fbpx

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวท และได้รับความนิยมสูงสุด เป็นปีที่ 12 แล้ว ฤกษ์แต่งงานไทย-จีน จดทะเบียนสมรส ฤกษ์ยกเสาเอก ฤกษ์เข้าบ้านใหม่ ฤกษ์ลาสิกขา ฤกษ์ออกรถ ฤกษ์เปลี่ยนชื่อ ฤกษ์เปิดร้าน ฤกษ์จดทะเบียนบริษัท ฤกษ์ตั้งศาล ฤกษ์โกนผมไฟ ฤกษ์ผ่าคลอด ฤกษ์เข้าทำงานใหม่ คำนวนดวงพิชัยสงคราม ดูฮวงจุ้ย ปรับและแก้ฮวงจุ้ย แก้ไขอุปสรรค เสริมโชคลาภ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line @astroneemo

A1ce20dbc6cf5a590f8a48bb4ff77957

 

จากแผนภูมิปฏิกิริยา 5 ธาตุ ของจีนที่ได้อธิบายไปในตอนแรกๆ ทำให้มองเห็นอะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในนั้น นั่นก็คือเป็นรูปแบบแผนผังของวงโคจรของดาวศุกร์ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวและตายตัวและเป็นรูปแบบของระยะเชิงมุมที่เรียกว่า ควินไทน์ quintile  และชนโบราณของชาวมายาก็นิยมใช้ปฏิทินระบบนี้ เรียกว่าปฏิทินศักด์สิทธิ์  เพราะมีความเที่ยงตรงแม่นยำและสะดวกในการทำซ้ำปฏิทิน

 

C8add727c86faab02acb9842a717af0fD9d78367d472fb7de4a3946d507922e8
แสดงภาพการโคจรของดาวศุกร์ เป็นรูปทรงแพนตาแกรม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะดวงของดาวดวงนี้

 

จาการคำนวณดาวศุกร์ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ใน 1 รอบด้วยระยะเวลา 225 วัน  ( 1 คาบดาราคติ -Sidereal Period) ซึ่งเป็นการเทียบหรืออิงจุดคำนวนกับกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่นิ่งกับที่  แต่หากอิงจุดคำนวนนี้จากโลกจะมีระยะเวลาประมาณ 583.92 วัน (เรียกว่าคาบดิถีหรือคาบซินอดิก  Synodic Period)   ซึ่งทั้งสองแบบเป็นตัวบ่งบอกว่าดาวศุกร์มีตำแหน่งสอดคล้องกับทั้งตำแหน่งของโลกและกลุ่มดาวฤกษ์ โดยปรากฏว่า ดาวศุกร์จะโคจรมาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์เฉลี่ยทุกๆ 584 วัน เราเรียกว่า ปรากฏการณ์ดาวศุกร์โคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์

 

 

1d4e1d71167826abbcd6b75e417a1a1d
Eeedbc55628167cab94288ba43af1d95
ภาพแสดงปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ซึ่งเกิดขึ้นทุกๆ 121.5 ปีกับ 105.5 ปี

 

และ 8 ปีปฏิทินของโลก(สุริยคติ) (365.2425 x 8 = 2921.94 วัน) จะใกล้เคียงกับ 5 รอบของคาบดิถีดาวศุกร์หรือระบบศุกรคติ (583.92 x 5 = 2919.6 วัน) ทำให้ในวันเดียวกันของทุกๆ 8 ปี(สุริยคติ)  ดาวศุกร์จะมีตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม ไม่ว่าจะเทียบกับขอบฟ้าหรือเทียบกับกลุ่มดาวฤกษ์  ดังนั้นในทุกๆ 8 ปี เราก็จะเห็นดาวศุกร์ปรากฏอยู่บนฟ้าด้วยมุมเงยเท่าเดิม และตำแหน่งเดิมทุกๆครั้ง โดยจะมีปรากฏเป็นคู่ในทุกๆรอบ 121.5 ปี กับ  8 ปี และทุกรอบ 105.5 ปีกับ 8ปี  สลับกันไปมา (สูตร 121 ½ ปี, 8ปี, 105 ½ปี , 8ปี).

 

7355d010c7b45a81e7655ecc8aaf4829C49d618a57badf5d164b86ea15e3c99e

ภาพแสดงปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์  จากมุมมองบนโลก

 

 

ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยเหมือนปรากฏการณ์สุริยุปราคา-จันทรุปราคา แต่สำหรับปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์จะใช้เวลาประมาณ 1 ศตวรรษเศษๆ ถึงจะเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้ง และแต่ละครั้งใช้ระยะเวลาห่างกัน 8 ปี ซึ่งปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในรอบศตวรรษนี้ของไทย ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ส่วนครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และครั้งถัดไป 105 ปี จะปรากฏขึ้นอีกครั้ง ( วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2660 และวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2668)

 

 

84eaf10a7171d94657a9c90a2f66d65a

ภาพแสดงปฏิทินระบบศุกรคติของชาวมายา

 

1 รอบปีศุกรคติ(ปฏิทินดาวศุกร์) มีความยาวเท่ากับ 5 ปี (สุริยคติบนโลก) และทุกๆ 65 ปีศุกรคติ จะเท่ากับ 104 ปีสุริยคติ(บนโลก) ดังนั้นในรอบทุกๆ104 ปี ชาวมายาก็จะนำปฏิทินดาวศุกร์มาใช้อีกครั้ง และไม่ต้องเหนื่อยไปแกะหินใหม่อีกรอบผมจึงคิดว่าชาวจีนโบราณก็น่าจะใช้คติอันเดียวจากระบบของปฏิทินดาวศุกร์นี้ มาคิดเป็นวงรอบวัฏฏะของพลังงานต่างๆที่สัมพันธ์กันและอะไรต่อมิอะไรที่เป็นระบบพิเศษอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองเพราะ   อย่างน้อยระบบปฏิทินดาวศุกร์นี้ก็แสดงให้เห็นความคงที่ของพลังงานอะไรบางอย่างที่ขับเคลื่อนจักรวาลนี้อยู่

วิดีโอแสดงการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์