ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ยันต์พุทธคุณลงเสาเอก เพื่อปกป้องคุ้มครองและเป็นศิริมงคลแก่การสร้างบ้านเรือน

 

อาศรมศรีจักรนารทได้จัดสร้างยันต์พุทธคุณ สำหรับบรรจุลงเสาเอกตามแบบโบราณ เช่นยันต์จัตตุโร ตรีนิสิงเห ยันต์โภคทรัพย์ ยันต์คุ้มภัย ยันต์กันปิศาจ  ฯลฯ  โดยจารด้วยมือลง แผ่นตะกั่ว ทอง นาก เงิน จำนวน 12 แผ่น  และผ้ายันผูกเสาเอกขาว-แดง จำนวนสองผืน (ปลุกเสกแล้วและจัดทำจำนวนจำกัด ฟรีค่าจัดส่ง รวม 1999 บาท) 

 

wattumongkol icon png

   

 

 

ชำระค่าบูชา ยันต์พุทธคุณลงเสาเอก ผ่านบัตรเครดิตและเพย์พาล

 

การแจ้งการโอนเงินชำระค่าบูชาครู

เมื่อท่านได้ชำระค่าครูแล้วกรุณาแจ้งการโอนเงินมาทาง SMS ที่หมายเลข 085-832-8228 หรือ แจ้งผ่าน Line @astroneemo

(คลิ๊กเพื่อแอดไลน์ https://lin.ee/s7l5EpF

 

 

line add astroneemopaypallogo186

แผ่นยันต์ ผ้าแดง ขาว ทอง นาก เงิน ตะกั่ว จารด้วยมือ

 


 

 

พิธีปลูกเรือนและยกเสาเอก

 

 

การยกเสาเอก

การปลูกเรือนควรปรึกษาโหราจรรย์ หาวันเวลาที่เป็นสิริมงคล ต้องจัดเตรียมเครื่องบูชาเสาไว้ให้พร้อม ในวันที่ยกเสา
ให้ เตรียมเสาไว้ให้พร้อมและกล่าวเซ่นไหว้ หรือขอซื้อจากเจ้าที่เจ้าทาง หรือแม่พระธรณีเป็นพิธี ตลอดจนบอกพระภูมิเจ้าที่เตรียม เครื่องบัดพลี มีต้นกล้วยไว้มัดเสาเอก ซึ่งอาจต้องให้พระสงฆ์ผู้ทรงศีลแลชำนาญทางไสยศาสตร์ ลงยันต์นำแผ่ทอง หรือผ้าแดง
มาผูกติดปลายเสา สำหรับผู้ที่ผูกนั้นจะเลือกสีตามวันเกิดของเจ้าของบ้านก็ได้ ครั้นได้ฤกษ์ให้เจิมเสาประพรมน้ำมนต์แล้วเอายันต์
ปิดหัวเสา พอได้เวลาก็ลั่นฆ้องตีกลองเคาะระฆัง หรือจะโห่ 3 ลา แล้วช่วยกันยกเสาตั้งตรง ข้อสำคัญที่สุดนั้น เสาเอกหรือเสาขวัญ
ต้องยกให้ตรงฤกษ์ที่หมอดูให้มา ตามจารีตประเพณีมาแต่โบราณสืบกันมา ดังพรรณนามาฉะนี้แล

 

 

 

 

พิธีปลูกเรือน

“ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่   สานอู่ตามใจผู้นอน”

ประวัติความเป็นมา

ภายหลังยุคกำเนิดแห่งโลกมหาสมุทรสาคร เกิดขุ่นข้นเป็นตมเกิดมหาปทุม (ดอกบัว)อันสวยงามผุดขึ้นมา ๕ดอก และมหาปทุมกับง้วนดินล้วนส่งกลิ่นหอมฟุ้งขจรขจาย ในครั้งนั้นบรรดาหมู่พรหมทั้งหลายจึงชักชวนกันลงมาชมดอกมหาปทุมและบริโภค ง้วนดิน รวมทั้งเหล่ารุกขผลาผล และข้าวสาลีอันมีรสชาติโอชาจนต่างติดอกติดใจ ทำให้รัศมีพรหมทั้งหลายนั้นมัวหมองลง ร่างพรหมก็อันตรธานหายไปกลับปรากฏเป็นร่างหญิงชายขึ้นมาแทน

ต่อมาเมื่ออดีตพรหมทั้งหลายมีใจ ปฏิพัทธ์ บังเกิดความยินดีในเมถุนธรรม สืบลูกหลานวงศ์ตระกูล ในครั้งนั้นท้าวผกาพรหมผู้มีศักดา จึงทรงประสาธน์ให้เกิดมีธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ภูเขา ทะเล พระอาทิตย์ พระจันทร์  ฯลฯ เกิดขึ้นบนโลกจนครบครัน เพื่อให้เป็นที่อาศัยของเหล่าอดีตพรหมเหล่านั้น จึงได้มีการสร้างเรือนเคหะสถาน และยกย่องผู้หนึ่งให้เป็นพระยาสมติราชรับหน้าที่ปกครอง

 

การปลูกเรือน

 

หากต้องการจะใช้ชีวิตในวัยครองเรือน ย่อมต้องจัดหาหรือปลูกสถานที่สำหรับอยู่อาศัย สร้างครอบครัว การปลูกเรือนนั้นในสมัยโบราณมีประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างน่าสนใจ ตั้งแต่การดูทำเลสถานที่ การดูฤกษ์ยาม ตลอดจนการตั้งศาลพระภูมิ การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ

แม้ในปัจจุบัน ความจำเป็นด้านเศรฐกิจ อาจทำให้วิถีชีวิตของชาวไทยเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ประเพณีการทำพิธีปลูกเรือนก็ยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะในเขตชนบทที่ยังห่างไกลต่อความเจริญหรือความเปลี่ยนแปลงทางด้าน วัตถุ

 

 

ดังมีรายละเอียดและขั้นตอนดั่งต่อไปนี้

๑. การนำชะตาของเจ้าของเรือนไปให้โหรหาฤกษ์ยามที่จะทำการปปลูกเรือน

๒. การเข้าป่าไปตัดไม้

๓. กการเลือกลักษณะเสา และการดูลักษณะตาของเสา การตัดเสา การสังเกตุดูเสาล้มเมื่อเวลาตัด

๔. วิธีจัดเสา พรหม สตรี สุข เพชร

๕. ๙อเสาละชื่อรอดต่างๆ

๖. วันและเดือนต่างๆ ที่ห้ามปลูกและอณุญาติให้ปลูกเรือน

๗. วิธีขุหลุม โกยมูลดินทิ้ง วิธีแก้เคล้ดเมื่อพบของในหลุม

๘.วิธียกเสาเอก

๙. พิธีสงฆ์ในงานปลูกบ้าน

 

 

๑. การตรวจดวงชะตาของจ้าของเรือน

ในสมัยโดบรารกก่อน ที่จะทำการปลูกบ้าน ต้องนำดวงซะตาของเจ้าของรือนที่จะปลูกไปใหห้โหรดุฤกษ์ยาม และให้ท่านผู้รู้เกี่ยวกับทางไสยศาสตร์ไปดูสถานที่ซึ่งจะทำการปลูกบ้านเรือน นั้นด้วย

๒. การเข้าป่าไปตัดไม้

การปลูกเรือนในสมัย ก่อนนั้น ต้องเข้าป่าไปตัดไม้กันเอง ไม่มีแบบสำเร็จรูปขายเหมือนอย่างในปัจจุบัน ซึ่งมีหลักที่ถือปฏิบัติกันดังนี้คือ คือ ให้ตัดเฉพาะเดือนอ้าย (เดือน ๑) เดือนยี่ (เดือน ๒) เดือน ๓ และเดือน ๔

นอกจาก ๔ เดือนดังกล่าวมาแล้วนั้น โบราณถือว่าเป็นเดือนที่ไม้บวช หากตัดไม้มาทำการปลูกสร้างบ้านจะเป็นการไม่สมควรหรือไม่มีมงคล ซึ่งหากลองพิจรณาดูแล้ว คงเนื่องมาจากเป็นช่วงที่สะดวกสำหรับการเดินทางในหน้าแล้ง เพราะในสมัยโบราณไม่มีถนนลาดยางหรือรถยนต์ยานพาหนะตลอดจนเครื่องไม้เครื่อง มือที่ทันสมัยเหมือนในปัจจุบัน

อีกประการหนึ่งคือ เวลาที่เหลืออีก ๘ เดือน เป็นช่วงที่ปล่อยให้ต้นไม้เจริญเติบโตเพราะหากปล่อยให้ตัดกันตามใจชอบเหมือน ในปัจจุบัน ย่อมไม่มีป่าหลงเหลือจนถึงลูกถึงหลานเป็นแน่

 

 

๓. การเลือกลักษณะของเสา

ในกการคัดเลือกไม้ที่มีลักษณะดีมาสำหรับใช้ทำเสานั้น มีหลักการเลือกไม้อยู่ ๒ แบบ คือ

๑.     เสาอุดมพฤกษ์ ได้แก่ เสาด้านโคนและด้านปลายเสมอกัน

๒.     เสาไม้ตัวเมีย ได้แก่เสาที่มีด้านโคนใหญ่แต่ปลายเล็ก

ไม้ที่มีลักษณะผิดไปจากนี้ ไม่ควรนำเอามาใช้ โบราณถือว่าเป็นเสาที่ไม่ดี

 

 

การตัดเสา และการสังเกตุดูเสาล้มเมื่อเวลาตัด

เมื่อคัดเลือกได้ เสาตามขนาดและลักษณะมงคลตามต้องการแล้ว ในการตัดเสามีการดูทิศทางเสาล้มซึ่งถือว่าเป็นลักษณะการล้มไปในทิศทางที่ดี คือต้องล้มไปในทิศต่อไปนี้ได้แก่

๑.     เสาล้มลงทางทิศบูรพา (ตะวันออก)

๒.     เสาล้มทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้)

๓.     เสาล้มทางทิศออีสาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ)

หากตัดแล้วเสาล้มลงไปทางทิศอื่นๆ ไม่นิยมใช้ เพราะเชื่อกันว่าอาจทำให้เกิดอันตราย ซึ่งคนในสมัยโบราณคงสามารถบังคับหรือจัดทำให้เสาที่ตัดล้มไปในทิศทางอันเป็น มงคลได้ไม่ยากนัก ถ้ารู้เคล็ดหรือวิธีการ

 

๔. วิธีจัคเสา พรหม สตรี สุข เพชร

วิธีจัดเสาทั้ง ๔ คือ เสาห้อง ๑ เสาคู่เสาห้อง ๑ เสาแรก ๑ เสาคู่เสาแรก ๑ ท่านให้จัดเสามาเรียงกันไว้ ๔ เสา แล้วเขียนชื่อ พรหม ๑ เพชร ๑ สุข ๑ สตรี ๑ ให้ผู้หญิงสาวพรหมจารี เอาไปวางที่เสา ๔ ต้นนั้น

ลำดับนั้น         ก.ใหห้เอาผ้าขาวพันเสาที่ชื่อว่าพรหม จัดเป็นเสาห้อง

ข.ให้เอาผ้าดำพันที่เสาที่ชื่อว่าสุข จัดเอาเป็นเสาคู่แรก ให้เอาผ้าแดงพันเสาที่ชื่อว่าเพชร จัดเอาเป็นเสาแรก

 

๕. ชื่อของเสา รอด พรึง ขื่อ ดั้ง และอุปกรณ์ต่างๆ

เสา คือ ไม้ที่ใช้ตั้งเป็นหลัก หรือไม้ที่เป็นเครื่องรองรับตัวเรือน เสาเรือน นั้นจัดเป็น ๕  ชนิด คือ

เสาดั้ง เสาเอก เสาโท เสาตรี และเสาพล หรือ เสาสามัญ

รอด คือ ไม้ที่สอดเข้าไปในรูเสาเป็นคู่ๆ สำหรับตง

ตง คือ ไม้เครื่องเรือนที่วางบนรอดหรือคานสำหรับรองพื้นกระดานหรือฟาก

พรึง คือ ไม้กระดานหน้าใหญ่พอกับวงเรือนรัดรอบเสาทั้ง ๔

ขื่อ คือ ไม้เครื่องบนสำหรับยึดหัวเสาด้านขวาง เป็นเครื่องบังคับปลายเสาไม่ให้เซ

หัวเทียน คือ เดือดหัวเสาสำหรับสอดรูขื่อ

ดั้ง คือ เสาที่ตั้งบนรอดสำหรับอกไก่ เรียกว่าเสาดั้ง ดั้งแขวนคือเสาที่ตั้งบนขื่อสำหรับอกไก่

อกไก่ คือ ไม้เครื่องเรือนที่พาดบนเสาดั้งเป็นสันหลังคา

จั่ว คือ เครื่องบนเรือนที่ยึดเสาด้านสกัดหลังคา สำหรับกันแดดลมและฝน ประกอบเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม บางที่เรียกว่า หน้าจั่ว มีเครื่องประกอบคือ ไม้ขื่อ จันทัน และใบดั้ง

จันทัน คือ ไม้อันที่ตั้งทแยงมุมประกับอยู่สองข้างหัวท้ายขื่อ ตอนบนจดกันกับใบดั้ง ดั้งเป็นรูปพนมแหลมปลาย เวลาวางไม้จันทันลงบนขื่อ ภาษาช่างเรียกว่าเหยียบจันทัน คือ จันทันเหยียบอยู่บนหลังขื่อ

ใบดั้ง คือ แผ่นไม้ที่ใช้ตั้งบนขื่อของโครงจั่ว ยันขึ้นไปรับไม้อกไก่ที่สันหลังคา

 

ชื่อของเสาต่างๆ

ตามคตินิยมโบราณมีชื่อเรียกเสาต่างๆ โดยได้อัญเชิญเทพยดา ให้มาสิงสถิตเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย ชื่อเรียกเสาต้นต่างๆ มีดังนี้

เลขที่ ๑  ชื่อว่า  พรหมพิทักษ์ฤาสาย

เลขที่ ๒  ชื่อว่า นารายณ์เรืองภพ

เลขที่ ๓  ชื่อว่า  จบพระนคร

เลขที่ ๔  ชื่อว่า  สุวรรณขวัญเมือง

เลขที่ ๕  ชื่อว่า  เรืองราหุล

เลขที่ ๖  ชื่อว่า  เจ้าคุณพระคลัง

เลขที่ ๗  ชื่อว่า  บังโพยภัย

เลขที่ ๘  ชื่อว่า  ชัยมงคล

ในการไปตัไม้เพื่อนำมาใช้สำหรับทำเสาเรือน ผู้ไปตัดต้องคัดเลือกเอาตาเสาที่มี ลักษณะดี ซึ่งมีอยู่ ๗ อย่างดังนี้

๑.     เสาที่มีตาเพียง ๑ ตา เรียกว่า ตากำลัง

๒.     เสาที่มีตา ๓ ตา เรียกว่า ตากำลังชนะ

๓.     เสาที่มีตาเล็กเป็นมหนูทั่วต้น เรียกว่า ตาดาวเรือง

๔.    เสาที่มี ๕ ตา

๕.    เสาที่มี ๙ ตา

๖.     เสาที่มีตานมหนูแลก้นหอย

๗.    เสาที่มีตาที่ต้นเสาและปลายเสา

เสาที่มีตาทั้ง ๗ ลักษณะนี้ ในเสาข้อ ๑,๓,๖, และ ๗ ถือว่าเป็นเสาที่มีลักษณะดีเยี่ยม

 

เคล็ดวิธีแก้เสาที่มีตาลักษณะไม่ดีให้กลายเป็นดี

ท่านให้เจาะตานั้น ออกแล้วเอายาปิด ยานั้นได้แก่เมล็ดพันธุ์ผักกาด ๑ ขี้วัวแดง ๑ น้ำผึ้งรวง ๑ น้ำนมวัว๑ เอาสิ่งละเท่าๆกันบดปิดที่ตาเสาร้ายให้กลายเป็นสวัสดิมงคล

 

ลักษณะของเสาที่ไม่ดี

๑.     เสาอมเปลือกเป็นรอยช้างแทง คือเนื้อไม้เป็นแผลช้ำเข้าไป เป็นอย่างไม้ขอนดอก

๒.     เสาที่เป็นรอยเชือกเถาวัลย์รัดถอนคอ

๓.     เสาที่เป็นปากช้าง คือ มีง่ามกิ่งอยู่ตรงที่ใดก็ตาม ถากกิ่งง่ามทิ้งก็เป็นแผลตาไม้

๔.    เสาที่เป็นเพรียง คือ มีตาเป็นรูป

๕.    เสาที่มีตาเรียงหมอน คือ มีตาเรียงกันเป็นแถว

๖.     เสาที่เป็นเป็ดไซ้ ไก่ตอด สลักรอด หมูสี และเสาคดอย่างน่องช้าง และเสาที่วางไว้บ่าพ้นดิน

(เป็ดไซ้ คือเสาเรือนที่มีตาเสมอหลังดินซึ่งเป็ดไซ้ได้ ถ้ามีตาเหนือหลังดินขึ้นมาสักคืบหนึ่ง เรียกว่า

ไก่ตอด ถ้ามีตาเหนือหลังดินขึ้นไปราวศอกหนึ่ง เรียกว่า หมูสี ถ้าตาตรงที่จะเจาะรูรอดเรียกว่า สลักรอด ทั้งนี้เพราะที่มีตาจะไม่ค่อยแข็ง และตาอยู่ใกล้พื้นดินจะทำให้ผุหรือแมลงชอนไชได้ง่าย เป็ดไก่ชอบมาตอดมาไซ้ หมูมาเอาสีข้างสีทำให้เรือนสะเทือนถือว่าไม่เป็นมงคล)

๗.เสาตกน้ำมัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่นิยมใช้ไม้ตะเคียน ไม้เต็งรัง มาทำเสา เพราะเป็นไม้ที่เรียกว่าเสามีชัน เมื่อทำเสาเรือนอยู่ไปนานๆ ไม้แห้งเกิดแตกร้าวเป็นรอยที่ปลายเสา แล้วชันน้ำมันที่อยู่ในนั้นได้รับความร้อนก็ละลายไหลเยิ้มซึมออกมา เชื่อกันว่ามีผีออาศัยอยู่ ต้องทำหิ้งจุดธูปเทียนบูชา หรือรื้อถอนไปถวายวัดเสีย หากไม่สามารถหรือถอนได้ก็เอาทองมาปิด คนจะทักแก้แคล็ดว่า “เสาตกน้ำมันเมื่อไหร ตกเป็นทองต่างหาก”เป็นการแก้เคล็ดเพื่อทำให้สบายใจขึ้น

ยาทาเสาเรือน

ท่านให้เอากฤษณา ๑ หรดาล ๑ ทองคำเปลว ๑ โคนม ๑ น้ำผึ้งเรือน ๑ สิ่งละเท่าๆกัน บดทาเสาร้ายให้กลายเป็นดีแล

ชื่อรอดต่างๆ

รอดที่ ๑  ชื่อว่า  ประจัญมารา

รอดที่ ๒  ชื่อว่า  มหาโภคทรัพย์

รอดที่ ๓  ชื่อว่า  ดับถ้อยคำ

รอดที่ ๔  ชื่อว่า  ห้ามทุกข์ร้อน

 

ชื่อพรึงต่างๆ

พรึงมีชื่อเรียกต่อไปนี้ ได้แก่ พรึงรีเรียงหมอน พรึงสุนทรพิทักษ์ และพรึงรีอีกอันหนึ่งชื่อว่า พระลักษมณ์จำลอง พรึงสกัด ชื่อว่า ห้องไสยาสน์

ชื่อขื่อต่างๆ

ขื่อที่ ๑  ชื่อว่า  มาศนพคุณ

ขื่อที่ ๒  ชื่อว่า  เจ้าคุณอัมพร

ขื่อที่ ๓  ชื่อว่า  มังกรล่อแก้ว

ขื่อที่ ๔  ชื่อว่าแคล้วศัตรู

ชื่อดั้งต่างๆ

ดั้งที่ ๑   ชื่อว่า  ธนูจำนง

ดั้งที่ ๒  ชื่อว่า   ธนูจำนง

ดั้งที่ ๓  ชื่อว่า  ณรงค์เรืองชัย

 

๖.วันและเดือนต่างๆ ที่ห้ามปลูกและอณุญาติให้ปลูกเรือน

คติความเชื่อของคนโบราณเกี่ยวกับการปลูกเรือนในวันต่างๆมีดังนี้

ปลูกเรือน วันอาทิตย์

ทุกข์ตามติดทุกวันไป อุบาทว์และจัญไร เกิดแก่ตนพ้นทวี

ปลูกเรือน วันจันทร์

ลาภอนันตืบังเกิดมี ผ้าผ่อนเงินทองทวี แสนเปรมปรีดิ์ในเคหา

ปลูกเรือน วันอังคาร

ไม่ทันนานเกิดพยาธิ์ อัคนีไหม้เคหา ฉิบหายมาสู่ตน

ปลูกเรือนใน วันพุทธ

บริสุทธิ์จำริญผล ลาภยศก็มาดล ลล้วนแล้วสิ่งอันดีดี

ปลูกเรือนใน วันพฤหัส

สุขจำรัสสราญศรี ลาภนานมี เป็นสุขขีนั้นหนักหนา

ปลูกเรือนใน วันศุกร์

ดีและทุกข์กึ่งอัตรา เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์นา ทั้งลาภไม่ค่อยมี

ปลูกเรือนใน วันเสาร์

อย่าดูเบาจงหน่ายหนี ถ้าตำรามี ฉิบหายมาสู่ตน

 

สรุปแล้ว วันที่เหมาะสำหรับการปลูกเรือน ตามคติความเชื่อของคนโบราณ ได้แก่ วันจันทร์ วันพุธ และวันพฤหัสบดี (หมายเหตุ****กฎเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นกฏเณฑ์ของหมอดูพื้นบ้าน ไม่ใช่กฏเกณฑ์ของระบบโหรฯเพราะโหรการใช้ฤกษ์ที่คำนวณจากดวงชาตาในระบบ โหราศาสตร์ ที่คำนวนจากกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 ฤกษ์ และสมพงษ์กับดวงชาตาเจ้าการ สามารถใช้ได้ทุกวันไม่มียกเว้น)

 

ปลูกเรือนใน เดือน๕

ทุกข์เทียมฟ้ามาถึงตน ทำอะไรไม่เป็นผล อันตรายจะบีฑา

ปลูกเรือนใน เดือน๖

แสนอิ่มอกเนกา ทรัพย์สินพูนพัฒนา ไหลหลั่งมายิ่งเนืองนอง

ปลูกเรือนใน เดือน๗

เสียบำเน็จและสิ่งของ สินทรัพย์ที่เคยครอง เสียไปทั่วเร่งกลัวไฟ

ปลูกเรือนใน เดือน๘

ทุกข์เผาแผดร้อนรนใจ สิ่งของจะเป็นไป แม้เก็บไว้บ่มิคง

ปลูกเรือนใน เดือน๙

ยศศักดิ์เจ้ามั่นคง ทรัพย์สินตนประสงค์ จำเริญวัฒนามา

ปลูกเรือนใน เดือน๑๐

จะฉิบหายต้องขี่คา ทุกข์พยาธิเวทนา ภัยอันตรายกรายกล้ำตน

ปลูกเรือนใน เดือน๑๑

ระวังเท็จจากพาลชน ทุกสิ่งไม่เป็นผล มีแต่ภัยอันตราย

ปลูกเรือนใน เดือน๑๒

เงินนากทองมีมากมาย ช้างม้าและวัวควาย มีทั้งทาสและทาสี

ปลูกเดือนใน เดือนอ้าย

นอนสบายเป็นเศรษฐี สิ่งสินเพิ่มพูนทวี เป็นสุขสำราญตน

ปลูกเรือนใน เดือนยี่

แม้เดือนนีก็โสภณ ข้าศึกและแสนผล อาจกันคนและศรัตรู

ปลูกเรือนในเดือน๓

ภัยติดตามเกิดอดสู เมื่อถึงกาลฤดู ย่อมเกิดมีอันตราย

ปลูกเรือนในเดือน๔

แม้เดือนนี้ก็สบาย ทุกข์โศกโรคสูญหาย สำราญกายสำราญใจ

 

สรุปแล้ว ตามคติความเชื่อของคนโบราณ เดือนที่นิยมปลูกเรือนถือกันว่ามงคล คือ

คือเดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๙ เดือน ๑๒ และเดือนอ้าย(เดือน๑)

สาเหตุที่นำเดือน ๕ มาขึ้นก่อน เพราะในสมัยโบราณนับเดือน ๕ เป็นเดือนขึ้นปีใหม่ของปี

(หมายเหตุ****กฎเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นกฏเณฑ์ของหมอดูพื้นบ้าน ไม่ใช่กฏเกณฑ์ของระบบโหรฯเพราะโหรการใช้ฤกษ์ที่คำนวณจากดวงชาตาในระบบ โหราศาสตร์ ที่คำนวนจากกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 ฤกษ์ และสมพงษ์กับดวงชาตาเจ้าการ สามารถใช้ได้ทุกเดือนไม่มียกเว้น)

 

ตำราขึ้นเรือนใหม่

วันขึ้นเรือนใหม่เป็นมงคล คือวันพุทธ วันพฤหัสบดี และวันศุกร์

ตำราทิศที่ขึ้นเรือนใหม่

หากขึ้นเรือนใหม่ทิศพายับ ดีพร้อมสรรพจะได้ผลตกต้องแก่ตน หากทิศอีสาน เริ่มต้นได้ทรัพย์สินเงินทองพึงพอใจ ทิศหรดีก็ดีเหลือไซร์ เข้าสาครอบครอง ทิศบูรพา หม่นหมองต้อง เกิดคดีความ ทิศประจิม จะเกิดเจ็บไข้ ทิศทักษิณ มีภัยจะเสียข้าวของ ทิศอาคเนย์ จะมีเภทภัยมรณา

 

ตำราฤกษ์วันปลูกเรือน

ปลูกเรือนวันอาทิตย์     เอาเสียงไก่เป็นฤกษ์

ปลูกเรือนวันจันทร์                 เอาเสียงผู้หญิงเป็นฤกษ์

ปลูกเรือนวันอังคาร       เอาเสียงม้าเป็นฤกษ์

ปลูกเรือนวันพุทธ                  เอาเสียงสังข์เป็นฤกษ์

ปลูกเรือนวันพฤหัสบดี   เอาเสียงถาดเป็นฤกษ์

ปลูกเรือนวันศุกร์                   เอาเสียงฆ้องกลองเป็นฤกษ์

ปลูกเรือนวันเสาร์                   เอาเสียงคนแก่เป็นฤกษ์

(หมายเหตุ****กฎเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นกฏเณฑ์ของหมอดูพื้นบ้าน ไม่ใช่กฏเกณฑ์ของระบบโหรฯเพราะโหรการใช้ฤกษ์ที่คำนวณจากดวงชาตาในระบบ โหราศาสตร์ ที่คำนวนจากกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 ฤกษ์ และสมพงษ์กับดวงชาตาเจ้าการ สามารถใช้ได้ทุกวันไม่มียกเว้น)

 

ลักษณะทนสมุทร

ลักษณะทนสมุทร คือ ลักษณะที่ไม่ดี ซึ่งคนโบราณห้ามมิให้กระทำเกี่ยวกับการปลูกเรือน ได้แก่

๑.ห้ามมิให้ปลูกเรือนคร่อมตอ

๒.ห้ามมิให้ปลูกเรือนคร่อมต้นไม้

๓.ห้ามมิให้ทำเรือนนอนตาก

๔.ห้ามมิให้ทำแหวกช่องกลางที่นอน

๕.ห้ามมิให้ทำรอดระเบียงโตกว่ารอดเรือน

๖.ห้ามมิให้ทำขี่ใหญ่กว่าหัวเสา

๗.ห้ามมิให้ลดหัวเสาเกินกัน

 

ข้อควรทราบต่างๆเกี่ยวกับการปลูกเรือน

๑.การเจาะรอด ให้วัดรอบเสาทบ ๑ ส่วน  เอา ๑ ส่วนเป็นรอด

๒.เรือนหลังหนึ่ง อย่าทำประตู ๔ แห่ง อย่าทำหน้าต่าง ๙ แห่ง เป็กลักษณะทวารทั้ง๙ ประตูนั้น อย่าให้ตั้งตรงเรือนเชื่อว่าปิดทวารไม่ดี

๓.ประตูเรือนนั้น ในเวลาจะทำ เอาชั่ว ๓ เท้าเป็นส่วนกว้าง ส่วนสูงเอา ๒ ชั่วกว้างทบเข้า ๑๑ ส่วน ลดเสีย ๑ ส่วน เอาแต่ ๑ ส่วน

๔.ประตูบ้านนั้น ในเวลาจะทำ เอาส่วนกว้างและส่วนยาวประสมกันเข้า แล้วเอา ๓ คูณ เอา ๘ หาร

ได้เศษ ๑,๒,๓,๔,๕ ดี ถ้าเศษนอกนั้นไม่ดี

๕.ประตูบ้าน ให้ทำกว้าง ๕ ชั่วฝาเท้า

๖.ประตูระเบียงให้ทำกว้าง ๓ ชั่วฝ่าเท้า

๗.ประตูบันไดให้ทำกว้าง ๕ ชั่วฝาเท้ากับ ๑ ก้อย

๘.อย่าทำประตูไว้ทางทิศ อาคเนย์(ตะวันออกเฉียงใต้)

๙.ให้ทำประตูไว้ทางทิศบูรพา(ตะวันออก)ทิศอีสาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ)และทิศอุดร(เหนือ)

๑๐.การทำบันไดนั้น ถือเคล็ดดังนี้ ถ้าพาดบันไดไปทางทิศบูรพา(ตะวันออก) ให้เอาผ้าเงินทองขึ้นก่อน ถ้าพาดบันไดไปทางทิศอุดร(เหนือ) ให้เอาทองขึ้นก่อน ๔พาดบันไดไปทางทิศพายับ(ตะวันตกเฉียงเหนือ) ให้เอาแมวขึ้นก่อน

 

๙.วิธีขุดหลุม โกยมูลดินทิ้ง วิธีแก้เคล็ดเมื่อพบของในหลุม

วิธีขุดหลุม โกยมูลดินทิ้ง จะกล่าวแต่เฉพาะในเดือนที่ดีเท่านั้น โดยคติความเชื่อของคนบราณ ถือว่าพญานาคจะหันศรีษะและหางไปตามทิศต่างๆ ดังนี้

 

 

เดือน

 

ศรีษะ

 

หาง

 

ท้อง

 

หลัง

ทิศที่โกย

มูลดินทิ้ง

 

ทิศที่ยกเสาแรก

เอาปลายเสา

ไปทางทิศ

 

๔,๕,๖

 

ประจิม

 

บูรพา

 

ทักษิณ

 

อุดร

 

อาคเนย์

 

อาคเนย์

 

อาคเนย์

 

๗,๘,๙

 

บูรพา

 

ประจิม

 

อุดร

 

ทักษิณ

 

อีสาน

 

อีสาน

 

อีสาน

 

๑๗,๑๑,๑๒

 

อุคร

 

ทักษิณ

 

บูรพา

 

ประจิม

 

พายับ

 

พายับ

 

พายับ

 

๑,๒,๓

 

ทักษิณ

 

อุดร

 

ประจิม

 

บูรพา

 

ประจิม

 

ประจิม

 

ประจิม

 

เครื่องบัตรพลีบูชาพญานาค

 

ท่านผู้รู้ได้กว่า วว่า เมื่อจะขุดหลุมเสาแรก ให้ทำเครื่องบัตรพลีบูชาพญานาคเสียก่อน แล้วจึงลงมือขุด ผู้ที่เคร่งครัดในประเพณีจริงๆ ท่านถึงกับเมาไม้ ราชพฤกษ์และไม้อินทนิลทำด้ามเสียม แม้คนขุดก็หาคนชื่อ อินทร์ พรหม ชัย และแก้ว

เครื่องบัตรพลีนั้น ให้จัดข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องกระยาบวช สำหรับผ้านั้น ให้ใช้สีต่างๆ กันตามเดือน ดังนี้

 

เดือน ๔,๕,๖   ให้ใช้ผ้าสีเหลือง

เดือน ๗,๘,๙   ให้ใช้ผ้าสีดำ

เดือน ๑๐,๑๑,๑๒        ให้ใช้ผ้าสีแดง

เดือน ๑,๒,๓    ให้ใช้ผ้าสีขาว

 

ของในหลุมและวิธีแก้

การขุดหลุม เมื่อขุดลงไปแล้ว บางทีได้ของอะไรบางอย่าง โบราณท่านมีวิธีแก้เคล็ดดังนี้

๑.หากขุดลงไป ได้ไม้ซางไฟ

วิธีแก้ ให้นิมนต์พระมาเจริญพระพุทะมนต์ แล้วเอาน้ำมนตืรดหลุม

๒.หากขุดลงไป ได้กระดูก

วิธีแก้ ให้เอาน้ำสรง(น้ำล้าง)แก้วแหวนเงินทองรดหลุม

๓.หากขุดลงไป ได้เชือกและเขา

วิธีแก้  ให้เอาน้ำมนต์รดหลุม

๔.หากขุดลงไป ได้อิฐและขี้หนู

วิธีแก้ ให้เอาน้ำผึ้งรวงรดหลุม

๕.หากขุดลงไป ได้เหล็ก

วิธีแก้ ให้เอาดอกบัวหลวง หญ้าแพรก และ น้ำล้างเท้าพระรดหลุม

หากขุดลงไปได้อะไรหรือไม่ได้ก็ดี ถ้าเอาน้ำพระพุทธมนต์มาประพรมเสียก่อนย่อมเป็นมงคล

๘.วิธียกเสาเอก

เมื่อตระเตรียมและ ผู้คนไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการทำพิธียกเสาเอก คือ เสาต้นด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เจ้าของบ้านจะต้องจัดเตรียมเครื่องบูชาดังต่อไปนี้

เครื่องบูชาเสา

เมื่อขุดหลุม จะตั้งเสา ท่านให้เอา ใบตอง ๕ ใบ ใบราชพกฤษ์ ๕ ใบ ต้นกล้วย ๑ และเอาแต่ใบ ๓ ใบ ต้นอ้อย ๑ ต้น เอาผูกกับปลายเสาให้แน่น แล้วเอาผ้าขาว ๔ กระทง เทียน ๘ เล่ม  บายสรี ๑ สำรับบูชาเสา แล้วยกเสาแรกลงหลุมให้ตรง ถ้าหากเอนไปทางทิศอีสาน ผตะวันออกเฉียงเหนือ) ก็ยังนับว่าดี

ในวันที่จะยกเสา ให้เอาเสามาวางเรียงกัน จัดเครื่องบัตรพลีมา เซ่นไหว้พระภูมิเจ้าที่ แม่นางพระธรณี หาท่านผู้รู้มาทำน้ำมนต์ประพรมเสาและพื้นที่ จะมีการสวดมนต์เย็นด้วยก้ได้  ครั้นแล้ว ให้คนขุดหลุม ยกเสาวางบนขาอย่าง แล้วเอาหน่อกล้วยหน่ออ้อย (เครื่องผูกเสา) ผูกไว้กับเสาให้แน่น เจิมด้วยมูลโคประสมดินสอพองทาคอรอดรอบ

ครั้นวันยกเสา มีพิธีทำขวัญเสา ให้เอาพวงเงินพวงทองคล้องปลายเสา เสาเอก (หรือเรียกว่าเสาขวัญ)

ประดับประดาเป็นพิเศษ หุ้มห่อผ้าดีกว่าเสาอื่นๆ จุดเทียนชัยให้ติดไว้ทุกต้น พร้อมทั้งจัดตั้งหม้อน้ำมนต์ แป้งน้ำหหอม ครั้นแล้วยกบายศรีออกมาจัดตั้งทำขวัญเสาต่อไป

เมื่อใกล้จะได้ฤกษ์ เจิมเสา ประพรมน้ำมนต์แล้วเอายันตืปิดหัวเสา ช่วยกันประคองเสาเอาไว้  พอได้ฤกษ์ผู้เป็นประธานจะลั่นฆ้อง ผู้ที่อยู่ในมนฑลนั้นพร้อมกันโห่ขึ้นสามลา ยกเสาเอกลงหลุมตั้งให้ตรง

ต่อแต่นั้นจงยกเสาดทต่อไป ข้อสำคัญ เสาเอกนั้นต้งยกลงหลุมให้ตรงกับฤกษ์ เวลา

 

๙.พิธีสงฆ์ในงานปลูกบ้าน

โดยทั่วไป การยกเสาเอกนั้น เมื่อโหรให้ฤกษ์ตามวันและเวลาที่ดี อาจจะเป็นเวลาเช้าก็ได้ หรือเวลาเย็นก็ได้ไม่แน่นอน ควรนิมนต์พระมาสวดเย็นและเช้า กับทั้งมีพิธีทำขวัญเสาดงกล่าวมาแล้ว

 

ต้นไม้ที่ห้ามปลูกในบ้าน

ต้นไม้ที่ห้ามปลูกในบ้าน ได้แก่ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นตาล ต้นมะกอก ต้นสำโรง ต้นมะงั่ว ต้นระกำ

ต้นหวาย  และต้นสลัดได

 

ต้นไม้และทิศที่ปลูกเป็นมงคล

ทิศบูรพา                  ปลูกต้นไผ่ต้นกุ่มและต้นมะพร้าว

ทิศอาคเนย์      ปลูกต้นยอ ต้นสารภี

ทิศทักษิณ      ปลูกมะม่วง มะพลับ

ทิศหรดี          ปลูกชัยพฤกษ์ สะเดา ขนุน พิกุล

ทิศประจิม       ปลูกมะขาม มะยม

ทิศพายับ                  ปลูกมะกรูด

ทิศอุคร          ปลูกพุทรา และหัวว่านต่างๆ

ทิศอีสาน        ปลูกทุเรียน และขุดบ่อลงไว้

ผู้ใดทำการปลูกต้นไม้ดังกล่าวจะอยู่เย็นเป็นสุข ทรัพย์สินเนืองนอง

 

วันปลูกต้นไม้

วันอาทิตย์       ปลุกขิงข่าและเผือกมัน

วันจันทร์                   ปลูกกล้วยอ้อย

วันอังคาร                  ปลูกพืชเอาใบ เช่น แมงลัก ผัก ตระไคร้ พลู

วันพุทธ          ปลูกพืชเอาดอก เช่น ดอกบัว กุหลาบ มะลิฯ

วันศุกร์           ปลูกข้าว ฟัฟแฟงแตงถั่ว ต้นผลไม่ต่างๆ

วันพฤหัสบดี เหมือนวันพุทธ วันเสาร์เหมือนวันอังคาร

 

ภาพพิธีกรรม อาจารย์ณภัทร ศรีจักรนารท