Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

17.Tri Dosha

 

อายุรเวท: ศาสตร์แห่งสุขภาพจากคัมภีร์พระเวท อายุรเวท มาจากภาษาสันสกฤตว่า  อายุส แปลว่าชีวิต และเวท แปลว่า ศาสตร์   รวมแปลว่าศาสตร์แห่งชีวิต อายุรเวทเป็นระบบการรักษาของอินเดียโบราณที่ได้มีการสั่งสมประสบการณ์เป็นเวลายาวนานหลายพันปี   และศาสตร์แห่งอายุรเวทและโหราศาสตร์พระเวทต่างก็มีต้นกำเนิดจากคัมภีร์พระเวทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเช่นเดียวกัน นอกจากนี้เราก็ยังสามารถหาคำตอบเกี่ยวกับสุขภาพและโรคภัยต่างๆโดยใช้วิธีการทางโหราศาสตร์ผสมผสานกันกับทฤษฎีของอายุรเวทศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างลึกซึ้ง

ทฤษฎีตรีโทษ

ศาสตร์อายุรเวทอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาฮินดูโบราณ ที่ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของมนุษย์และสรรพสิ่งประกอบด้วยปัญจมหาภูตะ (ธาตุทั้ง 5)ได้แก่

 (1)ดิน (2)น้ำ (3)ลม (4)ไฟ และ(5)อากาศ (ช่องว่าง)

ส่วนองค์ประกอบในระบบสรีระของมนุษย์ของมนุษย์  ธาตุปัญจมหาภูตะ จะรวมและแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เรียกว่าตรีโทษะ  หรือไตรโทษ ซึ่งถือเป็นหลักการแรกที่จะนำมาวินิจฉัยโรคและผู้ป่วย ก่อนจะทำการรักษาแพทย์อายุรเวทจะต้องทราบว่าตัวผู้ป่วยมีลักษณะของโทษะตัวไหนเป็นหลักและตัวไหนเป็นรองซึ่งได้แก่
(1.) วาตะ    คืออากาศรวมกับลม  หรือลมชีวภาพ หมายถึงการเคลื่อน   ทุกสิ่งในร่างกายที่สามารถเคลื่อนหรือไหลได้   เรียกว่าปราณะ ซึ่งปราณะคือพลังชีวิต
(2.) ปิตตะ   คือไฟรวมกับน้ำ หรือไฟชีวภาพ   หมายถึงความร้อนทุกชนิดในร่างกาย   ชนิดที่สำคัญคืออัคนี ซึ่ง อัคนีคือไฟแห่งชีวิต  
(3.) กผะ     คือดินรวมกับน้ำ  หรือน้ำชีวภาพ   หมายถึงโครงสร้างพื้นฐานของร่างกาย

ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของไตรโทษะตลอด ตามช่วงวัน ฤดุกาล  ตามวัย เป็นต้น   เช่นวัยเด็กมีการเสริมสร้าง กผะจะเด่น  วัยหนุ่มสาว ปิตตะจะเด่น   และวาตะจะเด่นในวัยชรา   ไตรโทษะจะต้องอยู่ในสภาวะสมดุล จึงจะมีสุขภาพที่ดี   สรรพสิ่งจะมีผลต่อสมดุลของโทษะและระบบธาตุดังกล่าวข้างต้น จะมีความสัมพันธ์กับราศีต่างๆในระบบโหราศาสตร์ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

โหราศาสตร์กับตรีโทษ

(1) กลุ่มวาตะโทษ

ธาตุ- ลม ราศี- ราศีเมถุน, กันย์, ตุลย์, มังกร, กุมภ์ ดาวเคราะห์- ดาวพุธ, ดาวเสาร์, ดาวศุกร์ (รอง), ราหู

(2) กลุ่มปิตะโทษ

ธาตุ-ไฟ ราศี- ราศีเมษ, ราศีสิงห์, ราศีธนู, ราศีพิจิก ดาวเคราะห์- ดาวอังคาร, ดวงอาทิตย์, ดาวพฤหัสบดี (รอง), เกตุ

(3) กลุ่มกผะโทษ

ธาตุ -ดินและน้ำ ราศี - ราศีพฤษภ, กรกฏ, ราศีมีน ดาวเคราะห์- ดาวจันทร์, ดาวศุกร์ (หลัก), ดาวพฤหัสบดี (หลัก) ดาวเสาร์ (รอง)

นอกจากนี้ในการวิเคราะห์สุขภาพและโรคภัยของบุคคลจากราศีและดวงชาตากำเนิดแล้ว ก็ยังมีอีกหลากหลายวิธีที่สามารถช่วยให้เราวินิจฉัยโรคได้ เช่น การตรวจชีพจร การตรวจสีของปัสสาวะ การดูลักษณะจากใบหน้า ผิวพรรณและบุคลิก รูปร่าง ลักษณะต่างๆของแต่ละบุคคล

ตรีโทษกับบุคลิกลักษณะของบุคคล

บุคคลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทตามโทษะที่แสดงออกมาเด่นและชัดเจนที่สุด ซึ่งอาจจะคล้ายกับการแบ่งบุคคลตามลักษณะยีน (gene)ทางพันธุกรรม หรือ DNA ในสมัยปัจจุบัน

  • บุคคลประเภทวาตะโทษ จะมีรูปร่างผอม บางโปร่ง   ผิวคล้ำ ผิวหนังเย็น หยาบ แห้ง   ร่างกายสูงมากหรือเตี้ยมาก   โครงร่างเบาบาง   ปลายกระดูกนูนชัด   กล้ามเนื้อเจริญไม่ดี   ผมหยิกบาง  ไม่ค่อยมีสมาธิ  ถูกกระตุ้นได้ง่าย กินอาหารอย่างรวดเร็ว การเคี้ยวอาหารไม่ดี และกินอาหารไม่ตรงเวลา
  • บุคคลประเภทปิตตะโทษ จะมีรูปร่างสูงปานกลาง หรือรูปร่างสันทัด   กล้ามเนื้อมีขนาดปานกลาง   มีผิวนุ่ม อุ่น ผมละเอียด บาง   ผมหงอกหรือศีรษะล้านก่อนวัย ชอบแสดงออก  อารมณ์ร้อน กินง่ายและรู้สึกว่าอาหารไม่สำคัญ
  • บุคคลประเภทกผะโทษ ร่างกายจะสมบูรณ์ดี   มีแนวโน้มน้ำหนักมากเกิน   ผิวหนังหนา   กล้ามเนื้อเจริญสมบูรณ์   ผิวหนังสดใส นุ่ม ละเอียดเป็นมัน ผมดก มักจะทำอะไรเชื่องช้า มีบุคลิกที่สงบ มีความสุขุมรอบคอบ กินอาหารจุ และ เพลิดเพลินไปกับรสชาติของอาหาร

ซึ่งในแต่ละบุคคลก็มีโอกาสที่จะมีลักษณะเด่นมากกว่า 1 โทษะ เช่น  วาตะ-ปิตตะ,  ปิตตะ-วาตะ ,  ปิตตะ-กผะ , กผะ-ปิตตะ , วาตะ-กผะ  , กผะ-วาตะ  และ วาตะ-ปิตตะ-กผะ เป็นต้น

การวินิจฉัยดวงชาตากับตรีโทษ

โหราศาสตร์พระเวท สามารถที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์และวินิจฉัยดวงชาตากับทฤษฎีตรีโทษของศาสตร์อายุรเวทได้อย่างสอดคล้องกันโดยธรรมชาติ เพราะทั้งสองศาสตร์ตั้งอยู่พื้นฐานของปรัชญาและองค์ความรู้อย่างเดียวกัน ซึ่งจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  • ในหลักการนี้เราจะยังไม่ใช้ดาวอาทิตย์กำเนิดในการพิจารณา แต่เราจะใช้ตำแหน่งของลัคนาในดวงชาตาและเจ้าเรือนลัคนาเป็นตัวหลัก หากลัคนาสถิตย์ราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีปิตตะโทษ และมีดาวอังคารเจ้าเรือนลัคนาไปสถิตย์ในราศีพิจิก ซึ่งเป็นราศีปิตตะเช่นกัน  ก็จะบ่งชี้ว่าเจ้าชาตามี ปิตตะโทษ เด่นในดวงชาตา
  • ดาวเคราะห์ในเรือนที่ 1ก็มีความสำคัญเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดาวดวงนั้นมีองศาใกล้เคียงกับลัคนา สมมติว่ามีคนที่มีดาวเสาร์ในเรือนที่ 1ก็จะเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญที่หมายถึง"วาตะโทษ"  แต่หากบุคคลใดมีดาวพฤหัสบดีในเรือนที่ 1เจ้าชาตาก็จะมีแนวโน้มที่จะอ้วนหนือมีน้ำหนักเกิน ซึ่งบ่งชี้"กะผะโทษ" อย่างไรก็ตามถ้าดาวเสาร์มีโยคเกณฑ์ถึงดาวพฤหัสผลดังกล่าวก็อาจจะไม่ปรากฏ
  • นอกจากนี้เราจำเป็นต้องรู้ว่าดาวเคราะห์ดวงไหนสถิตย์ในเรือนที่ 6(อริ) และเจ้าเรือนที่ 6นั้นไปสถิตย์ในราศีไหนหรือเรือนไหน  หากดาวพุธอยู่ในเรือนที่ 6 (ราศีมีน) ซึ่งบ่งบอกถึง วาตะโทษ  (ดาวพุธปกติเป็นดาววาตะโทษ) และ / หรืออาจจะเป็น "กผะโทษ"ก็ได้(เพราะราศีมีนเป็นราศีกผะ) ส่วนดาวพฤหัสบดีเป็นดาว กะผะโทษ (แต่ค่อนข้างจะแกร่งไปทาง ปิตตะ) ดาวอาทิตย์ และดาวอังคารปกติเป็นดาวปิตตะโทษ  ส่วนดาวเสาร์เป็น วาตะโทษ ดาวจันทร์เป็นดาว กผะโทษ และดาวศุกร์เป็น กผะโทษ (แต่ค่อนข้างจะแกร่งไปทาง วาตะ)
  • เงื่อนไขอีกประการหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ตรีโทษก็คือตำแหน่งของดาวจันทร์ เพราะดาวจันทร์มีอิทธิพลต่อรูปลักษณของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นเราต้องรู้ว่าดาวจันทร์สถิตย์ในราศีไหน และดาวจันทร์ถูกโยคเกณฑ์จากดาวเคราะห์ดวงใดในดวงชาตา
  • นอกจากนี้ดาวเคราะห์ที่เข้มแข็งที่สุดในดวงชะตาก็นับเป็นสิ่งสำคัญ เช่นดาวเคราะห์ได้ตำแหน่ง เช่น อุจน์ เกษตร มูลตรีโกณ หรือดาวเคราะห์ที่อยู่ในเรือนให้คุณหรือส่งเสริม เช่น เรือนเกณฑ์ เช่น 1,4,7,10 หรือตรีโกณ 5,9  หรือแม้แต่เรือนที่ 11 หากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งมีกำลังเด่นที่สุดในดวงชะตา ดาวคราะห์ดวงนั้นจะส่งอิทธิพลต่อเจ้าชาตาทั้งชีวิต รวมถึงส่งผลต่อตรีโทษในดวงชาตาอีกด้วย

อันที่จริงแล้วนี่คือการวิเคราะห์ที่สลับซับซ้อนซึ่งอาจจะไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน แต่นี่ไม่ใช่ความผิดพลาดของทฤษฎี เหตุเพราะผู้คนส่วนใหญ่มักเป็นประเภทผสม ดังนั้นเราจึงสามารถมีบุคคลที่มีหลากหลายประเภทผสมกัน เช่น วาตะ-กผะ หรือ ประเภท ปิตตะ-กผะ ฯลฯ

ต่อไปนี้คือการวินิจฉัยตรีโทษจากดวงชาตาตัวอย่าง

1.ลัคนาสถิตย์ราศีกันย์ (เป็นราศีวาตะโทษ) ดาวพุธเจ้าเรือนลัคนา (เป็นดาววาตะโทษ) และเรือนอริหรือเรือนที่ 6 คือราศีกุมภ์ (เป็นราศีวาตะโทษ)  และดาวเสาร์เจ้าเรือนที่ 6 ก็เป็นดาวเคราะห์วาตะโทษ ข้อบ่งชี้ทั้งหมดแสดงถึง "วาตะโทษ"ในดวงชาตา

2.เจ้าเรือลัคน์คือดาวพุธสถิตย์ในราศีเมษ (ราศีปิตตะโทษ) และดาวจันทร์ในราศีสิงห์ (ราศีปิตตะโทษ) ข้อบ่งชี้ทั้งหมดแสดงถึง "ปิตตะโทษ"ในดวงชาตา

3.ข้อบ่งชี้เพียงอย่างเดียวสำหรับ กผะโทษ คือดาวเจ้าเรือนที่ 6 (ดาวเสาร์) สถิตย์ในกรกฏ (ราศีกผะโทษ)

สรุปว่าในดวงชาตาดวงนี้มีข้อบ่งชี้ถึง วาตะ+ปิตตะโทษผสมกันเป็นหลัก ซึ่งกผะโทษมีเงื่อนไขรองรับน้อยมาก