"ดวงเมือง" ประเทศไทย จากมุมมองของโหราศาสตร์ภารตะ ตอนที่ 4 เพลิงไหม้ พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท
เมื่อ "เมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ เวลาบ่าย ๓ โมง ๖ บาท นักประวัติศาสตร์เทียบปฏิทินสุริยคติเป็นวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ นั่นคือเพลิงไหม้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ณ พระบรมมหาราชวัง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงบ่าย 3 โมง 36 นาที
แต่เมื่อคำนวณทางโหราศาสตร์แล้วกลับเป็นว่าวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 จันทร์กุมอาทิตย์ในราศีพฤษภ ซึ่งดิถีเพียรตรงกับ “อมาวสีดิถี” คือ”วันจันทร์ดับ” ซึ่งในปูมโหรมักจะเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆในวันอมาวสี แต่ดิถีตลาดน่าจะเป็นขึ้นวัน 1 ค่ำ ซึ่งก็ถูกต้องเช่นกัน
ท่ามกลางฝนตกหนักและเกิดฟ้าผ่าที่ตกกระทบหน้าบันมุขเด็จของพระมหาปราสาท จนลุกลามเป็นเปลวเพลิงครั้งใหญ่ เผาผลาญส่วนยอดและหลังคาของพระที่นั่ง รวมถึงพระปรัศว์ซ้ายอีกหลังหนึ่ง (พระปรัศว์หมายถึงอาคารที่อยู่ขนาบข้างพระที่นั่งองค์ประธาน) ผลจากความเสียหายอย่างรุนแรงทำให้จำเป็นต้องรื้อถอนพระที่นั่งองค์นี้ออกไป และภายหลังได้มีการสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและพระที่นั่งพิมานรัตยาขึ้นมาแทนที่
วันนี้เราจะมาวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญนี้ ด้วยหลักวิชาโหราภารตะ หรือ โหราศาสตร์พระเวทของฮินดู โดยอ้างอิงการวางลัคนาดวงเมือง ของผู้เขียนในตอนที่ 1 https://bit.ly/3HLuJzl และวันนี้เราจะมาดูตำแหน่งและองศาของดาวนพเคราะห์ ดาวอุปเคราะห์ และจุดที่อ่อนไหวเป็นพิเศษในดวงเมืองกรุงเทพ อย่างละเอียดดังนี้
พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท เมืองโบราณ สมุทรปราการ ต้นแบบการสร้างพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท
ฤกษ์ลงเสาหลักเมือง กรุงรัตนโกสินทร์ (คำนวณแบบโหรภารตะของอินเดีย-ปฏิทินปัญจางคนัม ระบบอมาวสยันตะ)
ศุภดิถีมงคลวาร สุริยคติกาล วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 ค.ศ.1782 มหาศักราช 1740 เวลา 06:05 น. จันทรคติกาล ตรงกับวันอาทิตย์ วาร-อาทิจวาร ดิถี-ศุกลอัฐมี(ขึ้น ๘ ค่ำ) ศักราช- ศุภะกฤตะศก อายัน-อุตตรายัน ฤดู-คิมหันตฤดู มาส-วิสาขะมาส นักษัตรโยค-ศูละโยค กรณะ-ปะวะกรณะ
ลัคนาสถิตย์ ราศีเมษ 10°45' เกาะจตุตถนวางศ์ ๒ ทุติยะตรียางค์ ๑ เกี่ยวกับฤกษ์ที่ ๑ อัศวินีนักษัตรประกอบด้วย(ชนมะ-ทลิทโท)แห่งฤกษ์ ดาวเกตุเป็นดาวเจ้าฤกษ์ จันทร์สถิตย์ ราศีกรกฎ 11°11' เสวยฤกษ์ที่ ๘ ปุษยะนักษัตร (มิตระ-ราชาฤกษ์) ดาวเสาร์เป็นดาวเจ้าฤกษ์ วิมโษตรีทศา- สมดุลย์จันทรทศา มหาทศาดาวเสาร์ ๗ ปี ๖ เดือน ๒๖ วัน ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 05.43 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18.14 น. ณ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เส้นรุ้งเส้นแวง 100 E 49' 00", 14 N 15' 00" ลาหิรีอายนางศะ 20°49’
สมผุสดาว มีดังนี้
ดวงยาม ฟ้าผ่าและเพลิงไหม้
พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ณ พระบรมมหาราชวัง ณ วันอาทิตย์ เดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ เวลาบ่าย ๓ โมง ๖ บาท สุริยคติเป็นวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 เวลา 15.36 น.
ในการพิจารณาเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับฟ้าร้องฟ้าผ่า พายุ และเพลิงไหม้ ด้วยวิธีการของโหราศาสตร์ภารตะ มีหลักการวิเคราะห์ มีดังนี้
1.วิเคราะห์จากดาวเคราะห์
วิเคราะห์เรื่องเพลิงไหม้-ในโหราศาสตร์พระเวท(ภารตะ) ดาวเคราะห์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับไฟและมีพลังงานที่เกี่ยวข้องกับไฟมากที่สุด คือ “ดาวอังคาร”นอกจากนี้ก็มีดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับไฟ ได้แก่ “ดาวอาทิตย์”และ”ดาวเกตุ” ซึ่งหมายถึงความร้อนและเปลวเพลิง เช่นกัน
วิเคราะห์เรื่องฟ้าผ่า-ในโหราศาสตร์พระเวท มีดาวเคราะห์หลายดวงมีความเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบ แต่”ดาวอังคาร”และ”ดาวพฤหัสบดี”มีพลังในด้านนี้เป็นพิเศษ ดาวอังคารมีความเกี่ยวข้องกับไฟและความรุนแรง
ในขณะที่ดาวพฤหัสบดีมีความเกี่ยวข้องกับฟ้าร้องและฟ้าผ่าซึ่งเป็นพลังอันศักดิ์สิทธิ์จากเทพเจ้า นอกจากนี้ ดาวราหูยังเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าและอาจเป็นปัจจัยในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า รวมถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับฟ้าผ่าและฟ้าแลบด้วย
2. วิเคราะห์จากดาวอุปเคราะห์
ดาวอุปเคราะห์ทั้งแปด ล้วนเป็นอัปมงคลและก่อให้เกิดผลร้าย ยกเว้นดาวอุปเคราะห์”ยะมะฆัณฏกะ” (यमघण्ट्क) –เป็นบุตรของพระพฤหัส และมีพลังในการให้ผลดีเช่นเดียวกับดาวพฤหัสบดี แต่ดาวอุปเคราะห์ทีเหลือทั้งแปด มีอิทธิพลชั่วร้ายในภวะ (เรือน) ที่ดาวอุปเคราะห์ทั้งแปดเหล่านี้สถิตอยู่
ส่วนดาวอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับไฟและศักยภาพในการทำลายล้างและเผาผลาญของมัน เช่น ดาวธูมะ (ควัน) และ ดาววยาตีปาตะ (ภัยพิบัติ) เป็นดาวอุปเคราะห์ (ดาวเงา) ธูมะเชื่อมโยงกับควันหลังเกิดไฟไหม้ ซึ่งแสดงถึงการเผาไหม้และอุณหภูมิสูงสุด
ดาววยาตีปตะหมายถึงภัยพิบัติและความโชคร้ายที่อาจแสดงออกมาในรูปแบบเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟ แม้ว่าดาวอังคารจะมีพลังแห่งธาตุไฟสูงสุด แต่อาจจะมีความหมายในเชิงให้คุณก็ได้ แต่หากดาวอังคารร่วมดาวอุปเคราะห์เหล่านี้ จะมีความโดยตรงกับการทำลายล้างจากไฟ
ในโหราศาสตร์ภารตะ ถึงแม้ว่าจะไม่มีอุปเคราะห์ตัวใดตัวหนึ่งที่มีความหมายโดยตรงกับปรากฏการณ์ฟ้าผ่า แต่ดาวอุปเคราะห์วายาตีปาตะก็เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติและความโชคร้าย ซึ่งอาจรวมถึงพายุและเหตุการณ์ทางสภาพอากาศที่รุนแรงได้
ดาวอุปเคราะห์วยะตีปาตะ (व्यतीपात) เป็นดาวอุปเคราะห์ดวงที่ 2 ในกลุ่มธูมะ ซึ่งเป็นดาวอุปเคราะห์ประเภท”อะประการศะเคราะห์” (अप्रकाशकग्रह) ซึ่งมีทั้งหมด 5 ดวงคือ 1.ธูมะ(धूम) 2.วยะตีปาตะ (व्यतीपात), หรือ ปาตะ(पात) 3.ปะริเวษะ (परिवेष) หรือ ปะริธิ(परिधि) 4.อินทระธะนุ(इन्द्रधनु) อินทระจาปะ (इन्द्रचाप) จาปะ(चाप) โกทันทะ (कोदन्द) และ 5.อุปะเกตุ(उपकेतु) หรือ สิขิ (सिखि) ก็มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และอุปสรรคที่ไม่เป็นมงคล ซึ่งอาจเชื่อมโยงโดยอ้อมกับความปั่นป่วนของสภาพอากาศ **ศึกษาเรื่องดาวอุปเคราะห์ในโหราศาสตร์พระเวท https://bit.ly/4ex2p0b
3. วิเคราะห์จากนักษัตร
ในโหราศาสตร์พระเวท ดาวฤกษ์กฤติกานักษัตรเป็นที่รู้จักในชื่อ "ดาวแห่งไฟ" และมีความเกี่ยวข้องกับธาตุไฟ อยู่ภายใต้การควบคุมของอัคนี เทพแห่งไฟ และเชื่อกันว่ามีพลังในการเผาไหม้และชำระล้าง
ในโหราศาสตร์พระเวท อารทรานักษัตรมีความเกี่ยวข้องกับสายฟ้าและพายุอย่างมาก อยู่ภายใต้การปกครองของรุทระ ร่างอันดุร้ายของพระอิศวร ซึ่งเป็นตัวแทนของฟ้าร้องและพายุ พลังงานของอารทรานักษัตรเชื่อมโยงกับพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของพายุ รวมถึงสายฟ้าที่ตามมาด้วย นี่คือเหตุผลที่อารทรานักษัตร เชื่อมโยงกับสายฟ้า
บรรยากาศแห่งพายุ: อารทรานักษัตร ถือว่าเป็นตัวแทนของช่วงเวลาก่อน ระหว่าง และหลังพายุ รวมถึงการรวมตัวของเมฆดำ ฟ้าแลบ และฟ้าร้อง
พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง: เชื่อกันว่าอารทรานักษัตรนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่นเดียวกับพายุ บางครั้งอาจดูเหมือนทำลายล้าง แต่ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การเติบโตและการฟื้นคืนชีพ ซึ่งคล้ายกับผลการชำระล้างของฟ้าผ่า
พลังงานของนักษัตร:“ยัตนะศักติ” (พลังแห่งความพยายาม) ของอารทรานักษัตรเชื่อมโยงกับความสามารถในการเผชิญกับความทุกข์ยากและยอมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งคล้ายกับสายฟ้าที่สามารถตัดผ่านความมืดมิดและมีอิทธิพลสามารถชำระล้างและทำลายบรรยากาศเดิมให้สลายไปได้
นักษัตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของสายฟ้าหรือพายุ แม้ว่าจะไม่แข็งแกร่งเท่ากับอารทรานักษัตร ได้แก่: ปูราภัทรปทนักษัตร: ปกครองโดยอาจะเอกาปทา หนึ่งในรุทระ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสายฟ้าเช่นกันวิศาขะนักษัตร: ปกครองโดยอินทร์ (เทพแห่งสายฟ้า) และอัคนี อุตตรภัทรปทนักษัตร: เกี่ยวข้องกับรุทระและไฟ
ความเกี่ยวข้องของรุทระ:
รุทระ (रुद्र) เทพแห่งอารทรานักษัตร เป็นที่รู้จักในนามเทพเจ้าแห่งพายุ และมีความเกี่ยวข้องกับการทำลายล้างและการฟื้นคืนชีพ ซึ่งสะท้อนถึงพลังแห่งสายฟ้า รุทระ (रुद्र) เป็นเทพในฤคเวทที่เกี่ยวข้องกับพระอิศวรลมหรือพายุ ในบทสวดจากฤคเวท RV 7.46 รุทระถูกบรรยายว่าถือธนูและลูกศรที่พุ่งเร็ว บทสวดกล่าวว่ารุทระปล่อย “ลูกศรอันเจิดจ้าซึ่งวิ่งไปรอบสวรรค์และโลก” (RV 7.46.3) ซึ่งอาจหมายถึงสายฟ้าและฟ้าผ่า
4. วิเคราะห์จากธาตุ เรือน ราศี
ดาวพฤหัสบดีเป็นดาว”อากาศะตัตวะ” หมายถึงท้องฟ้าและอากาศ เมื่อได้รับผลกระทบ ดาวอังคารและเรือนที่ 2 (โดยเฉพาะราศีพฤษภ) จะทำให้เกิดเสียงระเบิดดัง ซึ่งหมายถึงฟ้าร้อง ส่วนดาวอาทิตย์เป็นดาวแห่งไฟฟ้าซึ่งหมายถึงแสงสว่าง ดาวเสาร์และราหูเป็นดาวเคราะห์ที่มีลมแรงซึ่งหมายถึงพาหะ เคลื่อนย้ายเมฆ ดวงจันทร์และดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ธาตุน้ำ หมายถึง พายุฝน
ราศีธาตุไฟ ได้แก่ ราศีเมษ ราศีสิงห์ และราศีธนู
ราศีธาตุลม ได้แก่ ราศีเมถุน ราศีตุลย์ และราศีกุมภ์
ราศีธาตุน้ำ ได้แก่ ราศีกรกฎ ราศีพิจิก และราศีมีน
ราศีธาตุดิน ได้แก่ ราศีพฤษภ ราศีกันย์ และราศีมังกร
การโคจรของดาวเสาร์ ดาวอังคาร หรือราหู ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหวและสึนามิ การโคจรของดาวธาตุน้ำ ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม เมื่อดาวพฤหัส ดาวอังคาร ดวงอาทิตย์ ดาวเสาร์ หรือราหู ร่วมกับราศีธาตุลมและราศีธาตุไฟ หรือดาวเคราะห์ข้างต้นอยู่ในตำแหน่ง 6/8/12 ร่วมกัน จะเกิดฟ้าร้องและฟ้าผ่า บางครั้งเมื่อดาวเคราะห์สถิตร่วมกันหรือมุมถึงกัน เช่น ดาวพฤหัส ดวงอาทิตย์ ดาวอังคาร ราหู หรือ ดาวเสาร์ ดาวอังคาร ดาวเสาร์ ดาวราหู สถิตร่วมกันหรือมุมถึงกัน ซึ่งก็เสมือนเป็นโยคเกณฑ์ร้าย ส่งผร้ายและอาจทำให้เกิดฟ้าร้องและฟ้าผ่าได้
หากฟ้าร้อง ฟ้าแลบหรือฟ้าผ่า ตามมาด้วยฝนที่ตกหนัก ดาวจันทร์หรือดาวศุกร์หรือราศีธาตุน้ำอื่นๆ ก็จะได้รับผลกระทบด้วย ดวงจันทร์และดาวศุกร์ก็เป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นสูงและน้ำขึ้นน้ำลงได้เช่นกัน หากฟ้าร้อง ฟ้าแลบหรือฟ้าผ่า ที่มีลมพายุ ราหูก็มีบทบาทสำคัญร่วมกับการได้รับอิทธิพลจากราศีธาตุลมและธาตุไฟ
หากฟ้าร้อง ฟ้าแลบหรือฟ้าผ่า ที่เกี่ยวข้องกับลมความเร็วสูงตามด้วยฝนที่ตกหนักทำให้เกิดภัยธรรมชาติคล้ายคลื่นสึนามิซึ่งส่งผลเสียต่อมนุษย์ ภัยแล้งก็เป็นภัยธรรมชาติเช่นกัน และเกิดจากความเดือดร้อนของราศีธาตุไฟ ธาตุดิน และธาตุน้ำจากดาวเสาร์ซึ่งเป็นดาวแห่งความอดอยากและขาดแคลน สถานที่ที่ได้รับผลกระทบขึ้นอยู่กับทิศทางของราศีที่ได้รับผลกระทบ
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนคิดว่า โหร หรือนักโหราศาสตร์ที่มีความสามารถทั้งหลาย ก็ย่อมจะวินิจฉัยได้เอง ว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น โดยอาศัยโยคเกณฑ์ของดาวเคราะห์ทั้งดวงเดิมและดวงจร มาประการพิจารณา ส่วนในทรรศนะของผู้เขียนเองจะอธิบายในตอนต่อไป
*******************************
บริการของเรา
ดูฤกษ์ออกรถ ดูฤกษ์ยกเสาเอก ดูฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ ดูฤกษ์เปิดกิจการใหม่ ดูฤกษ์จดทะเบียนบริษัท ดูฤกษ์แต่งงานพิธีไทย-ฤกษ์จดทะเบียนสมรส ดูฤกษ์เปลี่ยนชื่อ ดูฤกษ์ตั้งศาลพระภูมิ ดูฤกษ์เข้าทำงานใหม่ ดูฤกษ์ลาสิกขาบท ดูฤกษ์โกนผมไฟ ดูฤกษ์ผ่าคลอด ดูฤกษ์มงคลอื่นๆ
ดูฮวงจุ้ย-แก้ฮวงจุ้ย คำนวนดวงพิชัยสงคราม-เสริมดวง-แก้ดวง ดูดวงชะตาด้วยโหราศาสตร์พระเวท(โหรภารตะ)
กดติดตาม เพื่ออ่านบทความใหม่ๆ ผ่าน Facebook ของอาจารย์ https://bit.ly/3ThfWig
*******************************