หมวด: ธรรมะมหายาน
จำนวนผู้อ่าน: 9319

573a372ef4a2632

จากโศลกต้นโพธ์กับกระจกเงาอันลือลั่นระหว่างท่านเว่ยหลาง(หรือฮุ่ยเหนิง)惠能กับท่านชินเชา神秀 เป็นผลให้ท่านสังฆปริณายกองค์ที่ ๕ ได้มอบบาตรจีวรให้กับท่านเว่ยหลาง จนทำให้นิกายเซ็น(ฌาน)ได้แบ่งออกเป็นนิกายเหนือใต้ โดยท่านเว่ยหลางเป็นสังฆปริณายกองค์ที่ ๖ แห่งนิกายใต้ และท่านชินเชาก็สังฆปริณายกองค์ที่ ๖ แห่งนิกายเหนือ ซึ่งต่างก็รุ่งเรืองพอๆกัน

 

วันหนึ่ง ชินเชา กล่าวแก่ศิษย์คนหนึ่ง ชื่อ ชีชิง ว่า “เธอเป็นคนรอบรู้และปัญญาเฉียบแหลม ฉันขอให้เธอไปโซกายเพื่อฟังคำสอนที่นั่น เมื่อได้เรียนอะไรแล้ว ขอให้พยายามจำไว้ให้มากที่สุด และกลับมาเล่าให้ฉันฟัง”

วันหนึ่ง ชินเชา กล่าวแก่ศิษย์คนหนึ่ง ชื่อ ชีชิง ว่า “เธอเป็นคนรอบรู้และปัญญาเฉียบแหลม ฉันขอให้เธอไปโซกายเพื่อฟังคำสอนที่นั่น เมื่อได้เรียนอะไรแล้ว ขอให้พยายามจำไว้ให้มากที่สุด และกลับมาเล่าให้ฉันฟัง”

ชีชิงได้ไปยังโซกายตามคำสั่งของอาจารย์ตน เขาปะปนเข้าไปกับฝูงชนเพื่อฟังธรรม โดยไม่ได้บอกกล่าวว่าเขามาจากไหน พระสังฆปริณายกกล่าวขึ้นในที่ประชุมว่า “มีคนซ่อนตัวเข้ามาในนี้เพื่อเลียนแบบคำสอนของเรา” ทันใดนั้นชีชิงก็ก้าวออกมาข้างนอก ทำความเคารพพระสังฆปริณายกและบอกกับท่านว่า เขามาจากสำนักไหน

พระสังฆปริณายกถามว่า “ท่านมาจากวัดยุกชวนใช่ไหม? ถ้าอย่างนั้น ท่านต้องเป็นคนสอนแนม”
ชีชิงตอบว่า “เปล่าครับ ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นคนสอดแนม” พระสังฆปริณายกถามว่า “ทำไมไม่ใช่”
ชีชิงตอบว่า “ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้บอกอะไรกับท่าน นั่นสิ ข้าพเจ้าจึงจะเป็นคนสอดแนม แต่นี่ข้าพเจ้าก็ได้บอกกับท่านหมด จึงไม่ใช่”

พระสังฆปริณายกถามว่า “อาจารย์ของท่าน สอนลูกศิษย์ว่าอย่างไรบ้าง?”
ชีชิงตอบว่า “ท่านอาจารย์สอนให้พวกข้าพเจ้าทำสมาธิในความบริสุทธิ์ให้นั่งขัดสมาธิอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้นอน” พระสังฆปริณายกกล่าวว่า การทำสมาธิ ในความบริสุทธิ์นั้น ไม่แน่วแน่และไม่ใช่สมาธิ การกักตัวเองให้นั่งขัดสมาธิอยู่ตลอดเวลานั้น ตามหลักแห่งเหตุและผลแล้วไม่เกิดผลดีอะไรขึ้นมา จงฟังโศลกของฉัน

“คนเป็นย่อมจะนั่ง และไม่นอนอยู่ตลอดเวลา
ส่วนคนตายนั้นนอน และไม่นั่ง
สำหรับร่างกายอันเป็นเนื้อหนังของเรานี้
ทำไมเราจะต้องคอยนั่งขัดสมาธิ”

********************

lizhu tanjing

โศลกบทนี้ผมขออนุญาตแปลใหม่ตามต้นฉบับภาษาจีนโบราณดังนี้ (ซึ่งความหมายของโศลกนี้เป็นคำอธิบายตามบริบทของสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เท่านั้น)

生來坐不臥:เซิง-ไหล-จว้อ-ปู๋-ว่อ
"คนเราเมื่อเกิดมาแล้ว กลับนั่งไม่ยอมนอน" (เป็นการผิดธรรมชาติ) -บาทนี้เป็นการสอนกลับสำนักฝ่ายเหนือว่า ปฏิบัติผิดทาง “ปฏิบัติข้ามขั้นตอน” ดุจทารกเมื่อเกิดมาก็ย่อมนอน เพราะทารกย่อมนั่งยังไม่ได้

死去臥不坐:สื่อ-ชวี่-ว่อ-ปู๋-จว้อ
"เมื่อตายไปแล้ว ก็ย่อมนอนนั่งไม่ได้" (เป็นตามธรรมชาติ) -บาทนี้เป็นนี้เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ทางโลก ให้เห็นตามสภาวะตามความจริงว่าคนตายแล้ว ย่อมต้องนอนนั่งไม่ได้ นัยยะแฝงก็คือความไม่เที่ยงแห่งสังขาร และเป็นการเน้นความสำคัญของบาทแรก คือการปฏิบัติผิดขั้นตอน

一具臭骨頭:อี๋-จวี้-โช่ว-กู่-โถว
"ร่างกายเราล้วนแต่เป็นที่ประชุมของธาตุทั้ง 4 มีกระดูกเนื้อหนังที่เหม็นเน่า" -บาทนี้แสดงให้เห็นว่าร่างกายนี้พึ่งพาอาศัยไม่ได้ เพราะการปฏิบัติของสำนักฝ่ายเหนือนั้นเน้นการนั่งบำเพ็ญสมาธิ เอาร่างกายหรือ”รูปกาย”มาเป็นบาทฐานของวิปัสสนาแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งข้ามขั้นตอน โดยขาดการพิจารณาถึง รูป-นาม

何為立功過:เหอ-เว่ย-ลี่-กง-กั้ว
"แล้วทำไมจึงนำ(กายนี้)มาบำเพ็ญธรรม"
-บาทนี้เป็นการรวมความว่านี่เป็นทิฐิที่ผิด เพราะหมายถึงว่ามัวแต่ยึดติดในรูป ทำไมไม่เอาจิต(เดิมแท้)นำมาปฏิบัติล่ะ (มัวแต่ยึดติดร่างกายขันธ์ ๕ แล้วจะมีประโยชน์อะไร)

ความหมายก็คือ การปฏิบัติเพื่อให้เห็นถึงจิตเดิมแท้ ต้องใช้รูป-นามในการเจริญวิปัสสนา เมื่อสำนักฝ่ายเหนือมัวติดอยู่แต่ในรูปแบบของการปฏิบัติ
ท่านเว่ยหลางจึงให้ปล่อยวางละรูปแบบ ไม่ให้ยึดติด โดยใช้จิต(นาม)เข้าไปพิจารณารูปกายและสังขาร(รูป)ว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น และการปฏิบัติจะต้องเป็นไปตามขั้นตอน

***จากสูตรของเว่ยหลาง หมวดที่ 8 สำนักฉับพลัน และสำนักเชื่องช้า กรุณาอ่านฉบับเต็มได้ที่ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=chuhongchang&month=04-12-2009&group=4&gblog=13