Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***


การรักษาเวลาและการแจ้งเวลาเริ่มแพร่หลายขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงกำหนดระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย โดยเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕ ทรงสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ในสวนหน้าพระพุทธนิเวศน์ พระที่นั่งองค์นี้สร้างเป็นตึกทรงยุโรป สูง 5 ชั้น ชั้นยอดมีนาฬิกาใหญ่ 4 ด้าน ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงสำหรับบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทยในสมัยนั้น การที่เรามีพระที่นั่งภูวดลทัศไนยเป็นหอนาฬิกาสมัยนั้น ถือได้ว่าเป็นการเฉลิมฉลองการเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ ๒๕ ของไทยในทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเต็มภาคภูมิในฐานะที่ไทยเป็นชาติใหญ่ในย่านนี้

ในรัชสมัยของพระองค์นั้น โลกยังไม่มีความเจริญทางวิทยาศาสตร์ถึงขั้นส่งคลื่นวิทยุเป็นสัญญาณเทียบเวลาสากล หรือใช้นาฬิกาปรมาณูจาก CESIUM - 133 ประเทศที่เจริญในช่วงสมัยของ

พระองค์ท่าน จะต้องทำการคำนวณทางดาราศาสตร์เพื่อเทียบเวลาของตนเอง โดยสถาบันทางดาราศาสตร์ของชาตินั้น ๆ เป็นผู้ดำเนินการ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ได้ทรงคำนวณดาราศาสตร์และสามารถรักษาเวลามาตรฐานได้อย่างเที่ยงตรง พระองค์ท่านโปรดเกล้าฯ ให้มีพนักงานนาฬิกาหลวง เรียกว่าตำแหน่ง “พันทิวาทิตย์” คอยเทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และตำแหน่ง “พันพินิตจันทรา” คอยเทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งงานทางวิทยาศาสตร์ของไทยชุดแรก อาจกล่าวได้ว่าระบบเวลามาตรฐานประเทศไทยที่พระองค์ทรงกำหนดขึ้นนี้ได้กระทำก่อนประเทศยุโรปเสียอีก เพราะ

รัฐสภาอังกฤษออกพระราชบัญญัติเวลามาตรฐานอังกฤษ (GREENWICH MEAN TIME) ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ และในปี พ.ศ.๒๔๒๗ ที่ประชุมดาราศาสตร์ในกรุงวอชิงตัน ได้ตกลงให้เส้นเมอริเดียนที่ผ่านเมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษเป็นเมอริเดียนหลักที่จะใช้เทียบเวลาของโลก

เมื่อได้กล่าวถึงเรื่องนี้แล้ว ควรที่จะได้กล่าวถึงพระอัจฉริยภาพในเรื่อง ดาราศาสตร์ เพื่อเสริมความเข้าใจอีกสักเล็กน้อย ในยุคร่วมสมัยของพระองค์ท่านนั้น นักดาราศาสตร์กำลังให้ความสนใจเรื่อง การเคลื่อนที่ของโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ต่างทุ่มเทสติปัญญา เพื่อหาวิธีคำนวณตำแหน่งดวงจันทร์ ขณะที่โคจรรอบโลก ภายใต้แรงดึงดูดของโลก และดวงอาทิตย์และตำแหน่งดวงจันทร์ขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ภายใต้แรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ต่าง ๆ ซึ่งการแก้ปัญหาทั้ง ๒ อย่างนี้ต้องอาศัยหลักการในงานสาขาดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ในการคำนวณ ผลงานการคำนวณของพระองค์ท่านที่ประสบความสำเร็จคือ การที่พระองค์ท่านทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ถูกต้องแม่นยำ พระองค์ได้ทรงทำการคำนวณแบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน คือ

๑. ทำการคำนวณตำแหน่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ โดยใช้ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของ

ดวงจันทร์ (THEORY OF LUNAR MOTION)

๒.หลังจากคำนวณตำแหน่งดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์แล้ว จะต้องทำการคำนวณตรวจสอบว่า จะมีโอกาสเกิดอุปราคาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ผ่านไปถ้าสามารถเกิดขึ้นได้ จึงจะเข้าสู่การคำนวณขั้น ๓ ต่อไป

๓.เมื่อตรวจสอบแล้วว่ามีโอกาสเกิดอุปราคาได้ ก็จะทำการคำนวณในขั้น ๓ คือ คานวณ

ว่าการเกิดอุปราคานั้น เป็นสุริยุปราคา หรือ จันทรุปราคา มีลักษณะอย่างไร เช่น เป็นชนิดมืดหมดดวง หรือชนิดวงแหวน หรือมือเป็นบางส่วน และจะเห็นได้ที่ไหน เวลาเท่าไร ถึงเท่าไร ตามระบบเวลามาตรฐานสากล ซึ่งจะต้องนำมาใช้ในการคำนวณด้วยตลอดตั้งแต่ต้น

ในกรณีที่พระองค์ได้ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอนี้ พระองค์ได้ทรงกระทำตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ และสามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องทั้งในลักษณะการเกิด เวลาที่เกิด และตำบลที่

ที่ใช้สังเกต จากการคำนวณเปรียบเทียบหลักฐานจากการคำนวณของหอดูดาวกรีนิช ปรากฏว่าระบบคำนวณของพระองค์ท่านถูกต้อง แต่ตัวเลขของพระองค์ไม่มีในระบบของกรีนิช แสดงว่าพระองค์ท่านได้ทรง

คำนวณขึ้นมาด้วยพระองค์เอง มิได้นำเอาผลการคำนวณของชาวต่างประเทศมาดัดแปลงประยุกต์ใช้สำหรับประเทศไทยแต่อย่างใด ฯ

ย้อนกลับมาถึงเรื่องแจ้งสัญญาณบอกเวลา ในสมัยก่อน การบอกสัญญาณแจ้งเหตุและอันตรายต่าง ๆ เช่น การตีเกราะ ตีกลอง หรือยิงปืนนั้น มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งเข้าใจว่าได้

มาจากเมืองจีน ประเพณีนี้ได้มีมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คือมีทั้งยิงปืนและตีกลอง การตีกลองนั้นเดิมทีมีหอกลองอยู่ที่หน้าวัดพระเชตุพนหอหนึ่งเป็นสามชั้น ที่หอนั้นแขวนกลองไว้สามใบ ใบละชั้น ใบใหญ่อยู่ชั้นล่างแล้วเล็กขึ้นไปตามลำดับ กลองใบใหญ่ที่อยู่ชั้นล่างมีชื่อว่า “ย่ำพระสุริศรี” สำหรับตีบอกเวลาเมื่อดวงทิตย์ตกดินเพื่อเป็นสัญญาณให้ปิดประตูพระนคร กลองใบชั้นกลางมีชื่อว่า “อัคคีพินาศ” สำหรับตีเมื่อเกิดไฟไหม้เป็นสัญญาณเรียกราษฎรให้มาช่วยกันดับไฟ ดูเหมือนมีกำหนดว่าถ้าไฟไหม้นอกพระนคร

ตีสามครั้ง ถ้าไฟไหม้ในพระนครตีมากกว่านั้น กลองใบที่สามที่ชั้นยอด มีชื่อว่า “พิฆาตไพรินทร์” สำหรับตีให้รู้ว่ามีข้าศึกมาประชิดติดพระนคร ทุกคนจะต้องมาประจำรักษาหน้าที่โดยพร้อมเพรียงกัน

การยิงปืนบอกเวลานั้น มีมานานแล้วเช่นกัน เดิมทีเดียว (ก่อน พ.ศ.๒๔๓๐) ที่ป้อมมุม

พระบรมมหาราชวัง มีปืนใหญ่ประจำอยู่ทุกป้อม ป้อมละกระบอก เป็นปืนสัญญาณ ปืนที่อยู่ที่ป้อมมุมวัดพระเชตุพนจะยิงบอกเวลาเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นทุกวัน เพื่อเป็นสัญญาณให้เปิดประตูวัง เพราะเวลากลางคืนประตูวังจะปิดและเปิดการลดหย่อนการพิทักษ์รักษาการอยู่เวรยามในพระราชวังในเวลากลางคืน แต่บางคนบอกว่าที่ยิงปืนนั้นเป็นการเปลี่ยนดินปืนอีกนัยหนึ่ง การยิงปืนยังใช้ยิงเป็นสัญญาณเมื่อไฟไหม้นอกพระนครจะยิงนัดเดียว ถ้าไฟไหม้ในพระนครจะยิงสามนัด และถ้าไฟไหม้พระบรมราชวัง จะยิงติดต่อกันไปหลายนัดจนกว่าไฟจะดับถึงจะหยุดยิง

การรักษาเวลามาตรฐานโดยพนักงานนาฬิกาหลวงคือ พันทิวาทิตย์และพันพินิตจันทรา ทำหน้าที่มาได้ช่วงเวลาหนึ่ง โดยคงจะทำควบคู่ไปกับการยิงปืนบอกเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นที่ป้อมมุมวัดพระเชตุพน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้จ้างฝรั่งชาวยุโรปเข้ามารับราชการ เพื่อวางรากฐานงานด้านต่าง ๆ ในแทบจะทุกวงการ ทางด้านทหารเรือก็เช่นเดียวกัน สำหรับการรักษาเวลานั้น งานของทหารเรือมีคามเกี่ยวข้องกับเรื่องเวลาในการวัดดาราศาสตร์เพื่อใช้ในการเดินเรือและการสำรวจแผนที่ ชาวต่างชาติเหล่านี้คงจะได้นำความรู้ความสามารถในการวัดดาราศาสตร์หา

เวลามาตรฐาน และการใช้นาฬิกาโครโนเมตรสำหรับการรักษาเวลาได้อย่างเที่ยงตรง มาแสดงให้ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระชลยุทธโยธิน (Andre’ du Plessis de Richelieu) ซึ่งรับราชการอยู่ในกรมทหารเรือในขณะนั้น เป็นเจ้าพนักงาน ออบเซอร์เวตตอรี่หลวง มีหน้าที่คอยตรวจสอบนาฬิกา (เวลา) ความสำคัญของตำแหน่งพันทิวาทิตย์ และพันพินิตจันทราจึงลดลงจนหมดไปในที่สุด