หมวด: กฏเกณฑ์การให้ฤกษ์แบบไทย
จำนวนผู้อ่าน: 11984

กาลโยค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กาลโยค จุลศักราช 1375
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556
จนถึงวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557
กาลโยค ธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ
วัน 5 1 4 3
ยาม 1 3 8 7
ฤกษ์ 10 1 9 11
ราศี 1 7 0 11
ดิถี 13 19 12 5

กาลโยค พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "การกำหนด วัน ยาม ฤกษ์ ราศี ดิถี ของแต่ละปี เป็น ธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ" จากความหมายดังกล่าว ทำให้กาลโยคมีบทบาทสำคัญในการหาฤกษ์ยามทำการมงคล

ในปฏิทินไทย กาลโยคคือตารางที่บ่งบอกให้ทราบว่าช่วงเวลาใดดี ช่วงเวลาใดร้าย เพื่อประกอบการพิจารณาหาฤกษ์กระทำการมงคล เช่น เปิดห้างร้าน หว่านข้าวลงในนา สถาปนายศศักดิ์ ฯลฯ กาลโยคประกอบด้วยสี่ส่วน คือ ธงชัย (บางที่เขียน ธงไชย) อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ (บางที่เขียนโลกาวินาสน์) และสี่ส่วนเหล่านี้จะนำไปประกอบกับช่วงเวลา 5 ช่วง ได้แก่ วัน ยาม ฤกษ์ ราศี ดิถี เพื่อใช้พิจารณาต่อไป

ธงชัย และอธิบดี มีหมายความทางดี ซึ่งตรงกันข้ามกับอุบาทว์ และโลกาวินาศ

กาลโยคคืออะไร

เมื่อมองอย่างผิวเผิน กาลโยคเป็นเพียงตารางมีตัวเลขบรรจุอยู่ ดังรูปแบบข้างล่างนี้


ธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ
วัน



ยาม



ฤกษ์



ราศี



ดิถี



กาลโยคมีความสำคัญมากในโหราศาสตร์ไทย ซึ่งบางทีมักพิมพ์ในลักษณะตัดทอนจากตารางเดิม เพื่อให้ใช้ง่ายขึ้น ดังตัวอย่าง

วันจันทร์ ธงชัย วันพุธ อธิบดี วันอังคาร อุบาทว์ วันเสาร์ โลกาวินาศ

ขณะที่ตารางต้นฉบับเดิมที่นำมาเขียนเป็นสรุปข้างต้น เป็นดังนี้


ธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ
วัน 2 4 3 7

การคำนวณกาลโยค

การคำนวณกาลโยค ทำได้ง่ายมาก นั่นคือ มีเพียงจุลศักราช นำมาบวกลบคูณหารตามตำราได้เป็นเกณฑ์ แล้วนำไปหารจำนวนช่วงในช่วงเวลาที่ต้องการหา

ถ้าจะหาธงชัย ให้ตั้งจุลศักราชของปีที่จะหาลง เอา 10 คูณ ได้เท่าใดเอา 3 บวก ลัพธ์เป็นเกณฑ์ แล้วตั้งเกณฑ์ลง 5 ฐาน คือ วัน ยาม ฤกษ์ ราศี ดิถี

ถ้าจะหาอธิบดี ให้ตั้งจุลศักราชของปีที่จะหาลง เอา 498 หาร เศษเท่าใดตั้งลงเป็น 5 ฐาน

ถ้าจะหาอุบาทว์ ให้ตั้งจุลศักราชของปีที่จะหาลง เอา 10 คูณ ได้เท่าใดเอา 2 บวก ลัพธ์เป็นเกณฑ์ แล้วตั้งเกณฑ์ลงเป็น 5 ฐาน

ถ้าจะหาโลกาวินาศ ให้ตั้งจุลศักราชของปีที่จะหาลง เอา 1120 บวก ลัพธ์เท่าใดตั้งเป็น 5 ฐาน

ถ้าหารแล้วเศษเป็น 0 (หารได้ลงตัว) ก็ให้ยึดจำนวนที่เป็นตัวหารเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น ถ้าหารเกณฑ์ธงชัยของวันได้ลงตัว ก็ถือว่าวันธงชัยเป็น 7 ยกเว้น ราศี ให้คงเป็น 0 เพราะในทางโหราศาสตร์ไทย ราศีที่ 12 ตรงกับราศีที่ 0 พอดี คือราศีเมษ

ตัวอย่างการคำนวณ

พุทธศักราช 2550 คิดเป็นจุลศักราช 1369 (เอา พ.ศ. ลบ 1181 ได้ จ.ศ. หรือเอา ค.ศ ลบ 638 ได้ จ.ศ. เช่นกัน)

เมื่อนำมาเขียนเป็นตารางจะได้ดังนี้


ธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ
วัน 1 2 7 4
ยาม 5 5 4 1
ฤกษ์ 4 22 3 5
ราศี 1 1 0 5
ดิถี 13 13 12 29

การอ่านกาลโยค

กาลโยค สามารถอ่านได้โดยการดูตัวเลขที่เขียนไว้ในตาราง แล้วตีเป็นความหมาย เช่น วันธงชัยเป็น 1 หมายความว่า วันอาทิตย์เป็นวันธงชัย วันโลกาวินาศเป็น 4 ก็หมายความว่า วันพุธเป็นวันโลกาวินาศ เป็นต้น โดยตัวเลขที่เขียนไว้ในช่องวัน คือตัวเลขที่นับ 1 จากวันอาทิตย์ เพิ่มทีละหนึ่งไปจนถึง 7 คือวันเสาร์

ส่วนยามนั้น 1 ยาม มีค่าเท่ากับ 1 ชั่วโมง 30 นาที (ไม่ใช่ 3 ชั่วโมงอย่างที่เข้าใจกัน) เริ่มนับตั้งแต่รุ่งเช้า (6:00 น.) ไปจนถึงย่ำค่ำ (18:00 น.) แล้วนับหนึ่งใหม่ตอนย่ำค่ำไปจนถึงรุ่งเช้า จะได้ภาคละ 8 ยามพอดี ถ้าสมมุติว่า ยามธงชัยคือยามที่ 5 ก็ให้นับจาก 6:00 น. (หรือ 18:00 น.) ไปเรื่อย ๆ เมื่อครบ 1 ชั่วโมง 30 นาที ก็นับเป็นยามสอง... ในที่สุดเราก็จะได้ว่า ยามธงชัยอยู่ในเวลา 12:00 น. - 13:30 น. (หรือ 00:00 น. - 01:30 น.)

สำหรับราศี ทางโหราศาสตร์ไทยให้ถือว่า ราศี 0 คือราศีเมษ ให้นับแต่ราศีเมษทีละ 1 ไปจนถึง 11 คือราศีมีน สมมุติว่า ราศี 1 เป็นธงชัย ก็แปลความหมายได้ว่า ราศีพฤษภ เป็นราศีธงชัย

ส่วนดิถีนั้น ให้นับ ขึ้น 1 ค่ำ เป็นดิถีที่ 1 ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึง ขึ้น 15 ค่ำ นับเป็นดิถีที่ 15 จากนั้นนับแรม 1 ค่ำ ต่อ เป็นดิถีที่ 16 จนถึง แรม 15 ค่ำ ก็เป็นดิถีที่ 30 (ดูเพิ่มเติมที่ ดิถี) สมมุติว่า ดิถีที่ 13 เป็นดิถีธงชัย ก็แปลความหมายว่า วันขึ้น 13 ค่ำ เป็นวันธงชัยทางจันทรคติ หรือถ้าสมมุติว่า ดิถีที่ 29 เป็นดิถีโลกาวินาศ ก็แปลความหมายได้ว่า วันแรม 14 ค่ำ เป็นวันโลกาวินาศทางจันทรคติ

อย่างไรก็ดี ส่วนมากเรามักพิจารณาเพียงวันเท่านั้น เพราะถ้าพิจารณาจุดอื่นก็จะยิ่งยุ่งยากมากขึ้น