หมวด: คัมภีร์แก้กรรมเปลี่ยนชาตาของลัทธิเต๋า 太上感應篇
จำนวนผู้อ่าน: 9238

หมายเหตุ คัมภีร์กรรมเล่มนี้แปลโดย "ธรรมบัญชา" และได้รับการช่วยเหลือเรื่องการพิมพ์ดีดเป็นภาษาไทยจากคุณ ปู สุกัญญา (บางชัน) เพื่อนำมาเผยแพร่ให้สาธุชนได้อ่านขออนุโมทนาบุญ ในครั้งนี้ด้วย

 

 

 

 

คำนำ

พระมหาธรรมาจารย์จิ้งคง

พุทธศาสนาก็คือพระศากยมุนีพุทธเจ้าที่ทรงปรารถนาต่อเหล่าเวไนยสัตว์ให้ประชาคมมีการศึกษาให้ถึงความดีที่เต็มสมบูรณ์ ทรงแสดงธรรมท้งหลายเท่าเทียมกันเป็นจิตเดิมเป็นคุณธรรมแท้  สอนมนุษย์โดยเอาลักษณะแท้จริงของชีวิตมนุษย์ในโลก  ให้มาบำเพ็ญร่วมกันให้ใจประจักษ์แจ้งร่วมกัน  ใจแผ่ไพศาลดุจอวกาศจนสามารถบรรจุจักรวาลที่มีปริมาณโลกธาตุดุจเมล็ดทราในคงคานที  มีความสะอาดหมดจดแท้จริงได้สัมมาตรัสรู้  มีใจเมตตามองทะลุจนปล่อย วางลงได้มีความอิสระสบาย  เข้าสู่โลกด้วยเหตุปแจจัย  ฝึกเรียนจนเป็นครูบาของมนุษย์  ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างของโลก  ดังนั้น พระศากยมุนีพุทธเจ้าผู้เป็นโลกนาถเป็นพระผู้ทรงสั่งสอนประชาคมโลก  ผู้การุณย์อันเป็นต้นกำเนิดวัฒนธรรมอันหลากหลาย  จึงขอให้มนุษย์ควรรู้จักควรศึกษาไว้


พระภิกษุ  จิ้งคง

วันที่  31  ตุลาคม  ค.ศ. 1999

 

 

คำนำมหาธรรมาจารย์อิ่งกวง

(ปี ค.ศ. 1928)


ธรรมเรื่องกรรม อริยเจ้าผู้พ้นออกจากโลกใช้เป็นเตาอเนกอนันต์ฝึกฝนต้มกลั่นจนได้มหาโอสถศักดิ์สิทธิ์ หากในระยะเริ่มต้นไม่ศึกษาเรื่องกรรมให้ถึงที่สุดแล้ว  แม้จะเป็นผู้ปราดเปรื่องชาญฉลาดรอบรู้ศาสตร์ทุกศาสนาก็ตาม  หากยังมีความผิดเรื่องกรรมแล้วก็จะร่วงหล่นตกลงไม่มีเหตุได้ขึ้นพ้นอย่าได้ว่าหลักธรรมคัมภีร์กรรมนี้ง่ายตื้นเขินแล้วมองข้ามตถาคตผู้สำเร็จตรัสรู้  หรือสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในไตรวัฎ *  ล้วนไม่พ้นไปจากกรรมที้งสิ้น  ด้วยปุถุชนจิตใจยังคับแคบอยู่  ก็เข้าไม่ถึงพระสูตรมหากรรม  จึงควรเริ่มต้นด้วยหลักธรรมที่ง่ายเพื่อเอาชนะได้โดยง่ายก่อน  อย่างคัมภีร์กรรม (ไท่ซั่งกั่นอิ่งเพียน)  หรือคัมภีร์ดวงชะตา(เหงินเชียงอินเซ่าเหวิน)  อ่านให้ขึ้ นใจแล้วพิจารณาให้ละเอียดนำไปปฏิบัติ  ลั้วทุกๆ  คนก็จะเป็นพลเมืองดี  ทุกคนก็จะสามารถสิ้นสุดการเกิดการตายได้คำนำในคาถาสวดมนต์ทำวัตรทุกวันก็เขียนไว้ว่า “บทนำถือปฏิบัติต้องมีความศรัทธามีปณิธาน  สวดพุทธะเพื่อปฏิบัติให้ตรงความดีทั้งหลายพึงบำเพ็ญด้วยความเคร่งครัด”คำชี้แนะแก่ผู้ถือปฏิบัติที่บันทึกในคัมภีร์กรรมก็ดี  คัมภีร์ดวงชะตาก็ดี  คัมภีร์ตรัสรู้ก็ดี  และคัมภีร์สุขาวดีก็ดี  ต่างก็ให้แก้ความชั่วไปสู่ความดี  เพื่อรับมงคลหลบอุบาทว์  พ้นปุถุสู่อริยะ  เป็นวิถีกฎเกณฑ์แนวทางสิ้นสุดการเกิดพ้นการตาย  หลุดพ้นไตรภูมิหกวิถีได้ในปัจจะบันชาติตรงเข้าภายในเก้าปทุมเจ็ดรัตนะ  หวังให้ผู้บำเพ็ญเพิ่มความสนใจเถิด

พระภิกษุ  อิ่งกวง

สังฆบดีองค์ที่ 13  นิกายสุขาวดี


คำนำ

คำนำโบราณ กั่นอิ้งเพียน

ของพระเจ้าเหวินเชียง


พระเจ้าเหวินเชียงกล่าวว่า ข้าในชาติที่หนึ่งร้อยสิบเจ็ดได้เป็นมหาบุรุษ  ไม่เคยกดขี่ประชาราษฎร์  สงเคราะห์คนในยามคับขันฉุดช่วยคนให้พ้นทุกข์  อภัยความผิดของคน  สงสารผู้กำพร้า  ใจเป็นเช่นนี้มาตลอด จะฟังโองการฟ้า  ดังนั้นจึงสมารถพิสูจน์ตำแหน่งสัจจะนี้ได้ยาวนาน  ข้าขอเตือนชาวโลก  แต่ละวันที่สวดไท่ซั่งกั่นอิ่งเพียนหนึ่งจบ  ให้น้อมนำไปปฏิบัติหรือคัดลอกหนึ่งจบ  ไว้อ่านเช้าเย็น  แล้วปฏิบัติตามนี้ ถ้าปฏิบัติได้ 2 ปี  โทษภัยต่างๆ  ก็สลายดับสิ้น ถ้าปฏิบัตได้ 4 ปี  บุญบารมีมีพร้อม  ถ้าปฏิบัติได้ 7 ปี  บุตรหลานมีปัญญากระจ่าง สามารถสอบได้  ถ้าปฏิบัติได้ 10 ปี  อายุจะยืนยาว  ถ้าปฏิบัติได้ 15 ปี  จะสมปรารถนา  ถ้าปฏิบัติได้ 20 ปี  บุตรหลานได้เป็นองคมนตรี  ถ้าปฏิบัติได้ 30 ปี  จารึกชื่อเปลี่ยนภพภูมิ  ถ้าปฏิบัติได้ 50 ปี  เทพเซียนร่วมแสดงความยินดี  ชื่อเรียงในทำเนียบอริยเจ้าถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้  ทำบ้างหยุดบ้าง  วันนี้ทำพรุ่งนี้เลิก  การงานจะยุ่งยาก  นาใจมืดบอด  ถึงแม้จะสวดมนต์  แต่ใจไม่เข้าใจเหมือนลบหลู่ฟ้าโทษอภัยไม่ได้


คัมภีร์กรรม  (กั่นอิ้งเพียน) แปล


ไท่ซั่งกล่าวว่า  ภัยพิบัติบุญวาสนาไร้ทวารสุดแต่คนกวักหา  บุญบาปตอบสนอง  เหมือนเงาตามตัว

ด้วยฟ้าดินมีเทพเจ้าปกครอง อิงการกระทำของมนุษย์หนักเบา  เพื่อลงโทษตัดขัย  ตัดขัยให้ยากจน  ประสบทุกข์ลำบากบ่อย  ผู้คนก็รังเกียจต้องโทษวิบัติตามมา  มงคลโชคลาภหลบหาย  ดาวร้ายภัยตาม  ขัยสิ้นก็ตาย

ยังมีเทพเจ้าดาวเหนือสามองค์  อยู่เหนือศีรษะมนุษย์  บันทึกชั่วบาป  คอยตัดอายุขัย  ยังมีเทพอีกสามตนอยู่ในตัวคน  เมื่อถึงวันแกซิง  ขึ้นทูลพระเจ้าเบื้องบน  รายงานความชั่วบาปมนุษย์  ในวันสิ้นเดือน เทพแห่งเตาไฟก็เช่นกัน  ผู้มีความผิด  มหันต์ตัดขัยหนึ่งรอบ  ลหุตัดขัยร้อยวัน  ความผิดมากน้อยมีมากถึงร้อย  อยากมีอายุยืนต้องหลีกเลี่ยงเอย

เป็นธรรมให้เดินหน้า  ไม่ใช่ธรรมให้ถอย  ไม่ดำเนินทางชั่ว  ไม่แอบรังแกข่มเหง  สั่งสมบุญกุศล  ใจเมตตาต่อสัตว์  จงรักภักดีกตัญญู  ให้รักญาติมิตร  ให้ตนตรง  อบรมผู้อื่น  สงสารผู้หม้ายกำพร้ายากไร้  เคารพอาวุโสห่วงใยผู้เยาว์  ไม่ทำร้ายหนอนหญ้าต้นไม้  ต้องสงสารผู้เคราะห์ร้าย  ยินดีกับผู้ทำดี  ช่วยเหลือผู้คับขันฉุดช่วยผู้อยู่ในอันตราย  เห็นเขาได้ดีเหมือนตนได้ดี  เห็นเขาสูญเสียเหมือนตนสูญเสีย  ไม่โพนทะนาความชั่วเขาไม่โอ้อวดความดีตน  หยุดยั้งเรื่องชั่วเผยแผ่เรื่องดี  ให้มากรับน้อย  รับอัปยศไม่แค้น  รับความรักดุจความหวาดกลัว  ทำคุณไม่หวังตอบแทน  ให้เขาไม่นึกเสียใจ

ที่ว่าเป็นคนดี  คนให้ความเครพ  ธรรมแห่งฟ้าคุ้มครอง  บุญวาสนาตามมา  ชั่วร้ายถอยห่าง  เทพศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง  งานที่ทำก็สำเร็จ  เป็นเทพเซียนปรารถนาได้  อยากเป็นเทพเซียนฟ้า  ต้องทำความดีหนึ่งพันสามร้อยกุศล

หากทำสิ่งไม่ถูกต้อง  กระทำละเมิดธรรม ถือชั่วว่าสามารถ ทนทำชั่วร้ายได้  แอบทำร้ายคนดี  ข่มเหงราชาพ่อแม่ลับหลัง  ยิ่งยโสครูบา  ละทิ้งหน้าที่  หลอกคนไม่รู้  ลวงเพื่อนร่วมเรียน  ใส่ร้ายล่อลวง  โจมตีวงศ์ตระกูล  อันธพาลไม่การุณย์  ป่าเถื่อนตามอารมณ์ถูกผิดไม่ถูกต้อง  เข้าหาชั่วหันหลังดี  กดขี่เอาชอบเท็จนายพอใจ  รับคุณทำไม่รู้  ถูกลบหลู่แค้นไม่เลิก  ดูแคลนประชาชน  ลบล้างการปกครอง  รางวัลคนชั่ว  ลงทัณฑ์ผู้บริสุทธิ์  ฆ่าคนชิงทรัพย์  ใช้เล่ห์แย่งตำแหน่ง  เข่นฆ่าผู้ยอมแพ้  ขับคนดีไล่ปราชญ์  รังแกกำพร้า  ข่มเหงหม้าย  ละกฎรับสินบน  เอาถูกเป็นผิด  เอาผิดเป็นถูก  โทษเบาเอาเป็นหนัก  เห็นประหารทำโทสะ  รู้ผิดไม่แก้รู้ดีไม่ทำ  โยนผิดให้ผู้อื่น  ปิดบังวิชา  เย้ยหยันใส่ร้ายอริยปราชญ์  ทำร้ายคุณธรรม  ยิงนกล่าสัตว์  คุ้ยหนอนทำนกตกใจ  อุดรูทำลายรัง  ทำร้ายสัตว์ท้อง  ทุบไข่แตก

อยากให้เขามีควยามผิด  ทำลายความสำเร็จของเขา  ให้เขาอันตรายตนสุข  กำจัดเขาเพิ่มประโยชน์ตน  เอาชั่วไปแลกดี  ดีตนทำลายส่วนรวม  ขโมยผลงานเขา  ปิดบังความดีเขา  เปิดโปงความชั่วเขา  เปิดเผยเรื่องส่วนตัว  ผลาญทรัพย์สินค้าเขา  ทำให้พี่น้องเขาแตกแยก  แย่งของรักของผู้อื่น  ส่งเสริมเขาทำชั่ว  พอใจอวดอำนาจ  ทำอัปยศเพื่อชัยชนะ  ทำลายไร่นาเขา  ทำลายการแต่งงานเขา  โกงจนรวยหยิ่งยโส  หลบเลี่ยงไม่ละอาย  เหมาเอาคุณลบล้างความผิด  โยนเคราะห์ป้ายผิด  ซื้อยศจอมปลอม  หน้าเนื้อใจเสือ  ขัดขวางความดีเขา  ปิดความชั่วตน  ใช้อิทธิพลข่มขู่  ทำลายฆ่าป่าเถื่อน  ตัดผ้าไร้เหตุ  ฆ่าสัตว์ไร้เหตุ  ทิ้งขว้างธัญพืช  เคี่ยวเข็ญประชาชน  ทำลายครอบครัวเขาเพื่อชิงทรัพย์  ปล่อยน้ำวางเพลิงเพื่อทำลายประชาชน  ทำลายแผนให้เขาล้มเหลว  ทำลายเครื่องมือไม่ให้เขาชื  เห็นเขาได้ดีหวังเขาฉิบหาย  เห็นเขาร่ำรวยอยากให้ล้มละลาย  เห็นเขารูปงามคิดข่มขืน  เป็นหนี้เขาหวังให้เขาตาย  ไม่ได้ดังใจชั่วก็เกิดแค้นสาปแช่ง  เห็นเขาล้มเหลวก็ว่าเขาทำชั่ว  ห็นเขาไม่สมประกอบก็หัวเราะใส่  เห็นเขาสมารถควรยกย่องกลับทับถม  ใช้มนต์ดำฝังรูป  ใช้ยาฆ่าต้นไม้  โกรธแค้นครูอาจารย์  ขัดต่อพ่อแม่พี่น้อง

ใช้แรงขู่เข็ญเอา  บังคับแย่งชิง  ปล้นจนร่ำรวยใช้เล่ห์หาก้าวหน้า  รางวัลโทษไม่เสมอกัน  สบายจนเกินเลย  ทารุณผู้ใต้บังคับ  ข่มขู่เขาให้หวาดกลัว  โทษฟ้าโทษคน  ด่าลมด่าฝน  ยุแหย่ให้สู้คดี  เที่ยวเข้าร่วมแก๊ง  ฟังเมียฝืนคำสอนพ่อแม่  ได้ใหม่ลืมเก่า  ปากอย่างใจอย่าง  โลภทรัพย์ปกปิดข่มเหงหน่วยบน  วาจาใส่ร้ายสร้างข่าวทำลายเขา  ใส่ร้ายเขายกตนว่าตรง  ด่าว่าพระเจ้าว่าตนดี  ทิ้งธรรมทำชั่ว  หันหลังญาติคบคนนอก กล้าชี้ฟ้าดินเป็นพยาน (ทั้งที่ชั่ว)  ดึงพระเจ้าตรวจสอบให้แล้วเสียดาย  ยืมทรัพย์สิ่งของไม่คืน  ไม่เจียมตน  หานอกลู่  ใช้จนหมดอำนาจ  เสพกามเกินเลย  หน้าขาวใจดำ  ของกินสกปรกให้เขา  ใช้ทางมารหลอกประชาชน  มาตรวัดสั้น  โกงตาชั่งลิตรตวงเล็ก  ปลอมปนสินค้า  รีดนาทาเร้น  บังคับคนดีให้ชั่ว  โป้ปดคนโง่  โลภละโมบไม่เบื่อ  แช่งชักว่าตนหถูก  ติดสุราลวนลาม  สายเลือดทะเลาะกัน  ชายไม่ดีหญิงไม่น้อมตาม  สามีภรรยาไม่กลมเกลียว  ภรรยาไม่นับถือสามี  คุยขุ่มอวดดี  อิจฉาตาร้อน  สามีไม่ดีต่อบุตรภรรยา  ไร้มารยาทต่อพ่อปู่  แม่ย่า  ดูถูกบรรพชน

ขัดขืนคำสั่งผู้ใหญ่  ทำสิ่งไร้ประโยชน์  คับแคบนอกใจ  สบถสาปแช่งผู้อื่น  ลำเอียงชักลำเอียงรัก  โดดข้ามบ่อน้ำเตาไฟ  ข้ามของกิน  ข้ามตัวคน  สูญเสียแท้งลูก  ประพฤติมิชอบ  สิ้นเดือนร้องรำ  เช้าตรู่วันพระด่าทอ  ถ่มถุยหนักเบาทิศเหนือ  คร่ำครวญร้องไห้หน้าเตา  จุดธูปจากเตาไฟ  ฟืนสกปรกหุงหา  เปลือยกายกลางคืน  ประหารวันตรุษสารท  ถ่มน้ำลายดาวตก  ชี้สามแสง  * จ้องอาทิตย์จันทร์นานไป  ล่าสัตว์เผาป่า  ฤดูใบไม้ผล  ด่าทอทางทิศเหนือ  ตีงูฆ่าเต่าไร้เหตุ

อันบาปต่างๆ  นี้ เทพเจ้าตามดูหนักเบา  หักขัยตามรอบ  ขัยสิ้นก็ตาย  บาปเหลือจากตาย  ตกทอดบุตรหลาน  พวกอันธพาลเอาเงินเขา  ผลชั่วตกถึงลูกเมียคนในบ้านรับไป  จนกว่าถึงตาย  หากยังไม่ตายก็มีภัยน้ำไฟขโมย  ของหายเจ็บป่วยคดีความตอบสนอง  จนเท่าค่าที่โกงมา  แล้วโทษฆ่าคนก็ถูกอาวุธฆ่าตอบ  เงินทองได้ไม่ถูกต้อง  ดุจน้ำรั่วแก้หิวเหล้าแก้กระหาย  ไม่เพียงไม่อิ่ม  ความตายก็มาถึง  หากใจเริ่มใผ่ดี ดีแม้ยังไม่ทำ เทพดีก็ตามมา  หากเริ่มใฝ่ชั่ว  ชั่วแม้ยังไม่ทำ  เทพชั่วก็ตามมา ผู้เคยทำชั่ว  ภายหลังสำนึกผิด  ชั่วทั้งหลายไม่ทำ  ความดีทั้งปวงถือปฏิบัติ  นานๆ  ไปย่อมได้มงคลโชคลาภ  ดั่งที่ว่าเปลี่ยนภัยพิบัติเป็นบุญวาสนา

ดังนั้น  ผู้มงคล  วาจาดี  มองดี  ทำดี  วันหนึ่งมี สามดี  สามปีฟ้าย่อมส่งบุญวาสนา  ผู้อุบาทว์  วาจาชั่ว  มองชั่ว  ทำชั่ว  สามปีฟ้าย่อมส่งภัยพิบัติ  ยังจะไม่พยายามปฏิบัติ หรือ !

จบ






อรรถกถา


คัมภีร์กรรม “กั่นอิ่งเพียน”  เป็นคัมภีร์ของศาสนาเต๋า ถือเป็นปิฏกในหมวดวินัยปิฏก  ที่ท่านศาสดาเหลาจื่อบัญญัติขึ้น  เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ  ไม่เพียงแต่ศาสนิกชนเท่านั้น  ประชาชนทั่วๆ ไปก็ควรยึดถือนำไปปฏิบัติ คัมภีร์กรรมเป็นบทธรรมง่ายๆ  ธรรมดา และอยู่ในกรอบกฎแห่งกรรม คัมภีร์เล่มนี้ไม่ยาวเหมือนคัมภีร์เต๋า “เต้าเต๋อจิง” และเป็นบทสวดประจำของชาวเต๋า ผู้น้อยได้อ่านคัมภีร์นี้มานานพอสมควร จนกระทั่งมาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2546  เมื่อพระธรรมาจารย์จิ้งคงไตซือจากไต้หวัน  ได้มาผูกบุญสัมพันธ์กับชาวไทยโดยท่านเมตตาบรรยายธรรมเป็นครั้งแรกที่โรงแรม เจดับบริว  มาริออท ถ. สุขุมวิทเพลินจิต  เป็นโอกสาสที่ผู้น้อยได้ฟังธรรมจากท่าน ต่อมาก็ได้รับหนัง่สือธรรมหลายเล่มที่ท่านเขียนขึ้นบ้าง  เรียบเรียงแปลเป็นภาษาปัจจุบันบ้าง  หนึ่งในจำนวนนั้นมีอยู่เล่มหนึ่ง  ซึ่งมีความหนากว่า 500 หน้า  ชื่อของหนังสือคือ “วิถีการสั่งสมบุญและสลายภัย”

ผู้น้อยอ่านแล้วรู้สึกชอบมาก  ท่านไต้ซือได้อธิบายบทคัมภีร์ทีละคำ พร้อมยกตัวอย่างนิทานที่เข้ากับความหมายของคำ  เพื่อใช้เป็นหลักประจักษ์ให้ผู้อ่านยอมรับ  ท่านไต้ซือเป็นภิกษุชาวพุทธแท้ๆ  ไม่แต่เพียงแค่ท่านองค์เดียวที่ยอมรับคัมภีร์นี้ แม้แต่ท่านธรรมาจารย์ อิ่นกวง  ซึ่งเป็นธรรมาจารย์รุ่นก่อนๆ  และมีพระภิษุอีกลายรูปต่างชื่นชอบในคัมภีร์นี้  ท่านอิ่นกวงไต้ซือกล่าวว่า “หนังสือเล่มนี้ วิจารณ์ถึงที่สุดแล้วไม่เพียงแค่สำเร็จเซียน  แม้แต่มหาโพธิสัตว์ที่ปฏิบัติได้  ก็จักหลุดพ้นสู่อริยะ พ้นการเกิดดับ  สำเร็จสมบูรณ์แห่งวิถีพุทธ”  ท่านอิ่นกวงไต้ซือจึงพยายามเผยแผ่หนังสือเล่มนี้อย่างจริงจัง  ท่านจิ้งคงไต้ซือ ก็ยิ่งตักเตือนลูกศิษย์ของท่าน  ให้เอาหนังสือเล่มนี้เป็นระเบียบวินัยที่ต้องท่องสวด  ถึงกับตั้งชื่อใหม่ดังได้กล่าวมาแล้ว

สมาคมผู้ค้นคว้าธรรมแห่งเหลี่ยวฝาน  ซึ่งกล่าวว่า เมื่อก่อนได้ปรับปรุงหนังสือ “โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน”  และตอนนี้ก็มาปรับปรุงเรียบเรียงคัมภีร์เล่มนี้จนสำเร็จเป็นรูปเล่มน่าอ่านมาก  ภายใต้การแนะนำของท่านจิ้งคงไต้ซือ  โดยถือหลักธรรมที่ว่า “สรรพธรรมล้วนว่าง  เหตาต้นผลกรรมไม่ว่าง”

ผู้น้อยเห็นว่าปัจจุบัน วิทยาการยิ่งก้าวหน้า จิตใจคนยิ่งหลงใหลวัตถุยิ่งทันสมัย  คุณธรรมยิ่งตกต่ำ จิตญาณยิ่งสกปรก ความสงบยิ่งเสื่อมทราม ที่สุดแล้วจะฉุดช่วยจิตใจชาวโลกได้อย่างไร  ทำอย่างไรจึงจะสามารถลดโทษบาปให้น้อยลง  ทำอย่างไรจึงจะมีบุญวาสนาเพิ่มขึ้น  ทำอย่างไรจึงสามารถลดโทษบาปให้น้อยลง  ทำอย่างไรจึงจะมีบุญวาสนาเพิ่มขึ้น ทำอย่างไร จึงสามารถสลายภัยวิบัติลงได้  ตลอดจนประเทศชาติมีความสงบประชาชนมีความสุข  ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ไม่มีภัยสงคราม ไม่มีภัยยาเสพติด  ไม่มีอิทธิพล ใต้หล้ามีสันติภาพ คิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่คนยุคปัจจุบันต่างเป็นห่วงเป็นใย

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผู้คนจะทุกข์ห่วงใยกันแค่ไหน ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน การแก้ไขก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ปัญหายิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ผลแห่งการแสวงหาบุญวาสนาของชาวโลกกลับกลายเป็นการแสวงหาภัยพิบัติ ถ้าจะสรุปถึงสาเหตุ ก็เพราะคนปัจจุบันหลงใหลอยู่กับวิทยาการแต่กับระดับความรู้จักบาปบุญคุณโทษและการตอบ่ สนองของกรรมกลับไม่รู้ชัดเจน กลับถลำลึกเข้าใจผิดๆ ยิ่งขี้น คิดว่า การเรียนเก่งมีความรู้สูงก็จะสามารถเอาเปรียบผู้รู้น้อยเหมือนนักธุรกิจปัจจุบันที่ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่าปลาใหญ่กินปลาเล็กมือใหญ่ยาวก็คว้าได้มากกว่า สร้างกลยุทธ์เอาเปรียบประชาชน คงลืมกฎธรรมชาติของเต๋าไปแล้วกระมัง


คัมภีร์กรรม มีสารถะที่ลุ่มลึกกว้างใหญ่ เป็นหลักธรรมที่พูดถึงความดีความชั่วภัยพิบัติและมงคล ถ้าวิภาควิจารย์ก็จะเห็นถึงความน่าสะพรึงกลัวลือลั่นสะเทือนฟ้าดินกันเลยทีเดียว เพราะทำให้เข้าใจถึงรากเหง้าของกรรมอย่างดีที่สุด อ่านแล้วจะเข้าใจเหตุต้นผลกรรมรู้จักว่า การเห็นแก่ตัวเห็นแกได้ กลับกลายเป็นผู้ได้รับมหาภัยในที่สุด เมื่อทุกคนเข้าใจในความดีแล้วก็จะขยันหมั่นเพียรประกอบความดีเป็นการสั่งสมบุญวาสนาและสลายภัยพิบัติได้ หนังสือนี้จึงมีประโยชน์ต่อคนมาก และมีอิทธพลกว้างไกลมาก ในสมัยราชวงศ์ชิง ท่านยกย่องหนังสือนี้ว่า “ราชบัณฑิตต้องอ่าน” ยังกล่าวอีกว่า “ไม่เพียงต้องอ่านหนังสือนี้ว่า “ราชบัณฑิตต้องอ่าน” ยังกล่าวอีกว่า “ไม่เพียงต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ ถ้าจะเป็นจอหงวนหรือมหาอำมาตย์ จะไม่อ่านหนังสือนี้ไม่ได้” การกล่าวเช่นนี้ ท่านก็จะเข้าใจได้กระจ่างชัดเลยทีเดียว ถึงคุณค่าของคัมภีร์กรรมเป็นอย่างดี ผู้น้อยเห็นว่าหนังสือเล่นนี้ล้วนกล่าวถึงการกระทำของมนุษย์และผลตอบสนองอันเกิดจากเหตุที่มนุษย์ก่อขึ้นเอง ผู้น้อยจึงขอเรียกหนังสือเล่มนี้ว่า “คัมภีร์กรรม” เพื่อง่ายต่อการกล่าวถึงและได้ความหมายตรงทีเดียว

คัมภีร์กรรมเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่มนุษย์ควรน้อมนำไปปฏิบัติ เป็นหลักธรรมป้องกันปัญหาเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุเหมือนตัดไฟตั้งแต่ต้นลม  ความเสียหายก็จะไม่เกิดขึ้น  เมื่อวิบากกรรมที่จะเป็นต้นเหตุถูกป้องกันได้แล้ว  ภัยพิบัติอันเป็นผลตอบสนองทางวิบากกรรมไม่เกิดขึ้น ชีวิตมนุษย์ก็ไม่เกิดทุกข์ นอกจากสังสารทุกข์ซึ่งเป็นทุกข์ทางกายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  แต่ทุกข์ทางใจตัดได้แล้วความสุขแห่งวิถีโลกคงไม่ไปไหนเสีย  ยิ่งถ้าได้สั่งสมบุญกุศลด้วยแล้ว  บุญวาสนาก็ตามสนองแน่นอน ดังนั้น ใครก็ตามที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ก็ถือว่าเป็นผู้มีบุญ ถ้ามีความอดทนอ่านได้หมด หยุดความคิดตนไว้ ทำใจให้สงบ  แล้วทำความเข้าใจในหลักธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ  ก็จะเป็นผู้มีบุญวาสนามาก ถ้าหากสามารถวิริยะก้าวหน้าขึ้นไปอีก  ก็จะเข้าถึงหลักธรรมของการสำเร็จเป็นปราชญ์เป็นอริยะเป็นพุทธะ หนังสือเล่มนี้ท่านธรรมาจารย์จิ้งคงและคณะต่างยกย่องว่าเป็นราชาแห่งหนังสือ  โดยเฉพาะบทอธิบายที่แจ่มแจ้ง  ละเอียดทะลุโปร่งใสและสุจริตจริงใจอย่างยิ่ง  ดังนั้น  ผู้มีบุญสัมพันธ์ได้อ่านควรกลับใจทันทีจะมัวสงสัยอะไรอยู่อีก  จึงหวังให้พวกท่านอ่านอย่างตั้งอกตั้งใจ


ด้วยความเคารพ

ธรรมบัญชา

ตุลาคม 2546