Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

ข้อแนะนำภิกษุใหม่ของวัดบวรนิเวศวิหาร

หมวด  1  กิจวัตร

1.  ออกบิณฑบาตในตอนเช้า  ต้องให้ได้อรุณ  คือ  ให้สว่างเสียก่อนและควรออกบิณฑบาตทุกวัน  การเดิน     บิณฑบาตต้องอยู่ในลักษณะสำรวมและต้องห่มจีวรซ้อนสองผืน  ( คลุมสองไหล่ )

2.  ลงทำวัตรเช้า  เวลา 08.00  น.  ทุกวัน

2.1  สำหรับวันพระ  ลงทำวัตรและฟังเทศน์  เวลา  09.00  น.  และฟังเทศน์เวลา  15.20  น.  พาดผ้าสังฆาฏิด้วย  (  เข้าพระอุโบสถทางด้านข้าง  ห้ามเข้าทางด้านหน้าในวันดังกล่าว  )

2.2  ถ้าหากเป็นขึ้น-แรมวันพระแรม  14-15  ค่ำ  ตามปักขคณนา  (  ปฏิทินสำหรับบอกวันธรรมสวนะแบบหนึ่ง  โดยถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นสำคัญ  ซึ่งพระสงฆ์คณะธรรมยุตติกนิกาย  ใช้วิธีนี้  )  ต้องลงฟังพระปาติโมกข์  (  วินัยสงฆ์ที่เป็นข้อสำคัญมี  227  ข้อ  ได้มีพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเรียกว่า  สวดปาติโมกข์  )  ที่พระอุโบสถ  เวลา  12.45  น พาดผ้าสังฆาฏิด้วย   การลงฟังพระปาติโมกข์เป็นสิ่งสำคัญมาก  ภิกษุทุกรูปต้องไม่ขาดการฟัง  และต้องไม่รับนิมนต์ออกไปข้างนอกในวันดังกล่าว  
2.3  วันพระและหลังวันพระ  เวลา  19.00  น. ลงฟังการอบรมกรรมฐานที่ตึกส . ว . ธรรมนิเวศ  (  โปรดไปให้ถึงก่อนเวลา  )  ภิกษุจะเลือกลงทำวัดค่ำ  หรือลงฟังการอบรมกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้  และถ้าภิกษุรูปใดเลือกที่จะลงฟังการอบรมกรรมฐานทั้งสองวันดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการขาดลงทำวัตรค่ำ  เมื่อมีการขานฉายาตามข้อ 3.

3.  ลงทำวัตรค่ำ  เวลา  20.00  น. ทุกวัน  หลังจากทำวัตรค่ำแล้ว  ต้องตั้งใจฟังฉายา  (  ชื่อ  )  ของตนให้ดีเวลาถูกเรียกฉายา  ให้ขานรับว่า  อาคะโต  ภันเต  แปลว่า  มาครับ

3.1  ต้องมาทำวัตรค่ำให้ทันบทสวดพุทธคุณ  หากมาช้ากว่านี้  อย่าขานรับเพราะเป็นอาบัติปาจิตตีย์ในข้อ มุสาวาท

3.2  ข้อสำคัญ  การลงทำวัตรเช้า-ค่ำ  ถือเป็นกิจวัตรจำเป็นสำหรับพระภิกษุ  จึงควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

หมวด  2  ระเบียบวัด

1.  จะออกนอกวัดทุกครั้งทุกกรณี  ต้องลาท่านเจ้าอาวาสเสียก่อน

1.1  การบิณฑบาต  ต้องได้รับอนุญาตจากท่านเจ้าอาวาสเสียก่อน  เมื่อได้รับอนุญาตให้บิณฑบาตได้ทุกวันแล้ว  ไม่ต้องขออนุญาตอีก

1.2  การไปฉันภัตตาหารข้างนอก  จะต้องขออนุญาตจากท่านเจ้าอาวาสทุกครั้ง

1.3  การออกนอกวัดและการบิณฑบาต  ต้องนุ่งห่มไตรจีวรครอง (  ชุดครอง  )  ทุกครั้ง  และการออกนอกวัดต้องห่มจีวรคลุมไหล่ซ้อนสองผืน  และไม่สวมรองเท้า

2.  ถ้าท่านเจ้าอาวาสไม่อยู่หรือมีเหตุขัดข้องอย่างอื่นไม่สามารถขออนุญาตลาได้  ให้บอกลารองเจ้าอาวาส  ถ้ารองเจ้าอาวาสไม่อยู่  ให้ลาเจ้าคณะ  ถ้าเจ้าคณะไม่อยู่ให้ลาอาจารย์ของตน

3.  การออกนอกวัดหลังเที่ยงวันต้อง  “  ลาวิกาล ”  ถึงแม้ได้ลาท่านเจ้าอาวาสแล้ว  ต้องลาวิกาลกับภิกษุอื่น  (  จะมีอายุพรรษามากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้  )  โดยมีคำลาว่า “  วิกาเล ภันเต คามัปปะเวละนัง  อาปุจฉามิ  ”  ถ้าลาวิกาลกับภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่าใช้คำว่า  “  วิกาเล  อาวุโส คามัปปะเวละนัง  อาปุจฉามิ  ” ยกเว้น ไปวัดอื่นไม่ต้องลาวิกาล

4.  จะออกนอกคณะ  ต้องนุ่งห่มจีวรให้เรียบร้อย  ห้ามนุ่งเฉพาะผ้าสบงและอังสะ

5.  เมื่อภิกษุห่มจีวรคลุมสองไหล่  หรือ  สวมรองเท้า  หรือ  กั้นร่ม  ห้ามเดินผ่านบริเวณพระเจดีย์  เพราะเป็นอาบัติทุกกฏ

6.  เมื่อเดินเข้าไปใกล้พระผู้แแก่กว่าต้องถอดรองเท้า  หรือพับร่มและควรหยุดยืนสำรวมเพื่อแสดงความเคารพจนท่านเดินผ่านไป

7.  ควรหลีกเหลี่ยงการเดินสวนกับพระผู้แก่กว่าซึ่งห่มจีวรเฉียง  กรณีที่ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่าห่มจีวรคลองสองไหล่  เพราะเป็นการไม่ให้ความเคารพต่อพระผู้แก่กว่า

8.  เมื่อมีพระผู้แก่กว่านั่งอยู่  ภิกษุผู้อ่ออนพรรษากว่าต้องถอดรองเท้าเสียก่อน  แล้วจึงค่อยเดินผ่านไป  หากสวมรองเท้าเดินผ่านท่าน  จะเป็นการไม่ให้ความเคารพท่าน

9.  การลุกขึ้นยืนเพื่อแสดงความเคารพต่อพระเถระ  (  พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่  คือ  พระที่มีพรรษา  10  ขึ้นไปและมีความรู้ในพระปาฏิโมกข์  )

เมื่อพระภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่านั่งอยู่ใก้ลทางเดิน  หากมีพระเถระเดินผ่าน  หลักการแสดงความเคารพพึงกระทำดังนี้

9.1  ถ้าพระเถระเดินสวมรองเท้าผ่านมา  ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่าต้องลุกขึ้นยืนเพื่อแสดงความเคารพ

9.2  ถ้าพระเถระเดิน  ไม่สวมรองเท้าผ่านมา  ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่าต้องถอดรองเท้าแล้วลุกขึ้นยืน

เพื่อแสดงความเคารพ

10.  ในวันธรรมสวนะ  และวันอุโบสถ  (  วันพระ  )  เมื่อภิกษุจะเข้าโบสถ์  ให้ทุกรูปเดินอย่างสำรวมเข้าในช่องทางระหว่างพระประธานกับโต๊ะหมู่บูชาเป็นแถวตามระเบียบ  ภิกษุต้องไม่เดินเข้าและออกในช่องระหว่างกำแพงโบสถ์  เนื่องจากมีอุบาสก  อุบาสิกา  นั่งฟังเทศน์อยู่

11.  ในวันพระไม่ควรออกนอกวัด

12.  ไม่ควรรับแขกผู้หญิงในเวลาหลัง  18.00 น. เว้นไว้แต่ในกรณีจำเป็น  แต่ต้องแจ้งให้เจ้าคณะทราบ  และห้าม

รับแขกผู้หญิงในห้อง  (  รวมทั้งโยมมารดาด้วย  ) ในเวลาที่มีแขกผู้หญิงมาเยี่ยมต้องมีพระ  หรือ  เณร  หรือ--

ผู้ชายอื่นมานั่งอยู่ด้วย  และต้องไม่รับแขกในที่ลับหูลับตา

13.  ห้ามเดินเรียงหน้ากระดาน  จับคอ  จับแขนกัน  เย้าหยอกกัน  หัวเราะเสียงดัง  หรือตะโกนเรียกกัน

14.  ห้ามเดินสูบบุหรี่  ถ่มน้ำลาย  ขากเสลด  ตามที่สาธารณะ

หมวด  3  มารยาททางสังคม

1.  ฉันอาหารรวมกันตั้งแต่  2  รูปขึ้นไป  ต้องใช้ช้อนกลางตักอาหาร

2.  จะฉันอะไรทุกอย่างรวมทั้ง  ยารักษาโรคต่างๆ  ต้องรับประเคนก่อน  ยกเว้น  น้ำสะอาดสำหรับฉัน  หรือแปรงสีฟัน

การประเคน  ไม่ให้ห่างเกิน  1  ศอก  (  หัตถบาส  )  ถ้าผู้หญิงประเคนต้องใช้ผ้ารับ  หรือ  ถ้าผู้ชายและผู้หญิงประเคนร่วมกันต้องใช้ผ้ารับ

3.  การบริโภคปัจจัย  4  คือ  จีวร,  อาหาร  ที่อยู่อาศัย  ยา  ต้องพิจารณาก่อน

4.  หลัง 12.00  น. ห้ามฉันอาหาร  นม  น้ำผลไม้ที่มีกาก  คอฟฟี่เมท   (  น้ำผลไม้ที่ไม่มีกากฉันได้  )  การฉันอาหาร  เครื่องดื่ม  ต้องนั่งลงฉันทุกครั้ง

5.  จำวัดเวลาใด  ให้ปิดกุฏิให้เรียบร้อย  (  ไม่ทำเป็นอาบัติทุกกฏ  )

6.  แสดงกิริยามารยาทที่สำรวมขณะที่นั่งอยู่ในพระอุโบสถ  ห้ามนั่งเท้าแขน  หักนิ้วมือนิ้วเท้า  หรือ นั่งคุย

7.  ประนมมืออย่าให้มือตก  หรือนิ้วห่าง  หรือประสานนิ้ว  หรือใช้นิ้วค้ำคาง  ควรประนมมือให้เป็นรูปดอกบัวตูม   อยู่ในระดับทรวงอก  ปลายนิ้วเชิดขึ้นเล็กน้ย  เพื่อความสวยงามน่าเลื่อมใส

8.  ไม่นุ่งผ้าลอยชายอย่างคฤหัสถ์  ต้องนุ่งห่มให้เรียบร้อย

9.  ในเวลาต้อนรับแขกต้องห่มจีวรทุกครั้ง  ถ้ามีแขกผู้หญิงต้องนั่งบนอาสนะคนละผืน

10. ไม่ตาก  หรือ  พาดผ้า  วางสิ่งของ  ตามราวบันไดที่ใกล้ถนน

11. ไม่จับกลุ่มคุยกันส่งเสียงดังในทุกที่  ไม่ตะโกนข้ามกุฏิส่งเสียงดัง

12. ไม่เด็ดดอกไม้  ใบไม้  ทำลายต้นไม้  ฝ่าฝืนเป็นอาบัติปาจิตตีย์

หมวด  4  เบ็ดเตล็ด

1.  ไม่แน่ใจเรื่องใดให้ถามพระพี่เลี้ยงทุกครั้ง

2.   ควรหาโอกาสพูดคุยกับพระเก่าที่มีอายุพรรษามากกว่าที่สามารถแนะนำพระวินัย ที่ตนไม่ทราบและไม่เข้าใจ

3.  ถ้าอยู่ในกุฏิหรือในขณะของตน  เมื่อไม่มีแขกจะสวมแต่สบงและอังสะไม่ห่มจีวรก็ได้

4.  ถ้าประสงค์สิ่งใดให้ใช้คำ  กัปปิยโวหาร  คือถ้อยคำที่สมควรแก่สมณะ  เช่น อาตมาต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้จงไปหา

มาให้  เป็นต้น  กัปปิยโวหารเช่นคำว่า  อาตมา  (  ฉัน  ผม  )  จำวัด  (  นอน  )  ฉัน (  ทานสิ่งต่างๆ  )

5.  ห้ามจับเงิน  ทอง  และสิ่งที่ใช้แทนเงินทอง  (ธนบัตร  เหรียญ  )  รวมทั้งอัญญมณีต่างๆ

6.  ต้องรักษาความสะอาดเสนาสนะที่อยู่ของตนอย่างเคร่งครัด

7.  การวางบาตร  ห้ามวางบาตรโดยไม่มีขาวางบาตรเด็ดขาด  ห้ามวางบาตรบนโต๊ะ  ตั่ง  เตียง  ถ้าจะวางต้องวาง

ลึกเข้าไป  1  ศอก  ห้ามยืนเช็ดบาตรเด็ดขาด  ต้องนั่งลงเวลาเช็ด