอียดซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง การหากำลังในระบบนี้ให้ความแม่นยำกว่าระบบอื่นๆ เพราะเนื่องจากได้ทำการคำนวนพลังของฤกษ์ยามดี-ร้ายในแต่ละช่วงเวลาจากพลังของความสัมพันธ์ระหว่างดาวเคราะห์ ดาวอาทิตย์ ดาวจันทร์และกลุ่มดาวฤกษ์เอาไว้อย่างเป็นระบบ และเป็นมาตรฐานที่ได้วางเอาไว้กว่าห้าพันปีมาแล้ว
โดยกำลังอันแรกของการคำนวนหาฤกษ์ยามมงคลนั้นจะหาได้จากปฏิทินปัญจางคะในแต่ละวัน ซึ่งเรียกว่า ปัญจกสุทธิ ซึ่งจะประกอบด้วยกำลังทั้ง 5 ของดิถี นักษัตร วารโยค และ กรณะ  แล้วคัดกรองแยกแยะและเลือกสรรให้ได้กำลังที่เป็นศุภผลสูงสุดจึงนำมาประกอบการพิจารณาให้ฤกษ์ยามเป็นเบื้องต้น



 

รายละเอียดและความหมายของการหากำลังจาก”ปัญจกสุทธิ”มีดังนี้

(1.1) ดิถี-วันขึ้นแรม

ดิถีหรือระยะขึ้นแรมของดวงจันทร์ในวันต่างๆ ตามหลักวิชาโหรภารตะจะมีการคำนวนอย่างละเอียด โดยอาศัยองศาสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเรียกว่า ดิถีเพียร และอาจจะแตกต่างกับดิถีที่ปรากฏในปฏิทินทั่วๆไป ดิถีจะมีอยู่ 2 ปักษ์คือ

(1.) กฤษณปักษ์  หรือข้างแรมนับตั้งแต่แรม 1ค่ำจนถึงวันอวมาวาสี (พระจันทร์ดับ) (2.) ศุกรปักษ์ หรือข้างขึ้นนับตั้งแต่ขึ้น 1ค่ำไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ หรือ ปูรณมี ในการคำนวณพละหรือกำลังของดิถี ในวิชาโหราศาสตร์ หากเป็นข้างขึ้นระหว่าง ขึ้น 7 ค่ำ-แรม 7 ค่ำถือว่ามีพลังที่เป็นศุภมงคล ส่วนดิถีที่เหลือนอกจากนี้พลังจะลดลงตามส่วนของความสว่างของดวงจันทร์ คือแรม 8 ค่ำจนถึงขึ้น 6 ค่ำ

ในการแบ่งพละของดิถีดวงจันทร์เพื่อหาพลังรังสีที่เป็นมงคลของดวงจันทร์ ทางโหราศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้


ดังนั้นในการเลือกวันที่จะทำการมงคลควรจะพิจารณาดิถีก่อนเป็นอันดับแรกว่าเป็นดิถีประเภทใด หากเป็นพวกนันดิถี ภัทรดิถี ชยะดิถีหรือ ปูรณะดิถี ก็จะเกิดผลดีเป็นมงคลอย่างสูงและควรหลีกเลี่ยง ริกตะดิถี เพราะเป็นดิถีไม่ดี เว้นแต่จะมีพลังศุภมงคลจากทางอื่นมาช่วยแก้ไขให้บรรเทาให้เป็นกลาง หรือ ได้โยคเกณฑ์พิเศษจากเงื่อนไขอื่นๆ

 

(1.2) วาร-วันในสัปดาห์

วาระ หรือ วันในสัปดาห์ทั้ง 7 เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการคำนวณหาพละ หรือกำลังของดาวเคราะห์ที่มีกำลังแรงในวันนั้นๆ โดยวันในสัปดาห์ตั้งแต่วันอาทิตย์จนถึงวันเสาร์ล้วนแล้วแต่มีความเชื่อมโยงไปถึงดวงดาวเจ้าวันที่กำลังโคจรบนท้องฟ้า ซึ่งจะสามารถส่งผลดี-ร้ายได้จากกำลังดาวและลักษณะที่เป็นดาวศุภเคราะห์ศุภเคราะห์หรือปาปเคราะห์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

 

(1.3) นักษัตร-กลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง ๒๗

ส่วนสำคัญส่วนที่ 3 คือกำลังของดาวฤกษ์ทั้ง 27 หรือดาวนักษัตร มีความกว้างนักษัตรละ 13 องศา 20 ลิปดาซึ่งหากจันทร์โคจรผ่านกลุ่มดาวนักษัตรเหล่านี้เมื่อใด ก็จะสะท้องพลังรังสีดี-ร้ายของดาวฤกษ์เหล่านี้มาสู่พื้นปฐพี ซึ่งกลุ่มดาวนักษัตรเหล่านี้เองที่เราเรียกว่า “ฤกษ์” ซึ่งมีความสำคัญมากต่อดวงชาตาชีวิตของคน และเป็นหลักในการวางฤกษ์ยามต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้