หมวด: ธรรมะทั่วไป
จำนวนผู้อ่าน: 6982

asanga2

 

นิกายโยคาจาร   瑜伽行唯識學派  ตั้งขึ้นโดยเมตตรัยนาคซึ่งเกิดหลังนาคารชุนราว 100 ปี ชื่ออื่นๆของนิกายนี้คือ นิกายวิญญาณวาท หรือนิกายวิชญาณวาท สานุศิษย์ที่สืบต่อนิกายนี้คือ พระอสังคะ และพระวสุพันธุ พระทินนาคะ และพระธรรมปาละ เป็นต้น

หลักการสำคัญของนิกาย

หลักคำสอนสำคัญ - ทัศนะเรื่องจิต มีทัศนะว่า "เรื่องจิตเท่านั้น เป็นความจริงแท้" (จิตตมาตร - จิตหนึ่ง หรือ จิตเดียว) จิตเท่านั้นที่เป็นความจริงเพียงหนึ่งเดียว และเป็นสิ่งเดียวที่มีอยู่จริง

หลักการสำคัญ - ยอมรับว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดมาจากจิต จิตเป็นตัวสร้างปรากฏการณ์ทั้งหลาย -ความรู้ ความจริง ความ หลุดพ้น ล้วนเกิดขึ้น ดำเนินไป และจบสิ้นที่กระบวนการการทำงานของจิต

ไม่อาจยืนยันได้ว่าสิ่งที่ปรากฏภายนอกมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ เพราะ สิ่งนั้นๆ ไม่ได้มีตัวตนอยู่ต่างหากจากจิต ดังนั้นจิตคือผู้สร้างสรรพสิ่ง

แนวคิดที่สำคัญของนิกายโยคาจาร คือ “จิตเท่านั้นที่เป็นจริง” สิ่งอื่นนอกเหนือจาก จิตเป็นเพียงมายา ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ เป็น เพียงภาพสะท้อนหรืออาการ กิริยาของจิต เท่านั้น วัตถุภายนอกไม่อาจจะพิสูจน์ได้

เพราะวัตถุภายนอกเป็นเพียงมายาจาก ดวงจิต มีอยู่เป็นอยู่เพราะการคิดของจิต เท่านั้น   จิตจึงเป็นสารัตถะของสรรพสิ่ง โยคาจารถือว่า   ปรมัตถ์คือจิตเท่านั้น ความคิด และสิ่งทั้งมวลคือจิตและ “จิตภายในสร้างโลกภายนอก”

โยคาจาร เชื่อว่าโลกภายนอกที่เราสัมผัสได้อยู่ทุกวันนี้มีได้ เพราะมีจิต หากไม่มีจิต สิ่งเหล่านี้ย่อมไม่มี  เพราะสิ่งที่มีอยู่ จริง คือ กระบวนการรับรู้ของจิต จักรวาลมีเพียงจิต และผลผลิตของจิตเท่านั้น

“การที่นิกายโยคาจารปฏิเสธว่าสรรพสิ่งไม่ได้มีอยู่จริง หมายถึง  สรรพสิ่งไม่ได้ปรากฏแก่การรับรู้ของจิต”

1.ทัศนะเรื่องวิญญาณ  วิญญาณ หมายถึง หน่วยของ ความรู้สึก มีหน้าที่รับรู้ แยกแยะ ความแตกต่าง ไตร่ตรอง และตัดสิน

รูปขันธ์ (ในขันธ์ ๕) หมายถึง ทุกอย่างที่ไม่ใช่สภาพรู้ เช่น  สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ทั้งหมดเป็นรูป ซึ่งมีอยู่จริงๆแต่ไม่ใช่สภาพรู้

五蘊 ขันธ์ ๕(ปัญขันธ์:pañcakkhandhā)1. รูปขันธ์ 色蘊 rūpakkhandho、2. เวทนาขันธ์ 受蘊 vedanākkhandho、3. สัญญาขันธ์ 想蘊 saññākkhandho、4.สังขารขันธ์ 行蘊 saṅkhārakkhandho、5.วิญญาณขันธ์ 識蘊 viññāṇakkhandho

2.ทัศนะเรื่องจิต   จิต คือ ระบบของความรู้สานึก ทั้งหมด >> เป็นระบบการทำงาน ของวิญญาณ

นิกายโยคาจาร แบ่งวิญญาณ ออกเป็น ๓ กลุ่ม มีจำนวนวิญญาณ ๘ ดวง  “八識心王”

ประเภทของวิญญาณ มีดังนี้ 

๑. ประพฤติวิญญาณ感識及意識   ทำหน้าที่ ในการรับรู้โลกภายนอก มี ๖ ดวง คือ

1.จักขุวิญญาณ 眼識

2.โสตวิญญาณ 耳識

3.ฆานวิญญาณ鼻識

4.ชิวหาวิญญาณ舌識

5.กายวิญญาณ身識 (ทั้ง ๕ วิญญาณนี้ เรียกว่า “ปัญจวิญญาณ 五感識 ”

6.มโนวิญญาณ 意識 คือ การรับรู้ทำงตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

เมื่อเกิด “ปัญจวิญญาณ” แล้ว มโนวิญญาณ จะทำหน้าที่คิด และ สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อสิ่งที่รับรู้ หรือโลกภายนอก

๒. กลิษฏมโนวิญญาณ末那識 

ทำหน้าที่ในการรับรู้โลกภายใน (๑ ดวง) หรือ “มนัส”   อยู่เหนือระดับความคิด ไม่รับรู้อารมณ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง “มโนวิญญาณ” กับ “อาลยวิญญาณ”  จะรับรู้และพิจารณาเฉพาะอารมณ์ภายในเท่านั้น  และยึดเฉพาะ อายลวิญญาณ ทำให้เกิดความคิดเรื่องตัวตน 

ส่วน“มนัส” เกิดจาก “ความไม่รู้ในความเป็นธรรมชาติอันเดียวกันของจิต” จึงแยกตัวออกมาจาก “อาลยวิญญาณ” และสะท้อนอาลยวิญญาณว่าเป็นตัวตน เพราะมีการยึดถือว่าเป็นตัวตน จึงเกิดความรู้สึกยึดถือว่าสิ่งต่างๆ เป็นของๆตน

หน้าที่ของวิญญาณ  มนัส หรือ กลิษฏมโนวิญญาณ คือการสร้างตัวตน หรือ ตัวกู-อัตตา 我 ขึ้น  มโนวิญญาณ 末那識 และปัญจวิญญาณ五感識ก็สร้างสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นของของตน (ของกู自我)ขึ้น

๓. อาลยวิญญาณ 阿賴耶識   วิญญาณที่ เป็นจุดรวมของทุกวิญญาณ (๑ ดวง)

หมายถึง  ธาตุรู้  ความรู้สึกสำนึก ที่เป็นแหล่งรวบรวมเมล็ดพันธุ์แห่งกรรม มีฐานะเป็นจิตไร้สานึก เป็นรากฐานของ วิญญาณอื่นๆ มีหน้าที่ คือ

๑) หน้าที่เก็บ เก็บรอยประทับต่างๆ ของกรรม (พีชะ – กุศลพีชะ / อกุศลพี ชะ / อัพยากตพีชะ)

๒) หน้าที่ก่อ (ความยึดถือว่าเป็นตัวตน) จิตจะคิดสร้างอารมณ์ต่างๆ ขึ้นมา เกิดการยึดถือ เกิดเป็นผู้รับรู้ และสิ่งที่ถูกรับรู้

๓) หน้าที่ปรุงแต่ง  เกิดการปรุงแต่งอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ ตามพีชะ ซึ่งเป็นวิญญาณที่ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ต่างๆ ทำหน้าที่สร้างโลก และความรู้ต่างๆ และ จิตจะเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏจนกว่าจะสิ้นอาสวะ

 

asanga3

 
 
 
 

3.การทำหน้าที่ของจิต

การที่จิตทำหน้าที่ ๓ ประการ คือ รู้เก็บ รู้ก่อ และรู้ปรุง   จิตจึง เป็นใหญ่ และเป็นสารัตถะของสรรพสิ่ง   โลกวัตถุจึงเป็นเพียง มโนภาพ หรือ มายา ที่ปรุงแต่งออกไปจากพีชะในจิต   เมื่อไม่ มีจิต สิ่งทั้งปวงก็ไม่มี และ สิ่งทั้งปวงมีได้ ก็เพราะมีจิต

4.ทัศนะเรื่องความจริง

โยคาจาร อธิบายว่า ความจริง มี ๒ อย่าง คือ

๑) ความจริงสมมติ สมมติสัจจะ เป็นสิ่งที่ปรากฏในฐานะสิ่งที่ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้ และสิ่งที่ถูกรู้ (ทวิภาวะ) ไม่มีความ เป็นจริงเป็นมายา

๒) ความจริงสูงสุด  จิตที่ไม่มีทวิภาวะ ความจริงสูงสุดจะถูก ปกปิดโดยสิ่งที่ปรากฏ

ความจริง ๓ ระดับ ของโยคาจาร

๑. ปริกัลปิตะ  สิ่งที่เกิดจาก จินตนาการ ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงมายา หรือ ภาพลวงตา

ปริกัลปิตัชญาณ คือ ความรู้ที่ไม่ตรงกับ ความเป็นจริง เช่น กรณีการจุ่มท่อนไม้ลงใน น้า เพราะความหักเหของแสงทำให้เห็นไม้คด ข้อเท็จจริงมีเพียงท่อนไม้ น้าและภาพไม้คดที่ ปรากฏต่อหน้าเรา

-ปริกัลปิตัชญาณ เป็น จิตนาการบริสุทธิ์ (Pure Imagination)

๒. ปรตันตระ  สิ่งที่ปรากฏในฐานะความสัมพันธ์ (ทวิภาวะ) ระหว่างผู้รู้ และสิ่งที่ถูกรู้  หมายถึง จิตที่ปรุงแต่ง (ผู้รู้) (constructive consciousness) เป็นความจริงที่เกิดจากเหตุ ปัจจัย

 - ปรตันตรัชญาณ คือความรู้ที่เกิดจากการคิดปรุงแต่งเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มี อยู่จริงว่ามีอยู่จริง เป็นเรื่องของจิตและกับวัตถุ หรืออีกแง่หนึ่งก็คือ ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ เกิดจากการที่ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ กระทบกับ อารมณ์ภายนอก

๓. ปรินิษปันนะ   ความจริงสูงสุด มีฐานะเท่ากับสิ่งสัมบูรณ์ เป็น สภาวะที่ไม่มีทวิภาวะ เป็นจิตที่ไม่แปดเปื้อนด้วยสิ่งที่ถูกรู้ทุกอย่าง

- ปรินิษปันนัชญาณ หมายถึงความรู้แท้ที่เป็นองค์รวมหรือเป็น ฐานแห่งโลกและชีวิต   เป็นความหายไปแห่งลักษณะที่ จินตนาการล้วนๆ ในปรตันตรลักษณะ   ปราศจากความคิด แบ่งแยก   อยู่ในจุดที่ทวิภาวะถูกกำจัดทิ้งไป  

เมื่อ “ปรตันตระ” (ผู้รู้) บริสุทธิ์จากความเป็นทวิภาวะ ซึ่งถูกกาหนด โดย “ปริกัลปิตะ” (สิ่งที่ถูกรู้) หรือ การจินตนาการ  จิตที่ถูกทำให้ หลงผิดก็จะมีสภาวะบริสุทธิ์ซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้จริง หรือ “ปรินิษปันนะ” ไม่ตกอยู่ใต้อานาจการเปลี่ยนแปลงของ จินตนาการ เป็นสภาวะที่ทุกสิ่งเป็นเช่นเดียวกัน  สภาวะปรินิษปันนะของจิต คือ การรู้แจ้งความเป็นสิ่งสัมบูรณ์ของจิต ความจริงแท้ คือ ภาวะการรู้แจ้งความเป็นสิ่งสัมบูรณ์ของจิต

5.แนวคิดและคัมภีร์  

แนวความคิดหลักมาจากลังกาวตารสูตร  อ้างอิงเนื้อหาสำคัญ 2 เรื่องในพระสูตร  ดังนี้คือ

1.ทรงแสดงว่าสรรพสิ่งในจักรวาลนี้ ที่เราสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส เป็นสิ่งที่เราไม่สามรถสรุปได้ว่ามีอยู่หรือไม่มีอยู่ -สิ่งทั้งปวงมี (อัตถิกะ) เป็นทัศนะที่ผิด -สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่(นัตถิกะ) เป็นทัศนะที่ผิด

2.ทรงแสดงว่าเหตุที่เราไม่สามารถสรุปได้เช่นนั้นเพราะ สรรพสิ่งที่เรา สัมผัสอยู่ในชีวิตประจาวันนี้ มิได้มีตัวตนอยู่ต่างหากจากจิต จิตคือผู้สร้าง สิ่งเหล่านี้ (ประเด็นนี้ เองที่เกิดของโยคาจาร) สรรพสิ่งคือจิต

คัมภีร์ที่สำคัญของนิกายนี้มี 5 คัมภีร์ คือ (1)อวตังสกสูตร  (2) สันธินิรโมจนสูตร (3)ลังกาวตารสูตร (4)คันธวยูหสูตร และ(5)อภิธรรมสูตร นอกจากนี้ยังมีปกรณ์สำคัญเช่น โยคาจารภูมิศาสตร์ และคัมภีร์ปการณารวาจาศาสตร์  คัมภีร์ปการณารวาจาศาสตร์ (Prakaranaryavaca-sastra หรือ 顯揚聖敎論)

6.ทัศนะที่ต่างกันกับนิกายอื่น

 ความขัดแย้งทำงความคิดระหว่างมาธยมิกะ กับโยคาจาร ประเด็นขัดแย้ง มีประเด็นดังนี้

1.ลักษณะของสรรพสิ่ง (สวลักษณะ / สวภาวะ)

¨ มาธยมิกะ- สมมติสัจจะ ไม่มีอยู่จริง เป็นมายา และ ปรมัตถ สัจจะ สิ่งทั้งหลายเป็นสุญญตา

¨ โยคาจาร - สมมติสัจจะ ไม่ได้เป็นมายาทั้งหมด และ พีชะที่มา จากอาลยวิญญาณที่เป็นบ่อเกิดของสมมติสัจจะ มีสวลักษณะอยู่ ด้วย

2.ความขัดแย้งทางความคิดระหว่างมาธยมิกะ กับโยคาจาร

¨ โยคาจาร - มีจิตอยู่จริง และเป็นความ จริงเพียงหนึ่งเดียว และนำพาตนเองให้ หลุดพ้นโดยการดูที่จิตของตนและบังคับ ควบคุม

¨ มาธยมิกะ - ที่สุดแล้วไม่มีอะไรดำรง อยู่เป็นแก่นสารเลย สรรพสิ่งล้วนว่างเปล่า เป็นสุญญตา และนำพาตนเองให้ หลุดพ้นโดยการละความยึดมั่นถือมั่น

7.คุณสมบัติพระโพธิสัตว์ของโยคาจาร

1.จะตระหนักรู้ว่า สรรพสิ่งเป็นเพียงปรากฏการณ์ของความสานึกรู้(จิต)อัน บริสุทธิ์ สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นดาเนินไปเพราะจิต (จิตเดิมแท้)

2.จะเป็นอิสระเหนือมโนทัศน์ผิด ๆ ที่เห็นว่าวัตถุภายนอกมีอยู่จริง ไม่ยึดติด จิตอยู่เหนือการแบ่งแยก (อทวิภาวะ)

3.จะเข้าใจว่าทุกอย่างภายนอกไม่มีอยู่จริง ความรู้ทั้งหมดอยู่ในสภาพที่ เรียกว่า ตถตา มีอยู่เป็นเช่นนั้นเอง (ศูนยตา)

4.จะมีความรู้ชัดว่า ปัญญาและการรู้แจ้งจะเป็นไปได้ภายในจิตที่บริสุทธิ์ เรียกว่าธรรมกายหรือพุทธภาวะ

 

8.บทสรุปของนิกายโยคาจาร  

สรุป จุดยืนแห่งโยคาจาร  นิกายโยคาจาร เห็นด้วยกับมาธยมิกะ เฉพาะเรื่องความไม่มีอยู่ จริงของวัตถุ หรือ อารมณ์ภายนอก  แต่เรื่องที่เห็นว่าจิตไม่มีอยู่ จริง โยคาจารไม่เห็นด้วย  โยคาจาร เชื่อว่า อย่างน้อยที่สุดเราต้องยอมรับว่า จิตเป็นสิ่ง ที่มีอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้ความคิดที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่เป็นไปได้  จิต ซึ่งประกอบด้วยกระแสแห่งความคิดต่างๆ เป็นสิ่งแท้จริงเพียง ประการเดียว

หลักการเรื่องจิต ของโยคาจาร ใกล้เคียงกับคำสอนของเถรวาท ที่ว่า  “โลกอันจิตนำไป โลกอันจิตย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมด เป็นไปไปตามอำนาจธรรมอย่างเดียว คือ จิต” (สังยุตตนิกาย  สคาถวรรค อันธวรรคที่ ๗ จิตตสูตรที่ ๒)

ความเห็นของผู้เรียบเรียง(Astro Neemo) จะเห็นได้ว่า ทั้งสองนิกายนั้นมีความเห็นเดียวกันแต่มองต่างมุมกันเท่านั้น เพราะจิตในทรรศนะของเถรวาทนั้นเป็นเพียงนามธรรม เป็นเพียงสมมุตติ แต่ไม่ได้มีอยู่จริงโดยปรมัตถ แม้คำว่า”จิตปรมัตถ” ก็เป็นเพียงชื่อเรียก นามธรรมอย่างหนึ่ง เพราะจิตเองก็เกิดดับตลอดเวลา และตกอยู่ภายใต้กฎอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งจะบอกว่ามีอยู่จริงก็ได้ โดยสมมุติสัจจ แต่ โดยปรมัตถสัจจ จิตไม่ได้มีอยู่จริง

เรียบเรียงจาก หนังสือวิชาพระพุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายโยคาจาร  โดย อาจารย์ สรณีย์ สายศร