กลุ่มดาว 28 นักษัตรจีนกับ 27ดาวนักษัตรไทย

ในระบบโหราศาสตร์คงที่ของจีนและอินเดียมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มดาว28 นักษัตรของจีนนั้นได้รับอิทธิพลมากจากพุทธศาสนามหายานจากอินเดียตอนเหนือ ซึ่งในครั้งนั้นอินเดียเองก็ได้มีการใช้นักษัตรระบบ 28 กล่มอยู่แต่ต่อมาทางคณาจารย์อินเดียในรุ่นหลังได้ปรับเปลี่ยนลดลงไปเป็นระบบดาวนักษัตรแบบ ระบบ 27 ดาวนักษัตรแทน อันเนื่องมาจากการคำนวนทางระบบโหราคณิตศาสตร์ทำให้การปรัดลดจำนวกนักษัตรลงไปทำให้เกิดความสะดวกในการคำนวนหากอิทธิพลดาวฤกษ์ (ลด-นักษัตรอภิชิตลงไป) แต่โหราจารย์อินเดียในบางกลุ่มก็ยังมีการใช้ระบบ 28 นักษัตรอยู่บ้างเหมือนกัน

นักษัตรอภิชิต เป็นนักษัตรที่ 28 ในระบบโหราศาสตร์จีนและอินเดีย แต่เนื่องจากนักษัตรอภิชิตมีขนาดแคบและเล็กมาก ทางโหราจารย์ฝ่ายอินเดียท่านจึงละไว้ในฐานที่เข้าใจกัน ตำแหน่งนักษัตรอภิชิตจริงๆแล้วอยู่ที่ บาทที่ 4 ของนักษัตรอุตราษาฒ และกับอีก 1 ชั่วโมง36 นาทีของนักษัตรศรวณะ เป็นอาณาเขตของนักษัตรอภิชิต ส่วนพลังงานของนักษัตรนี้ทางโหราจารย์ฝ่ายอินเดียถือว่าเป็นพลังศุภผล ให้ชื่อเสียงเกียรติยศแก่เจ้าชาตามาก และโดดเด่นกว่านักษัตรอื่นๆ

อย่างไรก็ตามเมื่อจีนได้รับอิทธิพลทางดาราศาสตร์และโหราศาสตร์จากอินเดียโบราณผ่านทางคัมภีร์ทางพุทธศาสนามหายาน ก็ยังคงรักษารูปแบบของระบบ 28 นักษัตรไว้คงเดิม โดยอ้างอิงจากปทานุกรมศัพท์สันสกฤตทางพุทธศาสนาของจีนซึ่งได้แปลชื่อดาวนักษัตรหรือกลุ่มดาวฤกษ์ของจีนและอินเดียเอาไว้ดังนี้

กลุ่มดาวนักษัตรทั้ง 28 กลุ่มได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 7กลุ่ม  ดังนี้

ทิศตะวันออก หมายถึงฤดูใบไม้ผลิ มีกลุ่มดาวนักษัตรดังนี้

角           เจี่ยว       -จิตรานักษัตร  Citrā

亢          คัง           -สวาตินักษัตร  Niṣṭyā (or Svāti),

氏          ซื่อ           -วิสาขะนักษัตร  Viśākhā,

房           ฝัง           -อนุราธะนักษัตร  Anurādhā,

心          ซิน           -เชฎฐาษัตร Jyeṣṭhaghnī (or Jyesthā),

尾           เว่ย          -มูละนักษัตร  Mūlabarhaṇī (or Mūla),

箕          จี              -ปุรพาษาฒนักษัตร  Pūrva-Aṣādha.

ทิศเหนือ หมายถึงฤดูหนาว

斗           โต่ว         -อุตตราษาฒนักษัตร  Uttara-Aṣāḍhā,

牛           หนิว        -อภิชิตนักษัตร  Abhijit,

女            หนี่           -สราวณะนักษัตร Śravaṇā,

盧           หลู่           -ธนิษฐะนักษัตร Śraviṣṭha (or Dhaniṣṭhā)

危           เวย          -สตภิสัทนักษัตร Śatabhiṣā,

室         ซื่อ           -ปูราภัทรปทนักษัตร  Pūrva-Proṣṭhapada,

壁           ปี้             -อุตราภัทรปทนักษัตร  Uttara-Proṣṭhapada.

ทิศตะวันตก หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง

奎           ขุย           -เรวดีนักษัตร Revatī,

婁           โหลว       -อัศวินีนักษัตร Aśvayuj (or Aśvinī),

胃           เว่ย          -ภรณีนักษัตร Apabharaṇī (or Bharaṇī),

昴           หมาว      -กฤตติกานักษัตร Kṛttikā,

畢           ปี้             -โรหิณีนักษัตร  Rohiṇī,

觜           จื่อ           -มฤคศิระนักษัตร  Invakā (or Mṛgaśiras),

參          เซิน          -อารทรานักษัตร  Bāhu (or Ārdrā).

ทิศใต้ หมายถึงฤดูร้อน

井         จิ่ง            -ปุนรวสุนักษัตร Punarvasu,

鬼         กุ่ย           -ปุษยะนักษัตร Tiṣya (or Puṣya),

柳           หลิว        -อสิเลษะนักษัตร Aśleṣā,

星            ซิง            -มาฆะนักษัตร Maghā,

張           จาง         -ปุรผลคุนีนักษัตร  Pūrva-Phalgunī,

翼           อี้             -อุตรผลคุนีนักษัตร Uttara-Phalgunī,

軫          เจิ่น          -หัสตะนักษัตร  Hastā.