บทที่ 6
เวลา
61. ส่วนต่าง ๆ ของเวลา ส่วนมากของเวลาเริ่มต้นด้วยตาตะประ ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่น้อยที่สุดถึงกัลป์ (เท่ากับ 432 โกฏิปีนักษัตร) วันเริ่มแต่วันอาทิตย์ขึ้นถึงอาทิตย์ขึ้น ส่วนต่าง ๆ ของเวลาแบ่งเป็นส่วนย่อยดังนี้ :
60 ตาตะประ เป็น 1 ประ
60 ประ ,, 1 วิลิปดา
60 วิลิปดา ,, 1 ลิปดา
60 ลิปดา ,, 1 วิฆทิ
60 วิฆทิ ,, 1 ฆทิ
60 ฆทิ ,, 1 วัน
ผลจากการคำนวณและค้นคว้าในสมัยนี้ได้กำหนดวัน 3 ประเภท.
(ก) วันนักษัตร เท่ากับ 23 ชั่วโมง 56 นาทีของวันมัธยมกาล เรียกว่านักษัตรทิน.
(ข) วันสุริยะหรือวันแดด มากกว่าวันนักษัตรประมาณ 4 นาที เรียกว่าสาวะนะทิน เริ่มแต่อาทิตย์ขึ้นถึงอาทิตย์ขึ้น.
(ค) วันสุริยะมัธยม ระยะเวลาของวันสุริยะมัธยมเฉลี่ยจากจำนวนวันตลอดทั้งปี.
เดือนที่นิยมใช้กันอยู่ในสมัยนี้มีอยู่ 2 อย่าง จันทรมนะ (จันทรคติ) และสุริยะมนะ (สุริยะคติ) เดือนจันทรมนะ เกิดจากมูลฐานการโคจรของดวงจันทร์ เมื่อจันทร์โคจรได้ตลอด 1 รอบจักรราศีได้ประมาณ 30 วันหรือดิถี เป็นระยะเวลาจากดวงจันทร์ดับถึงดวงจันทร์ดับอีกหนหนึ่ง เดือนสุริยะมนะเป็นระยะเวลาที่อาทิตย์โคจรได้ 1 ราศีประมาณ 30 วันเศษ สุริยะมนะและปีนักษัตรเป็นปีที่ใช้ในโหราศาสตร์ ปีจันทรมนะเป็นปีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป.
เวลา 31
ระยะเวลาของปีต่าง ๆ ที่ได้จากการคำนวณสมัยนี้ มีดังนี้ :
ปีฤดูกาล 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาที 46 วินาที.
ปีนักษัตร 365 วัน 6 ชั่วโมง 9 นาที 9 วินาที.
ปีอปรกติ 365 วัน 6 ชั่วโมง 13 นาที 48 วินาที.
62. เวลามัธยมท้องถิ่น (Local mean time) เวลามัธยมท้องถิ่น (L.M.T.) เป็นสาระสำคัญสำคัญและจำเป็นสำหรับการคำนวณดวงชะตาเมื่ออาทิตย์จรผ่านอุจจเราขา (เส้นศูนย์เที่ยง) ณ ที่หนึ่งถิ่นใด ขณะนั้นเป็นเวลา 12 นาฬิกาหรือเที่ยงวันเฉพาะท้องถิ่น เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นถึงจุดสูงสุดของวันตรงกับท้องถิ่นไหนเป็นเวลาเที่ยงของถิ่นนั้น ขอให้สังเกตเป็นพิเศษว่าเวลาที่ได้จากนาฬิกากลเฉพาะวันหนึ่ง ๆ นั้น ไม่ใคร่ตรงกับเวลามัธยมท้องถิ่น เวลามัธยมท้องถิ่นเป็นวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาเหตุการณ์ ในชีวิตของบุคคล การจดเวลาเกิดจากนาฬิกากลทุกชนิดจะต้องระวังอย่างกวดขันว่า นาฬิกานั้นเที่ยงตรงดี การคำนวณผูกดวงชะตาสิ่งแรกที่จะต้องรู้แน่ชัดก็คือเวลามัธยมท้องถิ่นเมื่อเกิด ระยะเวลามัธยมท้องถิ่นเฉพาะสถานที่นั้นอาศัยระยะองศา ทีฆ. (ระยะแวง) เป็นหลัก ได้ผลจากการคำนวณสอบสวนว่าระยะ 1 องศาของทีฆ. เท่ากับ 4 นาทีของเวลามัธยม.
กรีนิช (Greenwich) อยู่ที่ทีฆ. (แวง) 0 องศา จึงถือเอาที่กรีนิชเป็นศูนย์กลางของเวลามัธยมเรียกว่าเวลามัธยมกรีนิช (Greenwich mean time) สถานที่นี้อยู่ทางตะวันออกของกรีนิชเวลาของสถานที่นั้นก็มากกว่าเวลาที่กรีนิชของศาละ 4 นาทีทุกองศา ถ้าสถานที่นั้นอยู่ทางตะวันตกของกรีนิชเวลาของสถานที่นั้นก็น้อยกว่าที่กรีนิชของศาละ 4 นาทีทุกองศา เพราะสถานที่ที่อยู่ทางตะวันออกของกรีนิชได้รับแสงอาทิตย์ก่อนกรีนิช และทางตะวันตกของกรีนิชรับแสงอาทิตย์ที่หลัง กรีนิช ดังนั้นเวลา ณ สถานที่หนึ่งที่ใดทางตะวันออกของกรีนิชจึงล่วงไปก่อนเวลาที่กรีนิชส่วนทางตะวันตกของกรีนิชก็ล่าช้าไป (สุดแท้แต่ระยะทีฆ.) เช่นถ้าที่กรีนิชเป็นเวลาเที่ยงที่ท้องถิ่นทางตะวันออก 1 องศาจากรีนิชจะเป็นเที่ยงกับ 4 นาที และที่ท้องถิ่นทางตะวันตก 1 องศาจากกรีนิชจะเป็นเพียง 11.56 น. ก่อนเที่ยง.
32 โหราวิทยา
การตัดทีฆ. ลงเป็นเวลาโดยวิธีง่าย ๆ ให้เอา 15 หาร องศาลิปดา ได้ผลให้เป็นเวลา เช่นตัวอย่างสถานที่แห่งหนึ่งที่ทีฆ. 77° 35 ตะวันออกของกรีนิช เอา 15 หารองศาลิปดาดังนี้ :
77° 35 ÷ 15, 77° ÷ 15 = 5 เป็นชั่วโมง เศษ 2.
(เศษ 2 X 60 + 35) = 155' - 15 = 10 เป็นนาที เศษ 5
(เศษ 5 X 60) 300 ÷ 15 = 20 เป็นวินาที.
ฉะนั้น 77° 35' ÷ 15 = 5 ชั่วโมง 10 นาที 20 วินาที.
สถานที่ทางตะวันออกของกรีนิชเวลามัธยมท้องถิ่นล่วงไปก่อนหรือมากกว่าเวลามัธยมกรีนิช 4 ชั่วโมง 10 นาที 20 วินาที คือถ้าที่กรีนิชเป็นเวลาเที่ยงเวลามัธยมท้องถิ่นของสถานที่ (ที่ 77° 35' ตะวันออก) จะเป็นเวลา 17 นาฬิกา 10 นาที 20 วินาที.
จะได้เวลามัธยมท้องถิ่นโดยเอาเวลา 4 นาทีต่อ 1 องศา บวกหรือลบกับเวลามัธยมกรีนิช สุดแท้แต่ท้องถิ่นนั้นอยู่ในทีฆ. ตะวันออกหรือตะวันตกของกรีนิช.
เวลามัธยมกรีนิช เป็นเวลามัธยมท้องถิ่น
|
|
เวลามัธยมกรีนิช + หรือ – องศาทีฆ.
ถ้าท้องถิ่นนั้นอยู่ทางตะวันออกของกรีนิช +
ถ้าท้องถิ่นนั้นอยู่ทางตะวันตกของกรีนิช -
ตัวอย่าง 6 หาเวลามัธยมท้องถิ่นของสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งอยู่ทางตะวันตกของกรีนิช 78° เมื่อเวลามัธยมกรีนิชเป็นเวลาเที่ยงวัน.
เวลามัธยมท้องถิ่น 12 -
78° ÷ 15 = 5 เศษ 3
(เศษ 3 X 60) = 180 ÷ 15 = 12
เวลา 33
= 5 ชั่วโมง 12 นาที
แปลงเที่ยง (12 น.) เป็น 11 60
5 12
= 6 48
(เพราะท้องถิ่นนั้นอยู่ทางตะวันตกของกรีนิช)
ฉะนั้นเวลามัธยมท้องถิ่น (ที่ 78° ตะวันตก) 6.48 น. ก่อนเที่ยง.
63. เวลาอัตรา (Standard Time) ประเทศต่าง ๆ ได้เลือกตั้งเวล่าขึ้นใช้ภายในประเทศทั่วประเทศหรือเฉพาะแต่ภาคใหญ่ ๆ ของประเทศเรียกว่าเวลาอัตรา เวลาอัตราเป็นกฎของเวลาสำหรับประเทศ เป็นเวลาท้องถิ่นของจังหวัดสำคัญบางจังหวัดในประเทศ (เวลาอัตราที่ใช้ในประเทศไทยทุกวันนี้ตรงกับเวลาท้องถิ่นของจังหวัดอุบล) ถ้าเกิดในจังหวัดที่เวลาอัตราตรงกับเวลาท้องถิ่นก็ได้ เวลาเกิดที่ถูกต้องเป็นเวลามัธยมท้องถิ่น ถ้ามิฉะนั้นก็ต้องตัดเวลาอัตราเป็นเวลามัธยมท้องถิ่น ต้องรู้ว่าเวลาอัตรานั้นนำมาใช้ในประเทศแต่เมื่อไร (ประเทศสยามเริ่มใช้เวลาอัตราเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2463 เร็วกว่าเวลามัธยมกรีนิช 7 ชั่วโมง) ตั้งแต่วันที่ใช้เวลาอัตราต้องตัดเวลาอัตราเป็นเวลาท้องถิ่น เช่นตัวอย่างกรุงเทพฯ อยู่ที่ ทีฆ. 100° 29' 32" ตะวันออกของกรีนิช คิดเป็นเวลาได้ 6 ชั่วโมง 41 นาที 58 วินาที ก่อนเวลามัธยมกรีนิช แต่เวลาอัตราที่ได้จากนาฬิกาเป็น 7 ชั่วโมง หมายความว่า ถ้าเวลามัธยมกรีนิช แต่เวลาอัตราที่ได้จากนาฬิกาเป็น 7 ชั่วโมง หมายความว่า ถ้าเวลามัธยมกรีนิชเป็นเวลาเที่ยงวัน เวลามัธยมท้องถิ่นสำหรับกรุงเทพฯ จะเป็น 18 นาฬิกา 41 นาที 58 วินาที แต่เวลาอัตราที่ได้จากนาฬิกาจะเป็น 19 นาฬิกา.
เวลาอัตรา + หรือ – ด้วยจำนวนแตกต่างระหว่างทีฆ. ท้องถิ่นและทีฆ. อัตรา (แปลงเป็นเวลาแล้ว) = เวลามัธยมท้องถิ่น.
+ ถ้า ทีฆ. ท้องถิ่นมากกว่า ทีฆ. อัตรา.
- ถ้า ทีฆ. ท้องถิ่นน้อยกว่า ทีฆ. อัตรา.
5
34 โหราวิทยา
64. ดวงชะตาตัวอย่าง วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2461 เวลา 2.20 ล.ท. (เวลาอัตรา) ที่วิถันดรเหนือ 13 องศา ทีฆันดรตะวันออก 77 องศา 35 ลิปดา (ในภูมิประเทศที่ใช้ทีฆันดรอัตราเป็น 82 องศา 30 ลิปดา) ต่อไปจะถือเอาชะตานี้เป็นดวงชะตาตัวอย่างในการปฏิบัติตามหลักต่าง ๆ.
ตัวอย่าง 7 หาเวลามัธยมท้องถิ่นของเวลาเกิดในชะตาตัวอย่าง (ทีฆ. อัตราเป็นตะวันออก 82° 30' ของกรีนิชเท่ากับ 5 ชั่วโมง 30 นาที ตะวันออกของเวลามัธยมกรีนิช)
ทีฆ. อัตรา. 82° 30
ทีฆ. ท้องถิ่น. 77° 35
จำนวนแตกต่างระหว่างทีฆ. อัตรากับทีฆ. ท้องถิ่น 4° 55
5° 55' ÷ 15 = 19 นาที 40 วินาที
เพราะว่า ทีฆ. ท้องถิ่นน้อยกว่า ทีฆ. อัตรา ต้องเอาเวลาที่ได้นี้ลบจากเวลาอัตรา.
ฉะนั้น เวลามัธยมท้องถิ่น 2.20.00 – 0.19.40 = 2 น. หลังเที่ยง ดังนั้นเวลามัธยมท้องถิ่นเมื่อเกิด 2 นาฬิกาหลังเที่ยง.
65. สุรโยทัยชนม์กาลฆฑิกา สุรโยทัยชนม์กาลฆฑิกาเป็นจำนวนมหานาทีจากอาทิตย์ขึ้นถึงเวลาเกิด ทีแรกให้หาเวลามัธยมท้องถิ่นของเวลาเกิดและของเวลาอาทิตย์ขึ้น แล้วทำตามกฎต่อไปนี้ (24 วินาที = 1 วิมหานาที 24 นาที = 1 มหานาที 1 ชั่วโมง – 2 มหานาทีครึ่ง)
เวลาเกิดลบด้วยเวลาอาทิตย์ขึ้นคูณด้วย 2 หรือ 2.5 = สุรโยทัยชนม์กาลฆฑิกา.
เวลา 35
ตัวอย่าง 8 หาสุรโยทัยชนม์กาลฆฑิกา ในชะตาตัวอย่างอาทิตย์ขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม (เวลามัธยมท้องถิ่น) 5.54 ก.ท. เวลาเกิด (เวลามัธยมท้องถิ่น) 2 ล.ท.
2.00 ล.ท. – 5.54 ก.ท. X 2.5
2 ล.ท. = 14.00 น. 14.00 – 5.54 = 8 ชั่วโมง 6 นาที.
(8 ชั่วโมง 6 นาที = 8.12 ชั่วโมง) 8.1 X 2.5 = 20.25
หรือ 20 มหานาที 15 วิมหานาที (.25 = )
ดังนั้นสุรโยทัยชนม์กาลฆฑิกา (จากอาทิตย์ขึ้นถึงเวลาเกิด) = 20 มหานาที 15 วิมหานาที.
ตัวอย่าง 9 เกิดวันที่ 3 พฤษภาคม 75 เวลา 5.45 ก.ท. (เวลามัธยมท้องถิ่น) วิถ. เหนือ 13° ทีฆตะวันออก 75° หาสุรโยทัยชนม์กาลฆฑิกา.
วันที่ 3 พฤษภาคม อาทิตย์ขึ้น (เวลามัธยมท้องถิ่น) = 5.42 ก.ท.
เวลาเกิด (เวลามัธยมท้องถิ่น) = 5.45 ก.ท.
5.45 – 5.42 X 2.5, 5.45 – 5.42 = 3 นาที.
3 นาที = ชั่วโมง = .05 ชั่วโมง.
.05 X 2.5 = .125 มหานาที.
.125 มหานาที, = 60 X 125 ÷ 1000 = 7.5 หรือปัดขึ้นเป็น 8 สุรโยทับชนม์กาลฆฑิกา = 8 วิมหานาที.