Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

สารบัญ


คัมภีร์ :  ไม่โพทนาความชั่วเขา  ไม่โอ้อวดความดีตน


อธิบาย :  จงอย่าได้เปิดเผยโพนทะนาความชั่วหรือจุดด้อยของผู้อื่นสมควรอย่างยิ่งที่จะเก็บงำความไม่ดีของผู้อื่นให้ดีที่สุด  ขณะเดียวกันก็ไม่ควรโอ้อวดหรือคุยถึงความดีของตน  ยิ่งต้องเก็บซ่อนความเด่นบ่มเลี้ยงความซื่อ เป็นการอบรมจิตธรรมของตนเอง

เมื่อได้ยินความไม่ดีงามของผู้อื่น ก็ให้เหมือนพวกเราได้ยินชื่อของพ่อแม่ คือหูได้แต่ฟังเท่านั้น  แต่ปากพูดออกมาไม่ได้  เมื่อปากพูดไม่ได้แล้ว  ถ้าหูไม่ไปฟังเสียได้ก็จะยิ่งดี  เราต้องรู้ว่ามีใครบ้างที่ไม่มีข้อบกพร่อง ถ้าไปโพนทะนาข้อบกพร่องของผู้อื่นก็หลีกไม่ได้ที่จะถูกถ่ายทอดออกไป  เป็นการเสียหายชื่อเสียงของผู้อื่น  อาจทำให้เขาต้องตกต่ำ  บาปรรมอันนี้ใครกันต้องรับผิดชอบ  ถ้าไม่เป็นคนใจแคบชั่วช้าแล้วก็จะไม่ทำเรื่องแบบนี้แน่ !

สิ่งที่เนปมเด่นความดี  ก็ควรให้เหมือนนักธุรกิจที่มีปัญญาคือจะเก็บซ่อนทรัพย์สินไม่เปิดเผย  ถ้าหากเปิดเผยเงินทองให้คนรู้ก็จะมีอันตราย คนเราทุกคนก็ต้องมีจุดดีของเขา ที่สำคัญต้องรู้จักเก็บซ่อนความเด่น  บ่มเลี้ยงจิตธรรมเช่นนี้ทุกวันไปก็จะสำเร็จในจริยวัตรของตนได้  ท่านเหลาจื่อว่า “ผู้มีบุญอิ่ม  หน้าของเขาดูแล้วเหมือนคนเซ่อๆ”  ท่านจื่อซือก็กล่าวว่า “ธรรมเพื่อผู้อื่น บัณฑิตจะไม่เผย  เก็บความงามอยู่ภายใน  นานๆ ไป  สักวันหนึ่งฟ้าก็แจ้งชัด”  โอวาทของปราชญ์ชัดเจนออกอย่างนี้  เราควรนำมาพิจารณาให้ละเอียด !


นิทาน ๑ :   ในสมัยชุนชิว  ฮ่องเต้ฉู่จวงอ๋อง ประทานเลี้ยงอาหารค่ำแก่ขุนนาง งานเลี้ยงผ่านไปได้ครึ่งหนึ่ง เทียนไขก็ดับลงฉับพลัน มีขุนนางคนหนึ่งดื่มสุราจนเมา  ถือโอวาทที่มืด ดึงเสื้อของนางสนมถือโอกาสลวนลาม นางสนมของฉู่จวงอ๋อง รีบดึงสายรัดหมวกของขุนนางเอาไว้เป็นหลักฐาน  แล้วกราบทูลให้ท่านอ๋องทราบ  หลังจากท่านอ๋องทราบแล้วก็พูดกับสนมว่า “ข้าประทานเลี้ยงแก่ขุนนาง  ก็มุ่งหมายให้ขุนนางดื่มกินอย่างพอใจ  ตอนนี้มีคนดื่มจนเมา  ล่วงละเมิดความผิดขึ้น  ถ้าข้าเปิดเผยเรื่องลวนลามนางสนม  ก็จะเป็นการเปิดเผยความผิดของขุนนาง เรื่องเช่นนี้ ข้าก็จะไม่ทำเป็นอันขาด !”  ว่าแล้วท่านอ๋องก็สั่งให้จุดเทียนขึ้น พร้อมตรัสว่า “งานเลี้ยงคืนนี้ ถ้าไม่ดึงสายหมวกให้ขาดก็แสดงว่าคืนนี้พวกท่านไม่ปิติยินดี”  เมื่อทุกคนได้ยินแล้วต่างก็ดึงสายรัดหมวกขาดแล้วก็แยกย้ายกันกลับไป  ต่อมาก็สงครามกับเมื่องจิ๋น ท่านอ๋องถูกทหารคนหนึ่งไม่กลัวตาย ยอมถวายชีวิตเข้าต่อสู้กับทหารจิ๋น ทำให้ท่านอ๋องพ้นจากอันตรายมาได้  จากการสอบถามจึงรู้ว่า ทหารกล้าผู้นี้ก็คือ ทหารที่เมาสุราและลวนลามนางสนมจนถูกดึงสายรัดหมวกขาด !


คำคม :   คุณจางหงจิ้งกล่าวว่า  “อย่าหูเบาโยนทิ้งความดีของคนอย่าหูเบาเชื่อคำพูดของคน  อย่าหูเบาพอใจคน  อย่าหูเบาพูดความชั่วคน”  นี่คือปฏิบัติตนที่ดี  การเผยความไม่ดีของผู้อื่น  เป็นรากฐานของการโหดเหี้ยม


นิทาน ๒ :  โอวหยางซิว  ในสมัยซ่ง  เป็นผู้เขียนบทความยอดเยี่ยมในประวัติศาสตร์ถือเป็นผู้มีชื่อเสียงเรื่องวรรณกรรม แต่เขาต้อนรับแขกก็พูดเรื่องการเมือง  ไม่พูดเรื่องวรรณกรรม แต่เขาต้อนรับแขกก็พูดเรื่องการเมือง  ไม่พูดเรื่องวรรณกรรม  แต่นายฉายหย้างผู้รู้เรื่องการปกครอง  แต่พูดคุยกับแขกจะพูดเรื่องวรรณกรรม ไม่พูดการเมือง ทั้งสองเป็นผู้ซ่อนเร้นปมเด่นของตนดีมาก  ต่อหน้าผู้อื่นจะไม่อวดอ้างความดีของตน  เพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้มีชื่อเสียง มีตำแหน่งข้าราชการก็สูงมาก


สรุป : จากเรื่องเหล่านี้จะเห็นได้ว่า  ความสามารถสู้วิชาการไม่ได้  ศักดิ์ศรีสู้คุณธรรมไม่ได้  วรรณกรรมสู้การปฏิบัติมิตรไมตรีไม่ได้  คนสมัยก่อน  ก็เอาเหตุผลเหล่านี้พูดไว้ชัดเจนแล้ว  เพราะฉะนั้น  การอวดความดีของตน  บัณฑิตจะไม่กระทำ แต่คนในสมัยนี้  มักพูดว่า “น่าภาคภูมิ”  ติดปาก ทุกคนฟังจนเป็นคำธรรมดาไป  พวกเขาไม่ถือเป็นเรื่องผิด  ต้องรู้ว่าเป็นการกวักหาความสูญเสีย  ขาดผลประโยชน์มีแต่ความนอบน้อมคนเท่านั้น  จึงจะได้รับผลบุญตอบสนองที่แท้จริง