先天卦爻 ปากว้าเหยา (เซียนเทียนกว้าเหยา-โซยทีข่วยง้าว)
ในคัมภีร์โจวอี้ 《周易》ปากว้าหรือโป๊ยข่วยคือ รูปลักษณ์พื้นฐานมีอยู่ 8 ข่วย(ตรีลักษณ์) ซึ่งประด้วยเส้น 3 เส้น(เหยาหรือง้าว)วางเรียงกัน โดย 「一」陽爻 ขีดตรงนับเป็นหยางเหยา 「--」陰爻 ส่วนเส้นประหรือเส้นขาดนับเป็นหยินเหยา เมือนำมาเรียงกันก็จะได้ 3 เหยา หรือนับ 1 ข่วย (ตรีลักษณ์) เมื่อนำมาผสมกันก็จะได้ 8 ข่วย (อัฏฐลักษณ์) ซึ่งประกอบด้วย
乾(☰)”เคี้ยง”、坤(☷)”คุง”、震(☳)”จิ่ง”、巽(☴)”สุ่ง”、坎(☵)”ขั้ม”、離(☲)”ลี้”、艮(☶)”กึ่ง”、兌(☱)”ต่วย”
คุณลักษณะพื้นฐานของโป๊ยข่วย ผังก่อนฟ้า
อักษรจีน | 乾 | 坤 | 震 | 巽 | 坎 | 離 | 艮 | 兌 |
ตรีลักษณ์ | ☰ | ☷ | ☳ | ☴ | ☵ | ☲ | ☶ | ☱ |
ชื่อ | เคี้ยง | คุง | จิ่ง | สุ่ง | ขั้ม | ลี้ | กึ่ง | ต่วย |
ธรรมชาติ | ฟ้า | ดิน | สายฟ้า | ลม | น้ำ | ไฟ | ขุนเขา | หนองบึง |
ครอบครัว | บิดา | มารดา | ลูกชายคนโต | ลูกสาวคนโต | ลูกชายคนกลาง | ลูกสาวคนกลาง | ลูกชายคนเล็ก | ลูกสาวคนเล็ก |
สัตว์ | ม้า | วัว | มังกร | ไก่ | หมูป่า | นกไก่ฟ้า | สุนัข | แพะ |
ร่างกาย | ศีรษะ | ท้อง | เท้า | น่อง | หู | ตา | มือ | ปาก |
กิริยา | ร่าเริง | ราบรื่น | เคลื่อนไหว | สอดคล้อง | ลึกเข้าไป | สวยงาม | หยุดนิ่ง | การพูด |
อำนาจ | ผู้นำ | ฝูงชน | ||||||
รหัส | 1 | 8 | 4 | 5 | 6 | 3 | 7 | 2 |
ธาตุ | ทอง | ดิน | ไม้ | ไม้ | น้ำ | ไฟ | ดิน | ทอง |
ประเภท | หยาง | หยิน | หยาง | หยิน | หยาง | หยิน | หยาง | หยิน |
ทิศ | ทิศใต้ | ทิศเหนือ | ออก/เหนือ | ตก/ใต้ | ตะวันตก | ตะวันออก | ตก/เหนือ | ออก/ใต้ |
ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ปราชญ์ทั้งหลายในยุคนั้นมีท่าน “เส้ายง 邵雍 ”(คศ.1012-1077) เป็นต้น ได้ทำการศึกษาค้นคว้าและวิจัย ”คัมภีร์อี้จิง” 《易經》และคัมภีร์ ”อี้จ้วน” 《易傳》อย่างจริงจัง จนได้ค้นพบหลักทฤษฎีลึกลับที่ซ่อนอยู่ในคัมคีร์ทั้งสอง นั่นก็คือการค้นพบทฤษฎี ปา-กว้าก่อนฟ้า (先天八卦) และปา-กว้าหลังฟ้า(後天八卦)
ปา-กว้าก่อนฟ้า(先天八卦-โซยทีโป๊ยข่วย) บางครั้งก็ถูกเรียกว่า “ฝูซีปา-กว้า” 伏羲八卦 (ปา-กว้าของจักรพรรดิ์ฝูซี) ส่วนปา-กว้าหลังฟ้า(後天八卦-เอ๋าทีโป๊ยข่วย) ก็มักถูกเรียกว่า “เหวินหวางปา-กว้า” 文王八卦 (ปา-กว้าของจักรพรรดิโจวเหวินหวาง)
ปา-กว้าสองประเภทนี้สำหรับดูฮวงจุ้ยในวิชาเซวียนเสวีย 玄學 และได้ผสมผสานกับวิชาซู่สู่ 術數 หรือวิชาอภิปรัชญาชั้นสูงของจีนโบราณซึ่งรวมไปถึงโหราศาสตร์จีนทุกแขนง ได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นระบบในยุคต่อๆมา โดยเฉพาะใช้ในวิชาฮวงจุ้ยขั้นสูง โดยมีหลักทฤษฎีว่า 先天為體、後天為用,體用並存 แปลความได้ว่า “ผังก่อนฟ้านั้นแสดงถึงคุณลักษณะภายใน ส่วนผังหลังฟ้าแสดงคุณลักษณะภายนอก และทั้งสองสิ่งนี้จะปรากฏขึ้นพร้อมๆกัน”
**หมายเหตุ คำว่า “ถี่” 體 ไม่ได้แปลว่าร่างกายหรือรูปร่างและ คำว่า”ย่ง” 用 ไม่ได้แปลว่าการนำมาใช้ แต่คำว่า體-用 เป็นคำอภิปรัชญาโบราณ เป็นคำคู่ของสิ่งที่คู่กันแต่ตรงข้ามกัน ในที่นี้คำว่า “ถี่” 體 หมายถึง ปฐมเหตุหรือมูลเหตุดั้งเดิมที่เป็นต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง ซึ่งซ่อนอยู่ลึกๆภายใน แต่จะแสดงปรากฏการณ์นี้ออกมาภายนอกผ่านทาง ”ย่ง” 用
เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น "ผังก่อนฟ้า" เป็นการแสดงคุณสมบัติ ศักยภาพและความสามารถอื่นๆที่เป็นมาแต่กำเนิด เช่น เด็กบางคนกระตือรือร้นมาก แต่เด็กบางคนกลับชอบนิ่งเงียบ
"ผังหลังฟ้า" เป็นการสั่งสมประสบการณ์และทักษะที่ได้เรียนรู้ในระหว่างเติบโตจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ เช่น บางคนเมื่อโตมาชอบเรียนด้านศิลปะแต่บางคนเลือกเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์
ปา-กว้า (โป๊ยข่วย) ก่อนฟ้า
สูตรในการจำ ปา-กว้า ก่อนฟ้า 天地定位 (เทียงตี่เตี่ยอุ่ย),山澤通氣 (ซัวเซ็กทงขี่),雷風相薄 (ลุ้ยฮวงเซียงเป๊าะ),水火不相射 (จุ้ยฮ่วยปุกเซียงเซีย),八卦相錯 (โป๊ยข่วยเซียงฉ่อ)
ขยายความดังนี้
天地定位,乾南坤北,父親配母親,一陽一陰兩兩相對
天地定位 (เทียงตี่เตี่ยอุ่ย) ฟ้าดินกำหนดตำแหน่ง 乾 เคี้ยงอยู่ทิศใต้คือฟ้า 天, 坤 คุงอยู่ทิศเหนือคือดิน 地 บิดาคู่มารดา หนึ่งหยาง(乾) หนึ่งหยิน(坤)ล้วนตรงข้ามกัน
山澤通氣,艮在西北,兌在東南,少男配少女,一陽一陰兩兩相對
山澤通氣 (ซัวเซ็กทงขี่) ชี่ผ่านภูผาและลำคลอง 艮 กึ่งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือคือขุนเขา,兌 ต่วยอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้คือหนองบึง ลูกชายเล็กคู่ลูกสาวเล็ก หนึ่งหยาง (艮) หนึ่งหยิน (兌)ล้วนตรงข้ามกัน
雷風相薄,震在東北,巽在西南,長男配長女,一陽一陰兩兩相對
雷風相薄 (ลุ้ยฮวงเซียงเป๊าะ) สายฟ้าคู่กับสายลม 震 จิ่งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือคือสายฟ้า 雷, 巽 สุ่งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้คือสายลม 風 ลูกชายคนโตคู่ลูกสาวคนโต หนึ่งหยาง(震)หนึ่งหยิน (巽) ล้วนตรงข้ามกัน
水火不相射,離東坎西,中男配中女,一陽一陰兩兩相對
水火不相射 (จุ้ยฮ่วยปุกเซียงเซีย) 八卦相錯 (โป๊ยข่วยเซียงฉ่อ) หากไฟกับน้ำไม่เล็งกัน ปา-กว้าย่อมผิดพลาด หมายถึงไฟกับน้ำต้องเล็งกันจึงจะถูก 離 ลี้อยู่ทิศตะวันออก คือ ไฟ 火, 坎 ขั้มอยู่ทิศตะวันตก คือ น้ำ 水 ลูกชายคนกลางคู่ลูกสาวคนกลาง หนึ่งหยาง (坎) หนึ่งหยิน (離) ล้วนตรงข้ามกัน โดยสรุปจะเห็นว่า 先天八卦 ปา-กว้าก่อนฟ้า ประกอบด้วยคู่หยินและหยางจะอยู่ตรงข้ามกันเสมอ
ทิศทางในแผนผังปา-กว้าก่อนฟ้า ในหล่อแกสำหรับดูฮวงจุ้ย ด้านบนคือทิศใต้, ล่างคือทิศเหนือ, ซ้ายคือทิศตะวันออก, ขวาคือทิศตะวันตก,สาเหตุเพราะบ้านในสมัยโบราณส่วนใหญ่จะสร้างบ้านหลังอิงทิศเหนือหันหน้าไปยังทิศใต้ โดยเฉพาะอาคารและสิ่งปลูกสร้างในพระราชวังล้วนหันหน้าไปยังทิศใต้ทั้งสิ้น เมื่อองค์จักรพรรดินั่งบนบัลลังก์ว่าราชการ ก็จะหันพระพักตร์ ไปยังทิศใต้ ดังนั้นสำหรับดูฮวงจุ้ยคติด้านบนคือใต้และด้านล่างคือทิศเหนือจึงเป็นการคุ้นเคยทางภูมิศาสตร์แบบดั้งเดิมของประเทศจีนมาแต่โบราณ
ดังนั้นฟ้าอยู่ด้านบน ดินอยู่ด้านล่าง ทิศใต้จึงเป็นทิศเคี้ยง 乾 ทิศเหนือเป็นทิศคุง 坤 เมื่อทิศทั้งสองจับคู่กันได้แล้ว เราจึงค่อยนำทฤษฏี ทวิภาวะ(หยิน-หยาง) ,จตุลักษณ์ และแผนภูมิปา-กว้ามาจัดวางตามทิศที่เหลือ 6ทิศ ให้สอดคล้องกัน
เช่น จตุลักษณ์ก่อให้เกิดปา-กว้า โดยมี “เหล่าหยาง” 老陽 หรือ “ไท่หยาง”太陽(1 ใน 4 จตุลักษณ์) ก่อให้เกิด เคี้ยงข่วย乾卦และต๋วยข่วย 兌卦 ,ส่วน “เส้าอิม” 少陰 ก่อให้เกิดลี้ข่วย 離卦และจิ้งข่วย 震卦,เส้าหยาง 少陽 ก่อให้เกิดสุ่งข่วย 巽卦 และขั้มข่วย 坎卦 , เหล่าอิม 老陰 หรือ “ไท่อิม” 太陰 ก่อให้เกิดกึ่งข่วย 艮卦 และคุงข่วย 坤卦
ดังนั้นจึงเรียงลำดับได้ดังนี้ 乾 1、兌 2、離 3、震 4,巽 5、坎 6、艮 7、坤 8 เมื่อได้เรียงลำดับตามนี้แล้วก็จะปรากฏภาพแผนผัง ปา-กว้าก่อนฟ้า ขึ้นมาตามรูปภาพประกอบด้านบน