Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูง"ระดับโหรหลวง"ของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวท ของพราหมณ์-ฮินดู อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 16 แล้ว WebSite และ Link ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ฤกษ์ยกเสาเอก

ประเภทของฤกษ์ยามที่เกี่ยวกับการก่อสร้างและวางรากฐาน

ฤกษ์ยามมงคลที่มีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของผู้อยู่อาศัยและกิจการต่างที่จะเริ่มต้นกระทำในแผ่นดินมีหลายแบบหลายประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นและความเหมาะสมของโครงสร้างที่จะการทำ โดยปกติมีดังนี้

  1. ฤกษ์เปิดหน้าดิน ปกติมักจะเป็นประเพณีแบบคนจีน ที่จะเริ่มทำการสร้างบ้าน เรียกว่า “ต้งถู่动土”  โดยเหมาะสำหรับพื้นที่เปล่าหรือการก่อสร้างที่ยังไม่ได้กำหนดผังโครงสร้าง หรือ ทิศทางเอาไว้แน่ชัด และเป็นพิธีสำหรับการเปิดหน้าดินเอาฤกษ์เอาชัยเพื่อจะเริ่มทำการก่อสร้างบ้านหรือกิจการต่างๆในอนาคตอันใกล้นี้  ซึ่งประเพณีของฝรั่งก็มีคล้ายๆกันเรียกว่า Groundbreaking
  2. ฤกษ์ตอกเสาเข็ม (ตอกเข็มเอก) เป็นฤกษ์อันแรกสำหรับวาระการก่อสร้างบ้านเรืองที่อยู่อาศัย ซึ่งในอดีตแต่โบราณมักไม่กระทำกันเพราะไม่จำเป็น เพราะเป็นเรือนไม้ แต่สำหรับบ้านในสมัยปัจจุบันก็คงหลีกเลี่ยงไม่พ้นการตอกเสาเข็ม  เว้นแต่ว่าอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด เช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีดินแข็ง ดินดาน ดินปนหิน บางครั้งการตอกเสาเข็มก็ไม่จำเป็น
  3. ฤกษ์ยกเสาเอก เป็นฤกษ์ทำกระทำกันมาแต่โบราณ ซึ่งต้องหาฤกษ์ยามที่เป็นมงคลในการตั้งเสาต้นแรกของตัวบ้าน อีกทั้งต้องหาตำแหน่งทิศเสาเอก โท ตรี  ทิศของการขุดหลุม การโกยมูลดินที่ขุดกองเอาไว้ในทิศที่เป็นมงคล และการวางเสา ต้องหันปลายเสาไปทิศไหนที่เป็นมงคลของวันและเดือนนั้นๆ
  4. ฤกษ์วางศิลาฤกษ์ เป็นฤกษ์ใหญ่และสำคัญ ซึ่งมักจะต้องเป็นอาคารขนาดใหญ่ ศาสนาสถาน วัดโบสถ์ วิหาร ลานเจดีย์ หรือ อาคารสำนักงานของหน่วยงานราชการ โรงพยาบาล โรงเรียน ก็มักจะใช้การวางศิลาฤกษ์เป็นหลัก

 

พิธีกรรมการสร้างบ้านที่นิยมทำกันในสมัยปัจจุบัน


1.บ้าน คสล.ไม่เกิน 2 ชั้นครึ่ง ที่ต้องใช้การตอกเสาเข็ม และสามารถผูกเหล็กเป็นโครงเสาเพื่อทำการยกเสาเอกได้ให้ใช้พิธีกรรมได้ 3 แบบ ให้เลือกเอาเพียงอย่างเดียวคือ

1.1พิธีตอกเข็มเอก มีพิธีการบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ สังเวยเทวดา อ่านโองการ (ต้องมีอาจารย์/หมอโหรา/พราหมณ์ มาทำพิธีให้)โดย ถือฤกษ์ในการตอกเสาเข็มต้นแรกลงในแผ่นดิน ซึ่งวิธีนี้ไม่ต้องทำการขุดหลุมเอาไว้ก่อนพอทำพิธีเสร็จแล้วก็ค่อยขุดหลุม ยกเสาและทำการสร้างตามแบบแปลนได้เลย  (ต้องมีฤกษ์ตอกเข็มเอก)

1.2พิธียกเสาเอก มีพิธีการบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ สังเวยเทวดา อ่านโองการ (ต้องมีอาจารย์/หมอโหรา/พราหมณ์ มาทำพิธีให้)ซึ่งต้องมีการขุดหลุมตามทิศต่างๆเอาไว้ก่อนแล้วจึงมีพิธียกเสาเอก (ต้องมีฤกษ์ยกเสาเอก)

1.3พิธีตอกเข็มเอก+ยกเสาเอก เพื่อความสมบูรณ์ของฤกษ์ยาม โดยมีทั้ง ฤกษ์ตอกเข็มเอก และ ฤกษ์ยกเสาเอก การตอกเข็มเอกด้วยพิธีแบบง่ายก่อน โดยให้เจ้าภาพจุดธูปเทียนบอกกล่าวขอขมาพระภูมิเจ้าที่ (เจ้าบ้านทำเอง)โดยถือฤกษ์ในการตอกเสาเข็มต้นแรกลงในแผ่นดิน หลังจากนั้นประมาณ 15-30 วันก็ต้องมีพิธียกเสาเอก มีพิธีการบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ สังเวยเทวดา อ่านโองการ (ต้องมีอาจารย์/หมอโหรา/พราหมณ์ มาทำพิธีให้) (ต้องมีฤกษ์ตอกเข็มเอก+ยกเสาเอก)

2.บ้านที่เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ มากกว่า 3 ชั้น ซึ่งไม่สามารถทำการผูกเหล็กหล่อเสาได้ ให้ใช้ฤกษ์เดียวและพิธีกรรมตอกเข็มเอกเพียงอย่างเดียว มีการบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ สังเวยเทวดา อ่านโองการ โดยถือฤกษ์การก่อสร้างคือการเจาะเข็มต้นแรกลงไปในแผ่นดิน

3.อาคารที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่มากและซับซ้อน ให้ใช้พิธีวางศิลาฤกษ์ การบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ สังเวยเทวดา อ่านโองการเชิญเทวดาแบบเต็มสูตรซึ่งต้องใช้คณะผู้ทำพิธีมีหลายท่าน โดยมากเป็นคณะพราหมณ์