การให้ฤกษ์ลาสิกขาบท(ฤกษ์สึกพระ)
แต่จริงๆแล้วตามหลักครูโหรไทย ท่านเพียงกำหนดไว้ในเรื่องของ"อัคนิโรธ" ว่าสงฆ์14 นารี11 ฯลฯ หมายความว่า กิจกรรมเกี่ยวแก่พระสงฆ์ห้ามกระทำในวันขึ้นแรม 14 ค่ำ ซึ่งหมายความว่าเมื่อถึงวันแรมหรือขึ้น 14 ค่ำห้ามทำการอุปสมบทบรรพชา(แต่ไม่ได้ห้ามลาสิกขาในวันนี้) ซึ่งหากท่านเพียงใช้หลักนี้ก็ใช้ได้แล้ว ก็คือไม่ควรกำหนดฤกษ์อุปสมบทในวันขึ้น-แรม14ค่ำ แต่อย่างไรก็ตามเผื่อเหนียวอาจจะบวกลบ1 วันเนื่องจากวันขึ้นแรมที่ใช้กันในปฎิทินชาวบ้านทั่วไปเราเรียกว่า"ดิถีตลาด" (หรือดิถีตามปฏิทินพระธรรมมหานิกาย)ซึ่งคลาดเคลื่อนกับดิถีที่เป็นจริงบนท้องฟ้าโดยคำนวนจากระยะเชิงมุมของดาวอาทิตย์และดาวจันทร์ที่เิกิดขึ้นจริงซึ่งเรียกว่า"ดิถีเพียร"(หรือดิถีตามปฏิทินพระธรรมยุติกนิกาย)ตามหลักดาราศาสตร์ประมาณ1วันโดยประมาณ (บางเดือนก็ตรงกัน)
***หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและความหมายเกี่ยวกับการดูฤกษ์ อ่าน "กฎเกณฑ์การให้ฤกษ์" คลิ๊กที่นี่..
หมายเหตุ 1)หากสงสัยว่าวิชาโหรฯมีการคำนวนดวงชาตาของฤกษ์ยามที่ละเอียดซับซ้อนและแตกต่างจากวิชาอื่นๆอย่างไร กรุณาอ่านบทความ โหราวิทยา บทที่ 4 การคำนวนกำลังดาวเคาระห์และเรือนชาตาโดยคลิ๊ก โหราวิทยาบทที่ 4 การคำนวณกำลังดาวเคราะห์และเรือนชาตา
หมายเหตุ 2) หากท่านเข้าใจว่าวิชาโหรฯเป็นวิชาที่งมงายไร้เหตุผล ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่มีหลักการ ขอให้ท่านเข้าไปศึกษา วิชาการคำนวณดวงชาตาของโหรฯเสียก่อน โดยคลิ๊ก การคำนวณดวงพิชัยสงคราม,คัมภีร์สุริยยาตร์และมานัตต์
สำหรับการลาสิกขาไม่ว่าจะเป็นการบวชแบบ 7 วัน 15 วัน หรือบวชเป็นเดือนเป็นปี หรือบวชมาแล้วเป็นสิบๆปี การกลับเข้ามาสู่เพศฆราวาสนั้น จำเป็นจะต้องดูฤกษ์ลาสิกขาเพื่อความมีสวัสดิมงคลของชีวิตใหม่ หรือเราได้เกิดใหม่นั่นเองและเมื่อกลับเข้ามาสู่ทางโลกแล้ว ก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการอาศัยฤกษ์ยามเพี่อส่งผลให้ชีวิตใหม่ที่ออกมาจากที่เปลี่ยนเพศฆราวาส ให้มีความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการแก้ไขดวงชาตาได้อีกทางหนึ่ง เพราะเพศฆราวาสนั้นจำเป็นต้องมี ทั้งโภคสมบัติ ทรัพย์สมบัติ บริวารสมบัติ ต้องการศักดิ์ศรี เกียรติยศ ทั้งอายุ วรรณะ สุขะ พละ ซึ่งแตกต่างจากเพศบรรพชิตซึ่งไม่ต้องการ โดยฤกษ์ลาสิกขาที่สมพงศ์กับดวงชาตาก็จะให้ผลดีแก้ไขและส่งเสริมดวงชะตาตามกำลังของฤกษ์ในขณะนั้นๆ
อนึ่งในคำพูดของคนโบราณ เมื่อเห็นใครเป็นคนประสบแต่โชคร้าย หรือเกิดอาการวิกลจริต พิกลพิการเป็นบ้าใบ้ ก็มักจะพูดกันว่าเป็นเพราะ "สึกไม่ดูฤกษ์"
ดังนั้นหัวใจของฤกษ์ยามที่ถูกต้องก็คือ การใช้ฤกษ์บนและฤกษ์ล่างให้สัมพันธ์กันกับดวงชาตาเพื่อให้เกิดศุภอิทธิพล เป็นศุภผลแก่เจ้าการ หรือเจ้าของงานที่จะกระทำการโดยฤกษ์นั้นๆ
