Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***


 

ชนิดของกฐินในประเทศไทย



ตามพระ วินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็นสองคือ

 

จุลกฐิน
จุล กฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีก วันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็น ประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า "ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่า นั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า "กฐินแล่น" (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)

เค้า มูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำ ผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย

สาเหตุประการ หนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ (เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำผ้ากฐินมาถวาย) ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่าง ๆ

เมื่อ เจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปสำหรับขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความ สามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

 

พระมหาดำรง แห่งสำนักสงฆ์ภูจวจ ตำบลทัพหลวง  อำเภอบ้านไร่   จังหวัดอุทัยธานี  ได้อธิบายความหมายของจุลกฐินไว้ว่า “จุลกฐิน” แปลว่า  กฐินน้อย  หมายถึง  กฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน  คนไทยสมัยก่อน เรียกว่า กฐินแล่น  แม้ในภาคอีสานปัจจุบันก็ยังมีเรียกชื่อนี้อยู่  วิธีจัดการจุลกฐินนี้จะต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว   จึงต้องใช้กำลังคนมาก   มีความสามัคคีมากด้วย   จึงจะบรรลุจุดหมายแห่งศรัทธาอันแรงกล้านี้ได้   มีการสมมติเอาเมล็ดฝ้ายไปหว่าน   จนงอกเป็นต้นฝ้าย  เจริญเติมโต  มีลูกฝ้าย   จนในที่สุดแตกเป็นดอกฝ้าย   ผู้ปฏิบัติพากันเก็บดอกฝ้ายเอามาปั่นเป็นด้าย  พอเป็นผืนผ้า  แล้วนำไปทอดถวายสงฆ์    สงฆ์มอบให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้กรานกฐิน    เป็นพิธีสังฆกรรม     ชาวบ้านก็ช่วยพระทำจีวร   คือตัด   เย็บ   ย้อม   ตากจนเสร็จ   พระทำพินทุอธิษฐานผ้าขั้นสุดท้ายมีการประชุมสงฆ์  เพื่ออนุโมทนา  นี้คือกระบวนการที่ต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน  ๑ วัน  ถ้าไม่เสร็จก็เป็นโมฆะ  แต่ถ้าผู้ต้องการถวายไม่มีกำลังคนมากพอ  ก็จะใช้วิธีรวบรัด  คือเริ่มตั้งแต่การนำผ้าขาวเป็นผืน ๆ  ที่พอจะทำจีวรได้ผืนหนึ่ง  ขนาดกว้าง  ๒  เมตร  ยาว  ๓  เมตร  แล้วทอดถวายสงฆ์  หลังจากพระรูปหนึ่งทำพิธีกรานกฐินแล้ว  คณะผู้ถวายก็จะช่วยพระทำต่อไปอีก  คือ  ซัก  กะ  ตัด เย็บ  จนแล้วเสร็จ

จุลกฐิน   อาจจะเป็นกฐินหลวง   หรือกฐินราษฎร์   ก็ได้  ถ้าทายกผู้มีศรัทธาอันแรงกล้าได้สืบรู้ว่า  วัดใดยังไม่ได้รับกฐิน  และเมื่อเวลาจวนจะถึงวันสุดท้ายของเทศกาลกฐินตามพุทธานุญาต   ฉะนั้น  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติการทุกอย่างให้สิ้นในวันนี้ให้ได้    เหตุที่จะต้องผลิตผ้าเองทุกขั้นตอนก็เพราะสมัยโบราณไม่มีผ้าขาย  จึงกลายเป็นธรรมเนียมในสมัยต่อ ๆ มา   แม้จะมีผ้าขายก็ไม่นิยมซื้อมาถวาย  เพราะถือว่าผิดธรรมเนียมจะไม่ได้กุศลแรง (จ. เปรียญ ๒๕๒๔ / ๑๒๔)



มหากฐิน
มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้