Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

 

 

ลำดับพิธีการทอดกฐิน


๑. เจตนาในการทอดกฐิน การทอดกฐินเป็นเรื่องของมหากุศล เกิดจากการทำงานของจิตที่เป็นมหากุศลในกามาวจร เป็นไปในเรื่องของบุญกิริยาวัตถุ ๑๐  หรือ ๓๐ ประการ ประกอบด้วย กายกรรม ๑๐ วจีกรรม ๑๐ มโนกรรม ๑๐ ที่ได้กระทำถูกต้องตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยมีทิฏฐุชุกัมม์ เป็นตัวคุมว่าได้กระทำความเห็นให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ของพระบรมศาสดาหรือไม่ การสร้างกุศลผลทานทำบุญมาไม่เสมอกันในเรื่องบุญกิริยาวัตถุผลของบุญจะเป็นไป ตามระดับของ "วัตถุ" ที่รับตั้งแต่สัตว์เดรัจฉานผู้มีกิเลศหนาไปจนถึงพระอริยบุคคลตลอดจนถึงพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อจะกระทำการกุศลใด ๆ ต้องอาศัยหลักเรื่องของ "เจตนา" และ "ปฏิคาหก" ซึ่งประกอบด้วยหลัก ๖ ประการ คือ
๑) บุพพเจตนา เจตนาก่อนกระทำ มีแต่กุศลจิต มีจิตผ่องใสเต็มใจที่จะกระทำทาน
๒) มุญจเจตนา (มุญจนเจตนา) เจตนาขณะกำลังกระทำ มีแต่กุศลจิต มีความเลื่อมใสในการให้ทาน
๓) อปรเจตนา (อปราปรเจตนา) เจตนาภายหลังกระทำ มีแต่กุศลจิต มีความปลื้มใจภายหลังให้ทานแล้ว
๔) ปฏิคาหกผู้รับทาน เป็นผู้ปราศจากโลภะ หรือกำลังปฏิบัติให้ปราศจากโลภะ
๕) ปฏิคาหกผู้รับทาน เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือกำลังปฏิบัติให้ปราศจากโทสะ
๖) ปฏิคาหกผู้รับทาน เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือกำลังปฏิบัติให้ปราศจากโมหะ
เมื่อครบ ๖ ประการ ผลของทานจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก แต่ถ้าทำแล้วไม่ได้ครบ ๖ ประการ ทำด้วยจิตที่ยังมีโลภะ โทสะ โมหะ แอบแฝงอยู่ ผลของทานก็จะได้น้อยไปตามลำดับ

ลำดับการสร้างกุศล (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓  เวลามสูตร หน้า๓๑๕ ข้อ ๒๒๔ ท้ายสีหนาทวรรคที่ ๒)

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระองค์ตรัสถึงเรื่องเวลามพราหมณ์ และมีลำดับของการให้ทานดังนี้
มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ พราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยะเต็มด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก มีเครื่องประดับล้วนเป็นทองมีธงทอง คลุมด้วยข่ายทองให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง ผ้ากัมพลเหลือง มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงินรองน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คน ประดับด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด มีเครื่องลาดเพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสอง ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เนื้อละเอียด ฯลฯ

สมัยนั้นไม่มีใครพระทักขิเณยยบุคคล ไม่สามารถชำระทักขิณานั้นให้หมดจด  ทานที่ให้กับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี (พระโสดาบัน) ผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่า 
- ทานให้กับพระสกทาคามี ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่ให้กับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี (พระโสดาบัน) ร้อยท่านบริโภค
- ทานให้กับพระอนาคามี ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่ให้กับพระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค
- ทานให้กับพระอรหันต์ ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่ให้กับพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค
- ทานให้กับพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่ให้กับพระอรหันต์ร้อยท่านบริโภค
- ทานให้กับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค มีผลมากกว่าทานที่ให้กับพระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค
- ทานให้กับภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่าทานที่ให้กับ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค
-  การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ  มีผลมากกว่าทานที่ให้กับภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค
-  การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ
-  การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
-  การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
-  การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม

นอกจากนี้ การทำทานให้ได้อานิสงส์อันไพบูลย์ยิ่งขึ้น ต้องประกอบด้วย "ทายก" ผู้ให้ และ "ปฏิคาหก" ผู้รับ มีความบริสุทธิ์ สมควรแก่ทานดังความบริสุทธิ์ของทักขิณาทาน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน "ทักขิณาวิภังคสูตร" ความว่า : ความบริสุทธิ์ของทักขิณาทาน ๔ ประการ
๑. ทักขิณา ชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก คือทายกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
๒.  ทักขิณา ชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก คือทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
๓. ทักขิณาชื่อว่า ฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก ก็ไม่บริสุทธิ์ คือ ทายกเป็นผู้ทุศีล ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก เช่นกัน
๔. ทักขิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายทายก บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก คือ ทายกเป็นผู้มีศีล ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม เช่นกัน
ดังนั้น การทำทานกับบุคคลผู้มีอริยคุณสูงไปตามลำดับ ย่อมได้รับผลมากไปตามลำดับเช่นกัน ในทำนองเดียวกัน ถ้าทำทานกับบุคคลผู้ไม่มีคุณธรรม ก็จะได้รับผลน้อยไปตามลำดับเช่นกัน การเกิดมาจนหรือมั่งมีร่ำรวย ก็มาจากผลของกรรมที่ทำมาแต่อดีตชาติ ดังว่า อดีตเป็นเหตุ ปัจจุบันเป็นผล ปัจจุบันเป็นเหตุ  อนาคตเป็นผล

๒. การเตรียมขบวนกฐิน เมื่อเจ้าภาพได้เตรียม "กฐิน" และบริวารเครื่องกฐินไว้เรียบร้อย พร้อมที่จะนำขบวนแห่ไปยังวัด (วัตร) ที่จองกฐินไว้ ถ้าวัดอยู่ไกลจะต้องมีการเดินทางตั้งแต่กลางคืน ระหว่าง

การเดินทางควรเจริญธรรม (พระสูตรต่างๆ ที่มีในพระไตรปิฎก เช่น พระอภิธรรม พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระอนัตตลักขณสูตร พระอาทิตตยปริยายสูตร ทีฆนขสูตร โมคคัลลานสูตร เป็นต้น) เป็นธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรงที่ออกจากพระโอษฐ์เป็นพระพุทธพจน์ อย่านำธรรมอื่นที่ไม่ใช่พระพุทธพจน์มาเจริญเด็ดขาด จะไม่ได้อานิสงส์ ควรเจริญธรรมไปตลอดการเดินทางเท่าที่จะทำได้ เพื่อยังจิตของคณะทอดกฐินให้เบิกบานผ่องใส เต็มไปด้วยมหากุศลไปตลอดสาย เพื่อยังผลให้เกิดอานิสงส์อันไพบูลย์ ในการทอดกฐินครั้งนี้
ขบวนกฐินไม่ควรนำ "ผ้ากฐิน" เข้าไปในวัดก่อนสว่าง (จนกว่าจะเห็นลายมือชัด) ของวันที่จะทอดกฐินนั้น เพราะถ้านำผ้ากฐินเข้าไปแล้ว พระภิกษุไม่สามารถทำสังฆกรรมได้ กฐินจะเดาะ เมื่อเป็นเช่นนั้นต้องเปลี่ยนผ้ากฐินเป็นผ้าผืนใหม่ เพราะผ้าผืนเก่าเป็นโมฆะ เมื่อเข้าวัดเรียบร้อยแล้วนำเครื่องกฐินไปตั้งรวมกันไว้ในศาลาการเปรียญหรือ สถานที่เหมาะสม ก่อนที่จะอัญเชิญองค์กฐินและบริวารกฐินไปเวียนทักษิณาวัตร รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ เมื่อพร้อมกันตามเวลานัดหมาย ไม่ว่าจะทำการทอดกฐินในช่วงเช้าหรือช่วงบ่าย เมื่อพระภิกษุฉันภัตตกิจและคณะศรัทธาร่วมกันรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้ว มารวมตัวกันที่ศาลาการเปรียญเพื่อทำพิธีมอบองค์กฐินและบริวาร เพื่อเจ้าภาพกฐินและคณะอัญเชิญไปทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถต่อไป

๓. การมอบเครื่องกฐิน เจ้าหน้าที่ทำการมอบเครื่องกฐินตามรายชื่อที่เตรียมไว้ "ผ้ากฐิน" มีเพียงไตรเดียวเป็นของเจ้าภาพกฐิน ส่วนไตรจีวรอื่นที่คณะศรัทธานำมาจะเป็น "ผ้าจำนำพรรษา" เมื่อได้รับการขานชื่อ แต่ละท่านจะเวียนทักษิณาวัตรรอบกองกฐิน ๑ รอบ แล้วกราบสักการะ พระพุทธปฏิมากร ก่อนจะเข้ารับมอบ เครื่องกฐินมาถือไว้จากเจ้าหน้าที่ เปรียบเสมือนเป็นการแสดงความเคารพสักการะต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย้อนไปในสมัยอดีตเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ คณะศรัทธาได้เข้าไปเฝ้าขอพระบรมพุทธานุญาต เพราะการทอดกฐินเกิดขึ้นได้จากพระพุทธประสงค์ และพระพุทธานุญาตของพระพุทธเจ้า ขณะกำลังกระทำพิธี คณะจะเจริญธรรมไปด้วยในขณะเดียวกัน  ผู้ได้รับมอบเครื่องกฐินจะตั้งแถวเป็นขบวนเตรียมไว้ เพื่ออัญเชิญไปยังพระอุโบสถ

๔. การอัญเชิญเครื่องกฐินเข้าพระอุโบสถ จากนั้นขบวนแห่กฐิน จะอัญเชิญองค์กฐินและบริวารกฐินไปทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถ ๓ รอบ พร้อมๆ กับเจริญธรรมสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย แล้วอัญเชิญองค์กฐินและบริวารกฐินเข้าภายในพระอุโบสถ เพื่อเตรียมทำพิธีทอดกฐินต่อไป

๕. การอัญเชิญชุมนุมเทพพรหมเทวดา
และบูชาคุณพระรัตนตรัย ขณะอยู่ภายในพระอุโบสถ ทุกท่านจะสงบกายสงบวาจาและสำรวมจิต นอบน้อมสักการะ ในคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ นอบน้อมสักการะ ในคุณของพระธรรมเจ้า ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ นอบน้อมสักการะในพระอริยสงฆเจ้าในพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่มีมาแล้วแต่อดีตจนปัจจุบัน และจะพึงบังเกิดมีในมนุษยภูมิ เทวภูมิ พรหมภูมิ มีชั้นสุทธาวาสเป็นที่สุด พร้อมทั้งอัญเชิญเทพพรหมเทวา กระทำกิจอนุโมทนาการถวายกฐิน อันเป็นอริยประเพณีมีมาแต่ครั้งพุทธกาล พร้อมกล่าวคำอัญเชิญ เป็นภาคภาษาธรรมพร้อมกัน ดังนี้



คำชุมนุมเทวดา
สะรัชชัง  สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง,       ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ 
ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา,         อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ ฯ
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน,          
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต, 
ภุมมาจายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม  ยักขะคันธัพพะนาคา,
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา,    
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา,    
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯ

คำบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,         
สวากขาโต เยนะ  ภะคะวะตา ธัมโม,       
สุปะฏิปันโน ยัสสะ  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,    
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง, อิเมหิ สักกาเรหิ  ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,   

สาธุ โน ภันเต  ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,  ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา, อิเม สักกาเร  ทุคคะตะปัณณาการะภูเต  ปะฏิคคัณหาตุ,  อัมหากัง ทีฆะรัตตัง  หิตายะ สุขายะ,    

๖. การถวายผ้าพระประธาน เนื่องด้วยในสมัยพุทธกาล ขณะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พระพุทธอุปัฏฐากพระมหาอานนทเถระ ท่านได้ถวายการดูแลและถวายสิ่งของที่จะพึงมีให้ปรากฏสมบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งน้ำดื่ม น้ำใช้ และผ้าทั้งหลายมาถวาย เป็นผ้าห่ม ผ้าใช้ แด่พระบรมศาสดาอยู่เสมอมา การถวายผ้าพระประธานก็นับเนื่องจากพระอานนทเถระพุทธอนุชาในขณะนั้นท่านเป็น พระโสดาบันการกระทำของพระอริยบุคคล คือมีพระโสดาบันเป็นเบื้องต้น ท่านกระทำหนึ่งกิจใดแล้ว สิ่งที่กระทำนั้นย่อมเป็น "อริยบูชา" หรือเป็น "อริยประเพณี"
ดังนั้นการถวายผ้าพระประธาน การบูชาข้าวพระพุทธได้เกิดสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ก็เนื่องด้วยพระอานนทเถระ เป็น "ปฐมเหตุ" ด้วยเหตุนั้น เราท่านทั้งหลาย การน้อมนำผ้าถวายพระประธานและพระอัครสาวกทั้งสองหรือการน้อมนำถวายข้าวพระ พุทธ ขอให้นึกย้อนไปในอดีตสมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ เราปฏิบัติตามอริยประเพณี เราท่านทั้งหลาย ได้กระทำสมบูรณ์แล้วด้วยเหตุและปัจจัย อันเป็นบาทฐานแห่ง มัคค ผล และพระนิพพาน

๗. พิธีถวายกฐิน การทำพิธีถวายกฐินดังนี้
คำอาราธนาศีล ๕
(นำ)          มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ  
ทุติยัมปิ     มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ  
ตะติยัมปิ    มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ฯ

พระภิกษุให้ศีล ๕
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ, (๓ ครั้ง)
(ฆราวาสกล่าวตาม ๓ ครั้ง)
ปาณาติปาตา         เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,  
อะทินนาทานา        เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,
กาเมสุมิจฉาจารา    เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,    
มุสาวาทา              เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ,        สีเลนะ สุคะติง ยันติ,
สีเลนะ โภคะสัมปะทา,              สีเลนะ นิพพุติง ยันติ,   
ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
ฆราวาสกล่าว  สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ  พร้อมกัน  และกล่าวว่า   นิพพานัง ปะระมัง สุขัง.
(กราบและกล่าว ๓ ครั้ง)

จากนั้นผู้นำการถวาย กล่าวถึงมูลเหตุการทอดกฐินว่าบังเกิดมีขึ้นได้อย่างไร (ตามข้อมูลปฐมเหตุการทอดกฐิน)
บัดนี้ท่านทั้งหลาย ได้มีโอกาสสร้างบุญมหากุศลไว้ในเขตบุญของพระพุทธศาสนา ในการทอดกฐิน อันมีอานิสงส์สำคัญยิ่ง การทอดกฐินเป็นการสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ให้ได้รับอานิสงส์อันยิ่ง ๕ ประการ (อานิสงส์ กฐิน ๕ ประการ) เราท่านทั้งหลายได้มาที่วัดที่พระภิกษุสงฆ์ จำพรรษาได้ถูกต้องตามพุทธวินัย ขอทุกท่านได้เกิดความปลื้มปิติอนุโมทนาว่า สิ่งที่ท่านได้กระทำมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ ไม่มีสิ่งที่เป็นอกุศลมารบกวน ไม่ว่าจะเป็นกฐินบูด กฐินเน่า กฐินเศร้าหมอง  ที่จะทำให้กฐินเดาะ ไม่มีสุรายาเมา ไม่มีการฆ่าสัตว์ ไม่มีการดุด่าโกรธเคืองกัน กฐินของเราท่านทั้งหลาย ครบถ้วนบริบูรณ์ บริสุทธิ์ผุดผ่องสมบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง ขอทุกท่านได้สมาทานน้อมใจอธิษฐาน ตั้งความปรารถนาตามที่ได้ตั้งใจมาแล้วที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาให้เป็นไป เพื่อมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
(ท่านผู้อัญเชิญผ้ากฐิน และผ้าจำนำพรรษาอาจยืนหรือนั่งก็ได้เพื่อกล่าวคำอธิษฐานธรรม)

คำกล่าวนอบน้อมพระพุทธเจ้า
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส ฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,     ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, 
พระองค์นั้น,
อะระหะโต,                      ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทธัสสะ,            ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง,   
(กล่าว ๓ ครั้ง)

คำกล่าวอธิษฐานธรรม
(นำกล่าวและทุกท่านกล่าวตาม)
อัปมาโน พุทโธ     คุณของพระพุทธเจ้า        ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ
อุปมาโน ธัมโม      คุณของพระธรรมเจ้า        ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ
อุปมาโน สังโฆ      คุณของพระอริยสงฆเจ้า   ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ

ด้วยอานิสังสทาน ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญ ณ โอกาสบัดนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ จงถึง มัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
สุทินนัง วะตะเมทานัง อาสะวักขะยาวะหัง
นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
ทุติยัมปิ    สุทินนัง วะตะเมทานัง อาสะวักขะยาวะหัง
นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
ตะติยัมปิ   สุทินนัง วะตะเมทานัง อาสะวักขะยาวะหัง
นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
ขอทุกท่าน ตั้งใจมั่นในการถวายกฐิน ถวายผ้าให้พระภิกษุสงฆ์ ได้ใช้เป็นไปตามพุทธานุญาตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

คำถวายผ้ากฐิน
อิมัง ภันเต,  สะปะริวารัง,  กะฐินะจีวะระทุสสัง,  สังฆัสสะ, 
โอโณชะยามะ,  สาธุ โน ภัณเต,  สังโฆ,  อิมัง สะปะริวารัง, 
กะฐินะจีวะระทุสสัง,  ปะฏิคคัณหาตุ,  ปะฏิคคะเหตวา จะ, 
อิมินา,  ทุสเสนะ,  กะฐินัง,  อัตถะระตุ,  อัมหากัง, 
ทีฆะรัตตัง,  หิตายะ,  สุขายะ,    
นิพพานะ ปัจจะโย  โหตุ.

คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์   ขอพระสงฆ์จงรับ  ซึ่งผ้ากฐินจีวร  กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
ครั้น รับแล้ว  ขอพระสงฆ์จงกรานกฐิน  ด้วยผ้าผืนนี้   เพื่อประโยชน์  เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  และสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ให้ถึงซึ่งมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ โดยเฉียบพลันในปัจจุบันกาลชาตินี้ เทอญ ฯ

คำถวายผ้าจำนำพรรษา
อิมานิ มะยัง ภันเต, วัสสาวาสิกะ จีวะรานิ, สะปะริวารานิ,
ภิกขุสังฆัสสะ, โอโนชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ,
อิ มานิ วัสสาวาสิกะ จีวะรานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัญเจวะ, มาตาปิตุ, อาทีนัญจะ, ญาติ มิตตานัญจะ, ราชานัญจะ, เปตานัญจะ, เทวะตานัญจะ, สัพพะสัตตานัญจะ, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ, นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ.

คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ให้ถึงซึ่ง มัคค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ โดยเฉียบพลันในปัจจุบันกาล ชาตินี้ เทอญ.
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

เจ้าภาพกฐินถวาย "ผ้ากฐิน" แก่พระภิกษุ โดยนำถวายตั้งไว้พระภิกษุสงฆ์จะนำไปกระทำพิธี "อุปโลกน์กฐินและกรานกฐิน" อันเป็น "สังฆกรรม" ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อพระภิกษุสงฆ์เสร็จพิธีในการกรานกฐิน เรียบร้อยแล้ว คณะจึงถวายผ้าจำนำพรรษา และพระภิกษุสงฆ์จะถอนจีวรเก่าและพินทุอธิษฐานผ้าพร้อมกัน พร้อมทั้งนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ครองผ้าจีวรใหม่ทันที เพื่อเจ้าภาพจะได้อานิสงส์ ในทันใด

๘. พระภิกษุสงฆ์ทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถ พร้อมมาลาพุทธบูชา เมื่อพระภิกษุสงฆ์ครองผ้าจีวรเรียบร้อยแล้ว ได้ทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถพร้อมมาลาพุทธบูชา ๓ รอบ แล้วนำมาลาสักการะบูชาคุณพระรัตนตรัย ภายในพระอุโบสถ

๙. คณะศรัทธาถวายเครื่องบริวารกฐิน คณะศรัทธาน้อมนำเครื่องบริวารกฐินทั้งหมด ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ในเขตบุญพระพุทธศาสนา ด้วยจิตใจเบิกบานผ่องใส

๑๐. การแสดงธรรมของพระภิกษุสงฆ์มี อานิสงส์ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ถวายสักการะบูชาพระรัตนตรัยเรียบร้อยแล้ว ท่านจะมีสัมโมทนียกถา พร้อมทั้งกล่าวแสดงธรรมด้วย ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง .....
ห้วงน้ำย่อมยังมหาสมุทรให้เต็มได้ฉันใด....
คณะเจ้าภาพกฐินควรตั้งใจสดับธรรม ขณะพระสงฆ์กล่าวแสดงธรรม "ยะถา" ยังมิใช่วารกาลกรวดน้ำ และไม่ควรกล่าวธรรมอื่นใด พร้อมพระภิกษุ เพราะพระธรรมเป็นธรรมให้ถึงความเป็นพระอริยบุคคล การตั้งใจฟังธรรมเป็นเหตุให้มีการบรรลุธรรม เมื่อจบพิธีสงฆ์แล้ว ให้ตั้งใจกรวดน้ำอุทิศกุศลด้วยบทธรรมกรวดน้ำอัปปมัญญา (ดังข้อ ๑๓)
เรื่องของอำมาตย์ ๒ ท่าน จากพระสูตร และอรรถกถา แปล ฑีฆนิกาย มหาวรรค เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๒ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่ม ๑๔/๙๑ น. ๔๖ - ๔๙ ดังความว่า
สมัยหนึ่ง ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเที่ยวจาริกไปตามชนบทมาถึงพระเชตวัน เมืองสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชาทรงนิมนต์มาถวายทาน พระราชาถวายทานติดต่อกัน ๗ วัน ด้วยมหาทานอันยิ่งใหญ่  ในวันที่ ๗ พระราชาทรงถวายบังคมแล้วกราบทูลพระทศพลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด" ในบริษัทนั้น มีอำมาตย์ ๒ ท่าน คือท่านกาฬะ และท่านชุณหะ ฝ่ายท่าน กาฬะ คิดอกุศลว่า "สมบัติของราชตระกูลจะฉิบหาย" ส่วนท่านชุณหะ คิดเป็นกุศลว่า "ความเป็นพระราชานี้ยิ่งใหญ่ ใครอื่นจะทำสิ่งเหล่านี้ได้" เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรวจดูอัธยาศัยของบริษัทก็ทรงทราบอัธยาศัยของ อำมาตย์ทั้งสองท่าน ทรงพระดำริว่า "ถ้าตถาคตจะแสดงธรรมตาม อัธยาศัยของชุณหะในวันนี้ ศีรษะของกาฬะจักแตกเป็น ๗ เสี่ยง ตถาคตบำเพ็ญบารมีมาด้วย ความสงสารสัตว์ แม้ในวันอื่น เมื่อตถาคตแสดงธรรม ชุณหะ ก็คงจักแทงตลอด มัคคผล สำหรับวันนี้ จักเห็นแก่กาฬะ" (เป็นการแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจุตูปปาตญาณของพระพุทธองค์) ทรงตรัสคาถา ๔ บท แก่พระราชาว่า
พวกคนตระหนี่ จะไปเทวโลกไม่ได้
พวกคนโง่ จะไม่สรรเสริญทานเลย
แต่นักปราชญ์ พลอยยินดีตามทาน
เพราะเหตุนั้นเอง  เขาจึงมีความสุขในโลกหน้า
พระ ราชาได้รับฟังธรรมเพียงเล็กน้อย ไม่พอกับพระราชหฤทัยประสงค์ทรงข้องพระทัย ภายหลังเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว เสด็จไปถวายอภิวาท และทูลถามพระบรมศาสดา ถึงสาเหตุที่ทรงแสดงธรรมเพียง ๔ บท แก่พระองค์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ได้ถวายมหาทานถึง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกความปริวิตกของอำมาตย์ กาฬะ พระราชาตรัสถามกาฬะว่า "เธอเดือดร้อนอะไรด้วยเล่าในการถวายทานของพระองค์" จากนั้นตรัสเรียกชุณหะ มาถามความจริง และทรงประทานทรัพย์จากพระราชวังให้อำมาตย์ชุณหะ ถวายทานดุจราชาเป็นเวลา ๗ วัน อย่างที่พระองค์ถวาย ครั้นถวายเสร็จแล้วในวันที่ ๗ พระราชากราบทูลพระพุทธองค์โปรดแสดงธรรมแก่พระองค์
พระบรมศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาทาน แม้ทั้งสองครั้งให้เป็นอันเดียวกัน เหมือนทรงกระทำแม่น้ำใหญ่สองสายให้เต็มด้วยห้วงน้ำเดียวกัน  ทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านอำมาตย์ชุณหะ ได้บรรลุพระโสดาปัตติผล พระราชาทรงเลื่อมใส ทรงถวายผ้าชื่อ "ปาวาย" แด่พระทศพล พึงทราบว่าก็ลาภสำเร็จยิ่งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ด้วยอาการอย่างนี้
จบการให้พร (แสดงพระธรรมเทศนา) ของพระภิกษุสงฆ์ แล้วคณะเจ้าภาพกฐิน รับด้วย สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ พร้อมกราบสักการะพระภิกษุสงฆ์พร้อมกัน

๑๒. กราบบูชาคุณพระรัตนตรัย อีกครั้ง

๑๓. กรวดน้ำอุทิศบุญกุศลเป็นอัปปมัญญา ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ ไปสู่สัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ อันประกอบด้วย เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดรัจฉาน

คำกรวดน้ำอัปปมัญญา
ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม
เตสัญจะภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาป ปะมาณะกา
สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ
จงมีส่วนแห่งบุญ ที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้ และแห่งบุญอื่น
ที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว และจงเป็นพลวปัจจัย ให้ทุกท่าน
ถึงซึ่ง มัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
โดยเฉียบพลันในปัจจุบันกาลชาตินี้ เทอญ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

๑๔. อัญเชิญเทพพรหมเทวากลับทิพยวิมาน
เทวะตาอุยยะ โยชะนะคาถา
ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา,      ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา,        โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน,
เอตตา วะตา จะ อัมเหหิ,         สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง,
สัพเพ เทวานุโมทันตุ,        สัพพะสัม ปัตติสิทธิยา,
ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ,        สีลัง รักขันตุ สัพพะทา,
ภาวะนาภิระตา โหนตุ,        คัจฉันตุ เทวะตาคะตา,
สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา,        ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง,
อะระหัน ตานัญจะ เตเชนะ,    รักขัง พันธา มิ สัพพะโส.

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

๑๕. การอนุโมทนามหากุศลที่ได้บำเพ็ญมา ซึ่งกันและกัน ในวารกาลสุดท้าย เราท่านทั้งหลายได้บำเพ็ญมหากุศล กฐินทานอันเป็นกาลทานถูกต้องตามพระธรรมวินัย มาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้เป็นไปในบุญกิริยาวัตถุ ๓๐ ประการ (กายกรรม ๑๐ วจีกรรม ๑๐ มโนกรรม ๑๐)  ทั้งบุพพเจตนา เจตนาก่อนกระทำ มุญจเจตนา เจตนาขณะกำลังกระทำและอปรเจตนา เจตนาภายหลังกระทำ เป็นไปในกระแสมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ และน้อมนำกระแสบุญไปยังสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ให้ได้มีส่วนในมหากุศลอันเป็นทานมัยถูกต้องตามพุทธวินัย เมื่อปฏิบัติถูกต้องก็เข้าสู่กระแสพุทธอริยะ สมควรที่เราท่านทั้งหลายควรเปล่งวาจาอนุโมทนามหาทานอันเป็นกระแสแห่งโลกุ ตตระ อนุโมทนาซึ่งกันและกันพร้อมสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ในวาระแห่งปัจฉิมกาลพร้อมกัน เทอญ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ