Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

97886985

เปิดตำนานเทพไท้ส่วย--ที่มาของ ไท้ส่วยเอี๊ย

ชาวจีนที่นับถือลัทธิเต๋าจะมีประเพณีไหว้ตรุษจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไหว้เทพเจ้าที่คุ้มครองดวงชาตาในช่วงเวลาของยามแรกของการเริ่มวันแรกของปีใหม่ คือเวลาประมาณ 23. 00 น. ของวันสิ้นปีตามปฏิทินจันทรคติจีน การไหว้เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชาตานี้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเพณีและความเชื่อในโหราศาสตร์จีนเกี่ยวกับเทพเจ้าประจำ “ลักจับกะจื้อ”  (การหมุนเวียนทั้ง 60 รอบของเทพเจ้าประจำปีนักษัตร)  รวมถึงความเชื่อในเทพยดาผู้มีอิทธิพลดลบันดาลชาตาชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกับความเชื่อในเทพเจ้าที่ครองดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวง  (ปักเต้าชิงจวิน)   และต่อมาพิธีกรรมนี้ได้กลายเป็นประเพณีการไหว้เทพเจ้าคุ้มครองดวงชาตาหรือที่เราเรียกว่า  “ไท้ส่วยเอี๊ย”

 

ไท้ส่วย คือใคร มาจากไหน

“ไท้ส่วย” ตามตัวอักษรจริงๆ แล้วหมายถึง “อายุ” คืออายุขัยหรือชาตากำเนิดของเจ้าชาตา และไท้ส่วยเอี๊ย ก็คือ “เทพเจ้าที่คุ้มครองดวงชาตา” โดยปกติแล้วเทพไท้ส่วย  ก็คือเทพเจ้าประจำปีนักษัตรในแต่ละปีซึ่งแต่ละรอบจะมี 12 ปีนักษัตร นับจากปีชวดหรือ (จื้อ),   ฉลู (ทิ่ว),   ขาล (อิ๊ง),   เถาะ (เบ้า),   มะโรง ( ซิ้ง),   มะเส็ง巳 (จี๋),   มะเมีย (โง่ว),  มะแม (บี่),   วอก (ซิน),   ระกา西 (อิ้ว),   จอ (สุก),   กุน (ไห)  ไปจนครบ 1 รอบคือ 12 ปี ซึ่งในทางโหราศาสตร์จีนเรียกว่าราศีดิน[1]หรือตี้จือหรือราศีนักษัตร และบวกกับราศีฟ้าหรือเทียนกานอีก 1 รอบหรือ 10 ปี คือ (กะ),   (อิก),   (เปี้ย),   (เตง),   (โบ่ว),   (กี้),   (ซิง),   (ยิ้ม),   (กุ่ย ) หมุนรอบและผสมธาตุร่วมกับราศีดินหรือนักษัตรรวมเป็น 60 รอบหรือ 60 ปี  การนับเช่นนี้เป็นวิธีนับปฏิทินวันเดือนปีและเวลาของจีนมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์หรือสมัยพระเจ้าเหลือง  วิธีนับก็คือเริ่มนับเอาราศีฟ้าเป็นหลักแล้วผสมกับราศีดิน เช่น กะ (ราศีฟ้า) ร่วมกับจื้อ แล้วจะเรียกปีนั้นว่าปี “กะจื้อ”( 甲子)จากนั้นก็มีลำดับตามหลังปีอีก ส่วนปีต่อไปก็เอาราศีฟ้าตัวที่สองรวมกับราสีดินตัวที่สองก็จะได้เป็น ปีอิกทิ่ว แล้วก็นับไปจนครบทั้งสองราศี ซึ่งก็จะได้ 1 รอบเท่ากับ 60 ปี  ทำให้จำง่ายว่าปีนี้เป็นปีไหนจะไม่ซ้ำกันเลยและใช้นับได้เป็นพัน ๆ  ปี คล้ายกับการนับของไทยเราที่เรียกเป็นตัวอย่างว่า พ.ศ.ฉลูเบญจศก ปีจอเอกศก ดังในการจดบันทึกเอกสารโบราณของไทยสมัยรัชกาลที่ 4 บันทึกว่า. . . . . . . . (แก),

“กฎให้ไว้ ณ วันเสาร์ เดือนสิบ ขึ้นสิบห้าค่ำ  จุลศักราชพันร้อยสี่สิบสี่  (พ. ศ.  ๒๓๒๕)  ปีขาล จัตวาศก”

วิธีนับปีผสมธาตุตามทฤษฎี หลักจับกะจื้อ

10 ราศีฟ้า แทนค่าด้วย 0-9

0)甲 (กะ)1)乙 (อิก),2)丙 (เปี้ย),3)丁 (เตง),4)戊 (โบ่ว),5) 己 (กี้),6)庚 (แก),7)辛 (ซิง),8)壬 (ยิ้ม),9)癸 (กุ่ย )

12 ราศีดินแทนค่าด้วย A-L

A)ชวด子 (จื้อ),B)ฉลู丑 (ทิ่ว),C)ขาล寅 (อิ๊ง),D)เถาะ卯 (เบ้า),E)มะโรง辰 ( ซิ้ง),F)มะเส็ง巳 (จี๋),G)มะเมีย午 (โง่ว),H)มะแม末 (บี่),

I)วอก申 (ซิน),J)ระกา西 (อิ้ว),K)จอ戌 (สุก),L) กุน亥 (ไห)

เอาราศีฟ้าเป็นหลัก คือ 0A(甲子),ปีต่อไปคือ 1B(),2C(丙寅),3D(丁卯),4E(戊辰),5F(巳),6G(庚午),7H(辛末),8I(壬申),9J(壬西)เมื่อหมดราศีฟ้าแล้วแต่ยังเหลือราศีดินอีกสอง ก็ต้องเอาราศีฟ้าเริ่มนับใหม่ต่อเนื่องกันไปอีกคือ 0K(甲戌),1L()  ต่อมาก็คือ 2A(丙子 ),3B(丁丑) ),4C(戊寅 )ทำอย่างนี้นับไปจนครบ 60 ชุดหรือ60ปี

เรียกว่า “หลักจับกะจื้อ” หรือการผสมธาตุทั้ง 60 ธาตุ

นักโหราศาสตร์ เชื่อว่าหลักการนับปีของจีนนี้มาจากการคำนวณวงรอบการโคจรของดาวพฤหัสบดีซึ่งใน 1 ปี ดาวพฤหัสบดีจะโคจร 1 ราศี และเมื่อโคจรครบรอบจักรราศีหรือครบทั้ง 12 ราศี ก็จะเท่ากับ 12 ปีพอดี  เมื่อผสมกับเบจญธาตุทั้งห้าของจีนก็คือน้ำ ไม้ ไฟ ดิน ทองแล้วก็จะกลายเป็น 60 ปีพอดี ซึ่งหลักการนี้ก็สอดคล้องกับระบบการคำนวณปีของจีน เมื่อผสมราศีทั้งดินและฟ้าทั้ง 60 ปี  (ลักจับกะจื้อ)  แล้วจะ แบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม หรือห้าธาตุพอดีเช่นกัน คือปีที่เริ่มนับจากปีกะจื้อ (0A) เปี้ยจื้อ (2A)โบ่วจื้อ (4A) แกจื้อ (6A) ยิ่มจื้อ (8A) เป็นหลักนั่นเอง  โดยทั่วไปการนับ “ลักจับกะจื้อ” จะนับโดยใช้ราศีดินทั้ง 12 อิงกับ 12 นักษัตร จะลงตัวพอดี ทำให้คนทั่วไปนิยมและคุ้นเคยกับการนับจากปีนักษัตรเช่นนี้สืบเนื่องมา

 

ไท้ส่วยกับดวงชาตา

จากหลักการนับปีของโหราศาสตร์จีนและความเชื่อเรื่องเทพผู้คุ้มครองดวงชาตาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าในแต่ละปีจะมีเทพคุ้มครองไม่ซ้ำกันถึง 60 องค์ทั้ง 60 ปี ซึ่งหากเจ้าชาตาเกิดปีใดที่เทพไท้ส่วยองค์คุ้มครองอยู่ก็ควรที่จะทำการบูชาเซ่นไหว้ อธิษฐานขอพรจากเทพไท้ส่วยองค์นั้นให้คุ้มครอง ให้ประสบกับโชคดีมีชัย ทำมาค้าขึ้น  เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน มีโชคมีลาภ และถ้าหากปีใดที่เทพคุ้มครองประจำปีจรมาขัดกับเทพคุ้มครองประจำชาตากำเนิด  (ชง)  ก็จะมีผลทำให้ชีวิตวิบัติ ฉิบหาย ประสบเหตุเภทภัยต่าง ๆ  นานา ดังที่เราเรียกกันว่ามีเคราะห์จากการ “ชงไท้ส่วย” ถ้าหากปีใดเป็นปี “ชง” ของเจ้าชะตา ก็จะต้องมีการสะเดาะเคราะห์เซ่นไหว้บูชาเทพประจำดวงชาตาของเราทั้งประจำนักษัตรปีที่เกิดและปีที่จรมาแต่ขัดกับปีนักษัตรกำเนิดเพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล ปัดเป่าเคราะห์หามยามร้าย เปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดี

หลักการของการชงไท้ส่วย

ทฤษฎีแม่ธาตุ

ทำไมต้องเกิดการชงกันขึ้น  เหตุผลของการ “ชง” นี้ก็เนื่องมาจากหลักเบญจธาตุของจีน ซึ่งเชื่อในหลักสมดุลของธรรมชาติโดยทุกสิ่งต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน มีการส่งเสริม เช่น ทองกำเนิดน้ำ ไม้กำเนิดไฟ น้ำกำเนิดไม้ ไฟกำเนิดดิน ดินกำเนิดทอง…. และหักล้างกันเช่น ไม้พิฆาตดิน ดินพิฆาตน้ำ น้ำพิฆาตไฟ ไฟพิฆาตทอง ทองพิฆาตไม้ ไม้พิฆาตดิน . . . . หมุนเวียนเป็นวัฏจักร ซึ่งก็คือพื้นฐานของจักรวาลตามทฤษฎีหยินหยาง และเบญจธาตุ  (โหวงเฮ้ง)  อันเป็นรากฐานปรัชญาเต๋าซึ่งแสดงถึงแนวคิดของจีนทั้งหมดนั่นเอง  ดังจะเห็นได้ว่าปรัชญาการแพทย์จีน ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ ฮวงจุ้ย ศาสนา ประเพณี ก็มีหลักการนี้เป็นพื้นฐานทั้งหมด ซึ่งในแต่ละปีนักษัตรหรือราศีดินและราศีฟ้าก็จะมีธาตุประจำตัวอยู่

 

แสดงธาตุและพลังของราศีฟ้าทั้ง ๑๐ ราศี

ชื่อภาษาจีน

พลัง

ธาตุ

甲 (กะ)

หยาง 阳

ไม้   木

乙 (อิก)

หยิน 阴

ไม้   木

丙 (เปี้ย)

หยาง 阳

ไฟ   火

丁 (เตง)

หยิน 阴

ไฟ   火

戊 (โบ่ว)

หยาง 阳

ดิน   土

己 (กี้)

หยิน 阴

ดิน   土

庚 (แก)

หยาง 阳

ทอง  金

辛 (ซิง)

หยิน 阴

ทอง  金

壬 (ยิ้ม)

หยาง 阳

น้ำ    水

癸 (กุ่ย)

หยิน 阴

น้ำ    水

 

แสดงธาตุและพลังของราศีดิน ๑๒ ราศี

ปีนักษัตร

ชื่อภาษาจีน

พลัง

ธาตุ

ชวด

จื้อ    子

หยาง 阳

น้ำ    水

ฉลู

ทิ่ว    丑

หยิน 阴

ดิน   土

ขาล

อิ๊ง    寅

หยาง 阳

ไม้   木

เถาะ

เบ้า    卯

หยิน 阴

ไม้   木

มะโรง

ซิ้ง    辰

หยาง 阳

ดิน   土

มะเส็ง

จี๋      巳

หยิน 阴

ไฟ   火

มะเมีย

โง่ว  午

หยาง 阳

ไฟ   火

มะแม

บี่     末

หยิน 阴

ดิน   土

วอก

ซิน  申

หยาง 阳

ทอง  金

ระกา

อิ้ว   西

หยิน 阴

ทอง  金

จอ

สุก   戌

หยาง 阳

ดิน   土

กุน

ไห   亥

หยิน 阴

น้ำ   水