Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ดิถี.....

ในระบบการคำนวนปฎิทินอินเดีย ไทยและอารยธรรมชาติต่างๆในเอเชียที่ใช้ระบบดาราศาสตร์โบราณของคัมภีร์พระเวทมีหลักการคำนวนระยะของดวงจันทร์ในวันต่างๆที่เป็นข้างขึ้น-แรม โดยเรียกว่า”ดิถี”หรือ”ดิฤถี” โดยใช้เป็นหลักการคำนวนมุมองศาระหว่างพระอาทิตย์และพระจันทร์ ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า อีกทั้งได้นำมาใช้เป็นการนับวันเวลาในปฎิทินระบบจันทรคติ ซึ่งเป็นการนับและกำหนดวันในการกระทำพิธีกรรมต่างๆ เช่น การเซ่นไหว้บูชา เทศกาลต่างๆ การกำหนดวันทางศาสนา และผลของดิถีในวันนั้นๆในทางโหราศาสตร์และการพยากรณ์

ดิถีเกิดจากการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ขณะที่โคจรทั้งรอบโลกและรอบดวงอาทิตย์ ก็จะมีส่วนสว่างที่เกิดจากแสงของดวงอาทิตย์ โดยที่ส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่หันเข้าหาโลกมีไม่เท่ากันเนื่องจากตำแหน่ง รอบโลกที่ต่างกัน จนเกิดการเว้าแหว่งไปบ้าง และเกิดเป็นข้างขึ้นข้างแรม โดยที่มีคาบของการเกิดประมาณ 29.53 วัน (29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที) เรียกระยะนี้ว่า เดือนจันทรคติ (synodic month) ซึ่งยาวกว่าเดือนดาราคติ (sidereal month) ไปประมาณ 2 วัน

บางครั้ง อาจเกิดสุริยุปราคาได้เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่มาในตำแหน่งที่บังแสงจากดวงอาทิตย์ เมื่อเทียบกับผู้สังเกตบนโลก ซึ่งจะเกิดในวันเดือนดับ และอาจเกิดจันทรุปราคาได้เมื่อดวงจันทร์มาอยู่ในเงาของโลก ซึ่งเกิดในวันเดือนเพ็ญ ทั้งนี้ก็เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงดิถีของดวงจันทร์

ในซีกโลกเหนือ ถ้าเราหันหน้าลงทิศใต้ ดวงจันทร์จะแสดงส่วนสว่างด้านทิศตะวันตกก่อนในข้างขึ้น จากนั้นจะค่อย ๆ แสดงส่วนสว่างมากขึ้น และจากนั้นก็ลดส่วนสว่างจากด้านทิศตะวันตกไปจนหมด ส่วนในซีกโลกใต้ ถ้าหันหน้าขึ้นทิศเหนือ ทิศทางก็จะเป็นไปในทางกลับกัน นั่นคือ ดวงจันทร์จะแสดงด้านทิศตะวันออกก่อนในข้างขึ้น และเผยส่วนทิศตะวันตกออก

 

ดิถีในปฏิทินไทย

ปฏิทินที่เราใช้กันทุกวันนี้มักจะบอกข้างขึ้นข้างแรมไว้ นั่นคือสิ่งที่บอกดิถี โดยเฉพาะปฏิทินแบบไทยผสมจีนจะบอกไว้ทุกวัน เช่น ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันตรุษไทย-วันเปลี่ยนปีนักษัตรตามหลักโหราศาสตร์ไทย การบอกดิถีในปฏิทินหรือบอกทั่ว ๆ ไปนั้นพบได้สองแบบ ได้แก่

  • แบบธรรมดา โดยบอกข้างขึ้นหรือข้างแรม ตามด้วยจำนวนวันที่ผ่านจากจุดเปลี่ยนข้างขึ้นข้างแรม และเดือนจันทรคติ เช่น ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6, ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
  • แบบไทยเดิม โดยบอกวันในสัปดาห์ ตามด้วยดิถี และเดือน เช่น วันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เขียนได้ดังนี้ ๑ฯ หรือวันอาทิตย์ แรม 15 ค่ำ เดือน 6 เขียนได้ดังนี้ ๑๕

นั่นคือ การบอกดิถีตามแบบไทย จะบอกวันก่อน จากนั้นตามด้วยวันขึ้นหรือแรมกี่ค่ำ โดยวางเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หรือเครื่องหมายบวก (+) ไว้ด้านบนตัวเลข กรณีข้างแรม และวางไว้ด้านล่างกรณีข้างขึ้น ตามด้วยเดือน (อาจตามด้วยปีนักษัตร และจุลศักราชก็ได้)


ดิถีในปฎิทินโหราศาสตร์

ดิถีทางโหราศาสตร์ คือการนับวันทางจันทรคติอย่างหนึ่ง โดยทำการแบ่งเดือนข้างขึ้นข้างแรมเสียใหม่เป็น 30 ส่วนเท่าๆกันเรียกแต่ละส่วนนี้ว่าดิถี ในเดือนหนึ่งๆจึงมี 30 ดิถีตลอด (ไม่ใช่มี 29 ดิถีบ้างหรือ 30 ดิถีบ้าง) ดิถีทางโหราศาสตร์จะสามารถแบ่งได้ 2ชนิด อย่างแรกเป็นดิถีโดยมัธยมหรือดิถีเฉลี่ย เป็นการเฉลี่ยเดือนที่มีระยะเวลา 29.5 วันเศษซึ่งไม่เป็นเลขจำนวนเต็มให้กลายเป็นเลขจำนวนเต็มที่เท่าๆกันได้ 30 ดิถี ตามคัมภีร์สุริยยาตรกำหนดให้ดิถีเฉลี่ยมีระยะเวลาเท่ากับ 692/703 วัน ส่วนดิถีทางโหราศาสตร์อีกชนิดหนึ่งจัดเป็น "ดิถีโดยสมผุส" ซึ่งทำการแบ่งเดือนออกเป็น 30 ดิถี ตามตำแหน่งดวงจันทร์ที่ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตามจริง โดยทุกๆที่มุมตามจริงห่างกัน 12 องศาจึงนับเป็น 1 ดิถี และห่างกันครบ 360 องศาจึงได้ 30 ดิถี โดยสมผุส

การคำนวนดิถีได้มีกำหนดระยะเชิงมุมองศาระหว่างพระอาทิตย์และพระจันทร์ในระยะทุกๆ 12องศา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของดิถีในวารต่างๆมีระยะ 19 -26 ชม.โดยประมาณ  ซึ่งในรอบดิถีหนึ่งจะมี 30ดิถีซึ่งก็คือจำนวน 1เดือนของปฎิทินทางจันทรคติ ซึ่งมีชื่อเรียกดังนี้

วันขึ้น/แรม

กฤษณาปักษ์(ข้างแรม)

ศุกรปักษ์(ข้างขึ้น)

เทวะประจำวาร

1

ปัฐธิภัท

ปัฐธิภัท

ในดิถีสำหรับวันใหม่ของเดือนทางจันทรคติเป็นวันแห่งพระพรหมผู้เป็นใหญ่ และเป็นวันมงคลสำหรับกิจการในด้านการเฉลิมฉลองในทางศาสนา

2

ทวิติยา

ทวิติยา

พระวิทธาตร เป็นเจ้าดิถีเป็นวันที่เหมาะแก่กิจการที่เป็นงานด้านสาธารณะประโยชน์ การสงเคราะห์และสิ่งอื่นที่หวังความมั่นคงในระยะเวลาอันยาวนาน

3

ตริติยา

ตริติยา

พระวิษณุเป็นเจ้าดิถี วันนี้เหมาะสำหรับการปลงผมผม ตัดผม หนวดเครา และเล็บ และยังเหมาะแก่การรักษาทรัพย์ เก็บเงิน

4

จตุรถี

จตุรถี

พระยมเป็นเจ้าดิถี เหมาะสำหรับการทำลาย รื้อถอน และการจู่โจม โจมตี ทำลายศัตรู

5

ปัญจมี

ปัญจมี

พระจันทร์เป็นเจ้าดิถี และเป็นวันที่เป็นศุภผลสำหรับการปรุงยา การรักษาโรค ผสมยาพิษ และเคี่ยวน้ำอ้อย

6

ษัฑฐี

ษัฑฐี

การติเกยะ เป็นเจ้าดิถี เหมาะสำหรับการคบมิตรใหม่ การประชุม การรื่นเริงสังสรรค์

7

สัปตมิ

สัปตมิ

พระอินทร์เป็นเจ้าดิถี วันนี้เหมาะสำหรับการเดินทาง การซื้อยานพาหนะ และสังหาริมทรัพย์

8

อัฐมิ

อัฐมิ

พระวสุเป็นเจ้าดิถี เหมาะสำหรับการสร้างป้อมค่าย ป้อมปราการ และการต่อสู้

9

อัฐมิ

อัฐมิ

อสรพิษเป็นเจ้าดิถี เหมาะแก่การฆ่าศัตรู การใช้ความรุนแรง การสู้รบทุกรูปแบบ.

10

ทสมี

ทสมี

ธรรมะเป็นเจ้าดิถี เหมาะแก่การบำเพ็ญบุญ ในทางศาสนาการบำเพ็ญทางจิตวิญญาณ การสักการะ

11

เอกะทัศสี

เอกะทัศสี

รุทธะเป็นเจ้าดิถี เหมาะแก่การบำเพ็ยบุญทางศาสนาการสักการะเทพเจ้าสูงสุด และเป็นวันที่ชาวฮินดูและศาสนาเชนเชื่อว่าเป็นวันที่ศุภผลมงคลอย่างสูงหากได้สักการะในวันนี้

12

ทวาทัศสี

ทวาทัศสี

พระอาทิตย์เป็นเจ้าดิถี วันนี้เหมาะแก่การบูชาไฟ การสักการะเทพเจ้าประจำตัวต่างๆ

13

ไตรโยทัศสี

ไตรโยทัศสี

พระกฤษณะเทพเจ้าแห่งความรัก เป็นเจ้าดิถี เหมาะสำหรับการสร้างสัมพันธภาพที่ดี และการสังสรรค์รื่นเริง

14

จตุรทัศสี

จตุรทัศสี

พระแม่กาลีเป็นเจ้าดิถี เหมาะสำหรับการใช้ยาพิษ การเรียกธาตุประจำตัวและภูติผีวิญญาณ

15

อมาวาสยะ

(new moon)

บูรณมี
(full moon)

พระวัสวีเทวะเป็นเจ้าดิถี เหมาะสำหรับการทำพิธีขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์