หมวด: หล่อแกคืออะไร 羅盤-風水探測工具
จำนวนผู้อ่าน: 2941

whatisluoPan600x315Cap11

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 3 สำหรับหล่อแกสำหรับดูฮวงจุ้ยจะมีชั้นที่เป็นระบบ 9 ดาว (กิวแช) อยู่ 2 ระบบ ระบบแรกเรียกว่า”หล่อซูจิ่วซิง-หลกจือกิ้วแช” 洛書九星หรือผังล่อซู  9 ดาวที่เราได้ศึกษาไปในตอนที่ 10 กับอีกระบบเรียกว่า กิวแชฮ้วงข่วย 九星翻卦 หรือ ”ตี้หมู่ฟานกว้าจิ่วซิง-ตี่บ้อฮ้วงข่วยกิวแช” 地母翻卦九星  หรือแม่ธรณีพลิกกว้า 9 ดาว หรือบางทีก็เรียกว่า”จว้อซานจิ่วซิง-จ่อซัวกิ้วแช”  坐山九星 หรือ 9 ดาวประทับภูผา

ซึ่งในชั้นนี้ปกติในการดูฮวงจุ้ยจะใช้ร่วมกับวิชาซิวซัวเซียวซา收山消砂 บางทีก็เรียกว่าซิวซัวชุกสั่วะ 收山出煞 ซึ่งส่วนมากใช้กับวิชาสำนักเฮี้ยงคง แต่บางสำนักก็นำมาใช้ในการหนับจุ้ยปั่งจุ้ย   納水放水

หล่อแกเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการดูฮวงจุ้ยของซินแส ซึ่งชั้นของหล่อแกชั้นใดที่มีคำว่า บุ๊ง文,ผั่ว 破,บู๊ 武,เก๋อ 巨  ฯลฯ เมื่อนำมาสัมพันธ์กับ 24 ภูผา อักษรเคี้ยง乾จะคู่กับกับอักษรหลก祿,คุง坤จะคู่กับกับหู輔,โง่ว午จะคู่กับกับบุ๊ง文,จื้อ子จะคู่กับกับผั่ว破ดังนี้เป็นต้น

เนื่องจากหล่อแกสำหรับการดูฮวงจุ้ยที่จัดสร้างขึ้นนั้นมีหลากหลายรูปแบบ และชั้นที่กล่าวมาข้างต้นก็อาจจะจัดเรียงลำดับแตกต่างกันในหล่อแกแต่ละสำนัก โดยส่วนมากมักจะจัดไว้ในชั้นที่ 3 หรือชั้นที่4 หรือ 5 หรือจัดวางไว้ในชั้นที่ 7 ก็มี ซึ่งชั้นนี้แหละที่เราเรียกว่า ชั้น地母翻卦ตี่บ้อฮ้วงข่วย หรือ กิวแชฮ้วงข่วย 九星翻卦 ซึ่งชั้นนี้มีเอาไว้ทำอะไรและมีวิธีการใช้อย่างไร ซึ่งจะได้อธิบายดังต่อไปนี้

 

 

NaJia2 Cap11

 

กิวแชฮ้วงข่วย 九星翻卦  นับเป็นวิชาฮวงจุ้ยที่มีมาแต่ยุคโบราณกาล โดยบนหล่อแกจะใช้ คุงข่วย 坤卦 เป็นจุดเริ่มต้น เมื่อใช้ต้องทำการพลิกกว้าหรือการนับนิ้วมือก่อนเพื่ออ่านความหมาย จึงเรียกอีกอย่างว่า 地母翻卦ตี่บ้อฮ้วงข่วย  ส่วนใหญ่ใช้ในการคำนวณตำแหน่งดาวเพื่อจัดวางฮวงจุ้ยทั้งในอาคารและนอกอาคาร เช่น ตำแหน่ง ประตูใหญ่ เตาไฟ ห้องนอน ห้องน้ำ ฯลฯ เพื่อกำหนดหาตำแหน่งพลังชี่มงคลและหลีกเลี่ยงตำแหน่งร้าย  หากเป็นตำแหน่งดีเป็นมงคลก็มักจะจัดวางเป็นตำแหน่งเตียงนอน เตาไฟ ประตูใหญ่ หากเป็นตำแหน่งร้ายหรือตำแหน่งเสียก็จะจัดวางเป็นตำแหน่งห้องน้ำ อย่างนี้เป็นต้น

ประวัติความเป็นมาของ กิวแชฮ้วงข่วย 九星翻卦   กล่าวว่าท่านปรมาจารย์ อึ้งเจ๊ยะกงเป็นผู้ค้นพบวิชานี้ ในสมัยราชวงศ์ฉิน โดยท่านได้อธิบายไว้ว่า天分星宿,布列山川,氣行於地,形麗於天,巒頭為體,天星為用,體用相配,互為表裏 ”ท้องฟ้าแบ่งเป็น 28 นักษัตร ปกคลุมภูผาและสายน้ำ พลังชี่คือแผ่นดิน รูปร่างอันงดงามอยู่บนฟ้า ภูผาเป็น”ถี่” ดวงดาวเป็น “ย่ง”  เมื่อนำมาผสานกันย่อมกลมกลืนกันทั้งภายนอกภายใน”    

**หมายเหตุ คำว่า “ถี่”  ไม่ได้แปลว่าร่างกายหรือรูปร่างและ คำว่า”ย่ง” ไม่ได้แปลว่าการนำมาใช้ แต่คำว่า- เป็นคำอภิปรัชญาโบราณ เป็นคำคู่ของสิ่งที่คู่กันแต่ตรงข้ามกัน ในที่นี้คำว่า “ถี่”  หมายถึง ปฐมเหตุหรือมูลเหตุดั้งเดิมที่เป็นต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง ซึ่งซ่อนอยู่ลึกๆภายใน แต่จะแสดงปรากฏการณ์นี้ออกมาภายนอกผ่านทาง ”ย่ง”   

 

9 ดาวประทับภูผา จ่อซัวกิวแช 坐山九星 หรือเรียกว่า 九曜 จิ่วเหยา (กิวโหยว)  มีอักษรย่อว่า ทัม貪、กื้อ巨、ลก祿、บุ้ง文、เนี้ยม廉、บู้武、ผั่ว破、หู輔、ติ๊ก弼  เรียกว่า ปักเต้าชิกแช 7 ดาว บวกกับดาว หู輔、ติ๊ก弼  อีกสองดาวรวมเป็น 9 ดาว ซึ่งดาวกลุ่มนี้อยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่   เป็นกลุ่มดาวที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับคัลลิสโตในเทพนิยายกรีก มีดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด 7 ดวง ทำให้เกิดดาวเรียงเด่นซึ่งคนไทยเรียกว่า ดาวจระเข้ คนลาว เรียกว่า ดาวหัวช้าง อังกฤษเรียกว่า คันไถ ในจีนและอเมริกาเหนือ เรียกว่า กระบวยใหญ่

 

เมื่อได้มีการนำรหัสตัวเลขของกิวแช 9 ดาวมาจับคู่กับจำนวนตัวเลขของผังล่อซู แล้วก็นำล่อซูกิวแช 9ดาวมาจับคู่กับโป๊ยข่วยทั้ง 8 อีกปัญหาก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะจำนวนไม่สัมพันธ์กัน ก็เลยจับ ดาวจว๋อฝู่(จ้อหู)左輔 กับ ดาวโย่วปี้(อิ๋วติก)右弼รวมกันเป็น หูติ๊กแช 輔弼星ให้เหลือเพียงดวงเดียวและให้นำมาจับคู่กับข่วยเพียงข่วยเดียว เพื่อจำนวนจะได้สัมพันธ์กัน   

ซึ่งดาวทั้ง 9 เราได้ศึกษามาแล้วในตอนที่ 10 ในเรื่อง ”จ่อซัวกิ้วแช”  坐山九星 หรือ 9 ดาวประทับภูผา มี 9 ดาวดังนี้(1)ดาวทันหลาง(ทัมลั้ง)貪狼(2)ดาวจวี้เหมิน(กื้อมึ้ง)巨門(3)ดาวลวี่ฉุน-(ลกซุ้ง)祿存(4)ดาวเหวินฉวี่(บุ้งเข็ก)文曲(5)ดาวเหลียนเจิน(เนี้ยมเจ็ง)廉貞(6)ดาวอู่ฉวี่(บู้เข็ก)武曲(7)ดาวพั่วจวิน(ผั่วกุง) 破軍 ส่วนดาว(8)ดาวจว๋อฝู่(จ้อหู)左輔 กับ ดาวโย่วปี้(อิ๋วติก)右弼 นับเป็นดาวปฏิกริยา หรือ อิ๊วแช  游星 เลยรวมเรียกว่า หูติ๊กแช 輔弼星 เป็นดาวประธานหรือเรียกว่า ดาวหกอุ่ยหรือผักอุ่ย: 伏位เมื่อจะนำมาใช้ก็ต้องใช้ร่วมกับข่วยทั้ง 8 (โป๊ยข่วย)เท่านั้น  

**หมายเหตุ ดาวประเภทดาวปฏิกริยา หรือ อิ๊วแช  游星ซึ่งมีดาว 8 ดวงดังนี้ (1)ดาวประธาน-หกอุ่ยหรือผักอุ่ย: 伏位、(2)ดาวหมอเทพ-เทียงอุย天醫、(3)ดาวรุ่งเรือง-แซขี่生氣、(4)ดาวอายุวัฒนะ-เอี่ยงนี้延年 ซึ่งเป็น 4 ดาวให้คุณ ส่วนดาวให้โทษก็จะมี 4 ดาวดังนี้ (5)ดาวเบญจภูติ-โหงวกุ้ย 五鬼、(6)ดาวสูญสิ้น-เจ๊าะเหมี่ย 絕命、(7)ดาวโทษภัย-หัวไห่ 禍害、(8)ดาวอสูร-ลักสัวะ六煞

ดังนั้นเมื่อดาวหูติ๊กแช 輔弼星 รวมเข้าด้วยกันเป็นข่วยเดียวกันแล้ว จึงเรียกว่าได้ตำแหน่งประธาน 伏位 ซึ่งเพราะในข่วยทั้ง 8 ข่วยใดสถิตอยู่มั่นคงไม่เคลื่อนไหวผันแปรจึงเรียกว่า”ตำแหน่งประธาน” ในการพลิกกว้าของวิชานี้ จึงต้องเริ่มต้นจากตำแหน่งประธานนี้เสมอ ซึ่งมีดาวทัมลั้ง貪狼星 กือมึ้ง巨門星บู๊เข็ก武曲星หูติ๊ก輔弼星 นับเป็นดาวศุภเคราะห์ ให้ผลดี แต่อย่างไรก็ตามดาวหูติ๊ก輔弼星 นี้ก็มีลักษณะกึ่งศุภเคราะห์กึ่งบาปเคราะห์คือครึ่งดีครึ่งร้าย หากพบกับสิ่งดีก็จะให้ผลดี หากพบสิ่งร้ายก็จะให้ผลร้ายตามกันไปด้วย  

สำหรับในการพลิกกว้าก็จะมีอยู่ 2 ระบบคือ มังกรภูผาพลิกกว้า 山龍翻卦 ซัวเล้งฮ้วงข่วย กับ มังกรสมุทรพลิกกว้า 水龍翻卦จุ้ยเล้งฮ้วงข่วย ซึ่งในตอนนี้เราจะกล่าวเฉพาะระบบมังกรภูผาพลิกกว้า 山龍翻卦 ซัวเล้งฮ้วงข่วย โดยมีลำดับการนับดังนี้ โดยเริ่มจากหูติ๊กแช 輔弼星,ทัมลั้งแช貪狼星,กื้อมึ้ง巨門星,ลกซุ้ง祿存星,บุ้งเข็กแช文曲星,เนี้ยมเจ็งแช廉貞星,บู้เข็กแช武曲星,ผั่วกุงแช破軍星 หากนับไปตามรหัสตัวเลขก็จะได้ 8、1、2、3、4、5、6、7 (ข้อควรระวังการนับลำดับแบบนี้ กับวิชาจุ้ยหวบ水法 จะมีลำดับการนับที่ไม่เหมือนกัน)

 

 

Najia3 Cap11

 

วิชาน่าเจี่ยฝ่า(หนับกะหวบ) 納甲法

วิชานี้แต่เดิมเป็นของสำนัก น่าเจี่ยไพ่-หนับกะไฝ่ 納甲派โดยพิจารณาจากข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์ในแต่ละรอบ วิชานี้จึงมีชื่อเรียกอีกว่า月體納甲 โดยใช้ปา-กว้าและกานจือมาเป็นตัวแทนข้างขึ้น-ข้างแรมของดาวจันทร์ โดยเริ่มจากธาตุไฟก่อนไปตามลำดับ และใช้ลี้離(☲)ขั้ม坎(☵)เป็นตัวแทนของดาวอาทิตย์และดาวจันทร์ ส่วนที่เหลืออีก 6 กว้า ก็จะเป็นตัวแทนของข้างขึ้นและข้างแรม

ในการศึกษาวิชานี้ ก่อนอื่นเราจำเป็นต้องรู้จัก ปา-กว้าเหยาเซี่ยง( โป๊ยข่วยง้าวเสี่ยง) 八卦爻象 คำว่า”เหยา-ง้าว爻”นั้นหมายถึงเส้นขีดในโป๊ยข่วย ถ้าเป็นขีดเต็ม จะเรียกว่า หยางเหยา (เอี่ยงง้าว陽爻) ถ้าเป็นขีดขาด จะเรียกว่า อินเหยา (อิมง้าว陰爻)

สำหรับสัญลักษณ์ ปา-กว้าหรือโป๊ยข่วยนั้น มาจากทฤษฎีของคัมภีร์อิ้ง ว่าด้วยหลัก ซานไฉ 三才 ซึ่งประกอบด้วย ฟ้า คน ดิน และใช้ทั้งเส้นง้าวซ้อนทับกัน 3 เส้นเท่ากับ 1 กว้า(ข่วย) เรียกเส้นบนว่า ง้าวบน 上爻เส้นกลางเรียก ง้าวกลาง 中爻เส้นล่างเรียกว่า ง้าวล่าง下爻 เมื่อเรียงสลับกันก็จะได้ครบทั้งแปดกว้า คือ เคี้ยง乾,ต๋วย兌,ลี้離,จิ้ง震,สุง巽,ขั้ม坎,กี่ง艮,คุง 坤 ซึ่งเป็นการจัดเรียงตามลำดับผังก่อนฟ้า 先天八卦

หมายเหตุ-มีเคล็ดท่องจำ卦象歌ดังนี้乾三連,坤六斷,震仰盂,艮覆碗,離中虛,坎中滿,兌上缺,巽下斷  “เคี้ยงซาเลี้ยง คุงหลักต๋วย จิ้งเงี่ยงอู กึ่งฮกอ้วง  ลี้ตงเฮอ ขั้มตงมั่ว ต๋วยเสี่ยงขิบ สุ่งแห่ต่วย” 

แปลความว่า เคี้ยง 3 ขีดเต็ม 乾三連(☰),คุง ขาดแบ่งเป็น 6 ส่วน 坤六斷(☷),จิ้งเป็นรูปอ่าง 震仰盂(☳)(หมายถึง2 ขีดบนขาด 1 ขีดล่างเต็ม) (☳),กึ่งเป็นอ่างคว่ำ 艮覆碗(☶) (หมายถึง2 ขีดบนขาด 2 ขีดล่างเต็ม),ลี้ขาดกลาง 離中虛(☲),ขั้มกลางเต็ม 坎中滿(☵),ต๋วยข้างบนพร่อง(☱)兌上缺,สุ่งขาดล่าง 巽下斷(☴)

การลำดับเส้นหยิน-หยางของเหยา(ง้าว爻)เมื่อผสมกันเป็นปา-กว้า(โป๊ยข่วย八卦)แล้ว การพลิกกว้าในหลักวิชานี้ก็คือการพลิก(เปลี่ยน)ลำดับของง้าวแต่ละตัว เมื่อเรียงลำดับง้าวก็จะได้ดังนี้  (1)上บน (2)中กลาง (3)下ล่าง (4) 中กลาง(5)上บน (6)中กลาง ( 7)下ล่าง

ส่วนการพลิกเหยา(ง้าว爻) ก็คือแค่เปลี่ยนจาก หยางเหยาพลิกเป็นอินเหยา (陽爻-陰爻) เปลี่ยนจากอินเหยาพลิกเป็นหยางเหยา (陰爻-陽爻) เท่านั้นเอง (หมายเหตุ ง้าวล่างสุดปกติจะเรียกว่า ชูเหยา-ชิวง้าว 初爻 )

 

NaJia1 Cap11

 

คนในสมัยโบราณเชื่อว่าวิชาน่าเจี่ยฝ่า 納甲法 สามารถทำให้เราเข้าใจถึงวัฏจักรการก่อเกิดของฟ้าดินและทุกสรรพสิ่งได้  บนหล่อแก การนำโป๊ยข่วย 乾เคี้ยง และกิ่งฟ้าก้านดิน(กานจือ干支),มาผสานกันกับ 24 ขุนเขา(24 ทิศทาง) เราเรียกว่า หนับกะ  納甲(คำว่า น่าหรือ หนับ 納 หมายถึงการรวมกันหรือเป็นคู่กัน)

สำหรับในหล่อแก ตอนนี้เรารู้จักกับกว้าทั้ง 8 八卦 และ 24 ภูผา二十四山กับกิ่งฟ้าและก้านดิน天干地支แล้ว ต่อไปก็เมื่อจะต้องนำวิชาน่าเจี่ยฝ่า 納甲法 มาใช้ โดยนำมาผสานกับกิ่งฟ้าก้านดิน天干地支 ดังนี้  

โดยเริ่มจาก เคี้ยงข่วยรับกับกะ(乾納甲),คุงข่วยรับกับอิก(坤納乙),กึ่งข่วยรับกับเปี้ย(艮納丙),ต๋วยข่วยรับกับเต็ง จี๋ อิ้ว ทิ่ว (兌納丁巳酉丑),ขั้มข่วยรับกับ กุ่ย ซิม จิ้ง ซิ้ง (坎納癸申子辰),ลี้ข่วยรับกับหยิ่ม อิ๊ง โง่ว สุก (離納壬寅午戌),จิ้งข่วยรับกับแก ไห เบ้า บี่ (震納庚亥卯未),สุ่งข่วยรับกับซิง(巽納辛)。ตัวอย่างเช่น “เคี้ยงข่วย”รับกับ”กะ”ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของกิ่งฟ้า(乾納甲)หมายความว่า ขุนเขาเคี้ยงซัว乾山และขุนเขากะซัว甲山 ล้วนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ เคี้ยงข่วย 乾卦 และข่วยอื่นๆก็เฉกเช่นกัน  

 

Najia4 Cap11

 

วิธีการพลิกว้า 地母翻卦九星

สำหรับการพลิกกว้าสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ คือ การเรียงลำดับของดาวทั้ง 9  กับการเรียงลำดับของเหยาแต่ละเส้น ส่วนการหนับกะ 納甲ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น ต่อไปนี้คือตัวอย่างการพลิกกว้า 翻卦โดยใช้(☷)坤卦เป็นจ่อซัว 坐山 หรือเป็นขุนเขาหลักตั้งต้นในการคำนวน

ดังนั้นจึงตั้ง坤(☷)คุ่งข่วย เป็นหูติ๊กแช 輔弼星หรือตำแหน่งประธาน(ผักอุ่ย)伏位 และตามกฎลำดับของการพลิกกว้าคือ (1)上บน (2)中กลาง (3)下ล่าง (4) 中กลาง(5)上บน (6)中กลาง ( 7)下ล่าง

ส่วนการเรียงลำดับของดาวทั้ง 9  โดยเริ่มจาก (8) หูติ๊กแช 輔弼星,( 1) ทัมลั้งแช 貪狼星,(2)กื้อมึ้ง 巨門星,(3)ลกซุ้ง 祿存星,(4)บุ้งเข็กแช 文曲星,(5)เนี้ยมเจ็งแช 廉貞星,(6)บู้เข็กแช 武曲星,(7)ผั่วกุงแช 破軍星 หากนับไปตามรหัสตัวเลขดาวก็จะได้ 8、1、2、3、4、5、6、7

-โดยเริ่มจาก坤(☷)คุงข่วย ถูกเปลี่ยนง้าว(เหยา)เส้นบน  ก็จะเปลี่ยนเป็น艮(☶)กึ่งข่วย ก็จะกลายเป็น ทัมลั้งแช 貪狼星

-ต่อมาจาก艮(☶)กึ่งข่วย ถูกเปลี่ยนง้าว(เหยา)เส้นกลาง  ก็จะเปลี่ยนเป็น巽(☴)สุ่งข่วย ก็จะกลายเป็น กื้อมึ้งแช 巨門星

-ต่อมาจาก巽(☴)สุ่งข่วย ถูกเปลี่ยนง้าว(เหยา)เส้นล่าง  ก็จะเปลี่ยนเป็น乾(☰)เคี้ยงข่วย ก็จะกลายเป็น ลกซุ้งแช 祿存星

-ต่อมาจาก乾(☰)เคี้ยงข่วย ถูกเปลี่ยนง้าว(เหยา)เส้นกลาง  ก็จะเปลี่ยนเป็น離(☲)ลี้ข่วย ก็จะกลายเป็น บุ้งเข็กแช 文曲星

-ต่อมาจาก離(☲)ลี้ข่วย ถูกเปลี่ยนง้าว(เหยา)เส้นบน  ก็จะเปลี่ยนเป็น震(☳)จิ้งข่วย ก็จะกลายเป็น เนี้ยมเจ็งแช 廉貞星

-ต่อมาจาก震(☳)จิ้งข่วย ถูกเปลี่ยนง้าว(เหยา)เส้นกลาง  ก็จะเปลี่ยนเป็น兌(☱)ต๋วยข่วย ก็จะกลายเป็น บู้เข็กแช 武曲星

-ต่อมาจาก兌(☱)ต๋วยข่วย ถูกเปลี่ยนง้าว(เหยา)เส้นล่าง  ก็จะเปลี่ยนเป็น坎(☵)ขั้มข่วย ก็จะกลายเป็น ผั่วกุงแช 破軍星

เมื่อทำการพลิกกว้าตามกฎแล้ว ก็จะสำเร็จเป็นทิศ คุงข่วยซัวเหี่ยง 坤卦山向  สำหรับวิชา 9 ดาว(กิวแช)บนหล่อแกนั้น จะต้องใช้ 坤(☷)คุงข่วย เป็นตำแหน่งหลัก ถือเป็นตำแหน่งประธาน หรือหูติ๊กแช 輔弼星 จากนั้นก็เริ่มทำการพลิกกว้าผันแปรไปตามกฎข้างต้น

ซึ่งการนำมาใช้นั้นทิศคุงและหนับกะทิศใดก็ตาม ตัวอย่างเช่นทิศใดก็ตามที่ตรงกับตำแหน่ง ทัมลั้งแช 貪狼星  กื้อมึ้ง 巨門星  บู้เข็กแช 武曲星 และที่ใดมี”ซา”砂 ในที่นี้ หมายถึง ขุนเขา เนินดิน(แม้จะสูงเพียง 1 นิ้วฟุตก็ตามก็เรียก ซา砂 ได้)  หรือ กรวดทรายหรือพื้นที่ที่สะอาด เรียบร้อย สว่างโล่ง มีพลัง ถือว่าเป็นมงคล และตำแหน่งนี้ไม่ควรถูกกระทบหรือทำลายเพราะจะกลับกลายเป็นไม่ดีไปเสีย ตำแหน่งนี้ควรเป็นประตูใหญ่ เตาไฟ เตียงนอน ก็จะเป็นมงคลยิ่ง ส่วนการวางตำแหน่งน้ำ เช่น บ่อน้ำ น้ำพุ หรือ ห้องน้ำ ตรงตำแหน่งจะกลับกลายเป็นผลร้าย

อีกตัวอย่างหนึ่ง สมมุติว่าเราใช้ 震(☳)จิ้งข่วยเป็นประธาน(伏位 ฟู่เว่ย-ผักอุ่ย) หรือ หูติ๊กแช 輔弼星 หรือเรียกว่า ปึ่งซัว 本山 ลำดับการเปลี่ยนกว้าตามกฏก็คือ (1)上บน (2)中กลาง (3)下ล่าง (4) 中กลาง(5)上บน (6)中กลาง ( 7)下ล่าง

ส่วนลำดับ 9 ดาวเรียงตามกฎก็คือ (8) หูติ๊กแช 輔弼星,( 1) ทัมลั้งแช 貪狼星,(2)กื้อมึ้ง 巨門星,(3)ลกซุ้ง 祿存星,(4)บุ้งเข็กแช 文曲星,(5)เนี้ยมเจ็งแช 廉貞星,(6)บู้เข็กแช 武曲星,(7)ผั่วกุงแช 破軍星 

เมื่อ 震(☳)จิ้งข่วยเป็นประธาน หรือ หูติ๊กแช 輔弼星 หรือเรียกว่า ปึ่งซัว 本山 การผันแปรของกว้าก็จะเป็นดังนี้

震(☳)จิ้งข่วย เปลี่ยนง้าวบนเป็น離(☲)ลี้ข่วย  กลายเป็น ทัมลั้งแช貪狼星

離(☲)ลี้ข่วย เปลี่ยนง้าวกลางเป็น乾(☰)เคี้ยงข่วย กลายเป็น กื้อมึ้งแช巨門星

乾(☰)เคี้ยงข่วย เปลี่ยนง้าวล่างเป็น巽(☴)สุ่งข่วย กลายเป็น ลกซุ้งแช祿存星

巽(☴)สุ่งข่วย เปลี่ยนง้าวกลางเป็น艮(☶)กึ่งข่วย กลายเป็น บุ้งเข็กแช文曲星

艮(☶)กึ่งข่วย เปลี่ยนง้าวบนเป็น坤(☷)คุงข่วย กลายเป็น เนี้ยมเจ็งแช廉貞星

坤(☷)คุงข่วย เปลี่ยนง้าวกลางเป็น坎(☵)ขั้มข่วย กลายเป็น บู้เข็กแช武曲星

坎(☵)ขั้มข่วย เปลี่ยนง้าวล่างเป็น兌(☱)ต๋วยข่วย กลายเป็น ผั่วกุงแช破軍星

เมื่อถึงตรงนี้การพลิกกว้าของ 震(☳)จิ้งข่วย  เป็นอันว่าเสร็จสิ้น เพื่อสำหรับใช้ในการตัดสินทิศทางต่างๆว่าดีหรือร้าย

สำหรับหลักการวางตำแหน่ง กิวแช 9 ดาวคู่กับโป๊ยข่วยนั้น ซึ่งบนหล่อแกจะมีเพียงแค่วาง คุงข่วย坤(☷)เป็นตำแหน่งหูติ๊กแช 輔弼星 เท่านั้น แต่เมื่อใช้ข่วยแตกต่างไปจากนี้ดาวทั้ง 9 ก็จะเปลี่ยนตำแหน่งตามไปด้วย เช่น การดูฮวงจุ้ยอาคาร บ้านช่องต่างๆก็ย่อมมีการอิงทิศที่แตกต่างกัน ก็จะต้องใช้กว้าที่แตกต่างกันมาตั้งเป็นตำแหน่ง ประธาน-ผักอุ่ย 伏位

ดังนั้น ข่วยทั้ง 8 ก็ย่อมมีการเรียงลำดับดาวทั้ง 9 ที่ไม่เหมือนกัน แต่เนื่องจากหล่อแกมีขนาดและพื้นที่จำกัด จึงไม่สามารถที่จะบรรจุการพลิกกว้า 9 ดาวให้ครบทุกข่วยได้ จึงเพียงแต่วาง คุงข่วย 坤 เอาไว้เพียงหลักเดียว ดังนั้นถ้าหากจะใช้กว้า(ข่วย)ตัวอื่นๆ ก็เพียงใช้หลักการพลิกกว้าของคุงข่วย 坤 ที่ได้อธิบายไปแล้วเป็นตัวอย่างในการพลิกกว้า ซึ่งก็ใช้หลักการอันเดียวกัน