วิเคราะห์ดาวคู่มิตร-ศัตรูแบบภารตะ-ไทย
ในการวิเคาระห์และคำนวณดวงชาตาในระบบโหราศาตร์ภารตะนั้น มีกฏเกณฑ์การคำนวณสลับซับซ้อนและแตกต่างจากโหราศาสตร์ไทยอย่างเห็นได้ชัด เช่นหลักทั่วไปตามตำราโหราศาตร์ไทยนั้นนำหลักมาจากตำนานดาวเคาระห์ เช่นบทกลอนที่ว่า
ดาวคู่มิตรแบบไทย
อาทิตย์ เป็นมิตรกับครู (พฤหัสบดี) จันทร์โฉมตรู พุธนงเยาว์ ศุกร์ปากหวาน อังคารรับเอา ราหูกับเสาร์ เป็นมิตรแก่กัน
หรือบ้างก็ว่าในเรื่องดาวคู่ศัตรู เช่น
อาทิตย์ ผิดใจกับอังคาร พุธอันธพาล วิวาทกับราหู ศุกร์กับเสาร์ นานเนาว์เป็นศัตรู จันทร์กับครู เป็นคู่อริกัน
ซึ่งข้างต้นนี้รู้สึกจะแตกต่างกับโหราศาสตร์ภารตะค่อนข้างมาก ในทางภารตะนั้นท่านจำแนกคู่มิตรศัตรูแบบเฉพาะชาตาเลย ของใครของมัน บางคนดาวเสาร์กับอังคารอาจจะไม่ใช่เป็นศัตรูกันก็ได้ แต่ในดวงบางคนเสาร์อังคารก็กลายเป็นศัตรูตัวฉกาจในดวงชาตา ในภารตะนี้ต้องคำนวณดวงชาตากันก่อนจึงจะรู้ได้ว่าเป็นมิตร-ศัตรูกันอย่างไร
นอกจากนี้ก็ยังมีดาวเคราะห์ที่เป็นกลางต่อกัน ก็จะต้องทายผลไปกันอีกแบบ ส่วนคู่มิตร-ศัตรูกันก็ยังมีศัตรูใหญ่ มีมิตรใหญ่ มีศัตรูน้อย มีมิตรน้อยเข้ามาอีก อันนี้ผู้ศึกษาจะต้องทำความเข้าใจและพิจารณาดูให้ดี
1.นิสรคิกะมิตร- ดาวคู่มิตรศัตรูแบบถาวรตามธรรมชาติ ตามหลักโหราศาสตร์ภารตะ
ดาวเคราะห์ |
มิตร |
ศัตรู |
เป็นกลาง (สามะ) |
อาทิตย์ |
อังคาร จันทร์ พฤหัส |
ศุกร์ เสาร์ |
พุธ |
จันทร์ |
อาทิตย์ พุธ |
-- |
อังคาร พฤหัส ศุกร์ เสาร์ |
อังคาร |
อาทิตย์ จันทร์ พฤหัส |
พุธ |
ศุกร์ เสาร์ |
พุธ |
อาทิตย์ ศุกร์ |
จันทร์ |
อังคาร พฤหัส เสาร์ |
พฤหัส |
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร |
พุธ ศุกร์ |
เสาร์ |
ศุกร์ |
พุธ เสาร์ |
อาทิตย์ จันทร์ |
อังคาร พฤหัส |
เสาร์ |
พุธ ศุกร์ |
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร |
พฤหัส |
ราศีคู่มิตรศัตรู ตามหลักนิสรคิกะ ถาวรตามธรรมชาติ
ดาวเคราะห์ |
ราศีมิตร |
ราศีศัตรู |
ราศีเป็นกลาง (สามะ) |
อาทิตย์ |
เมษ,พิจิก,กรกฏ,มีน,ธนู |
พฤษภ,ตุลย์,มังกร,กุมภ์ |
มิถุน, กันย์ |
จันทร์ |
สิงห์,มิถุน,กันย์ |
ไม่มี |
พิจิก,เมษ,ธนู,มีน,ตุลย์,พฤษภ,มังกร |
อังคาร |
กรกฏ,สิงห์,ธนู,มีน |
มิถุน,กันย์ |
พฤษภ,ตุลย์,มังกร,กุมภ์ |
พุธ |
สิงห์,ตุลย์,พฤษภ |
กรกฏ |
เมษ,พิจิก,ธนู,มีน,มังกร,กุมภ์ |
พฤหัส |
สิงห์,กรกฏ,เมษ,พิจิก |
พฤษภ,ตุลย์,มิถุน,กันย์ |
มังกร,กุมภ์ |
ศุกร์ |
มิถุน,กันย์,มังกร,กุมภ์ |
สิงห์,กรกฏ |
เมษ,พิจิก,ธนู,มีน |
เสาร์ |
มิถุน,กันย์,พฤษภ,ตุลย์ |
สิงห์,กรกฏ,เมษ,พิจิก |
ธนู,มีน |
ราหู |
มิถุน,กันย์,ตุลย์,ธนู,มังกร,มีน |
เมษ,กรกฏ,สิงห์,กุมภ์ |
|
เกตุ |
มิถุน,ตุลย์,พิจิก,ธนู,มังกร,มีน |
เมษ,กรกฏ,สิงห์ |
*คัมภีร์โหรารัตนมาลา กล่าวว่า ราหูเป็นเกษตรในราศีกันย์ เป็นอุจน์ในราศีพฤษภ เป็นนิจในราศีพิจิก เกตุ เป็นเกษตรในราศีกุมภ์ เป็นอุจราศีมีน เป็นนิจในราศีกันย์
**คัมภีร์อุตรกาลมฤต กล่าวว่า ราหูเป็นเกษตรในราศีกุมภ์ เป็นอุจน์ในราศีพฤษภ เป็นนิจในราศีพิจิก เป็นมูลตรีโกณในราศีมิถุน,เรือนศัตรูคือราศีสิงห์,ราศีมิตรคือ ตุลย์ ,ราศีเป็นกลางคือ เมษ เกตุ เป็นเกษตรในราศีพิจิก เป็นอุจราศีพิจิก เป็นนิจในราศีพฤษภ เป็นมูลตรีโกณในราศีกันย์,เรือนศัตรูคือราศีกรกฏ,ราศีมิตรคือมังกร ,ราศีเป็นกลางคือ ธนูและมีน
อธิบาย เช่น อังคารอยู่ราศีพฤษภ อยู่ราศีเป็นกลางเพราะอังคารเป็นกลางกับศุกร์ ,ดาวพฤหัสอยู่ราศีสิงห์ เป็นราศีมิตร เพราะพฤหัสเป็นมิตรกับอาทิตย์,ดาวศุกร์อยู่กรกฏเป็นราศีศัตรู เพราะศุกร์เป็นศัตรูต่อจันทร์
2.ตาตะตาลิกะ- ดาวคู่มิตรศัตรูแบบชั่วคราว (คำนวนจากดาวเคราะห์เฉพาะชาตา)
คู่มิตรชั่วคราว คำนวณจากดวงชาตา โดยดาวเคราะห์ในเรือนใดที่เป็น 2,3,4,10,11 และ 12 จากดาวเคราะห์ใด
ก็จะเป็นมิตรชั่วคราวจากดาวเคราะห์นั้น
คู่ศัตรูชั่วคราวคำนวณจากดวงชาตา โดยดาวเคราะห์ในเรือนใดที่เป็น 1 (ร่วมกัน),7(เล็งกัน),5,9 (ตรีโกณกัน)
และ 6,8 (อริ มรณะต่อกัน) จากดาวเคราะห์ใด ก็จะเป็นศัตรูชั่วคราวจากดาวเคราะห์นั้น
3.ปัญจธะ ตารางสรุปผลดาวคู่มิตร-ศัตรูเฉพาะชาตาจากข้อ 1+2
คู่มิตร-ศัตรูถาวรจากธรรมชาติ |
คู่มิตรศัตรูชั่วคราว (จากชาตา) |
ผลในดวงชาตา |
ก. มิตร |
มิตร |
เป็นมิตรใหญ่ (อธิมิตร) |
ข. มิตร |
ศัตรู |
เป็นกลาง (สมะ) |
ค. เป็นกลาง |
มิตร |
เป็นมิตรน้อย (มิตร) |
ง. เป็นกลาง |
ศัตรู |
เป็นศัตรูน้อย (ศัตรู) |
จ. ศัตรู |
มิตร |
เป็นกลาง (สมะ) |
ฉ. ศัตรู |
ศัตรู |
เป็นศัตรูใหญ่ (อธิศัตรู) |
สรุป การหาดาวเคราะห์คู่มิตรศัตรู จากระบบโหราศาสตร์ภารตะ มีความละเอียดและซับซ้อนตามเหตุผลข้างต้น ดังนั้นเราจำเป็นต้องรู้ในกฏเกณฑ์ข้อนี้ให้มากเพราะถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการวินิจฉัยดวงชาตา หากเราไม่รู้ว่าดาวเคราะห์ใดเป็นมิตรหรือศัตรูกับดาวเคราะห์ใด ก็ไม่มีทางที่จะทำนายดวงชาตาได้ถูกต้องได้เลย
ดวงตัวอย่างในการพิจาณาหาดาวคู่มิตร-ศัตรูเฉพาะดวงชาตา
ตามกฏเกณฑ์ข้อ 2 ตาตะตาลิกะมิตร-ศัตรู ชั่วคราว
คู่มิตรชั่วคราว คำนวณจากดวงชาตา โดยดาวเคราะห์ในเรือนใดที่เป็น 2,3,4,10,11 และ 12 จากดาวเคราะห์ใด ก็จะเป็นมิตรชั่วคราวจากดาวเคราะห์นั้น คู่ศัตรูชั่วคราวคำนวณจากดวงชาตา โดยดาวเคราะห์ในเรือนใดที่เป็น 1 (ร่วมกัน),7(เล็งกัน),5,9 (ตรีโกณกัน)และ 6,8 (อริ มรณะต่อกัน) จากดาวเคราะห์ใด ก็จะเป็นศัตรูชั่วคราวจากดาวเคราะห์นั้น จากดวงชาตานี้ได้ผล ตาตะกาลิกะ ดังนี้
ดาวเคราะห์ในดวงชาตา |
มิตรชั่วคราว (เรือน 2,3,4,10,11,12) |
ศัตรูชั่วคราว (เรือน 1,7,5,9,6,8) |
อาทิตย์ |
อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ ราหู เกตุ(อินเดีย) |
พุธ เกตุ(อินเดีย) พฤหัส |
จันทร์ |
เกตุ(อินเดีย)อังคาร ศุกร์ อาทิตย์ พุธ พฤหัส เสาร์ |
ราหู |
อังคาร |
จันทร์ ศุกร์ เสาร์ พุธ อาทิตย์ |
ศุกร์ พฤหัส ราหู |
พุธ |
อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ เกตุ(อินเดีย) |
อาทิตย์ เกตุ(อินเดีย) พฤหัส |
พฤหัส |
เกตุ(อินเดีย) จันทร์ |
เสาร์ อังคาร ศุกร์ ราหู อาทิตย์ พุธ |
ศุกร์ |
จันทร์ อาทิตย์ พุธ เกตุ(อินเดีย) เสาร์ |
อังคาร พฤหัส ราหู |
เสาร์ |
อาทิตย์ พุธ อังคาร ศุกร์ ราหู จันทร์ |
พฤหัส เกตุ(อินเดีย) |
**หมายเหตุ เกตุ(อินเดีย) หรือ South Node จะอยู่ตรงข้ามกับราหูตลอดเวลา จึงมักไม่ค่อยเขียนลงในแผ่นดวงชาตา แต่ความจริงดาวเกตุ(อินเดีย)ต้องนำมาคำนวณด้วย ซึ่งไม่ใช่เกตุ(๙)แบบไทย
เมื่อได้ดาวเคราะห์คู่มิตร-ศัตรู แบบชั่วคราวเฉพาะชาตา(จากข้อ2)นี้แล้ว เราก็นำมาเฉลี่ยกำลังกับ ดาวเคราะห์คู่มิตร-ศัตรูแบบถาวร(จากข้อ1)อีกทีหนึ่ง แล้วหาผลรวม(จากข้อ3)ก็คือ ดาวเคราะห์คู่มิตร-ศัตรูที่เป็นเฉพาะแต่ละชาตาอย่างแท้จริง ดังนี้
ก.วิธีหาดาวเคราะห์อธิมิตร มิตรใหญ่ในดวงชาตา (มิตรถาวร+มิตรชั่วคราว)
ดาวเคราะห์ |
นิสรคิกะ-มิตรถาวร |
ตาตะกาลิกะ-มิตรชั่วคราว |
ผลเป็นมิตรใหญ่- อธิมิตร |
อาทิตย์ |
อังคาร,จันทร์,พฤหัส |
อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ ราหู เกตุ |
อังคาร จันทร์ |
จันทร์ |
อาทิตย์ ,พุธ |
เกตุ,อังคาร ศุกร์ อาทิตย์ พุธ พฤหัส เสาร์ |
อาทิตย์ พุธ |
อังคาร |
อาทิตย์, จันทร์, พฤหัส |
จันทร์ ศุกร์ เสาร์ พุธ อาทิตย์ |
อาทิตย์ จันทร์ |
พุธ |
อาทิตย์ ,ศุกร์ |
อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ เกตุ |
ศุกร์ |
พฤหัส |
อาทิตย์, จันทร์,อังคาร |
เกตุ,จันทร์ |
จันทร์ |
ศุกร์ |
พุธ, เสาร์ |
จันทร์ อาทิตย์ พุธ เกตุ เสาร์ |
พุธ เสาร์ |
เสาร์ |
พุธ, ศุกร์ |
อาทิตย์ พุธ อังคาร ศุกร์ ราหู จันทร์ |
พุธ ศุกร์ |
ข.วิธีหาดาวเคราะห์สามะ เป็นกลางในดวงชาตา (มิตรถาวร+ศัตรูชั่วคราว)
ดาวเคราะห์ |
นิสรคิกะ-มิตรถาวร |
ตาตะกาลิกะ-ศัตรูชั่วคราว |
ผลเป็นสามะ- กลาง |
อาทิตย์ |
อังคาร,จันทร์,พฤหัส |
พุธ เกตุ(อินเดีย) พฤหัส |
พฤหัส |
จันทร์ |
อาทิตย์ ,พุธ |
ราหู |
- |
อังคาร |
อาทิตย์, จันทร์, พฤหัส |
ศุกร์ พฤหัส ราหู |
พฤหัส |
พุธ |
อาทิตย์ ,ศุกร์ |
อาทิตย์ เกตุ(อินเดีย) พฤหัส |
อาทิตย์ |
พฤหัส |
อาทิตย์, จันทร์,อังคาร |
เสาร์ อังคาร ศุกร์ ราหู อาทิตย์ พุธ |
อาทิตย์ อังคาร |
ศุกร์ |
พุธ, เสาร์ |
อังคาร พฤหัส ราหู |
- |
เสาร์ |
พุธ, ศุกร์ |
พฤหัส เกตุ(อินเดีย) |
- |
ค.วิธีหาดาวเคราะห์มิตร มิตรน้อยในดวงชาตา (กลางถาวร+มิตรชั่วคราว)
ดาวเคราะห์ |
นิสรคิกะ-เป็นกลางถาวร |
ตาตะกาลิกะ-มิตรชั่วคราว |
ผลเป็นมิตร- มิตรน้อย |
อาทิตย์ |
พุธ |
อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ ราหู เกตุ |
- |
จันทร์ |
อังคาร พฤหัส ศุกร์ เสาร์ |
เกตุ อังคาร ศุกร์ อาทิตย์ พุธ พฤหัส เสาร์ |
อังคาร พฤหัส ศุกร์ เสาร์ |
อังคาร |
ศุกร์ เสาร์ |
จันทร์ ศุกร์ เสาร์ พุธ อาทิตย์ |
ศุกร์ เสาร์ |
พุธ |
อังคาร พฤหัส เสาร์ |
อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ เกตุ |
อังคาร เสาร์ |
พฤหัส |
เสาร์ |
เกตุ จันทร์ |
- |
ศุกร์ |
อังคาร พฤหัส |
จันทร์ อาทิตย์ พุธ เกตุ เสาร์ |
- |
เสาร์ |
พฤหัส |
อาทิตย์ พุธ อังคาร ศุกร์ ราหู จันทร์ |
- |
ง.วิธีหาดาวเคราะห์ศัตรู ศัตรูน้อยในดวงชาตา (กลางถาวร+ศัตรูชั่วคราว)
ดาวเคราะห์ |
นิสรคิกะ-เป็นกลางถาวร |
ตาตะกาลิกะ-ศัตรูชั่วคราว |
ผลเป็นศัตรู -ศัตรูน้อย |
อาทิตย์ |
พุธ |
พุธ เกตุ พฤหัส |
พุธ |
จันทร์ |
อังคาร พฤหัส ศุกร์ เสาร์ |
ราหู |
- |
อังคาร |
ศุกร์ เสาร์ |
ศุกร์ พฤหัส ราหู |
ศุกร์ |
พุธ |
อังคาร พฤหัส เสาร์ |
อาทิตย์ เกตุ พฤหัส |
พฤหัส |
พฤหัส |
เสาร์ |
เสาร์ อังคาร ศุกร์ ราหู อาทิตย์ พุธ |
เสาร์ |
ศุกร์ |
อังคาร พฤหัส |
อังคาร พฤหัส ราหู |
พฤหัส |
เสาร์ |
พฤหัส |
พฤหัส เกตุ |
พฤหัส |
จ.วิธีหาดาวเคราะห์สามะ เป็นกลางในดวงชาตา (ศัตรูถาวร+มิตรชั่วคราว)
ดาวเคราะห์ |
นิสรคิกะ-ศัตรูถาวร |
ตาตะกาลิกะ-มิตรชั่วคราว |
ผลเป็นสามะ- กลาง |
อาทิตย์ |
ศุกร์ เสาร์ |
อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ ราหู เกตุ |
ศุกร์ เสาร์ |
จันทร์ |
-- |
เกตุ อังคาร ศุกร์ อาทิตย์ พุธ พฤหัส เสาร์ |
- |
อังคาร |
พุธ |
จันทร์ ศุกร์ เสาร์ พุธ อาทิตย์ |
พุธ |
พุธ |
จันทร์ |
อังคาร ศุกร์ เสาร์ จันทร์ เกตุ |
จันทร์ |
พฤหัส |
พุธ ศุกร์ |
เกตุ จันทร์ |
- |
ศุกร์ |
อาทิตย์ จันทร์ |
จันทร์ อาทิตย์ พุธ เกตุ เสาร์ |
อาทิตย์ จันทร์ |
เสาร์ |
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร |
อาทิตย์ พุธ อังคาร ศุกร์ ราหู จันทร์ |
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร |
ฉ.วิธีหาดาวเคราะห์อธิศัตรู ศัตรูใหญ่ในดวงชาตา (ศัตรูถาวร+ศัตรูชั่วคราว)
ดาวเคราะห์ |
นิสรคิกะ-ศัตรูถาวร |
ตาตะกาลิกะ-ศัตรูชั่วคราว |
ผลเป็นศัตรูใหญ่- อธิศัตรู |
อาทิตย์ |
ศุกร์ เสาร์ |
พุธ เกตุ พฤหัส |
- |
จันทร์ |
-- |
ราหู |
- |
อังคาร |
พุธ |
ศุกร์ พฤหัส ราหู |
- |
พุธ |
จันทร์ |
อาทิตย์ เกตุ พฤหัส |
- |
พฤหัส |
พุธ ศุกร์ |
เสาร์ อังคาร ศุกร์ ราหู อาทิตย์ พุธ |
พุธ ศุกร์ |
ศุกร์ |
อาทิตย์ จันทร์ |
อังคาร พฤหัส ราหู |
- |
เสาร์ |
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร |
พฤหัส เกตุ |
- |
สรุปผลรวมความสัมพันธ์ของดาวเคราะห์ในดวงชาตานี้
ดาวเคราะห์ |
มิตรใหญ่ |
มิตรน้อย |
กลาง |
ศัตรูน้อย |
ศัตรูใหญ่ |
อาทิตย์ |
๒ ๓ |
- |
๕ ๗ ๖ |
๔ |
- |
จันทร์ |
๑ ๔ |
๓ ๕ ๗ ๖ |
- |
- |
- |
อังคาร |
๒ ๑ |
๖ ๗ |
๔ ๕ |
- |
- |
พุธ |
๖ |
๗ ๓ |
๑ ๒ |
๕ |
- |
พฤหัส |
๒ |
- |
๑ ๓ |
๗ |
๔ ๖ |
ศุกร์ |
๔ ๗ |
- |
- |
๓ ๕ ๑๒ |
- |
เสาร์ |
๔ ๖ |
- |
๓ ๑ ๒ |
๕ |
- |
**ส่วนราหูและเกตุ เราจะใช้ระบบ คู่-มิตรศัตรูแบบชั่วคราวมาใช้แทน เนื่องจากไม่มีคู่มิตรศัตรูแบบถาวร ตามธรรมชาติ
สรุปจากดวงชาตานี้จะเห็นได้ว่า การเป็นคู่มิตรคู่ศัครูแบบภารตะกับโหราศาสตร์ไทยนั้นแตกต่างกันมากมาย ดังจะเห็นว่าดาวเสาร์ กับอังคาร ในดวงชาตานี้ อังคารก็จะเป็นมิตร(น้อย) ต่อเสาร์ และดาวเสาร์ก็จะเป็นกลางต่ออังคาร ดังนั้นเมื่อดาวสองดวงโคจรมาต้องกัน มาเสวยอายุ (ตามระบบวิมโษตรีทักษาและทักษาระบบอื่นๆในโหราศาสตร์ภารตะ) การสถิตย์อยู่ในดวงเดิมดวงจร ก็จะไม่มีปัญหาต่อกันเท่าใดนัก ไม่เหมือนกับความเชื่อแบบดั้งเดิม ที่เสาร์และอังคารเป็นศัตรูตัวฉกาจต่อกัน แต่ในกรณีนี้กลับมิใช่ และดาวอื่นๆอีกเช่นกัน บางครั้งดาวดวงหนึ่งเป็นศัตรูต่อดาวดวงหนึ่ง แต่ในทางกลับกันดาวดวงนั้นก็อาจจะเป็นมิตรกับดาวที่เป็นศัตรูต่อตนก็เป็นได้ การพิจารณาผลของการเป็นมิตร-ศัตรูนั้นเราจะพิจารณาได้จาก “อวัสถา”ของดาวเคราะห์
อวัสถาของดาวเคราะห์
อวัสถาหรือตำแหน่งของดาวเคราะห์นี้มีหลายระบบและหลายวิธีคำนวน แต่วิธีที่ใช้พิจารณาทั่วไปในการวินิจฉัยผลของดาวเคราะห์ที่เสวยอายุในทศาระบบที่เกี่ยวข้องกับดาวคู่มิตร-ศัตรูและสถานะจากที่สถิตย์ของดาวเคราะห์ มี 9 อวัสถาดังนี้คือ
1.ทีปถา-แสงโชติช่วง ถ้าดาวเคราะห์เป็นอุจน์
2.สติมิตตา-สะดวกสบาย รู้สึกยินดีพอใจ-ถ้าอยู่ในเรือนตนเอง(เกษตร)
3.มุทิตา-มีความสุข,สุขสบาย-ถ้าอยู่ในเรือนมิตรใหญ่
4.สงบเงียบ-ถ้าอยู่ในเรือนมิตร
5.หีนนะ-ขาดแคลน ,บกพร่อง-ถ้าอยู่ในเรือนเป็นกลาง
6.ทุกขตา-ผิดหวัง,หดหู่ใจ-ถ้าอยู่ในเรือนศัตรู
7.วิกาละ-ล้มเหลว-ถ้าอยู่ร่วมกับปาปเคราะห์
8.กาหาละ-ต่ำต้อย-ถ้าแพ้เคราะห์ยุทธ
9.โกปะ-เป็นโทษเพราะเป็นคราสเพราะรัศมีอาทิตย์ (อัสตะ)