ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

moon phases2

ทุกคนรู้จักดวงจันทร์ ส่วนใหญ่อาจเคยเห็นภูเขาสูง หลุมใหญ่น้อยจำนวนมากบนดวงจันทร์โดยดูผ่านกล้องดูดาว แล้วเกิดความรู้สึกประทับใจต่าง ๆ กัน แต่หลายคนคงไม่ทราบล่วงหน้าว่าในแต่ละคืนดวงจันทร์อยู่ตรงไหน มีลักษณะอย่างไร คืนนี้จะเห็นดวงจันทร์หรือเปล่า ตอนที่ออกไปกลางแจ้งดูท้องฟ้าดวงจันทร์กำลังขึ้นหรือว่าอยู่สูงบนฟ้า หรือว่ากำลังจะลับขอบฟ้าทางตะวันตก จะมีดาวสว่างอยู่เคียงข้างในลักษณะ "ดาวเคียงเดือน" หรือไม่ แสงจันทร์จะรบกวนการดูดาวอื่น ๆ เพียงใดดวง จันทร์จะเป็นอย่างไรในคืนนี้ เราจะถามคำถามนี้ได้ต้องรู้ว่าคืนนี้เป็นวันข้างขึ้นหรือวันข้างแรมกี่ค่ำ มนุษย์ใช้ดวงจันร์เป็นเครื่องบอกเวลาและทำปฏิทินมานานแล้วเรียกว่าปฏิทินจันทรคติ

คำว่า "เดือน" ก็มาจากดวงจันทร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลก 1 รอบ บรรพบุรุษของเราได้เฝ้าสังเกตความยาวของเดือนจากดวงจันทร์อย่างละเอียดแล้ว พบว่า ช่วงเวลาจากจันทร์เพ็ญหนึ่งถึงจันทร์เพ็ญถัดไป หรือช่วงเวลาระหว่างการเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน มีความยาวประมาณ 29.5 วัน ปฏิทินจันทรคติของไทยจึงแบ่งเดือนออกเป็น 2 พวก คือ พวกเดือนขาดหรือเดือนคี่ และพวกเดือนเต็มหรือเดือนคู่ โดยให้เดือนคี่มี 29 วัน และเดือนคู่มี 30 วัน ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะได้เดือนละ 29.5 วัน วันเริ่มต้นของเดือนคือ ขึ้น 1 ค่ำ ดวงจันทร์เป็นเสี้ยวเล็กมาก ตกลับขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ภายในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในวันถัดมาดวงจันทร์อยู่ห่างดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออกมากขึ้น ส่วนที่ได้รับแสงสว่างหันมาทางโลกมากขึ้น เราจึงเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวโตขึ้นและดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าภายหลังดวง อาทิตย์ประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที นี่คือ วันข้างขึ้น 2 ค่ำ วันข้างขึ้นดวงจันทร์สว่างมากขึ้นห่างดวงอาทิตย์มากขึ้น และขึ้นเวลากลางวัน

 

media 229 5848f59889e17

 

ถ้าห่างดวงอาทิตย์ 90 จะปรากฏเป็นรูปครึ่งวงกลม ขึ้นเวลาเทียงวัน ดังนั้นเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินดวงจันทร์จึงอยู่สูงสุดบนฟ้า หันด้านนูนไปทางดวงอาทิตย์และตรงกับข้างขึ้น หรือ 8 ค่ำ ซึ่งเป็นวันพระ ดวง จันทร์วันขึ้น 7-8 ค่ำจะตกลับขอบฟ้าประมาณเที่ยงคืน ดวงจันทร์เต็มดวงหรือจันทร์เพ็ญจะตรงกับขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันพระกลางเดือนหรือแรม 1 ค่ำ พอดวงอาทิตย์ลับของฟ้าทางตะวันตกดวงจันทร์เพ็ญจะขึ้นทางตะวันออก เพราะฉะนั้น ดวงจันทร์วันขึ้น 15 ค่ำ จึงอยู่บนฟ้าตลอดทั้งคืนและสว่างที่สุดด้วย แสงจันทร์เพ็ญรบกวนการดูดาวเป็นที่สุดหลังจากขึ้น 15 ค่ำแล้วจะเป็นวันแรม 1 ค่ำจนถึงแรม 14 ค่ำ สำหรับเดือนคี่ ส่วนเดือนคู่จะมีถึงแรม 15 ค่ำ วันแรมน้อย ๆ ดวงจันทร์ยังสว่างมากและขึ้นจากขอบฟ้าช้าลงวันละประมาณ 50 นาที วันแรม 7-8 ค่ำ ดวงจันทร์ปรากฏเป็นรูปครึ่งวงกลม ขึ้นเวลาประมาณเที่ยงคืน จึงอยู่สูงสุดบนฟ้าในเวลาจวนสว่าง

วันข้างแรมแก่ ๆ ดวงจันทร์จะไม่เป็นอุปสรรคในการดูดาวก่อนดวงจันทร์ขึ้น เรากำหนดให้วันแรม 7 -8 ค่ำ และแรม 14-15 ค่ำ เป็นวันเพระเช่นเดียวกัน ใน การสังเกตดวงจันทร์ นักดาราศาสตร์กำหนดให้ขนาดปรากฏของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงตาม "อายุ" กล่าวคือ เริ่มต้นนับอายุเมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ขึ้นพร้อม ๆ กันซึ่งตรงกับวัน จันทร์ดับ (New Moon) วันที่เห็นดวงจันทร์เป็นรูปครึ่งวงกลมครั้งแรก ดวงจันทร์จะผ่านวันเดือนดับมาแล้ว 7 หรือ 8 วันเรียกว่าดวงจันทร์มีอายุประมาณ 7-8 วัน (First quater Moon) จันทร์เพ็ญ (Full Moon) คือดวงจันทร์อายุ 15 วัน วันที่เห็นดวงจันทร์เป็นรูปครึ่งวงกลมหลังจะตรงกับวันที่ดวงจันทร์มีอยุ 22 วัน (Last quater Moon) ซึ่งจะตรงกับวันราว ๆ แรม 7-8 ค่ำ ดังนั้นดวงจันทร์ที่ปรากฏบนฟ้าจึงมีอายุสูงสุดเป็น 29.5 วันถ้า ทราบวันข้างขึ้น-ข้างแรมหรืออายุของดวงจันทร์แล้ว เราจะสามารถบอกได้ว่าคืนนั้นดวงจันทร์จะสว่างเพียงใด อยู่ ณ ตำแหน่งใดเมื่อเวลาที่ดู

ต่อไปนี้จึงเป็นบทสรุปการเห็นดวงจันทร์ที่มีอายุต่าง ๆ กัน

ระหว่างวันเดือนดับและวันที่ดวงจันทร์เป็นรูปครึ่งวงกลมแรกวันเดือนดับจะไม่เห็นดวงจันทร์ เพราะดวงจันทร์ปรากฏอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ในสัปดาห์นี้เราจะเห็นดวงจันทร์อยู่ ทางตะวันตกในเวลาหัวค่ำเห็นเป็นเสี้ยวโตขึ้นตามอายุ ดวงจันทร์อายุ 1 วันหรือประมาณขึ้น 1 ค่ำจะเป็นเสี้ยวเล็กที่สุดใกล้ขอบฟ้าตรงที่ดวงอาทิตย์ตก คล้ายเขาวัวปลายแหลม 2 เขาชูขึ้น ดวงจันทร์ขึ้น 1 ค่ำ จะลับขอบฟ้าไปพร้อมแสงพลบค่ำ ดวงจันทร์อายุ 3 วันหรือขึ้น 3 ค่ำจะเห็นอยู่สูงจากขอบฟ้าด้านตะวันตกมากกว่าขึ้น 2 ค่ำในเวลาเดียวกัน แต่สว่างมากกว่า จะตกลับฟ้าหลังดวงอาทิตย์ประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที ดวงจันทร์อายุ 5 วันหรือขึ้น 5 ค่ำจะสว่างขึ้นเป็นรูปเขาควายหงายเพราะอ้วนขึ้น อยู่สูงจากขอบฟ้าด้านตะวันตก หันด้านนูนไปยังจุดที่ดวงอาทิตย์ตก ตกกินหลังดวงอาทิตย์ประมาณ 4 ชั่วโมง ดวงจันทร์อายุ 7 วันหรือขึ้น 7 ค่ำจะปรากฏเป็นรูปครึ่งวงกลมครุ่งแรก เห็นอยู่สูง ๆ กลางฟ้าเมื่อเวลาหัวค่ำ หันด้านนูนไปทางตะวันตก สว่างมากขึ้น รบกวนการดูดาวไปจนถึงประมาณเที่ยงคืนระหว่างดวงจันทร์รูปครึ่งวงกลมครึ่งแรกและจันทร์เพ็ญ


ดวงจันทร์สว่างขึ้นและเห็นอยู่ค่อนไปทางตะวันออก ตกลับขอบฟ้าหลังเที่ยงคืนช้าลงไปวันละประมาณ 50 นาที เช่นวันขึ้น 10 ค่ำหรือดวงจันทร์อายุ 10 วันจะตกดินหลังดวงอาทิตย์ประมาณ 8 ชั่วโมง 20 นาที วันเพ็ญดวงจันทร์จะสว่างทั้งคืนระหว่างจันทร์เพ็ญกับดวงจันทร์รูปครึ่งวงกลมครึ่งหลังเป็น ดวงจันทร์ข้างแรมอายุมากกว่า 15 วัน ถ้าเป็นข้างแรมน้อย ๆ ดวงจันทร์จะรบกวนการดูดาวตลอดคืน ถ้าเป็นข้างแรม 4-7 ค่ำ จะมีเวลาดูดาวโดยดวงจันทร์ไม่รบกวนในเวลาหัวค่ำถึงประมาณ 3 ทุ่ม ถ้าเป็นวันพระแรม 7 ค่ำดวงจันทร์จะขึ้นประม าณเที่ยงคืนระหว่างดวงจันทร์รูปครึ่งวงกลมครึ่งหลังและวันเดือนดับเป็น ดวงจันทร์ช่วงสัปดาห์สุดท้ายตั้งแต่แรม 8 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำ ดวงจันทร์ขึ้นหลังเที่ยงคืนจึงมีเวลาดูดาวตอนก่อนเที่ยงคืนได้อย่างเต็มที่ หลังเที่ยงคืนไปแล้วดวงจันทร์แรม 8-9 ค่ำจะรบกวนแล้วจะรบกวนน้อยลงสำหรับวันดวงจันทร์อายุมากหรือวันข้างแรมแก่ ๆ ตอนนั้นดวงจันทร์จะปรากฏเป็นเสี้ยว ในลักษณะที่เป็นเขาวัวปลายเขาชี้ขึ้นจากขอบฟ้าด้านตะวันออกหันด้านนูนไปทาง จุดที่ดวงอาทิตย์กำลังจะขึ้น

การดูแผนที่ดวงจันทร์

บนดวงจันทร์มีหลุมบ่อหรือเที่เรียกทับศัพท์ว่าเครเตอร์ไม่มีน้ำหรือทะเล แต่กาลิเลโอผู้เอากล้องโทรทรรศน์ส่องดูเป็นคนแรกคิดว่าดวงจันทร์เหมือนโลก จนให้บริเวณกว้างดังทะเลบนดวงจันทร์ว่า ทะเล หรือ มหาสมุทร ตรงกับคำละตินว่า มาเร (Mare) ซึ่งมีพหูพจน์ว่า มาเรีย (Maria) นอกจากนี้ยังมีภูเขา หุบเหว เป็นต้น

โดย: นิพนธ์ ทรายเพชร

แผนที่แสดงตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ บนดวงจันทร์

ทะเล
1. Mare Frigoris
2. Mare Imbrium
3. Sinus Aestuum (Bay of Seething)
4. Sinus Medii (Bay of the Center)
5. Mare Vaporum (Sea of Vapors)
6. Mare Serenitatis (Sea of Serenity)
7. Mare Tranquillitatis (Sea of Tranquillity)
8. Mare Crisium (Sea of Crises)
17. Lacus Somniorum (Lake of Sleep)
18. Palus Somnii (Marsh of Sleep)
19. Mare Anguis (Sea of Snakes)
20. Mare Undarum (Sea of Waves)
9. Mare Fecunditatis (Sea of Fecundity)
10. Mare Nectaris (Sea of Nectar)
21. Mare Spumans (Sea of Foam)
11. Mare Nubium (Sea of Clouds)
12. Mare Humorum (Sea of Moisture)
13. Mare Cognitum (Known Sea)
22. Palus Epidemiarum (Marsh of Diseases)
14. Oceanus Procellarum (Ocean of Storms)
15. Sinus Roris (Bay of Dew)
16. Sinus Iridum (Bay of Rainbows)

ภูเขา

23. Montes Alpes
24. Vallis Alpes (Alpine Valley)
25. Montes Caucasus
26. Montes Apenninus
27. Montes Haemus
28. Montes Taurus
29. Montes Pyrenaeus
30. Rupes Recta (Straight Wall)
31. Montes Riphaeus
32. Vallis Schr๖teri (Schr๖ter's Valley) [Northwest of Crater Aristarchus, 73, and North of Crater Erodotus]

33. Montes Jura

เครเตอร์
34. Crater Aristotle [on the East part of Mare Frigoris, 1]
35. Crater Cassini
36. Crater Eudoxus
37. Crater Endymion
38. Crater Hercules
39. Crater Atlas
40. Crater Mercurius
41. Crater Posidonius
42. Crater Zeno
43. Crater Le Monnier
44. Crater Plinius
45. Crater Vitruvius
46. Crแter Cleomedes
47. Crater Taruntius
48. Crater Manilius
49. Crater Archimedes
50. Crater Autolycus
51. Crater Aristillus
52. Crater Langrenus
53. Crater Goclenius
54. Crater Hypatia
55. Crater Theophilus
56. Crater Rhaeticus
57. Crater Stevinus
58. Crater Ptolemaeus
59. Crater Walter
60. Crater Tycho
61. Crater Pitatus
62. Crater Schickard
63. Crater Campanus
64. Crater Bulliadus
65. Crater Fra Mauro
66. Crater Gassendi
67. Crater Byrgius
68. Crater Billy [Mons Hansteen is to the North of Crater Billy]
69. Crater Cr�ger
70. Crater Grimaldi
71. Crater Riccioli
72. Crater Kepler
73. Crater Aristarchus [Crater Herodotus is West of Crater Aristarchus]
74. Crater Copernicus
75. Crater Pytheas
76. Crater Eratosthenes [near the Southwestern extreme of Montes Apenninus, 26]
77. Crater Mairan
78. Crater Timocharis
79. Crater Harpalus [Crater Pythagoras is North of Crater Harpalus]
80. Crater Plato