Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

SadPhala2 1 

 

1.2.สัปตวรรคพละ การคำนวนหากำลังส่วนนี้ต้องพิจารณาจากความสมดุลของความสัมพันธ์เจ็ดอย่างในวรรคทั้ง 7 คือ สัปตะวรรค ส่วนนี้ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบ ษัฑพละ เพราะสัปตวรรคพละเป็นส่วนที่จะให้ค่าหน่วยกำลังได้มากที่สุด


-ถ้าดาวนั้นในอยู่ในราศีที่เป็นมูลตรีโกณของตัวเองจะได้ 45 ษัทฎิอัมศะ  
-ถ้าดาวนั้นๆอยู่ในเรือนของตัวเอง (ไม่ว่าวรรคไหนในสัปตวรรค) ก็จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
-ถ้าดาวนั้นอยู่ในราศีอธิมิตร หรือราศีคู่มิตรใหญ่จะได้รับ 22.5 ษัทฎิอัมศะ (ดูเรื่องดาวเคราะห์คู่มิตร-ศัตรู)
-หากอยู่ในราศีคู่มิตรจะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
-หากอยู่ในราศีที่เป็นกลางจะได้รับ 7.5 ษัทฎิอัมศะ
-หากอยู่ในราศีคู่ศัตรูจะได้รับ 3.75 ษัทฎิอัมศะ
-หากอยู่ในราศีอธิศัตรู/คู่ศัตรูใหญ่จะได้รับ 1.875 ษัทฎิอัมศะ

 SadPhala2 2

 

สัปตวรรค -คือวรรคหรือส่วนสำคัญทั้ง 7 ในระบบโหราศาสตร์จากทั้งหมด 16 วรรค(โษทศวรรค)ได้แบ่งจักรวาลออกเป็นส่วนย่อยดังนี้
(1)ราศี จักรวาลแบ่งเป็น 12 ส่วน ส่วนละ 30 องศา
(2)โหรา โดยการแบ่งราศีเป็น 2 ส่วนๆละ 15 องศา
(3)ทเรกกณะ [ตรียางค์] โดยการแบ่งราศีเป็น 3 ส่วนๆละ 10 องศา
(4)สัปตางศะ โดยการแบ่งราศีเป็น 7 ส่วน
(5)นวางค์ โดยการแบ่งราศีเป็น 9 ส่วน
(6)ทวาทศางศะ โดยการแบ่งราศีเป็น 12 ส่วน
(7)ตริมฺศางศะ โดยการแบ่งราศีเป็น 30 ส่วน

**ค่าสูงสุดตามทฤษฎีของสัปตะวรรคพละคือ 45*7=315 วิรูปะ (ดาวเคราะห์ในตำแหน่งมูลตรีโกณสำหรับทุกวรรค)

หมายเหตุ

1.การดูความเข้มแข็งของดวงดาวเป็นคนละอย่างกันกับการคำนวนสัปตวรรคพละ
2.ความเป็นอุจน์และนิจไม่มีผลกับการคำนวนสัปตวรรคพละ
3.ตำแหน่งมูลตรีโกณในวรรคต่างๆนั้น คำนวณจจากตำแหน่งราศีไม่ใช่องศา (เนื่องจากไม่มีองศาในวรรคทั้ง 16)
4.มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับคู่มิตร-คู่ศัตรูชั่วคราวของดาวเคราะห์ บางทฤษฎีบอกว่าคู่มิตร-คู่ศัตรูชั่วคราวนั้นอ้างอิงจากตำแหน่งดาวเคราะห์ในราศีจักรเท่านั้น บางทฤษฎีบอกว่าคู่มิตร-คู่ศัตรูชั่วคราวนี้ต้องคำนวณจากวรรคต่างๆที่จะนำมาใช้เป็นหลัก (เช่น คู่มิตร-ศัตรูในราศีจักร ย่อมแต่กต่างกับคู่มิตร-ศัตรูในนวางศ์จักร)