Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

สารบัญ


คัมภีร์ :  ให้มากรับน้อย


อธิบาย :   ไม่ว่าพี่น้องที่แบ่งสมบัติ  หรือเพื่อนที่ติดต่อการเงินกันล้วนต้องรู้จักให้และผ่อนปรนทั้งนั้น  เอาส่วนที่มากให้แก่พี่น้องหรือเพื่อน  ตนเองรับแต่ส่วนเล็ก ยอมให้คนอื่นได้เปรียบ  สะดวกสบายตนเองยอมเสียเปรียบขาดทุน

ระหว่างพี่น้องมีความเกี่ยวข้องทางสายโลหิต  อันเป็นความสัมพันธ์ธรรมชาติ  เงินทองเป็นของนอกกาย  จึงควรที่จะให้ได้ผ่อนปรนได้  พุทธองค์ก็เคยตรัสไว้ “คนที่หวังมาก  เพราะเขาโลภในทรัพย์สมบัติมาก เพราะฉะนั้น ความทุกข์และความกังวลของเขา  เมื่อเทียบกับคนอื่นก็จะมาก  ส่วนคนที่หวังน้อย  ตลอดจนคนที่ไม่หวัง ก็ไม่โลภอยากได้อะไร  ก็จะไม่มีทุกข์กังวลมากมายนัก  ใครก็ตามที่คิดจะพ้นห่างจากทุกข์กังวล ต้องรู้จักพอ ก็จะมีความมั่นคงในความร่ำรวยสงบสุข  คนที่รู้จักพอถึงแม้จะนอนอยู่บนพื้นดิน  เขาก็สุขใจอย่างยิ่ง  คนที่ไม่รู้จักพอ  ถึงแม้เขาจะอยู่บนตึกระฟ้าก็ไม่สบายใจไม่มีความสุข”  เช่นนี้ก็พอจะรู้ว่า หากคนสามารถเป็นผู้ให้มากรับน้อยได้แล้ว  ใจเขาก็จะราบเรียบเอง  สภาวะอะไรภายนอกก็ไม่สามารถที่จะรบกวนใจเขาได้  เพราะว่าเขารู้จักพอตลอดเวลาจึงสุขเสมอ !

คุณอู่เถี่ยเจียงพูดว่า “เงินทองเป็นมูลอากาศของโลก  คนที่อยู่บนโลกไม่มีเงินทองก็อยู่ไม่ได้  ดังนั้นโลกนี้จึงไม่มีคนที่ไม่ชอบเงินและก็ไม่มีวันไหนที่ไม่ใช้เงิน เพราะฉะนั้นเงินจึงเป็นของที่ขาดไม่ได้ แต่การมีเงินของแต่ละคนมีกำหนด  คิดอย่างได้มากอีกหน่อยก็เป็นไปไม่ได้ และการใช้เงินของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน  คนที่สุรุ่ยสุร่ายเวลาหยิบก็เป็นพัน  คนตระหนี่บาทหนึ่งก็หยิบยาก  คนที่สุจริตบริสุทธิ์กลางคืนดึกๆ มีคนเอาเงินมาให้โดยไม่มีเหตุ  เขาก็จะไม่รับเป็นอันขาด  คนโลภมีอิทธิพลกลางวันแสกๆ ก็กล้าที่จะไปแย่งชิงเอามา  ควรต้องรู้ว่าคนตระหนี่ ความรู้น้อย  เงินแต่ละบาทเหมือนมณีมีค่า ที่ผึ้งที่เฝ้าน้ำผึ้ง เหมือนเด็กที่หวงขนมจะไม่ยอมแบ่งให้ใคร แต่ทว่านี่ก็ยังเป็นสิ่งที่เขารักษาส่วนที่เขามี  เพียงแต่ทำใ ห้คนนอื่นเบื่อหน่ายเท่านั้นแต่ฟ้าเบื้องบนก็ไม่โกรธเขา เพราะเขาตระหนี่หรอก  แต่คนที่เป็นอันธพาลโลภเอาของคนอื่น เขาคิดจะเอาส่วนที่ไม่ใช่เป็นของเขาทั้งยังโลภไม่เบื่อ ก็เหมือนปลาที่กลื่นเรือ  งูกลืนช้างที่โลภเกินไป  พี่น้องแย่งชิงกัน  เพื่อนชิงแค้นกัน  โจรฆ่าคนชิงทรัพย์ เอาตำแหน่งไม่ชอบธรรม กังฉินขายชาติ  เหล่านี้ล้วนเดจากความโลภสร้างขึ้น  เพราะฉะนั้น ท่านไท่ซั่ง จึงตักเตือถึงภัยเคราะห์ที่มาจากความโลภสอนไม่ให้เอาเงินทองโดยไม่ถูกต้อง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง  แต่ถ้าหากสอนคนไม่ให้หาเงินเลยนิซิคงไม่ได้  เพราะฉะนั้น ท่านไท่ซั่งจึงพูดคำว่า “มากกับน้อย”  สามารถทำให้คนสามารถได้ตามส่วนที่ควรได้ด้วยวิธีที่ถูกต้อง  ตัวเลขมากน้อยก็มิใช่เป็นการตายตัว  คนที่จนทองหนึ่งตำลึงก็ถือว่าไม่น้อย  สำหรับคนที่มีเงิน หมื่นตำลึงทองก็ไม่ใช่ของมาก  สำหรับคนที่สะอาดบริสุทธิ์  เขาควรได้หนึ่งร้อยแต่กลับได้แค่สิบ  เขาก็จะไม่รู้สึกน้อย  คนที่โลภ เขาควรได้หนึ่งร้อยแต่กลับได้ถึงพันเขาก็ยังไม่รุ้สึกว่ามาก  นอกเสียจากคนที่เป็นธรรม  ปริมาณที่ตนเองควรจะได้แล้ว เวลาไปเอาก็จะอาไม่เกินส่วนปริมาณที่ควรจะได้ นี่ก็คือวิธีการที่เอาน้อย ถึงอย่างไรก็ตาม  ใจคนที่ป่วยมีน้อยอยากได้มาก  อันนี้เป็นธรรมดาของคน  ถ้าให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่ไปแย่งชิงก็ไม่เป็นการสร้างบาป แต่ถ้าหากเห็นว่ามากแล้วกับให้ไปนี่ซิ  จะไม่ขัดอารมณ์ไปหน่อยหรือ

ควรรู้ว่า  เงินทองที่ได้มามีเหตุปัจจัยที่ไม่เหมือนกัน  เงินที่อยู่เฉพาะหน้าที่จะเอา  ก็ไม่แน่ว่าในดวงชะตาเราควรจะได้หรือไม่อย่างไรก็ตาม ในทางลึกลับ จำนวนที่เราจะมี เราก็ไม่สามารถรู้ได้ และก็ไม่มีปัญญาตรวจสอบ แต่ถ้าไปเอาเงินที่ดวงชะตาของเราไม่มีก็หมือนไปเอาเหล้าพิษหรือเนื้อเน่ามากิน  ซึ่งก็กินไม่ได้ไม่มีสุขอยู่แล้วสู้ให้แก่ผู้อื่นไปมิปลอดภัยกว่าหรอกหรือ ถ้าหากเป็นการให้ในส่วนที่ดวงชะตามีอยู่ก็ ไม่เป็นไร  เพราะมันเป็นการขจัดบาปที่มีอยู่  เงินทีให้ไปโดยผิดพลาดทั้งๆ ที่ในดวงชะตาเรามีอยู่ก็ไม่เป็นไร  เพราะเงินที่ให้ไปอาจได้กลับมาจากทางอื่น

ขณะมองเห็นเงินทอง ต้องมีความอดทน  ไม่ใช่เห็นเงินก็ตาโตแล้วทำส่งเดช  สำหรับคนร่ำรวยก็พอทำได้ง่าย  ถ้าเป็นคนจนอาจทำได้ยากกว่า  ถ้ารู้ว่าทำใจได้ยาก  แต่ก็อดทนทำจนได้  อันนี้เทพเจ้าที่ตรวจสอบเราอยู่ก็คงไม่ปล่อยตามเลย  แม้ชิวตกำลังลำบาก  ก็จะบันดาลให้เกิดเรื่องที่ช่วยให้ชีวิตเราอยู่รอดได้  หลักธรรมเหล่านี้ต้องเชื่อว่าเป็นจริง  รักษาสติเอาไว้  เช่นนี้ วิถีแห่งการรับน้อยก็คือ  วิถีแหงการ่ำรวยนั่นเอง

นิทาน ๑  :  ในสมัยซ่ง มีคนหนึ่งชื่อ อวี่เจ๋อ เขากับคุณอาแบ่งมรดกเขาเรียกคุณอาให้มาเลือกเอาเสียก่อน หลังจากคุณอาเลือกไปหมดแล้วตนเองค่อยเอาไว้ หลังจากคุณอาเลือกแล้ว  ที่เหลือเอาไว้มีหนังสือลังหนึ่งกับบ้านที่เก่ารั่วแตกมีห้องอยู่สองห้อง  อวี่เจ๋อก็รับไว้ด้วยความสบาย ในใจไม่คิดโกรธหรือเสียใจแต่น้อย


นิทาน ๒ :  ที่เมืองฉือชี มีนักเรียนอยู่ 2 คน  เป็นเพื่อนกัน ต่อมานักเรียนเอ  ก็ได้งานสอนหนังสือ แต่ละปีจะได้เงินค่าตอบแทน 9 ตำลึงทอง ส่วนนักเรียนบี ก็ได้ที่สอนหนังสือเหมือนกัน แต่ได้ค่าตอบแทนแค่ 6 ตำลึงทองเท่านั้น นายเอพูดด้วยความพอใจว่า “ปีหน้าเราสองคนก็ไม่ต้องห่วงการดำรงชีวิตแล้ว”  นายบีพูดว่า “พี่ท่านมีแค่ภรรยาเท่านั้น เงิน 9 ตำลึงเหลือใช้ แต่ฉันยังมีพ่อแม่ต้องเลี้ยงดู เงิน 6 ตำลึงไม่พอใช้จ่าย” นายเอได้ยินแล้วก็พูดว่า “ถ้าน้องเรามีความลำบาก  ฉันก็ให้ที่สอนหนังสือแก่เธอ  ส่วนฉันก็ไปสอนที่ที่ของเธอก็แล้วกัน”  เมื่อนายเอมาถึงที่สอน พบว่าใต้เตียงมีหนังสือขาดอยู่เล่มหนึ่ง เขียนบนปกว่า  ตำรับยาใช้ภายนอก นักเรียนบอกว่า ครูคนก่อนทิ้งเอาไว้  ในช่วงหน้าหนาวเป็นช่วงปิดเทอม กลับไปพักผ่อนที่บ้าน ก็ได้เห็นคนใช้คนหนึ่งใส่เสื้อผ้าดีเดินเข้ามาหา เขามีอาการกระสับกระส่ายถามว่า “ที่นี่มีหมอภายนอกไหม”  พูดต่อว่า “นายของเข้าจากฮกเกี้ยน จะไปที่ชานตงเพื่อรับตำแหน่ง ระหว่างทางเกิดเป็นฝีที่หลัง  เจ็บปวดมาก ทำท่าจะตาย อาการแบบนี้สามวันแล้ว” นายเอนึกถึงตำรับยาก็ให้ตรงกับอาการของโรค  ดังนั้นเขาจึงตามคนใช้ไปที่พักคนป่วย  ใช้สมุนไพรทำตามตำรับยาบอก ฝีที่หลังของข้าราชการผู้นั้นก็หาย  ผู้ป่วยดีใจมากเอาเงินให้เขาหนึ่งร้อยตำลึงตอบแทน นายเอก็คุยกับผู้ป่วยตลอดจนถึงการยอมแลกเปลี่ยนที่สอนแก่เพื่อนไปดังนั้นจึงได้รับยานี้มา  ผู้ป่วยก็ชมเชยสรรเสริญเขา พอดีนายอำเภอฉือชี เป็นหลานของผู้ป่วย  จึงช่วยเหลือนายเอ  ให้เขาไปเรียนต่อที่อำเภอ