Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

Chalit Chart Important

ความสำคัญของ”ภวจักร” (จลิต จักร) ในโหราศาสตร์พระเวท

चलित จลิต( ฉลิตฺ  ) ในภาษาสันสกฤตหมายถึงการเคลื่อนตัว การโยกย้าย  चलित चक्र  จลิต จักร ( ฉลิตฺ ฉกฺร ) หรือ चलित कुंडली จลิต กุํฑลี ( ฉลิตฺ กุนฺทลิ ) ก็คือจักระที่มีการเคลื่อนย้าย ในที่นี้หมายถึงภพหรือเรือนชะตาที่เคลื่อนย้ายออกนอกอาณาเขตของราศีจักร ซึ่งเราเรียกว่า “ภวจักร”

ภวจักร หรือระบบของเรือนชะตานั้นจริงๆมีหลายระบบ หลายแนวคิด หลายทฤษฎี ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงระบบ “จลิตจักร” ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางโดยทั่วไป

นักโหราศาสตร์ไทยเราปกติมักจะใช้ระบบราศีจักรกับภวจักร(เรือนชะตา)เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรือนชะตาจึงเท่ากันกับราศี ราศีจึงเท่ากับเรือนชะตา และเรือนชะตาก็ไม่มีการเคลื่อนย้ายหรือต่างออกไปจากราศีจักร

ซึ่งโดยความจริงแล้วในคัมภีร์มาตรฐานของโหราศาสตร์พระเวท  ราศีจักรกับภวจักร(เรือนชะตา) ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งภพเรือนหนึ่งๆอาจจะคาบเกี่ยวกันระหว่างสองราศี ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคยกันนัก แต่กลับสำคัญมากในการพยากรณ์ดวงชะตา ดังนั้นในการศึกษาโหราศาสตร์พระเวทจากคัมภีร์ทั้งหลาย และในโศลกใดเมื่อท่านกล่าวถึงภวะหรือเรือนชะตาไม่ว่าภพใดก็ตาม จึงไม่ได้หมายถึงราศีในราศีจักรเสมอไป          

แต่ก็มีเพียงระบบเดียวที่ราศีจักรเท่ากับภวจักรคือโหราศาสตร์พระเวทของมหาฤษีไชมิณิเท่านั้น เช่นในคัมภีร์ไชมิณิสูตร เป็นต้น แต่โยคเกณฑ์และทรรศนะสัมพันธ์ระหว่างดาวเคราะห์และราศีของระบบไชมิณีก็มีวิธีคิดต่างจากระบบโหราศาสตร์มาตรฐานของมหาฤษีประราสาระ ที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป

โหราศาสตร์พระเวทเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของดาวเคราะห์ต่างๆ รวมไปถึงกลุ่มดาวนักษัตรฤกษ์ เรือนชะตา และราศี ซึ่งในโหราศาสตร์พระเวท เราใช้กลุ่มดาวฤกษ์เพียง 27 กลุ่มที่สถิตอยู่ในวงล้อของจักรราศีทั้งหมด ซึ่งแบ่งวงล้อจักรราศีออกเป็น 12 ส่วน/ราศี และแต่ละราศีจะมีช่วงๆละ 30 องศา โดยราศีแต่ละราศีก็จะมีดาวเคราะห์ต่างครอบครองเป็นเกษตรเจ้าราศี ซึ่งเป็นตำแหน่งเกษตรที่คงที่และแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง

ในระบบจักรราศี ตำแหน่งของดาวเคราะห์ต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับจุดอ้างอิงซึ่งก็คือโลก (Geocentric) และเมื่อโลกทำการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ไปพร้อมๆกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ดังนั้นความเร็วของการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆจึงดูเหมือนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สาเหตุเนื่องจากการเคลื่อนที่ของโลกมีความสัมพันธ์กับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆอยู่ตลอดเวลา

แต่ถ้าเราเปลี่ยนปัจจัยอ้างอิงจากโลกเป็นดวงอาทิตย์แทน (Heliocentric) ดาวเคราะห์ทุกดวงก็จะดูเหมือนว่ามีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนที่และตำแหน่งของดาวเคราะห์ในเรือนและราศีต่างๆในดวงชะตา และมีอิทธิพลอย่างไรต่อเจ้าชะตา เราจะต้องเข้าใจจักระแม่บทในโหราศาสตร์ซึ่งก็คือ ราศีจักร และ ภวะจักร(จลิตจักร) ก่อนเป็นอันดับแรก

ความแตกต่างระหว่างแผนภูมิราศีจักร กับ แผนภูมิภวจักร

โดยทั่วไป แผนภูมิราศีจักร (นับจากลัคนา) ถูกกำหนดขึ้นโดยวิธีการนับจากจุดเริ่มต้นของราศีที่ลัคนาเกาะ เป็นจุดเริ่มต้นของเรือนที่ 1(เรือนลัคน์ หรือ เรือนตนุ) ซึ่งเรียกว่า ราศีลัคนา และถือเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันโดยทั่วไป เรียกว่า แผนภูมิราศีจักร

ส่วนแผนภูมิวภจักร มีอยู่ 2 แนวคิด (1)จะถือว่าตำแหน่งองศาของลัคนาถือจุดเริ่มต้นของเรือนที่ 1 และนับต่อไปอีก 30 องศาจากตำแหน่งองศาลัคนานั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นอาณาเขตของเรือนที่ 1หรือเรือน ตนุ หรือ(2)อีกวิธีหนึ่งคือใช้ตำแหน่งองศาลัคนาเป็นจุดศูนย์กลางของเรือนชะตา หมายความว่า 15 องศาหน้า-หลังองศาลัคน์ ถือเป็นอาณาเขตของเรือนที่ 1หรือเรือน ตนุ

วิธีการนับอาณาเขตของเรือนชะตาแบบภวจักรนี้ จะทำให้ดาวเคราะห์ในเรือนต่างๆจะแตกต่างจากตำแหน่งที่อยู่ในแผนภูมิราศีจักรในแบบที่เราใช้กันอยู่   

การจัดตำแหน่งดาวเคราะห์กับเรือนชะตาประเภทนี้เรียกว่า แผนภูมิจลิต ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า แผนภูมิภวะจลิต หรือ ภวะจลิตกุนทลิ ซึ่งเป็นการแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์โดยอ้างอิงจากภวะหรือเรือนชะตา โดยไม่ใช้ราศี

หลักวิธีการคำนวณเรือนชะตา ภวะจลิต – กับสองแนวคิด

โหราศาสตร์พระเวทให้ทางเลือกที่หลากหลายในการคำนวณและวิเคราะห์แง่มุมต่างๆ และภวชลิตก็ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับหลักการโหราศาสตร์นี้

สำหรับทฤษฎีที่ใช้หลักเรือนชะตาระบบเรือนเท่า(Equal House Method) มีหลายสำนักที่มีแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการคำนวณภวจักรแตกต่างกัน ซึ่งหลากหลายวิธี ดังนั้นเราจึงได้สรุปวิธีการคำนวณภวจักรที่พบบ่อยที่สุดมีอยู่ 2 วิธีดังนี้:

(1)ใช้องศาลัคนาเป็นภวมัธยะหรือจุดกึ่งกลางของเรือนชะตา

(2)การใช้องศาลัคนาเป็นจุดเริ่มต้นของเรือนชะตา

เทคนิคการคำนวณเรือนชะตาแบบแรก(1)ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ ซึ่งในแนวทางนี้ จุดศูนย์กลางภวะหรือเรือนชะตาจะใช้องศาลัคนาเป็นหลักในการหาจุดศูนย์กลางของเรือนชะตาทั้ง 12 เรือนชะตา เนื่องจากเรือนทุกเรือนมีความกว้าง 30 องศา เท่าๆกัน (ระบบเรือนเท่า)

แต่ก็มีอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่าระบบเรือนไม่เท่า (unequal house) คือการใช้ละติจูดและลองจิจูดของสถานที่เกิดในการคำนวณช่วงองศาของเรือนในแต่ละเรือน แต่ในระบบนี้นักโหราศาสตร์บางคนถือว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เพราะถ้าเจ้าชะตาถือกำเนิดออกนอกจากจากแนวเส้นศูนย์สูตรมากจนเกินไปแล้ว เรือนต่างๆ จะเรียงกันไม่ตรงแนวอีกทั้งเรือนชะตาจะมีขนาดความกว้างแคบจนไม่สมดุลย์กัน ซึ่งมักใช้กันในโหราศาสตร์สากลและยูเรเนียน

เพื่อการอธิบายที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น จะทำการยกตัวอย่าง 2 ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าองศาลัคนา สามารถเปลี่ยนแผนภูมิภวจักรได้อย่างไร ซึ่งในทั้งสองตัวอย่างจะมีองศาของดาวเคราะห์ต่างๆเท่ากัน ในตัวอย่างแรก ลัคนาสถิตย์ราศีสิงห์ 9 องศาและตัวอย่างที่สองลัคนาสถิตย์ราศีสิงห์ 23 องศา

ดวงตัวอย่าง ลัคนาสถิต 9°ราศีสิงห์ ดาวอาทิตย์สถิตย์ 1° ราศีเมถุน, จันทร์สถิตย์ 21° ราศีมีน, ดาวอังคารสถิตย์ 28° ราศีกุมภ์, ดาวพุธสถิตย์ 20° ราศีเมถุน, ดาวพฤหัสบดีสถิตย์ 1° ราศีมังกร, ดาวศุกร์สถิตย์ 13° ราศีพฤษภ, ดาวเสาร์สถิตย์ 6° ราศีมังกร, ราหูสถิตย์ 5° ราศีเมถุนและเกตุสถิตย์ 5° ราศีธนู

ในตัวอย่างแรก ลัคนาสถิตย์ราศีสิงห์  9 องศา และจุดที่ 9 องศานี้จะถือเป็นจุดศูนย์กลางของเรือนของทุกๆเรือนด้วย(จุดมัธยภวชลิตจักร)  ดังนั้นเรือนที่หนึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่องศาที่ 24 ของราศีกรกฏ จนถึงราศีสิงห์ 24 องศา และเรือนต่างๆก็จะนับต่อไปตามลำดับทุกๆ 30 องศา จนครบ 12 เรือนชะตา  ดังนั้นดาวอังคารสถิตย์ 28 องศาในราศีธนูซึ่งเป็นราศี(เรือน)ที่ 7 จากราศีลัคนา แต่หากเป็นแผนภูมิภวชลิตจักรอังคารจะสถิตย์ร่วมกับดาวจันทร์ในเรือนที่ 8  ดังนั้นผลของการพยากรณ์จากระบบเรือนชาตาก็จะแตกต่างกันเมื่อเทียบกับราศีจักร

ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งที่ถือจุดองศาลัคนาเป็นจุดเริ่มต้นของเรือนที่ 1 ซึ่งการคิดคำนวณก็ไม่ยาก เพียงแต่เอาองศาลัคนาบวกเพิ่มอีก 29 องศา ก็จะเป็นอาณาเขตของเรือนชะตาที่ 1 ส่วนเรือนต่อๆไปก็บวกเรือนละ 30 องศาไปเรื่อยๆจนครบทั้ง 12 เรือนชะตา

ตัวอย่างที่สอง องศาลัคนาสถิตย์ราศีสิงห์ 23 องศา และเช่นเดียวกันกับตัวอย่างแรก ราศีสิงห์ 23 องศาจะเป็นศูนย์กลางของเรือน(ของทุกๆเรือน) เมื่อต้องการคำนวณภวะจักรจะนำราศีสิงห์ 23 องศาตั้งแล้วลบด้วย 15 องศา ผลที่ได้ก็คือจุดเริ่มต้นของเรือนที่ 1จะเป็นตำแหน่ง 8 องศาในราศีสิงห์ จนถึง 8 องศาในราศีกันย์ ซึ่งก็จะเป็นจุดสิ้นสุดของเรือนที่ 1 ด้วย  ดังนั้นเรือนอื่นๆก็นับต่อไปทุกๆ 30 องศา จนครบ 12 เรือน

การนำภวะจลิตจักรไปใช้เพื่อการพยากรณ์

แผนภูมิภวะมีไว้เพื่อใช้ในศึกษาเรือนต่างๆที่ดาวเคราะห์ใดใดสถิตอยู่ หลายครั้งที่นักโหราศาสตร์เห็นตำแหน่งของดาวเคราะห์สถิตย์ได้ตำแหน่งที่ดีในแผนภูมิราศีจักร และคาดหวังว่าเป็นจะเป็นสิ่งที่ให้ผลดีต่อเจ้าชะตา

แต่ในแผนภูมิภวจลิตจักร ดาวเคราะห์อาจย้ายไปยังเรือนอื่นหรือภวะอื่นๆ ซึ่งไม่ตรงกับแผนภูมิราศีจักรซึ่งอาจจะทำให้ผลลัพธ์ที่คาดหวังว่าจะให้ศุภผล(ผลดี)นั้นกลับกลายเป็นโมฆะ หรือไร้ผล

ซึ่งนอกจากนี้ยังอาจจะส่งผลให้โยคเกณฑ์อื่นๆที่แสดงถึงโยคดีในราศีจักรกลับกลายเป็นโยคร้ายในภวจักร  หรือโยคร้ายที่ปรากฏในราศีจักรกลับไม่ส่งผลให้เกิดผลร้ายใดใดตามที่คาดการณ์ว่าเกิดผลร้ายในชีวิตของเจ้าชะตา

ซึ่งถ้าหากไม่มีการวิเคราะห์โยคเกณฑ์ของเรือนชะตาและตำแหน่งดาวเคราะห์ต่างๆอย่างละเอียดในแผนภูมิชลิตจักรและประกอบกับใช้แผนภูมิอื่นๆ ร่วมพิจารณาด้วย การพยากรณ์ที่แม่นยำจึงเกิดขึ้นได้ยาก

จากประสบการณ์ของนักโหราศาสตร์พระเวทจำนวนมากเชื่อว่าแผนภูมิภวจลิตจักรเป็นเครื่องมือที่แม่นยำที่สุดในการทำความเข้าใจตำแหน่งของดาวเคราะห์ที่สถิตย์ในเรือนต่างๆและรวมไปถึงราศีทั้ง 12 ราศี 

ตัวอย่างเช่น เจ้าชะตาบางคนอาจมีดาวอังคารในสถิตย์ในเรือนที่ 4 ตามแผนภูมิราศีจักรซึ่งผลให้เกิด"มังคลิโทษ"ในดวงชะตา แต่ในแผนภูมิภวจลิตจักร ดาวอังคารอาจจะสถิตย์ในเรือนที่ 3 หรือเรือนที่ 5 ก็เป็นได้ ซึ่งทำให้การตีความ"มังคลิโทษ" แตกต่างกันตามการวิธีคำนวณแผนภูมิที่ต่างกัน

ความสำคัญของแผนภูมิภวะจลิตจักรในโหราศาสตร์พระเวท

แผนภูมิภวะจลิตจักรมีความสำคัญมากที่สุดในแง่ของการพิจารณาผลดี-ร้ายของดาวเคราะห์ที่กำลังเสวยอายุในระบบมหาทศาว่าสถิตย์อยู่ในเรือนใด

ในแผนภูมิราศีจักร หากดาวเคราะห์ใดใดสถิตอยู่ในเรือนที่ 1 (ตนุ)เราอาจได้ผลลัพธ์ที่ดีและน่าพึงพอใจ ในมหาทศาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นทำการเสวยอายุ

แต่ถ้าหากดาวเคราะห์ดวงเดียวกันข้างต้นกลับสถิตย์อยู่ในเรือนที่ 12 (วินาศ)ในแผนภูมิภวะชลิตจักร ดาวดวงนั้นก็จะส่งผลของร้ายของเรือนที่สิบสองให้กับเจ้าชะตาขณะทำการเสวยอายุ

และหากดาวเคราะห์ดวงใดๆก็ตามสถิตย์ในเรือนใดๆในแผนภูมิภวชลิต ก็จะให้ผลตามความหมายของเรือนนั้นๆ  ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดความแตกต่างเป็นอย่างมากในการพยากรณ์ดวงชะตา

"ภวะมัทยะพินทุ" หรือ จุดศูนย์กลางเรือนชะตา ซึ่งปรากฏอยู่ในแผนภูมิภวะจลิตจักรนั้น และ ยิ่งดาวเคราะห์เข้าใกล้กับตำแหน่ง "ภวะมัทยะพินทุ" มากเท่าไร ก็ยิ่งให้ผลต่อเรือนๆนั้นมากยิ่งขึ้น

ส่วนหากดาวเคราะห์อยู่ในตำแหน่งของ "ภวะ ประรารัมภะ พินทุ"หรือจุดเริ่มต้นของเรือน อิทธิพลของดาวเคราะห์นั้นก็จะส่งผลกับเรือนก่อนหน้าด้วยเช่นกัน

ในทำนองเดียวกัน ดาวเคราะห์อยู่ในตำแหน่งของ"ภวะ อันตะ พินธุ" หรือจุดสิ้นสุดของเรือน ก็จะส่งผลกับเรือนต่อไปด้วยเช่นกัน

ซึ่งสรุปได้ว่า ดาวเคราะห์ที่อยู่ในตำแหน่งของ  "ภวะ ประรารัมภะ พินทุ"หรือจุดเริ่มต้นของเรือน หรือ "ภวะ อันตะ พินธุ" หรือจุดสิ้นสุดของเรือน ก็ให้ผลซึ่งเป็นรวมของเรือนทั้งสองเรือน

แผนภูมิจลิตจักร มีไว้สำหรับระบุตำแหน่งของดาวเคราะห์ในเรือนต่าง ๆ เท่านั้นส่วนองค์ประกอบที่สำคัญอื่น ๆ เช่น ระยะเชิงมุม โยคเกณฑ์ หรือตำแหน่งต่างๆ ของดาวเคราะห์เช่น เกษตร มูลตรีโกณ นิจ อุจน์ การเสวยนวางศ์และเสวยวรรคต่างๆ ฯลฯ จะต้องวิเคราะห์โดยใช้แผนภูมิราศีจักรเท่านั้น

สิ่งสำคัญคือวิธีการใช้แผนภูมิภวะจักร ในการดูว่าเจ้าเรือนแต่ละเรือนนั้นอยู่ที่ไหน ซึ่งต้องอ้างอิงจากแผนภูมิราศีจักรเป็นเพื่อหาเจ้าเรือนเกษตรของแต่ละเรือน จากนั้นเราใช้แผนภูมิภวะจลิตจักรเพื่อดูว่าเจ้าเรือนเหล่านี้สถิตย์อยู่ที่ไหน

ดังนั้นแม้ว่าแผนภูมิดวงชะตาของบุคคลมักจะถูกนำเสนอเป็นแผนภูมิดวงราศีจักร แต่แนะนำให้นักโหราศาสตร์ใช้ ดวงนวางศ์จักร เพื่อให้ได้รายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับศักยภาพที่แท้จริงของดาวเคราะห์หรือความเข้มแข็งที่แท้จริงของดาวเคราะห์ ร่วมกับแผนภูมิ ภวะจลิตจักร เพื่อให้ได้ภาพโดยละเอียดของตำแหน่งที่แท้จริงของดาวเคราะห์ในเรือนต่างๆในเชิงลึก และเมื่อเรานำจักรทั้งสามมาพิจารณาร่วมกันก็ย่อมทำให้มิติในการพยากรณ์ดวงชะตาลึกซึ้งขึ้นไปมากยิ่งขึ้น