Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

จากการ คำนวณทางวิชาโหราศาสตร์ ตามคัมภีร์สารัมภ์แบบโบราณ พบว่าในวันที่ 10 พฤษภาคม 2556 จะเกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคาขึ้น ณ ราศีเมษ 25.29 องศาเกาะอัฏฐมนวางศ์ ๓ (อังคาร) ตติยตรียางค์ ๕ (พฤหัส) เสวยภรณีนักษัตรที่ ๒ มหัทธโนฤกษ์ ณ เวลา 09.20 น.ตามเวลาประเทศไทย แต่คราสในครั้งนี้จะเกิดขึ้นแถบมหาสมุทรแปซิฟิค และทวีปออสเตรเลีย ดังนั้นประเทศไทยจึงไม่เห็นคราสในวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามในทางโหราศาสตร์การเกิดคราสแต่ละครั้งย่อมส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายๆอย่างบนโลก ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติ อุบัตุเหตุร้ายแรง การตายหมู่ หรือ การก่อปฎิวัติ การจลาจล แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลของคราสทั้งนั้น

 

ซึ่งจะเริ่มส่งผลตั้งแต่ก่อนเกิดคราสและหลังเกิดคราส 3- 7 วัน และยังมีอิทธิพลยาวนานต่อเนื่องไปอีก 6 เดือนนับจากการวันเกิดคราส ดังนั้นโหราจารย์ตั้งแต่โบราณมาท่านจึงกลัวนัก ไม่ยอมให้ฤกษ์ยามทำการมงคลใดๆในระหว่างวันที่เกิดคราส ก่อนและหลัง 7 วันเป็นอันขาด เพราะถือว่าจะให้โทษใหญ่หลวงตามมาในภายหลัง หรือแม้แต่นักษัตรที่เกิดคราส(นักษัตรคราส) ท่านก็ถือว่านักษัตรนี้มีมลทิน จะวางฤกษ์อันใดก็ไม่ยอมให้จันทร์เสวยฤกษ์ที่เกิดคราสนี้ไปอีก 6เดือน พอครบ 6เดือนแล้วจึงจะถือว่าพ้นโทษภัย โหรฮินดูท่านเรียกว่า “ครหะโนตะปาตะโทษ”

ส่วนในเรื่องดวงชาตาบุคคลก็ต้องถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนอย่างใหญ่หลวง หากดวงชาตา ลัคนา หรือ ดาวเคราะห์ใดใดในดวงชาตาไปโดนคราสเข้าให้ โดยมีองศาระหว่าง 1-3 องศา ก็ถือว่าเป็นช่วงมีเคราะห์ ฆาฏขัย จะมีเหตุเภทภัยต่าง หรือแม้กระทั่งการสิ้นอายุขัย โบราณท่านว่า ในช่วงนี้หากใครเจ็บหนัก ป่วยหนัก ใกล้วันคราสก็ไม่แคล้วที่จะต้องเตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้ เพราะคราสแสดงถึงการหมดอายุขัยของผู้ป่วย

อย่างไรก็ดี คราส ก็มีจุดดีสำหรับดวงชาตาของคนบางคนอีกเหมือนกัน เรียกว่า โชคราหู เพราะคราสก็คือดาวราหู ซึ่งจะให้คุณก็คุณอนันต์จะให้โทษก็โทษมหันต์ บางคนมีโชคถูกหวยรวยเบอร์นับสิบนับร้อยล้าน หรือ ได้ยศตำแหน่ง หรือ ได้ชื่อเสียงแบบก้องโลก ก็เป็นมาจาก”โชคราหู”นั่นเอง ส่วนจะดีหรือร้ายก็ต้องดูจากพื้นดวงเดิมอันแรกก่อนว่า ในดวงชาตาเดิมมีดาวราหูหรือดาวที่เป็นมิตรกับราหูก็คือ ดาว เสาร์ และดาวเกตุ อยู่ในตำแหน่งให้คุณหรือให้โทษแก่ดวงชาตา  หากอยู่ในตำแหน่งให้คุณ การเกิดคราสในแต่ละครั้งย่อมไม่เป็นโทษและหากคราสไปอยู่ในตำแหน่งให้คุณแก่ดวงชาตา นั่นก็ย่อมนำโชคใหญ่มาให้ อย่างที่ในชีวิตนี้ไม่เคยคิดเคยฝันถึง

 

สุริยุปราคาวงแหวน 10 พฤษภาคม 2556(ตามหลักดาราศาสตร์)

สุริยุปราคา ครั้งแรกของปีนี้เกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2556 ตามเวลาประเทศไทย นับเป็นเวลา 3 วัน ก่อนดวงจันทร์จะผ่านตำแหน่งไกลโลกที่สุด ดวงจันทร์จึงอยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ ปรากฏเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เส้นทางคราสวงแหวนเริ่มต้นที่ออสเตรเลีย ผ่านปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะกิลเบิร์ต ไปสิ้นสุดในตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้

สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวแตะผิวโลกในเวลา 04:25 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเวลา 05:31 น. เงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลกในตอนกลางค่อนไปทางเหนือของรัฐเวสเทิร์นอ อสเตรเลีย บริเวณอุทยานแห่งชาติคอลลิเออร์เรนจ์ (Collier Range) เงากว้าง 222 กิโลเมตร เกิดสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน 4 นาที 11 วินาที เมืองนิวแมนซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ประชากรราว 4 พันกว่าคน อยู่ใกล้ขอบเขตด้านทิศเหนือของแนวคราส ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนานประมาณ 1 นาที 50 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงยเพียง 1°

เงาคราสวงแหวนเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างรวดเร็ว เส้นกลางคราสลากผ่านทะเลสาบดิสแซปพอยต์เมนต์ (Lake Disappointment) ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ปกติจะแห้งขอด จากนั้นผ่านตอนกลางของรัฐนอร์เทิร์นเทริทอรี เมืองเทนแนนต์ครีก (Tennant Creek) ประชากรราว 3 พันคน อยู่ใกล้ขอบเขตด้านทิศใต้ของแนวคราส เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 3 นาที 6 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 16°

เงาคราสผ่านพื้นที่บางส่วนทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ลงสู่อ่าวคาร์เพนแทเรีย เส้นกลางคราสผ่านเกาะมอร์นิงตันในอ่าวแห่งนี้ จากนั้นลากผ่านคาบสมุทรเคปยอร์ก ทางเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ก่อนลงสู่ทะเลคอรัล

เวลาประมาณ 06:00 น. เงาคราสวงแหวนแตะแผ่นดินทางด้านตะวันออกของปาปัวนิวกินี บริเวณนี้มีเกาะที่อยู่ในแนวคราสวงแหวนหลายเกาะ เส้นกลางคราสผ่านเกาะบาซิลากี (Basilaki Island) ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 4 นาที 59 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 39° จากนั้นผ่านทะเลโซโลมอนและมุ่งหน้าสู่หมู่เกาะโซโลมอน

เกาะชัวเซิล (Choiseul) ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ในหมู่เกาะโซโลมอน อยู่ในแนวคราส บนเส้นกลางคราสเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 5 นาที 16 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 49° หลังจากนั้น เงาคราสผ่านเส้นศูนย์สูตรในเวลาประมาณ 7 นาฬิกาเศษ เป็นเวลาไม่นานก่อนจะถึงหมู่เกาะกิลเบิร์ต อันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศคิริบาส เกาะตาระวา (Tarawa) ซึ่งเป็นอะทอลล์ อยู่ใกล้เส้นกลางคราส ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 6 นาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 74°

กึ่งกลางคราส (Greatest eclipse) ซึ่งเป็นเวลาที่ศูนย์กลางของเงาดวงจันทร์ผ่านใกล้ศูนย์กลางโลกมากที่สุด เกิดขึ้นเวลา 07:25:12 น. ตรงจุดที่อยู่ห่างหมู่เกาะกิลเบิร์ตไปทางทิศตะวันออกไม่ไกลนัก ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 6 นาที 3 วินาที เงากว้าง 173 กิโลเมตร ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 74°

เงาคราสวงแหวนเคลื่อนต่อไป ผ่านเกาะทาบูเอรันหรือเกาะแฟนนิง (Tabuaeran หรือ Fanning Island) เป็นอะทอลล์ส่วนหนึ่งของคิริบาส ชายฝั่งทางทิศใต้ของเกาะเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 4 นาที 49 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 40° จากนั้นเงาคราสวงแหวนเคลื่อนต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยไม่ผ่านเกาะอื่น ๆ อีก เงาคราสวงแหวนหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 09:20 น. หลังจากนั้น สุริยุปราคาจะสิ้นสุดเมื่อเงามัวของดวงจันทร์ออกจากผิวโลกในเวลา 10:25 น.

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมพื้นที่บางส่วนทางด้านตะวันออก ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย บางส่วนทางตอนเหนือของนิวซีแลนด์ ฮาวาย และส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก สุริยุปราคาดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ขึ้นเมื่อสังเกตจากเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้และตะวันตกของออสเตรเลีย ดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ตกเมื่อสังเกตจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 31 ใน 70 ครั้งของซารอสที่ 138 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1472 - 2716 ซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 7 ครั้ง วงแหวน 50 ครั้ง ผสม 1 ครั้ง เต็มดวง 3 ครั้ง และบางส่วน 9 ครั้ง ตามลำดับ สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ 8 นาที 2 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1869 สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ 56 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2554

สุริยุปราคาครั้งถัดไปของชุดซารอสที่ 138 ในอีก 18 ปีข้างหน้า เกิดขึ้นในช่วงบ่ายของวันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2574 เป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่เส้นทางคราสวงแหวนผ่านจังหวัดบริเวณชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทย รวมถึงบางส่วนของมาเลเซีย โดยแนวกลางคราสผ่านเกาะลังกาวีและ อ.เบตง จ.ยะลา นับเป็นสุริยุปราคาวงแหวนครั้งแรกในรอบ 66 ปีที่เห็นได้ในประเทศไทย หลังจากครั้งที่แล้วซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508

ที่มา สมาคมดาราศาสตร์ไทย  http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2013eclipses.html#2