Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

สารบัญ

 

คัมภีร์ :   จงรักภักดี  กตัญญู


อธิบาย : คนที่เป็นข้าราชการ ก็ต้องมีความจงรักภักดีให้ถึงที่สุด  ผู้ที่เกิดมาเป็นบุตรก็ต้องมีความกตัญญูถึงที่สุดเช่นกัน

บ่าวสุดภักดี บุตรสุดกตัญญู  เป็นกฎของหลักธรรมฟ้า และก็เป็นพื้นฐานของมนุษย์สัมพันธ์ ถ้าหากขุนนางข้าราชการไม่จงรักภักดีแล้ว การเป็นเจ้ากับขุนนางจะมีความหมายอะไร  คนที่เป็นบุตรแล้วไม่มีความกตัญญู พ่อแม่ก็จะมีความหวังอะไร  ต้องรู้ว่า การไม่จงรักภักดีไม่กตัญญู เทียบสัตว์เดรัจฉานก็ไม่ปาน  แล้วจะเรียกว่าเป็นคนได้อย่างไร

แม้คนที่สามารถบำเพ็ญสำเร็จเป็นเซียนได้  แต่ก็ต้องผ่านการบำเพ็ญสั่งสมบุญกุศลมาเป็นเวลายาวนาน

คนที่มีมหากตัญญู ถ้าวันนี้ตายพรุ่งนี้ก็ไปเกิดบนสวรรค์ คนทั่วไปล้วนรู้ว่า ความจงรักภักดีกตัญญูเป็นงานมหกรรมของข้าราชการ รู้หรือไม่ว่าความจงรักภักดี ยิ่งเป็นเหตุปัจจัยในการเลื่อนสู่ภพภูมิสวรรค์ด้วยนะ !

บุตรกตัญญูต้องทำให้ประเทศมีความสงบก่อน เพราะเมื่อประเทศชาติสงบได้แล้ว ครอบครัวถึงจะมีความสงบ เมื่อครอบครัวสงบแล้ว บุตรกตัญญูจึงสามารถดำเนินการกตัญญูได้ดี เพราะฉะนั้นคนสมัยก่อนแสวงหาขุนนางจงรักภักดี ก็ต้องไปแสวงหาเอาจากบุตรกตัญญู ถ้ามีความสมบูรณ์ ทั้งจงรักภักดีและกตัญญูได้ ก็ถือเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมสูงสุด อย่างไรก็ตาม บางทีทั้งจงรักภักดีกับกตัญญูไม่อาจทำได้พร้อมกัน เพราะฉะนั้น จึงควรแยกกันวิจารณ์ จึงจะทำให้เราได้รับรู้ตามแต่เหตุการณ์ที่ไม่เหมือนกัน เพื่อให้ถึงที่สุดของใจตนเอง

อันการจงรักภักดี ก็คือ ความจริงใจที่ไม่คิดข่มเหง เป็นหลักมนุษยสัมพันธ์ ตัวอย่างเช่น ผู้อยู่ใต้บังคับ

บัญชาที่ทำงานให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้น้อยทำงานให้ผู้ใหญ่ หรือเป็นเพื่อนเสมอกัน การคบค้าสมาคมติดต่อปฏิบัติ ต้องมีความจริงใจที่ไม่คิดข่มเหง  ไม่คิดทรยศหักหลักหลักธรรมจงรักภักดี มีไว้สำหรับผู้เป็นขุนนางข้าราชการ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา  แม้แต่ความสัมพันธ์ของบิดา บุตร พี่น้อง สามี ภรรยา ทุกๆ คนก็รู้เองว่าควรที่จะนับถือรักใคร่ซึ่งกันและกัน แม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างราชากับขุนนาง ความหมายของหลักธรรมก็ผูกพันเข้าไว้ด้วยกันได้ คนทั่วไป ในจุดนี้อาจเกิดความคิดเห็นที่ไม่มีวิสัยทัศน์คนที่เป็นขุนนางข้าราชการ ก็จะมีเหตุปันใจไม่จงรักภักดีถึงที่สุดสาเหตุก็มาจากตนเองกับครอบครัว  ตำแหน่งการงาน อำนาจอิทธิพลบุญคุณความแค้น เกียรติยศ อยู่ในทั้ง 5 อย่างนี้  ถ้าคิดถึงตนเองกับครอบครัว  ตำแหน่ง ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนทั่วไป แต่จะกระทบกระเทือนเสียหายไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นอำนาจอิทธิพล ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกกังฉิน คือพวกทรราช อย่างนี้จะกระทบกระเทือนเสียหายมากกับประเทศชาติ พวกขุนนางกังฉินเหล่านี้ ในที่สุดแล้วภัยพิบัติก็ย้อนเข้าตัว  ตัวอย่างเช่น หลี่หลินปู หยางกั๊วตง ฉินไกว  เหล่านี้เป็นต้นกับเรื่องบุญคุณ ความแค้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของราชาเจ้านาย  ซึ่งก็หลีกเลี่ยงได้ยาก  ตั้งแต่ราชวงศ์ถัง  ซ่ง เป็นต้นมา  มีสาเหตุมาจากการแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า จนเกิดภัยพิบัติ


คำคม : ท่านอวี่เถี่ยเจียว พูดว่า “การที่ประชาชนอยู่ได้อย่างสงบสุขก็พึ่งอาศัยทหารตำรวจคอยคุ้มครอง ถ้าหากไม่มีทหารตำรวจคุ้มครองขโมย โจร อันธพาล ฆ่าชิงวิ่งราว ชีวิตทรัพย์สินประชาชนก็ตกอยู่ในอันตรายทั้งเช้า-ค่ำ เมื่อคิดถึงตรงนี้ ไม่ว่าเศรษฐีหรือยาจก ล้วนได้รับการดูแลจากชาติทั้งนั้น  เหตุฉะนี้ แต่ละคนต้องทำหน้าที่ของตน คือจงรักภักดีต่อชาติให้ถึงที่นุด นับประสาอะไรกับพวกมีการศึกษา หรือข้าราชการที่รับเงินเดือนของชาติ  โดยเฉพาะผู้อาสาเข้ามารับใช้ชาติหากไม่รู้ตจักคำว่าจงรักภักดี เป็นคนที่น่าละอายอย่างยิ่ง !


นิทาน ๑ :  สมัยถัง  ขุนนางเหว่ยเติ้ง มีความกล้าหาญ มีแผนการณ์ชอบที่จะเหนี่ยวรั้งฮ่องเต้ที่ทำสิ่งไม่ควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่เรืองเล็ก ถ้าหากฮ่องเต้ทำไม่ถูก เหว่ยเติ้งก็จะไม่ตามพระทัย จะทัดทานตักเตือนอย่างยากลำบากก็ยอม ถึงแม้จะทำให้ฮ่องเต้โกรธมาก เหว่ยเติ้งก็ไม่ยอมตามพระทัย มีอยู่ครั้งหนึ่ง ถังไถ่จงได้รับเหยี่ยวรุ้งมาตัวหนึ่งชอบมาก มักจะให้เจ้าเหยี่ยวรุ้งเกาะอยู่บนไหล่  ครั้งหนึ่งพอเห็นเหว่ยเติ้งเข้ามา กลัวเขาเห็นเข้า ก็รีบยัดเจ้าเหยี่ยวรุ้งเข้าไปในอกเสื้อเหว่ยเติ้งมีแผนการณ์ ก็จะถ่วงเวลากราบทูลเรื่องราวต่างๆ ให้ช้าลงดังนั้นเจ้าเหยี่ยวรุ้งเลยถูกอบตายในอกเสื้อ (ทั้งนี้เหว่ยเติ้งรู้ว่าฮ่องเต้ไม่สนใจทำงาน เอาแต่สำราญกับนกเหยี่ยวรุ้ง ถึงใช้วิธีการเช่นนี้ตักเตือนพระองค์)  ต่อมาฮองเฮาเหวินเต๋อสวรรคต ถังไถ่จงทรงคิดถึงฮองเฮาไม่หยุด และสร้างหอขึ้นในอุทยาน เพื่อขึ้นไป ส่องดูสุสานฮองเฮาพระองค์เชิญเหว่ยเติ้งขึ้นไปบนหอด้วย แล้วเรียกเหว่ยเติ้งมองดูสุสานฮองเฮา เหว่ยเติ้งส่องดูอยู่เป็นนานเท่านานแล้วทูลว่า “ฝ่าบาท ! หม่อมฉันอายุมากแล้ว ตาก็ลายแล้ว มองไม่เห็นหรอก !”  ถังไถ่จงจึงชี้นิ้วยังสุสานให้เขาดู เหว่ยเติ้งทูลว่า “หม่อมฉันหวังให้ฝ่าบาทมองเห็นสุสานของบรรพชน เหมือนมองสุสานของฮองเฮาแล้ว  หม่อมฉันก็จะมองเห็นสุสานของฮองเฮาได้ !” ถังไถ่จงฟังแล้วรู้สึกซาบซึ้งจนน้ำตาไหล จึงสั่งให้ทุบหอทิ้ง เลิกส่องสุสานฮองเฮาแล้ว  เหว่ยเติ้งแนะนำให้ถังไถ่จงหันมาสนใจเรื่องการศึกษา  หยุดขยายการทหารเพิ่มความรู้ให้ประชาชน ประเทศชาติก็จะมั่นคง ศัตรูรอบข้างก็จะสวามิภักดิ์ ไม่ต้องเอาอาวุธไปปราบพวกเขา ถังไถ่จงรับฟังข้อเสนอของเหว่ยเติ้งในที่สุดก็บังเกิดผลเกินคาด นี่คือรอยประวัติความจงรักภักดีของเหว่ยเติ้งแล้วลูกหลาน

ของเหว่ยเติ้ง รุ่นที่ 5 ชื่อ เหว่ยหมอเป็นผู้มีความชาญฉลาด เก่งกาจได้เป็นถึงมหาอำมาตย์


นิทาน ๒ :  มหาอำมาตย์ซือหม่าอุน เป็นผู้มีความขยันทำงานและรักประชาชน พลีกายให้กับชาติ เพราะตรากตรำทำงานเกินไป ร่างกายจึงเจ็บป่วย ขณะนั้นขุนนางหวังอันสือ ได้แต่งตั้ง ชิงเหมียว เหมี่ยนเจอะทหารเลวซึ่งยังไม่ทันได้กำจัดไป  ยังมีเมืองเซี่ยทางตะวันตก  ที่ยังไม่สวามิภักดิ์แก่ซ่ง ซือหม่าอุนถึงกับรำพึงว่า “สี่อันตรายนี้ยังไม่ถูกกำจัดข้าตายก็นอนตาไม่หลับ”  คนที่มาเยี่ยมไข้ เห็นร่างกายเขาผ่ายผอมลงทุกวัน  จึงใช้คำของขงเบ้งที่ว่า “กินน้อยงานหนัก อายุไม่ยืน”  มาเตือนซือหม่าอุน เพื่อจะได้หักห้าม ซือหม่าอุนตอบว่า “เกิดตายเป็นดวงชะตา ไม่ต้องห่วงใย”  เขากลับยิ่งทำงานมากขึ้น  อาการป่วยของเขาก็ยิ่งหนักลง แม้สมองก็ฝ้าฟาง แล้วก็ยังครุ่นคิดถึงราชสำนักแม้แต่ในความฝัน ก็ยังเป็นเรื่องของราชสำนัก


นิทาน ๓ :  ฮ่องเต้เหวยเกาจง  ตรัสกับบรรดาขุนนางว่า “การปฏิบัติต่อราชาควรเหมือนการเคารพบิดาของตนเอง ถ้าบิดาทำผิด ผู้เป็นบุตรมิใช่จะเขียนบอกให้ชาวบ้านมาตักเตือนบิดาหรอกนะ หากแต่อยู่ในที่ส่วนตัวไม่มีใครเห็น แล้วเตือนบิดาจึงถูก จุดมุ่งหมายก็คือไม่ต้องเปิดเผยความผิดของบิดาออกไปภายนอก ตัวอย่างเกงชง ที่เมื่อข้าได้ทำผิดเขาก็จะเข้ามาพูดกับข้าจำเพาะหน้า ตลอดจนบางครั้งก็ทำให้ข้ายอมรับไม่ได้ แต่การเตือนของเกาชง ก็ทำให้ข้าได้รู้ความผิดของตนเอง แต่คนอื่นจะไม่รู้ความผิดของข้าเลย เพราะฉะนั้น เกาชงนับว่าจงรักภักดีต่อข้าจริงๆ การจงรักภักดีต่อข้าอย่างจริงใจนี้ ไม่แค่เพียงเอาวิธีที่กดดันมาตักเตือนคน ถ้ายังมีที่ยังทำไม่ได้ ก็จะใช้วิธีเปรียบเทียบเสียดสี มาตักเตือนทักท้วงคน นับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว”


นิทาน ๔ :  ซูเป็นขุนนางผู้ใหญ่สมัยซ่ง เขียนบทความถวายราชสำนักวิจารณ์เรื่องประเทศชาติ ไม่ได้รับการยอมรับจากราชสำนัก แต่ยังถูกลดขั้นให้ไปทำงานที่เยี่ยวโจว ระหว่างทางไปเมืองเยี่ยวโจว ผ่านเมืองลั้วหยาง ก็พักอยู่ที่บ้านเพื่อนชื่อ อี่ตุ้น จึงระบายทุกข์ให้อี่ตุ้นฟังว่าตนเองจงรักภักดีต่อราชสำนัก กลับตกต่ำลงถึงเพียงนี้ ถูกขับไปอยู่เยี่ยวโจว อี่ตุ้นฟังแล้วก็พูดกับเขาว่า “ตอนที่ท่านถวายรายงานแก่ราชสำนักนั้น  จุดมุ่งหมายของท่านเพื่อชาติบ้านเมือง หรือเพื่อชื่อตนเองและตำแหน่ง หากทำเพื่อชาติบ้านเมืองแล้ว ท่านก็ควรไปรับหน้าที่ที่เยี่ยวโจวอย่างยินดี ถ้าหากเป็นการทำเพื่อตนเอง การทำโทษของราชสำนักครั้งนี้นัว่าเป็นโทษเบา” ซู ฟังแล้วรู้สึกประทับใจ ก็ไม่กล้าที่จะกล่าวหาอะไรกับราชสำนักอีก


คำคม :  ท่านจางเค่ออัน  กล่าวว่า “บัณฑิตผู้รับราชการ หากในใจคิดแต่จะสร้างชื่อเสียงเพื่อตนเอง มีใจหาความดีความชอบแล้วละก็จะไม่สามารถทำอะไรให้ประโยชน์แก่ประชาช่นได้” นี่เป็นเรื่องจริง


นิทาน ๕ :  ขุนพลกั๊วจืออี่ ในสมัยถัง  ตอนเกิดกบฎอันซื่อ เขาได้ตีกลับได้เมือง 2 เมือง ทั้งตะวันออกและตะวันตก ความดีความชอบของเขามากกว่าผู้อื่น ตอนนั้นฮ่องเต้ไต้จง อำนาจของมหาอำมาตย์ใหญ่มากขนพลกั๊วจืออี่ ถูกให้อยู่เฉยๆ นานถึง 2 ปี  เมื่อเกิดกบฎพวกกูรุฟานทางซินเกียง กูรุฟานยกทัพเข้าตีเมืองหลวง ทุกคนตกใจกลัว ฮ่องเต้พาพวกขุนนางหลบภัยไปที่สาโจว  ขุนพลใหญ่อย่างหลี่กวงเปียะ กลับไม่พอใจต่อมหาอำมาตย์ ก็ยกกองทัพแยกไป  ไม่ยอมยกไปช่วยฮ่องเต้ที่สาโจว มีแต่กั๊วจืออี่คนเดียวกับพรรคพวกอีกราว 20 คน  ยกไปที่สาโจวเพื่อช่วยฮ่องเต้  ระหว่างทางก็รวบรวมนักรบได้อีกจำนวนหนึ่งช่วยกันตีกลองโบกธงรบ  และปล่อยไฟหลายๆ จุด ทำให้พวกกูรุฟานสงสัยและกลัวเกรง จึงยกทัพหลบหนีกลับไป ต่อมาภายหลังกูรูฟานได้ร่วมกับฮุยชี มีกองทัพสิบหมื่น มุ่งมาตีเมืองถัง พวกขุนพลก็มาไม่ทันปกป้องเมืองหลวง มีแต่กั๊วจืออี่คนเดียว ขี่ม้าออกไปเจรจาจนพวกฮุ้ยชีถอยทัพ  แล้วยังช่วยตีกองทัพกูรุฟานจนแตกยับไป กั๊วจื่ออี่แม้จะเป็นขุนพลมีกองกำลังมาก  แม้มหาอำมาตย์เช่นเฉินหยวนจิ้นอวี่เฉาเอินจะช่วยกันเพ็ดทูลฮ่องเต้ใส่ร้ายเขาอย่างไร แต่ฮ่องเต้ก็มีราชโองการเรียกเขาเข้าเมืองมาเข้าเผ้า กั๊วจื่ออี่พบได้รับราชโองการก็รีบเข้าเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้  ดังนั้นจึงได้รับความเชื่อถือจากฮ่องเต้มาก ฮ่องเต้ไม่เชื่อคำเพ็ดทูลเหล่านั้น ต่อมากั๊วจื่ออี่ ได้ถูกสถาปนาเป็นอ๋องเฟินหยาง เขามีบุตรชาย 8 คน กับบุตรเขย 7 คน ล้วนเป็นขุนนางผู้ใหญ่  ลูกหลานของกั๊วจื่ออี่ ต่างก็โด่งดังมาก หาผู้เทียบไม่ได้ !


สรุป :  ตั้งแต่ยุคโบราณมาจนถึงปัจจุบัน  ขุนนางข้าราชการที่จงรักภักดีถึงที่สุด ล้วนได้รับผลดีตอบสนอง ยังมีขุนนางที่ได้รับปูนความดีความชอบแต่ไม่รับ  เมื่อมีอันตรายก็ยอมรับชะตากรรม ตลอดจนยอมฆ่าตัวตาย มองดูแล้วพวกเขาเหมือนกอดความแค้นไปตลอด เหมือนกับว่าฟ้าตอบแทนเขาไม่เหมือนกัน ควรรุ้เอาไว้ว่า ข้าราชการที่ตายเพื่อชาติ ตอนที่เขายังไม่ตายก็ได้ชื่อในตอนนั้น เมื่อตายแล้วยังได้รับการกราบไหว้จากประชาชน เพราะฉะนั้น การตอบสนองของฟ้าอันที่จริงยังดีกว่าพวกคนร่ำรวยเป็นร้อยๆ เท่า สำหรับคนที่ไม่จงรักภักดี  และทำลายล้างประชาชน ฟ้าจะตอบสนองพวกเขาอย่างสาสมจึงไม่ต้องพูดว่ามีการตอบแทนหรือไม่กับคนที่ภักดีกับไม่ภักดี ดูคนทั่วๆ ไป ข้าราชการที่ใจไม่สนใจประชาชน ก็มักจะได้รับผลที่ไม่ดีเพราะฉะนั้น ท่านผู้เป็นข้าราชการทั้งหลาย จงอย่าได้ละเมิดต่อความจงรักภักดีเลย !

พูดถึงความกตัญญู คุณหยวนกวนชง เขียนวิจารณ์ไว้ว่า “ในโลกนี้มีคนที่ไม่กตัญญู ถึงแม้เขาจะเป็นลูกไม่กตัญญู ถ้ามีใครว่าเขาเป็นลูกกตัญญู เขาจะพอใจมาก หากมีใครว่าเขาเป็นลูกไม่กตัญญูเขาก็จะโกรธและอับอาย โดยเฉพาะเวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่น ก็จะแสร้งทำเพื่อรักษาหน้าของตนเอง ไม่กล้าที่จะทำตามอำเภอใจ นี่ก็เป็นเพราะจิตสำนึกดีของเขายังไม่มืดบอด  เพราะฉะนั้น จึงเพียงแ ค่การให้รู้จักขยายจิตสำนึกดีนี้กว้างขึ้น ซึ่งจะเป็นต้นกล้าของความกตัญญู ถ้าหากยังไม่มีความจริงใจกลับใจตรวจสอบแก้ไขนิสัยเลวออกไป ยังไม่กตัญญูเหมือนเดิม ก็คือคนไม่กตัญญู ตรงจุดนี้ควรอธิบายให้ชัดเจน เข้าใจให้ถูกต้อง ถ้าเช่นนั้นคนที่เป็นพ่อ ก็จะรู้จักอบรมสั่งสอนลูก สำหรับผู้เป็นลูกก็ต้องเข้าใจรู้จักจะกดข่มตนเอง ก็เหมือนการจับขโมยต้องรู้ว่าขโมยอยู่ที่ไหน  แล้วตั้งสติจับขโมย วันข้างหน้าก็หวังเอาได้ ! ทั้งยังอธิบายอีกว่า สาเหตุของอกตัญญู มีการปลูกฝังมาถึง 4 แบบ

แบบที่ 1 ตามใจ  คนที่เป็นพ่อแม่รักลูกสงสารลูกมากเกินไปจนลูกเคยตัว มีอะไรที่ขัดใจลูกเพียงเล็กน้อยก็ทนไม่ได้ คือยอมลูกไปทุกอย่าง จะเอาอะไรเป็นต้องได้ หากสอนลูกให้ยอมเหน็ดเหนื่อยเลี้ยงดูพ่อแม่ เขาก็จะไม่เคยชิน  ต่อหน้าคนื่นถ้าลูกทำผิด  พ่อแม่ก็ไม่กล้าว่ากล่าวตักเตือน กลัวลูกอับอายทนไม่ได้  อย่างนี้ลูกก็กล้าที่จะลำเลิกดุว่าพ่อแม่ การที่พ่อชมเชยความรู้ความสามารถของลูก โดยกลัวว่าลูกจะไม่เก่งกว่าตน อย่างนี้ก็ทำให้ลูกคิดว่า ความรู้ความสามารถของพ่อต้องด้อยกว่าตน  เป็นการสั่งสมนิสัยความหยิ่งทะนง เวลาอยู่ต่อน้าคนอื่นก็แสดงไม่ออก แต่พออยู่หน้าพ่อแม่ก็คุยโอ้อวด ทำให้เข้าใจว่าเป็นจริง โดยที่ผู้ใหญ่ก็ไม่รู้เรื่อง

แบบที่ 2 นิสัย เด็กที่พูดจาหยาบคายจนเป็นนิสัย ก็กล้าที่จะพูดใส่พ่อแม่ กิริยามารยาทที่ต่ำทรามทำจนชิน ก็จะเป็นคนที่ไม่รู้จักรักษามารยาท ทำตามอำเภอใจ พ่อแม่สู้อุตส่าห์เก็บของดีของชอบที่ลูกชอบกินไว้ให้จนลูกเคยชิน  เด็กจะลืมพระคุณที่พ่อแม้สู้เก็บถนอมไว้ให้ไป บางทีพ่อแม่มีอาการเจ็บป่วยทนทุกข์ทนเจ็บ ไม่ปริปากบ่นให้ลูกฟัง  ลูกก็จะไม่ถามไถ่ดูแลการเจ็บป่วยของพ่อแม่ไป

แบบที่ 3 รักสบาย  ลูกพอได้พบกับคนรุ่นราวคราวเดียวกันก็ให้รู้สึกสนิทสนมพอใจ แต่กับพ่อแม่ก็ไม่มีความหมาย พอเข้าไปในห้องภรรยาให้มีอาการพอใจ  แต่พออยู่นอกห้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วยก็ดูเบื่อหน่าย บางครั้งก็กล้าพูดออกมาตรงๆ พ่อแม่พี่น้องกลายเป็นสิ่งน่าเบื่อไม่อยากพูดคุย ในใจเขาจะมีความคิดเรื่องกตัญญู หรือความรักในสายเลือดอย่างไร

แบบที่ 4 ลืมบุญคุณจำความแค้น มักพูดกันว่า “บุญคุณยิ่งนานยิ่งลืม ความแค้นยิ่งนานยิ่งสะสม”  เป็นปกติวิสัยของคน เพราะฉะนั้น ถ้าเลี้ยงข้าวคนอื่นมื้อหนึ่ง เขาจะจดจำได้ แต่ถ้าเลี้ยงข้าวจนเคยแล้ว การติเตียนโทษแค้นก็เกิดขึ้นได้  เช่นกัน  ถ้าบริจาคให้ครั้งหนึ่งคนอื่นรู้สึกขอบคุณ ถ้าหากสงเคราะห์จนเป็นประจำ ก็จะเกิดการแยกแยะว่ามากว่าน้อย ถ้าการพบหน้ากันครั้งเดียวก็ทำให้เขารู้สึกยกย่อง ถ้าพบติดต่อกันการคาดเดาสงสัยก็จะเกิดขึ้น นับประสาอะไรกับพ่อแม่พี่น้องที่คุ้นเคย เคยชิน ก็จะเห็นความรักของพ่อแม่พี่น้องคงจะเป็นของที่ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น พระคุณอันยิ่งใหญ่จำเพาะหน้าของพ่อแม่ก็เลยไม่รู้จัก มีหรือที่จะนึกถึงความทุกข์ของแม่ที่ตั้งครรภ์เลี้ยงดู เวลาลูกเจ็บป่วยพ่อแม่ก็ตกใจเป็นทุกข์กังวล เพราะฉะนั้นบางครั้งอารมณ์ความรักขอบคนจึงสับสนกลับตาลปัตร ลูกจึงไม่รู้สึกตัวสำนึกคุณ ทั้งยังเคียดแค้นพ่อแม่อีกด้วย

ที่กล่าวมาแล้วหลายรูปแบบ ล้วนเกิดจากนิสัยที่เคยชินจนเคยตัว ทั้งยังไม่เคยรับรสของความขมขื่นอันแท้จริง เมื่อสั่งสมนิสัยนี้ไปนานๆ ก็เลยไม่รู้จักความผิดพลาดว่าอยู่ตรงไหน เพราะฉะนั้นจึงสมควรที่จะรีบๆ ปลุกให้ตื่น รีบๆ รักษาโดยเร็ว ให้ตรึกคิดเป็นนิจอย่าเห็นว่าอย่างไรเสียพ่อแม่ก็เมตตายอมอภัยให้ฉัน อย่าเห็นว่าสังคมข้างนอกเลวร้ายอย่างนี้ ฉันยังดีกว่าคนอื่น ต้องรู้ว่าการไม่รู้จักกตัญญู เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็จะกลายเป็นไม่รู้จักกตัญญูมากๆ ไปเลย

ท่านยังกล่าวต่อไปอีกว่า สาเหตุของการไม่รู้จักกตัญญูมากๆ ก็มี 4 อย่าง

  1. เห็นแก่ทรัพย์ พอเงินทองตกถึงมือฉันก็เป็นของฉัน แม้แต่เงินทองของพ่อแม่ก็เข้าใจว่าเป็นเงินของฉัน เมื่อตนเองมีเงินมากพอก็เลยลืมพ่อแม่ แต่ตอนที่ตนเองเงินทองไม่พอก็กล้าที่จะไปเอาเงินทองของพ่อแม่ ยามที่พ่อแม่เลี้ยงดูตนเองไม่ได้ ต้องไปพึ่งพาให้ลูกเลี้ยงดูก็จะเคียดแค้นพ่อแม่ แม้แต่ครอบครัวที่มีลูกคนเดียว ก็ยังเกิดปัญหาเรื่องเงินทองถึงกับจะฆ่าแกงกัน นับประสาอะไรกับครอบครัวที่พี่น้องต่างเกี่ยงกันเลี้ยงดูพ่อแม่ ! พวกเขาคงลืมไปกระมังว่า กายสังขารนี้มาจากไหน เงินทองของเรามาจากไหน ตอนเราเกิดมามีเงินทองติดตัวมาหรือไร ตั้งแต่เป็นทารกจนถึงปัจจุบันก็ไม่เคยขัดสน ใครช่วยเหลือเธอ แต่ตอนนี้ตนเองไม่อยากสิ้นเปลือง จึงคิดถือสากับพ่อแม่ !
  2. หลงเมีย  หลงลูกเมียมากจนะเป็นเหตุไม่กตัญญู พอมีเงินทองอาหารดี ๆ ก็จะเอาไปปรนเปรอลูกเมีย เวลามีวันหยุดวันนักขัตฤกษ์ที่เคยคิดจะพาลูกเมียไปให้พ่อแม่เชยชม ก็ยิ่งนับวันลดน้อยถอยห่างลงไป  ไม่คิดว่าลูกเป็นลูกของฉัน  แล้วฉันละเป็นลูกของใคร  พ่อแม่เลี้ยงดูฉันแล้วฉันไม่ดูแลพ่อแม่ แล้วูกที่ฉันเลี้ยงจะมีประโยชน์อันใด สามีภรรยารักใคร่กันเป็นเรื่องดีแต่ตอนที่ฉันยังอุแว้กินนมขี้เยี่ยวปนเปเมียเราตอนนั้นเลี้ยงดูเราหรือ  ทีตอนนี้ก็รู้จักรักลูกหลงเมีย พ่อแม่เลี้ยงลูกจนเติบใหญ่ แต่งเมียได้ก็ดีใจเป็นที่สุด  แต่ทำไมพอมีเมียแล้วก็ทำให้พ่อแม่ต้องเสียลูกไปปานนั้น
  3. สำมะเลเทเมา ไฟสุมอกร้อนแรง บวกกับถูกฝ่ายตรงข้ามเป่าหูอย่างรุนแรง ตอนนั้นคนในบ้านก็ทำร้ายจิตใจเขาก็รับไม่ได้จึงออกจากบ้าน ไปสำมะเลเทเมาหมดเงินหมดทอง ระหว่างแม่กับเมียจึงเกิดปากเสียงกัน เพราะเรื่องนี้ ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาซึ่งกันและกันเขาก็แก้ไขไม่ได้ เมียก็กอดลูกหนอนไม่หลับ เพราะเป็นห่วงสามีที่สำมะเลเทเมาอยู่ข้างนอก แม้แต่ลมฝนนอกบ้านก็ทำให้เธอเสียใจร้องไห้ พ่อแม่ที่แก่ผมหงอกก็ไม่มีคนดูแล กินไม่ได้นอนไม่หลับ  เพราะเป็นห่วงลูกชายที่สำมะเลเทเมาอยู่นอกบ้าน จะได้รับอันตราย จิตใจที่บ้าคลั่งเช่นนี้จะหยุดลงได้เมื่อไร ทนได้หรือที่ห้คนที่ตนรักที่สุดต้องเสียใจ !
  4. แก่งแย่งอิจฉา ด้วยฟ้าดินไม่มีเห็นแก่ตัว แต่คนกลับมีความรู้สึกเสียใจ ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกๆ จะมีเหตุผลที่ไม่ลำเอียงหรือบรรดาลูกกๆ พากันแย่งชิงให้พ่อแม่รัก หรือพี่น้องมีเรื่องขัดใจกันต่างถือสาหาความ พูดจาใส่ร้ายกัน บ้านใครเป็นเช่นนี้ก็จะสั่งสมแต่ความโกรธแค้น ใจที่กตัญญูก็พลอยจืดจางลง

ทั้ง 4 อย่างเป็นสภาพธรรมดาของมนุษย์ ที่น่ากลัวคือลูกที่กตัญญูก็หลบเลี่ยงได้ยาก จนกลายเป็นคนไม่กตัญญูไป

ในสมัยซ่ง หันเหว่ยกง กล่าวว่า “พ่อเมตตาลูกก็กตัญญู” เป็นเรื่องปกติ ถ้าพ่อแม่เมตตาต่อลูก มีหรือลูกจะไม่กตัญญูเป็นสมัยกษัตริย์ต้าซุ่น แต่โบราณมา” หากในสภาวะที่พ่อแม่ไม่พอใจต่อลูก ในใจของลูกจะต้องไม่มีความโกรธแม้แต่น้อย จะต้องเพิ่มความระมัดระวังปรนนิบัติพ่อแม่ ถึงแม้จะเกลี้ยกล่อมท่านไม่ได้ ก็ไม่ให้ล่วงเกินท่าน มีแต่บุตรต้องทำหน้าที่กตัญญูให้ถึงที่สุด อย่าต้องล่วงละเมิดจนกลายเป็นลูกอกตัญญูไป ถ้าหากยังมองพ่อแม่ว่าไม่ถูกต้อง  ในใจก็มีแต่อารมณ์โกรธแค้น จนไม่สลายหมด หรือละวางไม่ลง ก็จะส่งให้เกิดการระงับชั่งใจไม่อยู่ คือไม่สามารถตัดรากถอนโคนความแค้นได้  อันเป็นเหตุให้ละเมิดจนกลายเป็นพิษภัย ถ้าหากเป็นเช่นนั้นละก็โทษบาปที่ดุด่าว่าพ่อแม่ไม่เมตตาจะหนักมาก  เป็นโทษมหันต์ที่อกตัญญู ก็คงหมดทางหลบหลีกจากโทษบาปที่ก่อไว้

คำคม : ท่านหลอ เคยกล่าวไว้ว่า “บุตรกตัญญูที่ปรนนิบัติบิดามารดาจะทำให้บิดามารดามีใจเย็นชาไม่ได้ มีกังวลใจไม่ได้ มีใจหวาดกลัวไม่ได้ มีความกลุ้มใจไม่ได้  ทำให้บิดามารดาไม่อยากพูดไม่ได้ ทำให้บิดามารดามีใจละอายแค้นไม่ได้”


ท่านถัง ได้เขียนบทเพลงพระคุณบิดามารดาว่า :-

ฉันยังไม่ทันเอ่ยน้ำตาก็ร่วงริน                                     ไม่อาจตอบแทนพระคุณเลี้ยงอบรม

ตื้นตันจนพูดไม่ออก                                        ตื้นตันพูดให้พวกท่านฟัง

ทนทุกข์ทรมานยามตั้งท้อง                             ดุจผจญมารเอาชนะยาก

การให้กำเนิดนั้นมีอันตราย                              ระหว่างความเป็นความตาย

เจ็บปวดท้องสุดจะทนได้                                ดุจให้เขาถอดกายสังขาร

จะตายจะเกิดนับครั้งไม่ได้                              อาศัยเทพเทวาเป็นที่พึ่ง

ลูกคลอดออกมาเลือดกระจาย                                     กัดฟันหลับตาดุจเกิดใหม่

จวบจนตัดสายใส่เสื้อแล้ว                               ผ่านไปสามวันค่อยเป็นคน

ขี้เยี่ยวรดเปื้อนเต็มตัว                                      เหม็นคาวสกปรกกลิ่นไม่ไหว

ใจไม่เคยนึกติโกรธเคือง                                  จะอาบล้างเปลี่ยนแสนลำบาก

ได้ยินเสียงลูกน้อยร้องแว้                                พลิกตัวเอามือมาช้อนอุ้ม

คิดว่าเธออายุได้ครึ่งขวบ                                 สะดุ้งตื่นไม่เป็นอันหลับ

ยามหิมะตกฟ้าปลายปี                                     พันหัวพันเท้าอุ้มลูกนอน

เพราะลูกน้อยยังกินนม                                                ยามดึกเปิดอกออกข้างนอก

พอลูกออกหัดอีสุกใส                                      ใจแม่อกสั่นขวัญแขวน

ภายหลังอาการบรรเทาแล้ว                             คอยจะดื่มกินอาหารได้

จุดธูปเทียนกราบเจ้าเตาไฟ                              พร่ำเรียกเจ้าแม่อีสุกใส

ถ้าหากเกิดมีเสียงเจ้าแม่                                   คงอกสั่นจนขนหัวลุก

โชคดีเลี้ยงลูกได้ถึงสองขวบ                           อาศัยปีนป่ายเดินเตาะแตะ

ห่วงก็เพียงจะชนหัวหน้าแตก                          อย่างไรเสียก็ไม่ปล่อยวางใจ

มีลูกก็มักปล่อยตามใจ                                     เสียนิสัยบ่มอนาคต

ทำไมพ่อแม่รักลำเอียง                                     ปากก็ว่าลูกดีเด็กดีๆ

ลูกโตผมยาวปะไหล่                                        ชั่วพริบตาเติบโตผู้ใหญ่

เจ็บปวดยามปู่ย่าจากไป                                   ไม่อาจเผ้าดูแลอยู่ข้างกาย

แบ่งได้ไร่นาเพียงเล็กน้อย                               ก็หนักใจทำกินลำบาก

ไม่ใช่เพราะเป็นแก่ลูกหรือไร                          ตนเองกินได้สักกี่อีแปะ

แม่ดูพ่อๆ ส่องมองดูแม่                                   ทำไมหน้าตาซีดเซียว

เป็นเพราะลูกต้องแต่งงาน                               คิ้วขมวดเติมห้องหนึ่งห้อง

แต่ละนิ้วคืบล้วนบุญคุณ                                 ใครสามารถพรรณนาได้สักครึ่ง

เก่งแค่ไหนที่พรรณนาออกมา                          ก็แค่หกเจ็ดส่วนเท่านั้นเอง


คุณจินเซ้าเกากล่าวว่า “ความเสื่อมในประเพณีงานศพ” ปัจจุบันถึงจุดเสื่อมแล้ว  คนปัจจุบันมักเข้าใจว่า คนสมัยก่อนทำงานศพไม่ถูกต้อง ปัจจุบันไว้ทุกข์กันภายในแค่เจ็ดเจ็ดสี่สิบเก้าวันเท่านั้น เพื่อให้จบสิ้นแล้วไปจัดงานแต่งงาน อย่างนี้ถือเป็นการไม่มีอารยธรรมในสมัยโบราณผู้บัณฑิตจะไว้ทุกข์เพื่อแสดงความกตัญญูเป็นระยะเวลา 3 ปี ขนาดรับประทานอาหารประณีตก็ไม่รู้สึกรสอร่อย ฟังดนตรีก็ให้ไม่รู้สึกสบาย ชีวิตประจำวันก็ยังมีความรู้สึกอาลัยอาดูรการจากไปของพ่อแม่ เป็นเวลาเช่นนี้นานถึง 3 ปี ปัจจุบันจิตสำนึกของคนไม่สนใจหลักธรรมฟ้า บางที่ก็ยังแต่งงานภายใน 49 วันก็ยังมี  แม้แต่งานศพพ่อแม่ก็ยังไม่สนใจ กลับแต่จะหาความสุขระหว่างสามีภรรยากันการเป็นลูกของคน หากเป็นเช่นนี้ ลวกๆ ง่ายๆ  เช่นนี้ถือว่าไม่กตัญญูอย่างยิ่ง หากพ่อแม่สอนลูกให้ทำเช่นนี้ก็คือ การสอนลูกให้ทำเช่นนี้ก็คือ  การสอนลูกให้ไม่กตัญญูโดยเฉพาะอยู่ในช่วงอุบาทว์แต่ไปทำงานมงคล มันจะไม่ดีกับสามีภรรยาทั้ง 2 ฝ่าย ประเพณีที่ไม่ดีอย่างนี้ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้เริ่มต้น พอมาถึงปัจจุบันกลายเป็นเรื่องถูกต้องไป แม้แต่ในครอบครัวที่มีการศึกษาก็ยังเป็นเช่นนี้ ควรรีบแก้ไขเสียโดยรีบด่วน!


คุณเสิ่นหลงเจียง กล่าวว่า “การปรนนิบัติพ่อแม่ยังเทียบไม่ได้เท่ากับงานวาระสุดท้ายของพ่อแม่ งานวาระสิ้นบุญพ่อแม่ถือเป็นงานใหญ่ ถ้าปฏิบัติไม่ได้แล้ว  งานอื่นๆ ก็ถือว่าไม่จริงใจแล้วในครอบครัวที่มีพี่น้องมาก พี่น้องมักจะเกี่ยงกันไปมา เหตุนี้จึงจัดงานศพลวกๆ เพื่อให้เสร็จสิ้น ก่อให้เกิดนึกเสียใจในภายหลัง  สำหรับฉันแล้วการเป็นลูกคนโต  ถ้ามีกำลังทำได้ก็ควรทำเสียคนเดียว ม่าจำเป็นต้องผลักให้น้องๆ ไปทำ  ถ้าเป็นน้องเขามีกำลังทำได้ตามลำพัง  ก็ควรรับเป็นหน้าที่ของตนเอง  ก็ไม่ต้องให้พี่ต้องแบกรับจนเกินกำลัง  แต่ละคนทำสุดกำลัง ให้แบ่งกันทำ อย่างนี้จึงสมเหตุผลที่เกิดเป็นลูก !  หากคิดอยากพึ่งคนอื่นสักส่วนหนึ่ง  มันก็เกิดขึ้นอยู่ในใจเราส่วนหนึ่ง ก็จะกลายเป็นไม่ทำสุดกำลังไปส่วนหนึ่ง !


นิทาน ๑ :  หยางปู่เป็นชาวเมืองไห่เหอ ร่ำลาแม่เฒ่าที่บ้านแล้วเดินทางไปเสฉวน เพื่อไปกราบอาจารย์อู๋จี้ไต้ซือ ระหว่างทางได้พบภิกษุเฒ่ารูปหนึ่งพูดกับเขาว่า “จะไปไหน”  หยางปู่ ตอบว่า “ไปกราบอาจารย์อู๋จี้ที่เสฉวน”  ภิกษุเฒ่าพูดว่า “เจ้าไปกราบอาจารย์อู๋จี้ ยังสู้ไปหาพระพุทธะไม่ได้”  หยางปู่จึงถามว่า “อย่างนั้นพระพุทธะอยู่ที่ไหน” ภิกษุเฒ่าตอบว่า “เพียงเจ้ากลับบ้านก็จะเห็นคนหนึ่งที่พาดเสื้อสีเหลืองไว้บนบ่า เท้าก็ใส่รองเท้ากลับข้าง คนๆ นั้น คือ พระพุทธะ !” หยางปู่ฟังแล้วก็รีบกลับบ้าน ตอนที่กลับมาถึงบ้านก็เป็นเวลาดึกดื่นค่อนคืนปิดประตูนอนกันหมดแล้ว  หยางปู่เคาะประตูบ้านรออยู่ข้างนอก  ขณะนั้นแม่เฒ่าได้ยินเสียงลูกชายร้องเรียกอยู่ข้างนอก  ด้วยอารมณ์ดีใจที่จะไปเปิดประตู  จึงฉุกละหุกคว้าเสื้อได้ตัวหนึ่งสีเหลืองพาดไว้บนไหล่  ด้วยอาการรีบร้อนที่จะเห็นหน้าลูก จึงใส่รองเท้าสลับข้างวิ่งไปที่ประตูบ้านพอเปิดประตู  หยางปู่เห็นสภาพมารดาตรงกับที่พระภิกษุเฒ่าบอกทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้จึงตื่นบรรลุฉับพลัน  จากนั้นมาเขาก็จะอยู่ที่บ้านคอยดูแลปรนนิบัติมารดาสุดกำลัง ทั้งยังได้เขียนคำอธิบายในคัมภีร์กตัญญูไว้เป็นหมื่นๆ ตัวอักษร ขณะที่หยางปู่เขียนคำอธิบายคัมภีร์กตัญญูอยู่นั้น พอน้ำในที่ฝนหมึกใกล้จะแห้ง ทันใดนั้นน้ำก็เต็มขึ้นมาเองคนอื่นต่างยอมรับว่า เพราะความกตัญญูของหยางปู่ เป็นเหตุซาบซึ้งถึงฟ้าดิน  เทพจึงมาเติมน้ำให้ตลอดกาล


คำคม : พระโพธิสัตว์เมตตรัย  กล่าวไว้ว่า “ในบ้านมีพุทธะ 2 องค์เจ็บใจที่ชาวโลกไม่รู้จัก ไม่ต้องใช้โลหะหล่อ ไม่ต้องใช้ไม้กฤษณามาแกะนั่นคือพ่อแม่ทั้งสอง  ก็คือศากยะเมตตรัย หากสามารถตั้งใจเคารพปรนนิบัติ ไม่ต้องไปหาบุญกุศลที่ไหน”


นิทาน 2 :  นายไอ้เหมียน  มีนิสัยกตัญญูมาก   แม่ตาบอดทั้งสองข้างเขายอมขายทรัพย์สมบัติเพื่อรักษาตาของแม่  เขาปรนนิบัติแม่เขานานถึง 30 ปี เขาระมัดระวังเคารพมาก  แม้ตกกลางคืนเขาก็จะไม่ถอดหมวกและเสื้อคลุมออกเลย เมื่อถึงเทศกาลตรุษสารท เขาก็จะพาแม่ออกไปรับประทานอาหารข้างนอก  เพื่อได้สนุกสนานกับผู้คนข้างนอก เพื่อให้คุณแม่ลืมความทุกข์  ต่อมาเมื่อแม่ถึงแก่กรรม นายไอ๋เหมี่ยน เสียใจจนกระอักเลือด แล้วตั้งปณิธานทานเจตลอดชีวิต เขาจะรักพี่ชาย  พี่สาว  เหมือนรักแม่  เขาดีต่อหลานยิ่งกว่าลูกของตนเงินที่เขาหาได้ก็จะแบ่งปันให้กับญาติพี่น้อง  ทั้งพูดว่า “ถึงแม่คุณแม่จะจากไปแล้ว ข้าก็มิอาจไม่แสดงความกตัญญูไม่ได้  คิดถึงเมื่อครั้งคุณแม่ยังอยู่  คุณแม่ห่วงใยพี่ชาย พี่สาว และหลานๆ มากที่สุด 4-5 คนนี้เพราะฉะนั่น ฉันจึงต้องดูแลเขาอย่างดี การทำแบบนี้ จึงจะปลอบประโลมวิญญาณของแม่บนสวรรค์ได้”  ต่อมาไอ๋เหมี่ยน ก็ได้เลื่อนขั้นเป็นถึงราชเลขา บุตรชายของเขานายอิ้งปู่ มีความสามารถมากเป็นถึงมหาอำมาตย์ โอ้ ! คนเช่นไอ๋เหมี่ยน นี้จึงนับเป็นบุตรกตัญญูที่แท้จริง ขณะแม่มีชีวิตอยู่ก็ทำให้แม่ดีใจ ภายหลังแม่สิ่นบุญไปแล้ว  ก็ยังสามารถทำตามความหวังของแม่ได้  เมื่อมาย้อนดูชาวโลกที่ร่ำรวยมีอำนาจกลับปฏิบัติต่อพ่อแม่พี่น้องเหมือนคนเดินถนนทั่วไป  จืดชืดกับพ่อแม่ตนเอง พ่อตาแม่ยายทำเหมือนกับคนทั่วไป  เมื่อมองดูใจกตัญญูของนายไอ๋เหมี่ยน แล้วจะรู้สึกละอายใจบ้างไหม ?


นิทาน ๓ :  หลี่เซิน  สูญเสียแม่ตั้งแต่เด็ก  จึงปรนนิบัติพ่ออย่างดีเพราะว่าพ่อมีอายุมากแล้ว  กลางคืนก็จะลุกขึ้นปัสสาวะบ่อย หลี่เซินจึงนอนกับพ่อเพื่อคอยดูแล ทุกคืนหลี่เซินต้องลุกขึ้น 4-5 ครั้ง เพื่อพาพ่อไปปัสสาวะ อยู่มาปีหนึ่งเกิดสงคราม ขโมยโจรปล้นจี้เต็มบ้านเมืองหลี่เซินแบกพ่อขึ้นหลังหนีเข้าป่า ระหว่างทางพบกับพวกโจร พวกโจรเห็นหลี่เซินมีความกตัญญูจนเป็นที่ประทับใจจึงไม่ทำร้ายทั้งสองคนยามปกติพ่อของเขาชอบผลไม้ลูกเห็งมาก นายหลี่เซินจึงปลูกต้นเห็งไว้ในที่ดินใกล้ๆ บ้านไว้หลายต้น  แต่ก็ถูกเพื่อนบ้านยึดครองเอาไป หลี่เซินหมดท่า จึงเขียนใบฎีการายงานเทพเจ้าให้ช่วยเหลือ เทพเจ้าก็ลงโทษเพื่อนบ้านที่ยึดครองโดยทำโทษให้เกิดหลังโกงขึ้น ทั้งยังพูดกับพวกเขาว่า “เธอต้องคืนที่ดินกับต้นเห็งให้แก่หลี่เซินให้หมดโดยเร็ว”  เพื่อนบ้านที่ใช้อำนาจยึดครองที่ดินของหลี่เซินไป ต่างพากันไปคืนที่ดินและต้นเห็งแก่หลี่เซินจนหมด เทพเจ้าจึงเลิกลงโทษ


นิทาน ๔ :  หลี่หุยซิ้ว เป็นคนในสมัยถัง มีนิสัยกตัญญู มารดาของเขายากจนมาก่อน พอภรรยาเขาด่าว่าคนใช้ แม่ของหลี่หุยซิ้วได้ยินแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ด้วยสาเหตุนี้หลี่หุยซิ้วจึงเลิกกับภรรยา มีคนถามเขา “มีสาเหตุอะไรกันแน่ จึงเลิกกับภรรยา”  เขาตอบว่า  “จุดมุ่งหมายของการแต่งภรรยา ก็เพื่อให้ภรรยาปรนนิบัติมารดา ถ้าหากภรรยาไม่สามารถยิ้มแย้มปรนนิบัติอย่างจริงใจได้ สะใภ้แบบนี่จะเอาไว้ได้อย่างไร”  ความกตัญญูของหลี่หุยซิ้ว ซาบซึ้งสวรรค์ ดังนั้นที่หน้าบ้านของเขาจึงมีต้นหญ้าจืองอกขึ้น ฮ่องเต้ถึงกับมีราชสาสน์ประกาศความกตัญญูของเขาส่งมาถึงบ้าน


นิทาน ๕ :  ในสมัยฮั่น เมืองเจอะเจียง บ้านซ่างอู้ มีเด็กหญิงคนหนึ่งชื่อ เฉาง้อ พ่อของเธอชื่อเฉาอวี่ เป็นอาจารย์ทำพิธีกรรม ในวันเทศกาลขนมจ้าง วันที่ 5 เดือน 5 วันนั้นเขาโดยสารเรือไปที่กลางแม่น้ำเพื่ออัญเชิญเทพเจ้า ไม่ทันระมัดระวังจึงพลาดตกน้ำตาย เฉาง้ออายุเพียง 14 ปี เธอเดินเลาะตามตลิ่งเพื่อหาศพของพ่อ แต่ก็หาไม่พบ เฉาง้อร้องไห้ที่ริมแม่น้ำถึง 7 วัน 7 คืน ในที่สุดเธอก็กระโดยลงแม่น้ำผ่านไป 5 วัน  เฉาง้อก็แบกศ พพ่อลอยขึ่นมาบนผิวน้ำ คนในละแวกนั้นพากันตกตะลึง นายอำเภอซ่างอู้จึงจัดทำศพให้แล้วรายงานสู่ราชสำนักฮ่องเต้เห็นความกตัญญูของเฉาง้อจึงมีประกาศเกียรติคุณและสร้างศาลเจ้าเฉาง้อไว้ข้างแม่น้ำนั้น  ที่ศาลเจ้ามีคนไปไหว้ไม่ขาดสายมาจนถึงทุกวันนี้


นิทาน ๖ : ในสมัยซ่งมีสะใภ้อู๋  สามีก็เสียไปแล้วและก็ไม่มีบุตร  แต่เธอก็ยังปรนนิบัติแม่ย่ามาด้วยดีตลอด  แม่ย่าอายุมากตาไม่ค่อยดีเห็นสะใภ้โดดเดี่ยว  ก็คิดจะหาบุตรบุญธรรมคนหนึ่งเพื่อให้แต่งงานกับลูกสะใภ้ สะใภ้อู๋ร้องไห้แล้วพูดกับแม่ย่าว่า “ตั้งแต่โบราณมา กุลสตรีจะไม่มีสามี 2 คน ฉันจะกตัญญูต่อแม่ย่าถึงที่สุด  แม่ย่าโปรดวางใจ” สะใภ้อู่จึงไปรับจ้างทำ งานหยาบที่ใกล้บ้านเพื่อยังชีพ  เอาเงินมาเลี้ยงแม่ย่า  ถ้ามีคนให้ของบกินมาเธอก็จะนำมาให้แม่ย่า  มีอยู่ครั้งหนึ่งเธอหุงข้าวยังไม่ทันสุก  เพื่อนบ้านตะโกนให้เธอรีบไปช่วยงานด่วน  แม่ย่าห่วงว่าข้าวจะไหม้  ก็จะไปยกลงเทลงในลังไม้  แต่ สายตรไม่ดีกลับเอาข้าวเทลงในถังขยะ พอสะใภ้กลับมาเห็นเข้าก็ไม่ถามไถ่ รีบไปยืมข้าวจากข้างบ้านมาให้แม่ย่าทานก่อน  ภายหลังจึงเอาข้าวในถังขยะไปล้างจนสะอาดแล้วเอาไว้ทานเอง  อยู่มา วันหนึ่งก็ฝันเห็นเทพกุมาร 2 ตน ใส่เสื้อสีฟ้า ลอยบนเมฆมาถึงหน้าเธอ  ในมือมีสาสน์พูดกับเธอว่า “เราอัญเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้  ให้พานางอู๋เข้าเฝ้า”  พอสะใภ้อู๋ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าแล้ว พระเจ้าก็ตรัสกับนางว่า “เธอเป็นเพียงหญิงชาวบ้านคนหนึ่ง สามารถที่จะปรนนิบัติแม่ย่าด้วยความลำบากถึงเพียงนี้ นับว่าเป็นคนที่มีค่าควรแก่การนับถือ ! ด้วยเหตุดังกล่าวจึงประทานเงินให้เธอหนึ่งพันอีแปะนำกลับไปเลี้ยงดูแม่ย่าจากวันนี้ไปเธอก็ไม่ต้องไปทำงานหาเงินมาเลี้ยงชีวิตอีกแล้ว”  พูดจบก็สั่งให้กุมารเทพทั้งสองพานางกลับ พอสะใภ้อู๋ตื่นขึ้นมาก็พบว่าที่หัวเตียงก็มีเงินวางอยู่หนึ่งพันอีแปะ  พอใช้หมดแล้ว  บนหัวเตียงก็มีเงินวางไว้อีกหนึ่งพันอีแปะ  เป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ไป ไม่มีวันหมด !


นิทาน ๗ : ทุกเช้าจางอี้จะไหว้พระ เขาจะภาวนาต่อเบื้องบนด้วยความศรัทธา เขาจะสำนึกผิดที่เขาได้กระทำมาโดยตลอด มีอยู่วันหนึ่งวิญญาณของจางอี้ก็ถูกยมทูตพาลงยมโลก  ยมบาลผู้ตัดสินก็แสดงบัญชีที่เขากระทำผิดตลอดชีวิตให้เขาดู  ในสมุดดำมีบันทึกโทษบาปที่เขาเคยทำ  แต่เพราะเขาได้สำนึกผิดอย่างศรัทธาจริงใจ บาปต่างๆ จึงถูกชำระหมด ยกเว้นโทษอย่างหนึ่งที่ไม่อาจละเว้นได้  จางอี้จึงถามยมทูตว่า “ที่ลบล้างไม่ได้เป็นโทษอะไร” ยมทูตตอบว่า “นี่เพราะตอนเจ้ายังเป็นเด็ก เพราะบิดาดุว่าเจ้า แต่เจ้าไม่ได้ทำผิด จึงโกรธแล้วถมึงตาหันกลับจ้องพ่อเจ้าทีหนึ่ง”  จางอี้ฟังแล้วจึงรู้ว่า โทษบาปที่ไม่กตัญญู เป็นเรื่องที่ผ่านการสำนึกผิดไม่ได้ !


นิทาน ๘ :  นายหลอเก๋อ ตอนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย  เพื่ออนาคตจึงภาวนากับเทพเจ้าให้ตนเองมีอนาคตราบรื่นดุจสายไหม  คืนหนึ่งเขาฝันว่า มีเทพเจ้าพูดกับเขาว่า “หลอเก๋อ เจ้ามีโทษต่อยมบาลรีบๆ กลับบ้านเสีย อย่าได้ถามถึงอนาคตเลย !” หลอเก๋อไม่เข้าใจความหมายจึงถามเทพเจ้าว่า “ท่านเทพ ! ผมไม่เข้าใจว่าทำไมท่านให้ฉันรีบกลับบ้าน อย่าได้ถามถึงอนาคต”  เทพเจ้าตอบว่า “พ่อแม่เจ้าเสียไปนานแล้ว เจ้ายังเหลวไหลไม่กลับไปฝังศพพวกเขา  นี่ถือว่าเป็นเรื่องไม่กตัญญูอย่างยิ่ง ยมบาลได้บันทึกโทษลงในสมุดแล้ว อีกไม่นานท่านก็จะลงโทษแล้ว!” หลอเก๋อตอบว่า “ฉันมีพี่ชาย เขาควรรับผิดชอบฝังศพพ่อแม่นะ! ทำไมยมบาลจึงจะเอาโทษแต่ฉันคนเดียว” เทพตอบว่า “พี่ชายเจ้าเป็นคนธรรมดา ไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะฉะนั้นจึงไม่โทษเขา หากเจ้าเป็นนักศึกษามีความรู้  รู้หลักธรรมอริยเจ้าดี เพราะฉะนั้นยมบาลจึงจะลงโทษเจ้า !” พูดแล้วก็แปลก หลอเก๋อก็ตายลงในปีนั้น!